วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปฏิจจสมุปบาท(ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุด-บาด) และอิทัปปัจจยตา(อิ-ทับ-ปัด-จะ-ยะ-ตา)

ปฏิจจสมุปบาท(ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุด-บาด) และอิทัปปัจจยตา(อิ-ทับ-ปัด-จะ-ยะ-ตา)

ปฏิจจสมุุปบาท เป็นธรรมขั้นสูง ทีสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นธรรมใน อริยสัจสี่ นั้นเอง ทุกข์ สมุทัย(สาเหตุ
แห่งทุกข์) นิโรธ(ความดับไปแห่งทุกข์) มรรค(วิธีดับทุกข์)
ลำดับแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายดับทุกข์
ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะดับ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่)
ชาติ จะดับไปได้เพราะดับ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ)
ภพ จะดับไปได้เพราะดับ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ)
อุปาทาน จะดับไปได้เพราะดับ ตัณหา (ความอยาก)
ตัณหา จะดับไปได้เพราะดับ เวทนา (ความรู้สึกในทางทุกข์หรือสุขหรือความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์)
เวทนา จะดับไปได้เพราะดับ ผัสสะ (การสัมผัสด้วยประสาทต่าง ๆ)
ผัสสะ จะดับไปได้เพราะดับ อายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
อายตนะ จะดับไปได้เพราะดับ นามรูป (ร่างกายและจิตใจ)
นามรูป จะดับไปได้เพราะดับ วิญญาณ (การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
วิญญาณ จะดับไปได้เพราะดับ สังขาร (การนึกคิดหรือการปรุงแต่งของใจ)
สังขาร จะดับไปได้เพราะดับ อวิชชา (ความโง่เขลาหรือความไม่รู้:ไม่รู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง)
 
อิทัปปัจจยตา เป็นหลักการทางพุทธศาสนากล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล เมื่อมีเหตุย่อมมีผล และเมื่อเหตุดับผลก็ดับคือเมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อสิ่งนี้ ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มีเพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
 
อิทัปปัจจยตา ถือเป็นหัวใจของปฏิจจสมุปบาทเป็นกฎเหนือกฎทั้งปวง เป็นพุทธธรรมอันติมะหรือสัจธรรมความจริงแท้ ที่สุดของพุทธศาสนา และเชื่อมโยงคำสอนทั้งปวง ของพระพุทธเจ้าว่า ล้วนเป็นไปตามหลักธรรม หรือกฎของอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น
 
อิทัปปัจจยตาหลักอิทัปปัจจยตาซึมซ่านอยู่ในเหตุปัจจัยแห่งการก่อเกิด การดำรงอยู่ การมีปฏิสัมพันธ์ และเสื่อมสลาย ของสรรพสิ่งในจักรวาล รวมถึงเป็นวิธีคิด ทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์ทุกสาขาด้วย ครอบคลุมทั้งปัจจัยส่วนวัตถุ จิตใจ สังคมและอื่นๆทั้งหมด ส่วนปฏิจจสมุปบาทหมายถึงแต่สิ่งมีชีวิตที่มีจิต
 
อิทัปปัจจยตาในทางพุทธศาสนามักใช้ในการอธิบายในรูปแบบปรัชญาใช้อธิบายสิ่งต่างๆแบบเชื่อมโยง เช่น เสาเป็นปัจจัยของหลังคา ถ้าไม่มีเสา หลังคาก็อยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีหลังคา เสาก็ไม่มีประโยชน์ ทั้งเสาและหลังคาเป็นปัจจัยของกันและกัน คือ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาลอยๆโดยไม่มีเหตุผล บางเหตุการณ์ประกอบด้วยหลายเหตุปัจจัย เช่น ร้องให้เพราะเจ็บ เจ็บเพราะหัวแตก หัวแตกเพราะหกล้ม หกล้มเพราะถนนลื่น ถนนลื่นเพราะฝนตก

<p>อิมสฺมึสติอิทํโหติ</p><p> </p><p>เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี</p><p> </p> <p>อิมสฺสุปฺปาทา อิทํอุปฺปชฺชติ</p><p> </p><p>เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น</p><p> </p><p>.</p><p>อิมสฺมึอสติอิทํน โหติ</p><p> </p><p>เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มี</p><p> </p><p>อิมสฺส นิโรธา อิทํนิรุชฺฌติ</p><p> </p><p>เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงดับไป</p><p> </p><p>.</p>



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น