วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดผลตามสภาพจริงภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

การวัดผลตามสภาพจริงภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมเสนอวิธีวิเคราะห์พัฒนาแบบทดสอบ มีตัวอย่างประกอบชัดเจนเข้าใจง่าย ทั้งหมด 70 Frame

>>>>>คลิก<<<<<ควรเปิดด้วยไมโครซอพ (Microsoft office PowerPoint)
ระบบจะเปิดผ่าน facebook "กลุ่มน้ำเงินขาวเทคนิคชัยภูมิ" และคลิกไฟร์เพื่อดาวน์โหลดอีกครั้ง

https://www.facebook.com/groups/304513799663082/827807487333708/

https://www.facebook.com/groups/304513799663082/827807487333708/

...การพิจารณาตัดสินใจเลือกบางอย่างแทบทุกครั้ง สมองมนุษย์ใช้การวัดประเมินผลเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เช่นการเลือกใช้บริการร้านอาหาร เลือกซื้อสินค้า เลือกตั้ง สส. ผู้เลือกย่อมวัดผลประเมินผลผู้สมัครโดยการสังเกตพฤติกรรมเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจเลือกคนที่ตนคิดว่าดีที่สุด การวัดผลแบบนี้ทางการศึกษาเรียกว่า การวัดผลตามสภาพจริง(Authentic Assessment)

...การวัดผลตามสภาพจริงจะมีเกณฑ์ Scoring Rubrics ไว้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งชาวบ้านผู้ลงคะแนน มีเกณฑ์นี้ในใจแตกต่างกัน เช่น

...A สส.ที่ดี ได้แก่ เข้าพบได...้ง่าย มาเยี่ยมเราบ่อย ช่วยชุมชนพึ่งพาวิ่งเต้นเส้นสายได้ทุกเรื่อง คดีความ งานบวช งานแต่ง งานศพ เป็นพวกเดียวกับเรา ไม่สนใจว่า สส.มีหน้าที่ตามกฎหมายอย่างไร

...B สส.ที่ดี ได้แก่ ผู้ที่แจกเงินซื้อเสียงมากที่สุด

...C สส. ที่ดี ได้แก่ พรรคที่สังกัดมีนโยบายบริหารประเทศดี สส.มีความรู้มีสมรรถนะนำนโยบายสู่การปฏิบัติได้ ควบคุมรัฐบาลได้ ออกกฎหมายที่ดีได้ ซื่อตรง

...จะเห็นว่าเกณฑ์ Scoring Rubrics ของชาวบ้านผู้ประเมินแตกต่างกัน ของใครมีความตรงตามเนื้อหากฎหมายที่สุด(Validity) มีความเที่ยงถูกต้องสากลที่สุด(Reliability) ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนช่วยกันสรุปเป็นแนวทางให้

...ครูผู้ออกแบบเกณฑ์ Scoring Rubrics เพื่อวัดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเรื่องใดก็ตาม ย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้เช่นกัน ควรให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนช่วยตรวจสอบ ผู้เชี่ยวชาญที่ดีสะดวกที่สุดคือเพื่อนครูสาขาวิชาเดียวกันหมวดเดียวกันนั่นเอง

...แบบฝึก

...1)ให้คุณครูออกแบบ แบบสังเกตุวัดประเมินผลทดสอบทักษะความสามารถพิมพ์ดีดตามสภาพจริงของ นศ. จำนวน 20 คน และสามารถประเมินผลทักษะพิมพ์ดีด นศ. กลุ่มนี้ให้มีอำนาจจำแนกอย่างน้อย 5 เกรดระดับทักษะ

...2)หากท่านได้รับมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการประเมิน ในบริษัทของท่าน ท่านจะออกแบบวัดประเมินผลอย่างไร จึงจะได้บุคลากรที่มีคุณภาพดีที่สุด ทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติ 2 ข้อต่อไปนี้...2.1)ออกแบบการประเมินผลคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในบริษัท และ...2.2)ออกแบบการประเมินพนักงานบริษัทขึ้นสู่ตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย

แห่กระธูป ณ หนองบัวแดง/ชัยภูมิ

...ประเพณีแห่กระธูป เป็นพุทธบูชา บุญประเพณีแห่กระธูปน่าจะมีที่เดียวในประเทศไทย ทำก่อนวันออกพรรษา ๓ วัน โดยจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นมา จาก ๙ ตำบล ๙ กระบวนแห่ ณ อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ แห่งเดียวในโลก

...เริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๐ จากชาวบ้านลาดดำเนิน ต.หนองบัวแดง จัดให้มีการแข่งขันการทำต้นกระธูปขึ้นระหว่างคุ้มในหมู่บ้าน มีการแห่รอบหมู่บ้าน
 
...กระธูป คืออะไร  การทำต้นกระธูปในระยะแรกนั้น ใช้ขลุยมะพร้าว ใบอ้ม ใบเนียน (ใบอ้นหอม,ใบเนียนหอม ปัจจุบันหายากใกล้สูญพันธุ์แล้ว) นำใบไม้ทั้งสองชนิดมานึ่งก่อนนำไปตากแดด แห้งดีแล้วบดให้ละเอียด จะได้ฝุ่นใบไม้ที่มีกลิ่นหอมมาก นำมาผสมกับขลุยมะพร้าวห่อด้วยกระดาษให้ได้รูปทรงยาวเหมือนธูป ประดับด้วยกระดาษสีลวดลายสวยงาม นิยมลายไทยมัดหมี่ นำธูปที่ได้มาประดับ "ดาว" ที่ทำจากใบลานหรือใบตาล(ใบลานวันนี้หายาก) ยึดติดกับก้านไม้ไผ่ จากนั้นนำก้านมาเสียบยึดกับแกนลำต้นไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ความสูงลำไม้ไผ่ประมาณ ๓-๕ เมตร รูปทรงคล้ายฉัตรถือนำขบวนแห่ แห่เสร็จนำกระธูปไปปักไว้ที่วัด

...ใต้ต้นกระธูปใช้ผลไม้ป่า "ลูกดุมกา"คล้ายผลส้มเปลือกหนาแข็ง หรือกะลามะพร้าว ผ่าเป็น ๒ ซีกบรรจุน้ำมันก๊าซหรือน้ำมันพืช ควั่นด้ายฝ้ายแช่ลงในน้ำมันลูกดุมกา เป็นไส้ชนวนจุดไฟให้แสงสว่างแทนตะเกียง(ภาพสุดท้าย) เตรียมจุดบูชาที่วัดระหว่างเวียนเทียนวันออกพรรษา ทั้งพระเณรชาวบ้านคนหนุ่มสาวทุกวัยมาช่วยงานกันเป็นที่คึกคลื้นอบอุ่น

...ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ อำเภอหนองบัวแดง และสำนักงานการท่องเที่่ยว ส่งเสริมให้ทุกตำบลในอำเภอหนองบัวแดงจัดทำกระธูปพร้อมกระบวนแห่มาประกวด แห่รอบเขตในเมืองอำเภอ ในขบวนแห่มีการแสดงโชว์มากมาย ต้นกระธูปที่เข้าประกวดต้องมีความสูงมาตรฐาน ๖ เมตร จัดเป็นงานประจำทุกปี กลางคืนมีมหรสพฉลองสมโภชน์ ๓ วัน ๓ คืน มีการเล่นดนตรีพื้นบ้านสนุกสนาน ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอฯ

...การทำกระธูปได้ประยุกต์มาใช้ธูปที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด รูปร่างต้นกระธูปเปลี่ยแปลงจากต้นแบบเดิม เปลี่ยนเป็นรูปทรงอิงวิถีชีวิตไทย แปลกใหม่ทุกปีน่าสนใจติดตามยิ่งนัก











"ลูกดุมกา" ผ่าซีก
 
๑) ใบอ้มหอม https://www.youtube.com/watch?v=hdjoUjJ8H3o
 

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รัฐธรรมนูญฉบับ ท่าน มีชัย ฤชุพันธุ์

'มีชัย'เปิดใจ'ภารกิจร่างรัฐธรรมนูญแบบไทยๆ'

โดย :
 
สัมภาษณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์                                  

หลังเข้ารับบทบาทประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)ของ"มีชัย ฤชุพันธุ์" สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) อย่างเป็นทางการคำถามใหญ่คือเขาจะปฏิบัติภารกิจให้บรรลุตาม"โจทย์" ที่ได้รับมาจาก คสช. ได้อย่างไร "มีชัย"พูดคุยแบบเปิดใจถึงการออกแบบกติกาใหม่ของประเทศ กับ"ทีมข่าวเครือเนชั่น"
โจทย์ของการร่างรัฐธรรมนูญรอบนี้ มีความแตกต่างหรือยากกว่าฉบับที่ผ่านๆ มาอย่างไรบ้าง?
มีชัย :ที่ผ่านมา เวลาต้องไปร่างรัฐธรรมนูญ ปัญหาไม่ซับซ้อนมาก กลไกทางการเมืองไม่ค่อยเป็นปัญหามาก เพราะเราใช้ระบบการเลือกตั้งตามปกติธรรมดา แต่วันนี้ปัญหาซับซ้อนกว่าเก่า และมีปัญหาไปทุกเรื่อง อาทิ กลไกทางการเมืองที่พิสดารมากขึ้น ปัญหาการทุจริตที่มากขึ่น ปัญหาความแตกแยกทางความคิดที่มากขึ้น ที่สำคัญ คือ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ทำให้คนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็วและอิสระมากขึ้น ดังนั้นกระบวนการรร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ จึงแตกต่างจากที่เคยเป็น ก่อนนี้คนที่มีอำนาจปล่อยอิสระในการเขียนเนื้อหา โดยไม่กำหนดรูปแบบการเมือง และปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญจนจบ ถึงค่อยมาดูว่ามีส่วนใดยังติดขัด แต่รอบนี้มีโจทย์ ที่ผู้มีอำนาจเขาเห็นปัญหาและแสดงความต้องการอยากให้แก้ไข อย่าง5ปัญหาที่เปิดเผยต่อสาธารณะไปแล้ว ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครคิดออก เขาก็โยนให้เราคิด แต่กรรมการทั้ง21คนไม่ใช่พระนารายณ์ หรือคนที่พิเศษไปกว่าคนอื่น เมื่อได้รับภาระหน้าที่ ก็ตั้งใจและพยายามคิด บางเรื่องก็คิดออกบ้าง นึกไม่ออกบ้าง
ตอนนี้มีทางเดียวที่เราจะหวังพึ่งได้ คือ คนที่เกี่ยวข้องทั้งประเทศ รวมถึงประชาชน 65ล้านคน เพราะเราอยากให้คนมีความรู้สึกว่านี่กำลังจะวางกติกาของบ้านเมือง ดังนั้นไม่ใช่หน้าที่เฉพาะคนเพียง21คน ที่จะตัดสิน สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของคนทั้ง65ล้านคน โดยเฉพาะองค์กรทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง แต่ว่าความคิดของคนหลากหลายนั้น แน่นอนว่าจะมาแบบหลากวิธี และหลากหลายรูปแบบ ไม่สามารถนำของใครคนใดคนหนึ่งมาไม่ได้ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของคน21คนต้องมาดู และหยิบฉวยสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด และเป็นไปได้ต่อการแก้ปัญหา มาผสมผสานกัน ดังนั้นผมอยากฝากไปด้วยว่าคนที่คิดเสนอนั้น ต้องตัดอัตตาของตนเอง ลดความรู้สึกได้เปรียบ เสียเปรียบลง พร้อมกับนึกถึงประเทศชาติและประชาชนให้เป็นใหญ่ เพราะหากคิดเช่นนั้นแล้ว ความคิดจะลดความคม ซึ่งหมายความว่า ความแหลมคนที่ไปทิ่มตำบุคคลอื่น หากลดลงไปจะอยู่ในวิสัยที่ใกล้กัน จะสามารถประณีประนอมกันได้ แต่บางเรื่องอาจจะไม่สามารถประณีประนอมได้เว้นแต่สังคมเปลี่ยน เช่น การทุจริต คงประณีประนอมไม่ได้ แต่หากสังคมเปลี่ยนว่า เอาน่า โกงบ้างไม่เป็นไรน่า แบบนั้นก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง
ภาวะที่ถูกจำกัดการแสดงความเห็น จะมีกระบวนการให้คน 65ล้านคนมีส่วนร่วมได้อย่างไร?
มีชัย :กำลังคุยกับทีมประชาสัมพันธ์ และทีมรับฟังความคิดเห็นว่า กลไกของรัฐ อาทิ กรมประชาสัมพันธ์ ทีวีของกรมประชาสัมพันธ์ ทีวีช่องไทยพีบีเอส ที่สามารถสื่อสารไปถึงประชาชนทั่วทุกหัวระแหง น่าจะอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ โดยเนื้อหาเป็นส่วนที่บอกให้ประชาชนรู้ว่า บัดนี้ ถึงเวลาแล้วที่จะมาร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ใครมีอะไรที่อยากแสดงออก อย่างเว็ปไซต์ของผม (www.meechaithailand.com)มีคนเข้ามาแสดงความเห็น ผมได้ใช้เวลากลางคืนไปเปิดดูว่ามีข้อเสนอใดที่สามารถนำมาใช้ได้ หรือเข้าที ก็จะนำมาดู หรือบางประเด็นที่เป็นข้อเสนอที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด แต่ทำให้เราสะกิดใจคิดได้ในบางเรื่อง ซึ่งทำให้เป็นประโยชน์มาก และเมื่อเรามาทำแล้ว เจ้าตัวอาจไม่รู้สึกว่าเป็นข้อเสนอขอเขา แต่ขอให้ทุกคนเข้าใจด้วยว่า สิ่งที่เสนอมานั้น คือ สิ่งที่จุดประกาย อย่างน้อยที่สุด ทำให้เรารู้ว่าปัญหาคืออะไร ในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่สนใจใยดีต่อบ้านเมือง
กรณีที่ตอบตกลงเข้าทำหน้าที่ ประธาน กรธ. แสดงว่ามั่นใจต่อการทำร่างรัฐธรรมนูญได้บรรลุโจทย์ที่ถูกวางไว้แล้ว?
มีชัย : ผมมีความมั่นใจแต่เพียงว่า1.ผมเสียสละ2.ผมทำงานเต็มที่ และ3.ผมคิดเต็มที่
วางเป้าการทำงานไว้อย่างไร ระหว่างแก้ปัญหาประเทศ หรือให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติเท่านั้น?
มีชัย :ไม่ใช่ เพราะผมคิดว่า จะแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์เหล่านั้นได้อย่างไร ผมกำลังนั่งสวดมนต์ภาวนา ขอให้คิดออก
กรณีนำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ เป็นปัจจัยที่ต้องคิดให้ออกด้วยหรือไม่ว่าต้องเขียนผ่าน?
มีชัย : ผมกำลังคิดเพียงว่ามีหนทางใดที่จะแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์ของประเทศให้ลุล่วงไป หากแก้ปัญหาลุล่วงได้ จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ และทุกคน ส่วนที่ว่าจะทำให้ผ่านประชามตินั้น ผมไม่ค่อยได้คิดเท่าไร เพราะเมื่อเราคิดออก ก็จะมีหน้าที่อธิบายให้เขาฟัง ว่าที่คิดทำอย่างนั้น เพราะหวังให้เป็นรูปแบบใด และเมื่อถึงเวลาแล้วประชาชนบอกว่าไม่เอา ก็จบ
ยกตัวอย่างเช่น เราบอกว่าต่อไปนี้คนที่ทุจริตต่อหน้าที่ หรือทุจริตต่อการเลือกตั้ง อย่าเข้ามา แต่ประชาชนเห็นว่าคนที่เขารัก ซึ่งศาลสั่งตัดสินจำคุก จะไม่เลือกได้อย่างไร ดังนั้นรัฐธรรมนูญที่เขียนแบบนั้นไม่เอา ก็โอเค ถือว่าไม่เป็นไร เมื่อจะมีคนต่อไปที่จะมาร่างรัฐธรรมนูญเขาจะได้รู้ว่า ประชาชนชอบแบบนั้น เขาก็ร่างรัฐธรรมนูญว่า คนทุจริตจะยังไงแล้วก็เข้ามาเถอะ ได้เปอร์เซ็นต์ไปแล้วก็ขอให้มาแบ่งกันบ้าง เพื่อให้หมดเรื่อง ดังนั้นผมก็อยู่ได้ เพราะจะถูกโกงอย่างมากก็อีกไม่กี่ปีเท่านั้น ส่วนพวกคุณต่างหากที่ต้องถูกโกงไปอีกนาน เมื่อพวกคุณพอใจก็โอเค ก็อยู่กันไป
แสดงว่าไม่ได้นำเงื่อนไขทำรัฐธรมนูญต้องประชามติให้ผ่าน เป็นอุปสรรคทำงาน?
มีชัย :ไม่เป็น เพราะการทำประชามติ คือการรู้ทีท่าของชาวบ้าน รู้ท่าทีของประชาชน และเป็นคำตัดสินสุดท้าย ก็เราคิดได้เท่านี้ จะให้ทำอย่างไร ไม่ใช่นารายณ์ที่จะไปชี้ว่าให้ลงคะแนนYesนะ แต่หน้าที่เราคือ อธิบายให้เขาเข้าใจ เหมือนกับที่พยายามอธิบายว่าเรากำลังคิดอะไร
ไม่กังวลหรือ หากประชามติไม่ผ่าน จะทำให้เสียเวลาเปล่า?
มีชัย :จะทำอย่างไรได้ เมื่อผมทำจนสุดความสามารถแล้ว ก็บอกแล้วให้ทุกคนช่วยกันคิด หากทุกคนไม่ช่วยกันคิด แล้ววางเฉย ปล่อยให้พวกผมคิด ก็คิดได้แค่นั้นหากไม่ผ่านจะเสียเวลาก็ต้องเสียเวลา ซึ่งทุกคนต้องรับผลลัพท์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน
กังวลต่อกรณีที่จะถูกมองว่าเสียผู้ใหญ่หรือไม่ เพราะหลายคนคาดหวังมากกับรัฐธรรมนูญใหม่และตัวอาจารย์?
มีชัย :ผมก็คาดหวังเหมือนกัน จะมาคาดหวังเฉพาะที่ตัวผมคนเดียวไม่ได้ เพราะคนๆ เดียวไม่รู้จะทำอะไรได้ อย่างที่บอกว่าผมไม่ใช่พระนารายณ์ ดังนั้นทุกคนต้องช่วยกันคิด
ประเมินได้หรือไม่ว่า ระหว่างเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ กระแสสังคม หรือความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง สิ่งใดจะชี้ขาดว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะผ่านหรือไม่ผ่านประชามติ?
มีชัย :ผสมผสานกัน ไม่ได้มีอะไรเน้นทางใดทางหนึ่ง ผมพยายามถามคนที่ออกมาบอกว่า มาตรา35ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องยกเลิกผ่านทางโซเชียลมีเดียว่ามีข้อไหนบ้างที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วผมจะเขียนให้ อย่าง1.ที่ระบุว่าประเทศไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกไม่ได้ ตัวนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยใช่ไหม จดและลงชื่อมา ตนพร้อมเขียนให้ใหม่2.ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตรงไหนไม่เป็นประชาธิปไตยบอก3.กลไกที่จะสร้างไม่ให้คนทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน4.กลไกที่ไม่ให้คนทุจริตการเลือกตั้งเข้ามาเกี่ยวข้องการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน5.กลไกที่จะไม่ให้คนที่อยู่ข้างนอกแวดวงมาสั่งให้รัฐมนตรีให้ทำตามความปรารถนาโดยไม่ต้องรับผิดชอบ ตรงนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยที่ไหน มีประเทศใดในโลกยอมให้ทำอย่างนี้กันบ้าง บอกมา ตนพร้อมจะเขียน ซึ่งตนก็ท้าเรื่อยไป
ฟังดูแล้วเหมือนว่าขึ้นอยู่กับโจทย์ อาจารย์สามารถเขียนเพื่อให้ตอบโจทย์นั้นได้?
มีชัย : ไม่ใช่ “สามารถ” แต่พยายามที่จะเขียนเพื่อตอบโจทย์นั้นให้ได้ หากโจทย์นั้นไม่เป็นประชาธิปไตย เราก็ตกลงกันเสียก่อนว่าสิ่งไหนไม่ใช่ ไม่ใช่สิ่งที่สังคมจะรับได้ เช่น จะโกงการเลือกตั้งอย่างไรก็ให้เขาเข้ามา ตนจะได้เขียนในรัฐธรรมนูญเลยว่าไม่ต้องมีใบเหลืองใบแดง ใครมีเงินมากกว่าก็เอาไป
มองโจทย์ของ คสช. อย่างไรที่ให้เขียนรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยแบบไทย ที่เป็นสากล?
มีชัย :คำว่าประชาธิปไตยแบบไทย คือ อย่าไปลอกของใครที่เขาคิดว่าดี ให้ดูก่อนว่าคนของเขากับคนของเราเหมือนกันหรือไม่ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เสรีภาพของคนอเมริกัน ทำอะไรก็ได้ กับ พ่อ แม่ จับหัวได้ ประธานาธิบดี จับหัวหรือตบหลัง ตบไหล่ได้ ขณะเดียวกันเมื่อวันก่อน ผมเห็นรูปในหนังสือพิมพ์ที่บัณฑิตวิศวะคนหนึ่งก้มลงกราบพ่อที่มีอาชีพเป็นคนเก็บขยะกลางถนนในชุดเสื้อครุย คนไทยดูแล้วน้ำตาซึม คิดหรือไม่ว่านั่นเป็นการสิ้นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ผมไม่รู้ว่าคนรุ่นใหม่คิดอย่างไร แต่คนรุ่นผมไม่คิดว่านั่นเป็นการสิ้นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ แต่เป็นการเชิดชูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่า มนุษย์รู้จักพ่อแม่ รู้จักผู้มีพระคุณ ส่วนคนอเมริกันอาจมองว่า เขาทำอะไรกัน มาก้มกราบกันทำไมกันกลางถนน พ่อมึงตบหัวเลยเสียก็ได้ แต่คนไทยไม่เป็นเว้นแต่คนบางคนซึ่งน้อยมาก นั่นแหละเราต้องมาคำนึง ว่า นั่นคือไทย
เมื่อคิดถึงประชาธิปไตยแบบไทยๆ คนเขาก็คิดไปว่าต้องหมายถึงประชาธิปไตยครึ่งใบ?
มีชัย : ไม่ใช่ ประชาธิปไตยแบบไทย ก็คือ มีเลือกตั้ง แต่กลไกการเลือกตั้งประเทศต่างๆ นั้นอยู่บนพื้นฐานของความมีวินัย การ รู้จักเคารพสิทธิของคนอื่นเป็นที่ตั้ง แต่ของไทยเป็นหรือไม่ หากเป็นก็เอาของเขามาได้ แต่หากยังไม่เป็น เราต้องหาวิธี เพื่อให้เหมาะสมกับคนไทยในการไปเลือกตั้ง ยกตัวอย่างได้ว่า เวลาคนไทย กับ ฝรั่งไปเลือกตั้งคิดเหมือนกันหรือไม่ โดยคนฝรั่งไปเลือกตั้งเขาคิดว่า พรรคนี้มีนโยบายอย่างไร คนไปสมัครรับเลือกตั้งจะผลักดันนโยบายนั้นได้หรือไม่ ส่วนคนไทยกลับคิดว่า คนนี้ต้องเป็นคนดี แล้วคนดีของคนไทยในการเลือกตั้งคืออะไร ซึ่งไม่ใช่คนที่ต้องถือศีล5ถือศีล8เคารพครูบาอาจารย์หรือ อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนหรือ แต่เขาดูว่าพบคล่องหรือไม่, งานศพ งานบวชมาหรือไม่, ฝากงานลูก หลานได้หรือไม่, มีคดีช่วยเหลือกันได้หรือไม่ และเป็นพวกเดียวกับเราหรือไม่ ส่วนใหญ่คิดกันว่า แล้วคนนั้นจะไปทำหน้าที่อะไร สำเร็จหรือไม่ คำตอบก็คงต้องได้ว่า เขาไม่คิดถึง
ดังนั้นเมื่อเรามาเขียนกระบวนการเลือกตั้ง เราจึงเขียนแบบประเทศอเมริกา ประเทศอังกฤษ หรือประเทศเยอรมนี ไม่ได้ เราต้องเอาตัวนี้มาคิดว่าทำอย่างไร ถึงจะได้คนเข้ามาทำหน้าที่ อย่างตรงไปตรงมา เป็นกลาง สิ่งนี้ ถึงจะได้ขึ้นชื่อว่า เป็นไทย
แต่ที่คิดๆ กันมานั้น หัวจะแตก คิดกันไม่ค่อยออก ส่วนใหญ่ต้องหยิบจากส่วนนั้น ส่วนนี้มาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นปัญหา ดังนั้นเราก็ภาวนาว่าเราจะคิดออก แต่ไม่ได้บอกว่าจะคิดออกนะ ไม่รู้ว่าจะคิดออกหรือไม่ เพราะโจทย์นี้มีความยาก
สำหรับโจทย์ คสช. ที่ต้องการให้เกิดความปรองดอง และชาติเดินหน้าในช่วงรอยต่อ จำเป็นต้องมีกลไกอะไรหรือไม่?
มีชัย : ยังไม่ได้คิด เพราะยังไปไม่ถึง เรากำลังวางพื้นฐาน ยังไม่ได้ไปถึงช่วงเปลี่ยนผ่าน หากจะสมมติว่า เราจะมีกลไกที่บังคับว่าภายใน1ปี หากปฏิรูปเรื่องนี้ไม่ได้ จะได้รับผลร้าย โดยไม่ต้องมีใครมายุ่งเกี่ยวเลยก็ได้ ซึ่งอาจหมายถึงมีSanction(มาตรการลงโทษ) แต่ต้องหามาตราการที่จะทำอย่างไรให้ได้ผล
ในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ ปี2558เรื่อง Sanction กำหนดให้ภาคสังคมและรัฐสภาตรวจสอบ กรณีไม่ปฏิรูปตามแผนที่กำหนดไว้ เพียงพอหรือไม่?
มีชัย :ยัง เพราะหน่วยงานรัฐจะทำหรือไม่ทำ ต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายการเมือง หากฝ่ายการเมืองไม่สั่งเขาก็ทำไม่ได้ หากฝ่ายการเมืองสั่งให้เขาทำ เขาก็ทำ เมื่อเขาทำไปแล้วก็มาแบอยู่ที่รัฐบาล ก็ไม่มีประโยชน์อะไร แต่อย่างน้อยมีสิ่งที่คิดออกอย่างหนึ่ง คือ เมื่อพูดถึงวินัยการเงินการคลัง และการกู้เงิน ทุกคนก็บอกว่าเขียนไปอย่างนี้ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง แต่กฎหมายวินัยการเงินการคลังมีคนพูดมานานแล้วแต่ยังไม่มีใครออก ก็คิดกันว่า เอาแบบนี้สิ เราเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง เมื่อพ้น1ปีแล้ว กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังยังไม่ออก การกู้เงินของรัฐบาลจะกระทำไม่ได้ หรือกระทำได้เพียงไม่เกิน1เปอร์เซ็นต์ เขียนเพียงเท่านี้ รับรองว่ากฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังจะต้องออกแน่นี่เป็นสิ่งที่คิดออก ถึงมาตราการSanctionโดยไม่ต้องเอาไปติดคุก ติดตะราง
สิ่งที่หลายคนกลัว คือ เมื่อเลือกตั้งเสร็จก็จะกลับมาทะเลาะกัน ดังนั้นกลไกที่ต้องมาดูแลเรื่องนี้ต้องเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่
มีชัย :รัฐธรรมนูญต้องมีเกราะป้องกันไม่ให้ใครก่อเหตุ จนกระทั่งบ้านเมืองไปไม่ได้ แต่จะมีอย่างไร ก็ยังนึกไม่ออก บางเรื่องนั้น คิดได้เค้าๆว่า หากเกิดปัญหาอย่างนี้ ต้องให้องค์กรใดสักองค์กร เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ว่า สิ่งนี้ใช่หรือไม่ใช่ แล้วให้จบ เพื่อให้ทุกคนจบ เดิมที่เป็นปัญหาเพราะเมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่รู้จะไปหาใคร
แต่บางครั้ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญชี้ เขาก็ไม่ยอมรับ เพราะมีคนที่ไม่ยอมรับเหมือนกัน?
มีชัย :ที่ไม่ยอมรับแบบนั้น ใช้ไม่ได้หรอก ทำไมเวลาทีประชาชนเลือกมาคนก็บอกว่าคุณไปโกงเขามา คุณก็ตอบกลับว่าไม่ได้ประชาชนยอมรับแล้ว เพราะเอาผลมาตอบ ดังนั้นกรณีเรื่องอื่นจะไม่เอาผลมาได้อย่างไร กติกาต้องเป็นกติกา
มองว่าประเด็นคนที่มาชี้ว่าเพื่อไม่ให้ทะเลาะกัน แล้วให้เดินหน้าไปได้ ต้องเป็น คสช. เท่านั้น?
มีชัย :ไม่จำเป็น เพราะขึ้นอยู่กับว่าเป็นเรื่องอะไร คสช. อยู่ไปได้นานแค่ไหนกันหละ
รัฐธรรมนูญจะเป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาการเมืองไทย?
มีชัย :มันไม่ใช่ เพราะเมื่อเขียนรัฐธรรมนูญไปแล้ว ก็เป็นเพียงกรอบให้สังคม และเป็นวิธีการให้กับบางเรื่องเท่านั้น จะเขียนรายละเอียดจำนวนมากไม่ได้ เนื่องจากหากผมคิดวิธีการได้ในวันนี้ และเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แปลว่าผมได้ผูกมัดพวกคุณไว้ไปตลอด จะถูกหรือผิดก็ยังไม่รู้ เมื่อถึงเวลาจริงๆ อาจจะทำไม่ได้ อาจหงายหลังล้มตึงได้
ดังนั้นรัฐธรรมนูญเราจะเขียนให้สั้น โดยเขียนในแง่ของหลักการ รายละเอียดไปคิดกันเอา ในวันข้างหน้าก่อนวันแรกที่จะไปเลือกตั้งก็คิดได้ส่วนหนึ่ง พอไปเลือกตั้งอีกครั้งพบว่าที่คิดนั้นมันแย่ ก็จะเปลี่ยนได้ โดยไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นรัฐธรรมนูญต้องแก้ไขได้ง่ายกว่าเดิมหรือไม่?
มีชัย :รัฐธรรมนูญ ควรถูกแก้ยาก ไม่ควรแก้ง่ายเหมือนกฎหมาย เพราะฐานะของรัฐธรรมนูญสูงกว่ากฎหมายธรรมดามาก กฎหมายใดๆ มาขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็เจ๊งหมด
กับความยากของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ผมคิดว่าอาจไม่พอ เพราะท่าทางอาจจะอยู่ในอำนาจของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญต้องได้รับฉันทานุมัติจากหลายส่วน เราต้องไปคำนวณต้องทำอย่างไร เพื่อไม่ให้พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งแก้รัฐธรรมนูญได้ ซึ่งประเด็นนี้อยู่ระหว่างคิดว่าจะทำอย่างไรดี แต่คงไม่ใช่ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้เลย เพราะทำลำบาก ขณะนี้ยังไม่ได้คิดรายละเอียดเนื่องจากยังพิจารณาไม่ถึง แต่ได้คุยกับคร่าวๆ ว่า ไม่ควรให้ใครคนใดคนหนึ่ง หรือพรรคใดพรรคหนึ่งสามารถแก้รัฐธรรมนูญได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจะเป็นอันตราย ทั้งต่อประชาชนและพรรคการเมืองอื่น
มองประเด็นของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ในร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกมองเป็นจุดตายของ อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ?
มีชัย :ผมไม่ได้คิดเรื่องนี้ แต่ที่บอกว่าเป็นตายของอาจารย์บวรศักดิ์ ไม่แน่ อาจเป็นเพราะความรู้สึกของสื่อมวลชน แต่ที่ผมได้รับจดหมายหรือจากคนที่มาหา เขาบอกว่าไม่ใช่เป็นจุดตาย แต่เป็นอีกอย่างหนึ่ง คือ กระบวนการหลังจากนั้น เขาบอกว่าการมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ก็ไม่ขัดข้อง เราก็ฟังไป ยังไม่มีสิ่งรีบด่วนที่จะต้องไปคิด
ทั้งนี้ในร่างรัฐธรรมนูญ หลายคนก็ติดใจเรื่องอื่นซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ เช่น ระบบเลือกตั้งที่ใช้ของประเทศเยอรมนี เป็นต้น คือสิ่งที่ติดใจแต่ละคนก็ไม่หมือนกัน แต่เมื่อใดที่ถึงปัญหาที่Sensitive(มีความอ่อนไหว) คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญตกลงกันไว้ว่า จะออกไปถามชาวบ้าน จะออกไปทำแบบสำรวจความคิดเห็น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเชิญสำนักที่ทำการสำรวจความเห็นทุกสำนักมาคุย เพื่อหาหนทางที่จะออกไปสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ใช่ถามคนหรือใครต่อใครที่ไม่รู้เรื่อง โดยต้องถามความเห็นที่กระจายทั้งพื้นที่และคุณสมบัติของคน เอาอย่างตรงไปตรงมา
จะเอาความเห็นมาทำรัฐธรรมนูญได้อย่างไร?
มีชัย :โดยเมื่อผลออกมา เรื่องนี้ดี เราก็ทำ หรือหากกรณีมีให้เลือก ก็เสนอทางเลือกให้ประชาชนเลือก เมื่อประชาชนเลือกทางใดก็เอาทางนั้นมาพิจารณา โดยสิ่งที่จะออกไปถาม เรื่องบางเรื่องเราก็ไม่ต้องไปถาม เท่าที่ฟังๆ ดูไม่เห็นมีใครเห็นเป็นอย่างอื่น เช่น กลไกการขจัดการทุจริต, กลไกขจัดการโกงการเลือกตั้ง ไม่มีใครยังไม่เห็นเป็นอย่างอื่น แม้จะมีพิธีกรบางคนทำท่าจะเห็นเป็นอย่างอื่น เพราะตนถามไปว่ามีคนเริ่มคิดกันว่าโกงบ้างไม่เป็นไร ขอให้มีผลงานและแบ่งกันบ้าง พิธีกรก็บอกว่ามีเหตุผลดี ตนก็ชี้หน้าถามไปว่าโอเคนะ ยืนยันหรือไม่ เขาก็ตอบว่าไม่ยืนยันเมื่อเป็นอย่างนี้ตนก็รู้ว่าบางคนคิดในใจ แต่ไม่กล้าพูด นั่นแปลว่าหิริโอตัปปะของแต่ละคนยังมี ก็ยังดีใจว่า ยังไม่ถึงกับสิ้นหวัง
มองว่าการทำสำรวจความเห็นที่เห็นต่าง จะช่วยให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามติหรือไม่?
มีชัย :คิดว่าช่วยได้ เว้นแต่เมื่อผลสำรวจความเห็นออกมาแล้ว พรรคการเมืองไม่เห็นด้วย ซึ่งตรงนั้นต้องไปดูว่าจะทำอย่างไร
มองการเขียนรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การวางฐานอนาคตประเทศไว้อย่างไรบ้าง?
มีชัย :เรากำลังมองว่าพื้นฐานทั้งหมด เมื่อคิดย้อนไปนั้น จะอยู่ที่ระบบการศึกษา เพราะการศึกษาไม่ได้สอนคนให้มีวินัย เคารพกฎ กติกา และเคารพสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นในรัฐธรรมนูญใหม่ต้องมีบอกชัด เช่น คุณมีสิทธิ เสรีภาพไม่จำกัดได้ คือ เราจะให้อย่างไม่จำกัดเลย อะไรที่ไม่มีใครห้ามคุณทำไปได้เลย แต่ข้อหนึ่งต้องระมัดระวัง คือ1.ต้องไม่เป็นภัยต่อประเทศชาติ2.ไม่รบกวนความสงบสุขของประชาชน3.ต้องไม่ละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพของบุคคลอื่น สิ่งเหล่านี้เราจะเริ่มใส่ และกำลังคิดด้วยว่าจะมีกลไกอะไร ที่ใช้บังคับให้มีการปฏิรูปการศึกษา ให้เสร็จก่อนมีการเลือกตั้ง เพราะหากปล่อยไปเราเห็นหรือไม่ว่า10ปีที่ผ่านมา การศึกษาถูกทิ้งหมด เพราะถือเป็นกระทรวงเกรดซี ซึ่งผมก็แปลก ว่าสื่อมวลชนรับรู้อย่างหน้าตาเฉย ไม่เคยเกิดความรู้สึกเลยหรือว่า ภาระกิจของกระทรวงศึกษาธิการ คือการสร้างชาติ แล้วรัฐบาลถือว่าเป็นกระทรวงเกรดซีได้อย่างไร ตรงนี้ถือเป็นสิ่งที่อันตราย เพราะสื่อมวลชนไม่ตระหนัก แค่รับรู้เฉยๆ ว่าก็ดี สนุกดี ใครจะแย่งกระทรวงเกรดเอ ใครจะแย่งกระทรวงเกรดต่างๆ ลืมไปหมดว่านั่นไม่ใช่ประชาธิปไตย นั่นคืออนาธิปไตย
ขณะที่ทุกคนเรียกร้องว่าต้องเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยแบบไหน แบบใครจะทำอะไรก็ได้ บ้านเมืองจะเกิดอะไรก็ได้อย่างนั้นหรือ
จะเขียนอย่างไรเพื่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาสำเร็จภายในก่อนเลือกตั้ง เพราะเวลามีอยู่นิดเดียว?
มีชัย :กว่าเขาจะเลือกตั้งก็มีเวลาอีก1ปี ดังนั้นต้องเริ่มลงมือ นี่เป็นความอยาก ส่วนวิธีที่จะทำให้เกิดผลจริง ต้องไปช่วยคิดว่าจะทำอย่างไร หากเห็นด้วยกับการปฏิรูปการศึกษา ต้องช่วยกัน เพราะทุกคนเคยเผชิญปัญหามาแล้ว ทุกคนได้เข้ามหาวิทยาลัย วิชาที่ต้องเรียน คือ สื่อสารภาษาไทย การศึกษาเราเป็นอะไรไป เรียนจนเข้ามหาวิทยาลัยแล้วยังต้องมาเรียนการสื่อสารภาษาไทย อย่างตนตอนประถมศึกษา ที่2สามารถสื่อสารกับคนอื่นและอ่านหนังสือธรรมะก็ได้แล้ว แต่สมัยนี้เป็นอะไรไป
มองอย่างไรที่คนมองว่า อาจารย์จะถูกขอแรงให้มาช่วยหลังมีรัฐประหารตลอด?
มีชัย :ผมก็เหมือนคุณ (สื่อมวลชน) เวลามีประเด็นสำคัญ กองบรรณาธิการ ก็ใช้ไปสัมภาษณ์ แล้วคุณรู้สึกอย่างไรบ้างหละ ก็อาจจะดีใจเพราะเป็นเรื่องสำคัญ แต่สำหรับผมไม่ได้ดีใจ แต่ผมเป็นคนไทยคนหนึ่ง เมื่อถึงคราวที่เขาจะพึ่งพาความรู้ความสามารถ แล้วมาให้เราทำ เราจะห่วงสบายได้อย่างไร
อนาคตทางการเมืองที่ต้องไปสู่การเลือกตั้ง รอยต่อของการเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลคสช. ไปสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จะสร้างความนุ่มนวลอย่างไร?
มีชัย:ก็ต้องไปคิด พวกนี้ต้องไปคิดทั้งนั้นว่าจะทำอย่างไร ตอนนี้ยังคิดไม่ออก
จะบอกคนไทยอย่างไร ต่อมุมมองที่ว่าเรากำลังจะสร้างบ้านหลังใหม่ที่มั่นคงแข็งแรง แต่ยังใช้ช่างไม้ชุดเดิม?
มีชัย :เพราะว่าเมื่อมาไว้ใจให้ทำ ช่างไม้ก็ทำเต็มความสามารถ แต่ช่างไม้ไม่ได้คิดคนเดียว ช่างไม้ถามเจ้าของบ้านทุกคนให้ช่วยกันคิด หากไม่ช่วยกันคิด แสดงว่าคุณวางใจให้ผมคิดอะไรก็ได้ ตามที่สติปัญญาผมจะมี แต่หากคุณคิดว่า นี่เป็นบ้านของคุณ คุณต้องช่วยกันคิด                                                      

 อ่านฉบับเต็ม
1) http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/669794

2) http://www.posttoday.com/politic/396764

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

ลำดับความรุ่งเรืองประเทศมหาอำนาจโลก

...การผลัดเปลี่ยนชนชาติอารยธรรมความรุ่งเรืองศิวิไล   เรียงตามยุคสมัย   มีเวลาที่เจริญรุ่งเรืองทับซ้อนพร้อมกันบ้าง ได้แก่

1)อียิปต์ 3 พันสองร้อยปี (3150 ปีก่อน คศ.- 31 ปีก่อน คศ.)

2)กรีก 6 ร้อยปี( ตั้งแต่ประมาณ 800 ปีก่อน คศ. - 200 ปีก่อน คศ.)กำเนิดนักปราชนักปรัชญาของโลกมากมาย  ปี 336-323 ก่อนคริสตกาล (13ปี) อเล็กซานเดอร์มหาราช นักรบ แห่งมาซีโดเนียซึ่งเป็นแคว้นทางเหนือของกรีก  บุกพิชิตเอเซียไมเนอร์ของอาณาจักรเปอร์เซีย บุกยึดซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย พิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียทังหมด  ยกทัพต่อไปยังอินเดีย การพิชิตและปกครองเองโดยคนกรีก ได้เผยแพร่วัฒนธรรมเฮเลนนิสติกของกรีกไปด้วย

3)จักรวรรดิเปอร์เซีย  2 ร้อยปี (550-330 ปี ก่อนคศ.)จักรวรรดิต่าง ๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมา ในดินแดนเกรตเตอร์อิหร่าน ปกครองในที่ราบสูงอิหร่านรวมถึง เอเซียตะวันตก เอเซียใต้ เอเซียกลาง เอเซียไมเนอร์ และคอเคซัส (ไม่เกี่ยวกับอียิปต์) ตั้งแต่ 728 ปี ก่อนคศ.ต่อเนื่องถึงปี คศ. 1935 เรียกรวมกันว่าจักรวรรดิเปอร์เซีย บางช่วงเวลาอ่อนแอ บางช่วงเป็นมหาอำนาจของโลก 550-330 ปี ก่อนคศ.ช่วงเวลานี้รบชนะกรีกหลายครั้ง โรมันกำลังเริ่มต้น พื้นที่ศูนย์กลางของจักรวรรดิ ตั้งอยู่บริเวณจังหวัด ฟาร์สหรือพาร์ส ของอิหร่าน

4)โรมัน มีอำนาจ 2 พันปี มีอำนาจในทวีปยุโรปทั้งหมด ทวีปอัฟริกา เอเซียไมเนอร์ ดินแดนตุรกีบางส่วน (ก่อน คศ.509 ปี - คศ.1453)

5)ออตโตมาน (ตุรกี)  มีอิธิพลเกือบ 5 ร้อยปี  (คศ.1453 - คศ. 1928) หลังยึด"คอนสแตนติโนเปิล"เปลี่ยนเป็น "อิสตันบูล" ครอบครอง ทวีปอัฟริกาและตะวันออกกลางทั้งหมด เอเชียกลาง เอเชียไมเนอร์ ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ชนพรมแดนออสเตรียฮังการี ชนทะเลดำรัสเซีย 2-3ร้อยปีหลังยังยืนอยู่ได้เพราะชาติยุโรปไม่กล้าเข้าไปยุ่งเนื่องจากชาติยุโรปต่างเกรงกันเอง ต่างกันท่าไม่ยอมให้ใครได้อำนาจเกินตน  ทั่งที่ออตโตมานอ่อนแอลงมาก

6)ยุโรป มีอำนาจล่าอาณานิคมครอบครองโลกทั้งใบ ยกเว้น รัสเซีย ตุรกี ญี่ปุ่น ไทย   450 ปี ผู้นำได้แก่ สเปน โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรียฮังการี เยอรมัน (1492 - 1945) มีนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ เกิดขึ้นมากมาย ยึดเอาของมีค่า,ผ่องถ่ายนำทรัพยากรธรรมชาติ เข้าไปใช้จ่ายบริโภคในยุโรปจำนวนมาก

7)อเมริกา/รัสเซีย   ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ คศ. 1992 เป็นต้นมา รัสเซีย เสื่อมอำนาจลงมากแตกออกเป็นเสี่ยง หลังจากเคยแผ่อำนาจครอบครองยุโรปตะวันออกทั้งหมด  รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านไทยอย่าง เวียตนาม ลาว กัมพูชา

8)อนาคต  กำลังจะเป็นใครไม่อาจฟันธงได้ มหาอำนาจเดิมย่อมไม่ยอมแพ้โดยง่าย คงสู้กันทุกวิชาอาคม เมื่อปี 2519 เติ้งเสี่ยวผิง ประกาศว่า ไม่สนใจว่าแมวสีอะไรถ้าจับหนูเก่งถือว่าใช้ได้   ปีนั้นเติ้งเริ่มส่งเยาวชนจีนออกไปเรียนรู้ต่างประเทศทั่วโลกต่อเนื่อง และกลับมาพัฒนาชาติจำนวนมาก จีนมีอารยธรรม บนโลกมาตั้งแต่ 2000 ก่อน คศ. สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จีนเริ่มสร้างกำแพงเมืองจีน ก่อนคริสตกาลหลายปี ค้นพบเข็มทิศ ดินปืน ค้นพบดินแดนอเมริการก่อนยุโรป แต่วัฒนธรรมเอเซียไม่ยึดครอบครองมาเป็นอาณานิคมต่างแดน

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 7 ก.ย. 2558 05:01
134 ครั้ง





สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น อาจเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศไทย ถ้า พล.อ.ประยุทธ์และบุคคลชั้นแนวหน้า ระดับมันสมองของประเทศ ที่อาสาเข้ามาช่วยในนาม “ซุปเปอร์บอร์ด” หรือคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) สามารถทำได้สำเร็จ นั่นคือ “การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ”
กระบวนการที่พวกเขากำลังจะปรับเปลี่ยนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีขนาดทรัพย์สินพอๆ กับขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เคยมีความพยายามผลักดันในช่วงการเมืองปกติ แต่ถูกนักการเมืองตีตกไป
ในครั้งนี้ พวกเขากำลังสร้าง “บรรษัท วิสาหกิจแห่งชาติ” ที่จะมาดูแลโครงสร้าง การบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ 12 แห่ง
 สิ่งสำคัญมากที่สุด คือ การหาแนวร่วมและทำความเข้าใจกับสาธารณชน ตัวแทนของ “ซุปเปอร์บอร์ด” 4 คน ได้แก่ นายบรรยง พงษ์พานิช นายวิรไท สันติประภพ นายรพี สุจริตกุล และ นายกุลิศ สมบัติศิริ จึงมาเยี่ยมเยียนถึงสำนักงาน “หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ”
เพื่อชี้ชวนให้เห็นว่า สิ่งที่พวกเขากำลังทำ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปครั้งใหญ่ของประเทศ จะให้คุณประโยชน์มากเพียงใดต่อประเทศชาติของเรา

บรรยง พงษ์พานิช
“สิ่งที่คิดว่าจะมีการปฏิรูปและเป็นเรื่องค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนภูมิทัศน์ของรัฐวิสาหกิจในอนาคต รวมทั้งอาจจะมีผลไปถึงภูมิทัศน์ทางการเมืองบางประการ”
ทำไมถึงต้องปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากใน 10 ปีที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจจาก 4.7 ล้านล้านบาท ใน 10 ปีก่อน หรือปี 2546 ขยายขึ้นมาเป็น 11.8 ล้านล้านบาท ในปี 2556 ขยายตัวในอัตราที่มากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากมาย
โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ มีทรัพย์สินขยายตัวจาก 1 ล้านล้านบาท มาเป็น 4.5 ล้านล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยเอาทรัพยากรทางเศรษฐกิจเข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐและนักการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆใน 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง ค่อนข้างจะสวนกระแสของโลก ที่จะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ
ขณะที่ในด้านของรายได้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว รัฐวิสาหกิจมีรายได้อยู่ 1.5 ล้านล้านบาทในปี 2546 แต่พอมาปี 2556 รายได้เพิ่มมาเป็น 5.1 ล้านล้านบาท หรือ 40% ของจีดีพี จากเดิมที่อยู่ที่ระดับ 20% ของจีดีพี ขณะที่งบลงทุนภาครัฐ ปีละ 600,000-700,000 ล้านบาท ครึ่งหนึ่งจะอยู่ในรัฐวิสาหกิจ ยิ่งมองไปข้างหน้าโครงการใหญ่ๆทั้งหลายจะอยู่ในรัฐวิสาหกิจมากขึ้น
แต่เมื่อดูเรื่องของประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ปกติจะได้ยินว่ารัฐวิสาหกิจกำไรรวมกันปีละ 300,000 ล้านบาท ฟังดูเยอะแต่ถ้าเทียบว่าจากทรัพย์สิน 11.8 ล้านล้านบาท ถือเป็นผลตอบแทนต่อทรัพย์สินหรือ return on asset (ROA) ที่ต่ำมาก
เมื่อดูในรายละเอียด ก็พบว่ารัฐวิสาหกิจที่ได้กำไร ก็เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะผูกขาดอยู่ เช่น การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ขณะที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็มีส่วนของการผูกขาดเรื่องการซื้อก๊าซแต่เพียงผู้เดียว และมีรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดโดยธรรมชาติ เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. การท่าเรือแห่งประเทศไทย พวกนี้ก็จะมีกำไร
แต่รัฐวิสาหกิจที่แข่งขันกับเอกชน เช่น ด้านโทรคมนาคม คือ ทีโอที แคท หรือด้านคมนาคม ได้แก่ การบินไทย รถไฟ กลับขาดทุน มีตัวอย่างรัฐวิสาหกิจที่ดูว่ามี ROA สูงที่สุด คือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. แต่สาเหตุมาจากต้นทุนทรัพย์สินค่อนข้างต่ำ เพราะว่ากรมธนารักษ์เวนคืนที่ดินมาตั้งแต่ 40 ปีแล้ว ขณะที่ทรัพย์สินของท่าอากาศยานอื่นๆต้องถมทะเล ต้นทุนจึงสูงมาก
แต่รายได้จากร้านค้าปลอดภาษี ปกติสนามบินหลักจะมีรายได้ ส่วนนี้ 25% ของรายได้ทั้งหมด แต่ของ ทอท.มี 15% ของรายได้ และเมื่อดูด้านคุณภาพ สนามบินสุวรรณภูมิ ตอนเปิดอยู่อันดับ 17 ของโลก แต่ตอนนี้อยู่อันดับที่ 47 คือสวนทางกัน
สำหรับรัฐวิสาหกิจที่แข่งขันกับเอกชนทางด้านโทรคมนาคม อย่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีพนักงาน 22,000 คน ขณะที่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส มีพนักงาน 9,600 คน แต่เอไอเอส มีรายได้ 5 เท่าของทีโอที เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และตลอด 5 ปีที่ผ่านมาทีโอทีลงทุน 40,000 กว่าล้านบาท แต่ไม่มีรายได้เพิ่ม
การลงทุนที่สะท้อนที่สุด คือการได้ลงทุนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ก่อนคนอื่น 2 ปี ไม่ต้องเสียค่าต๋งค่าคลื่น ไม่ต้องไปประมูลมา ลงทุนไป 20,000 ล้านบาท แต่วันนี้ เอกชนที่ต้องเสียเงินประมูลคลื่นมาให้บริการ มีลูกค้ารวมกัน 85 ล้านเลขหมาย ทีโอทีมีอยู่ 400,000 เลขหมาย สะท้อนให้เห็นการทำงานไม่อยู่ในสภาพแข่งขันได้ ฉะนั้นที่จะขอเก็บคลื่น 900 MHz ไว้ก่อน เพื่อทำ 4 จีอีก ก็เป็นเรื่องที่ยากจะอนุมัติได้
พอมาวิเคราะห์สาเหตุสำคัญ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เป็นเรื่องของแต่ละองค์กร หรือเป็นปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหารจัดการ ต้องสรุปว่า ที่รัฐวิสาหกิจ 56 แห่งไม่มีประสิทธิภาพและรั่วไหลเยอะมาก เกิดมาจากปัญหาในเชิงโครงสร้าง คือ ถูกแทรกแซงโดยมิชอบจากทางการเมือง เพราะถ้าเป็นรัฐบาลแถลงนโยบายชนะเลือกตั้งมา มีสิทธิ์จะแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และมีการแทรกแซงโดยไม่ชอบเช่น การตั้งผู้บริหาร การตั้งคณะกรรมการ การจัดซื้อจัดจ้าง
รัฐวิสาหกิจปัจจุบันมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายและมีเป้าหมายที่สับสน เช่น เป้าหมายให้ทำกำไร แต่อีกเป้าหมายหนึ่งก็ให้บริการประชาชนให้ทั่วถึง ถึงแม้จะไม่มีกำไร อีกทั้งมีบทบาทที่ขัดแย้งกัน คือบทบาทในการกำหนดนโยบาย บทบาทในการกำกับดูแลและบทบาทในการดำเนินการ ทับซ้อนและอยู่ภายใต้กระทรวง ทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้
ฉะนั้น ปรับโครงสร้างที่ทำครั้งนี้ จะตอบโจทย์ที่จะให้การบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานสากล ในความเห็นของพวกเรา การที่ประเทศไทยติดกับดักการพัฒนา ตรงนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุใหญ่ เพราะเรานำทรัพยากรจำนวนมหาศาลไปอยู่ในที่ที่บริหารอย่างไม่มีประสิทธิภาพและรั่วไหล
กิจการของรัฐวิสาหกิจนอกจากใหญ่แล้ว สินค้าและบริการยังเป็นความจำเป็นของประชาชน และเป็นพื้นฐานสำคัญที่กิจการอื่นจะต้องมาใช้ ถ้าตรงนี้ไม่มีประสิทธิภาพ ก็ทำให้ประเทศโดยรวมมีประสิทธิภาพได้ยาก

วิรไท สันติประภพ
“ถ้ามองว่าอะไรจะเป็นกลไกสำคัญ ที่จะยกระดับเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้ ให้พ้นกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง รัฐวิสาหกิจจะเป็นหัวใจสำคัญ เพราะว่าสินทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์ ยุทธศาสตร์ของประเทศตอนนี้อยู่ในมือของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด”
ประการต่อมา รัฐวิสาหกิจเป็นผู้เล่นรายสำคัญในหลายตลาด ถ้าเรามีผู้เล่นรายใหญ่ที่มีบทบาทในบางตลาดและเป็นผู้กำกับดูแลด้วย ก็จะทำให้ผู้เล่นเก่งๆในภาคเอกชนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะถ้าพี่ใหญ่ในตลาดมีอำนาจเหนือตลาด แต่ไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะดึงให้คนเก่งๆเกิดในตลาดก็ยาก
ที่น่าสนใจคืองบประมาณของรัฐวิสาหกิจแต่ละปี ประมาณเท่าตัวของงบประมาณของรัฐบาลกลาง จึงมีความสำคัญสูงมาก หากไม่จัดการ รัฐวิสาหกิจก็จะวนอยู่ในกับดักแบบนี้
องค์ประกอบของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในรัฐวิสาหกิจที่ทั่วโลกมีแต่เราไม่มีคือ คนที่ทำหน้าที่องค์กรเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แทนประชาชน
ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) และธนาคารโลก ออกมาในทิศทางเดียวกันว่า การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีองค์กรทำหน้าที่เป็นเจ้าของ เหมือนที่มีผู้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนแทนประชาชน
ถ้าดูพัฒนาการขององค์กรเจ้าของ เริ่มต้นคล้ายๆกันในทุกประเทศ ตั้งแต่รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นมาแล้วแปะไว้ตามกระทรวงต่างๆ เช่น รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับพลังงาน ก็ให้กระทรวงพลังงานเป็นเจ้าของ เรื่องที่เกี่ยวกับการขนส่งก็ไปอยู่กระทรวงคมนาคม ซึ่งจะเกิดปัญหาการทับซ้อนกันว่ากระทรวงคมนาคมก็เป็นคนวางนโยบายเอง เป็นคนกำกับดูแลเองและเป็นเจ้าของเองด้วย
“หลายครั้งก็ไปนั่งเป็นบอร์ดอยู่ในรัฐวิสาหกิจ ทำให้การแบ่งแยกหน้าที่ไม่ชัดเจน เกิดปัญหาก็ชี้นิ้วไม่ได้อันนี้เป็นนโยบายผิดพลาด หรือบริหารผิดพลาด หรือกำกับดูแลไม่ดี และหลายครั้งในการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย นักการเมืองจะมีอิทธิพลสูงมาก”
เมื่อมีหลายประเทศที่ตระหนักถึงปัญหาเหล่านั้น ก็จะมีหน่วยงานขึ้นมาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ซึ่งประเทศไทยอยู่ในขั้นที่ 2 คือ มีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพยายามวางมาตรฐานให้อยู่ในกรอบเดียวกัน แต่ยังไม่มีอำนาจเหมือนรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงและไม่มีอาวุธในมือที่จะไปทำอะไรได้
สำหรับองค์กรเจ้าของแบบรวมศูนย์ ทำหน้าที่เรียกว่าแทบจะแทนรัฐบาล เป็นเจ้าของอย่างจริงจัง ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จ จะต้องเป็นองค์กรเจ้าของที่มีความเป็นอิสระจากการเมืองในระดับหนึ่งและต้องมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
ที่คาดหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน คือลดความซับซ้อนของบทบาท ให้คนทำหน้าที่เป็นเจ้าของอย่างจริงจัง เช่น เป็นผู้กำหนดนโยบาย เป็นผู้กำกับดูแล การแทรกแซงทางการเมืองก็จะทำได้ยากขึ้น กรอบกฎเกณฑ์ กติกา ไม่ให้องค์กรเจ้าของถูกใช้ทางการเมือง
จุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาในกรอบใหม่ กระทรวงเจ้าสังกัดยังเป็นผู้ให้นโยบาย เพราะอย่างไรรัฐวิสาหกิจจะยังต้องเป็นเครื่องมือและเป็นกลไกในการทำงานของรัฐบาล แม้ว่าเราจะต้องการให้เป็นอิสระปลอดจากการแทรกแซงจากการเมือง แต่รัฐบาลต้องมีอำนาจในการวางนโยบายกำกับรัฐวิสาหกิจได้
ขณะที่การกำหนดนโยบายต่างๆจะต้องมีการคำนวณต้นทุนที่ชัดเจน มีหลักการเรื่องการจัดทำบัญชีการให้เงินอุดหนุนสาธารณะ (PSO) และบัญชีการดำเนินตามนโยบายรัฐ (PSA) ที่ชัดเจน ซึ่งจะแตกต่างจากที่ผ่านมา เวลาที่รัฐบาลหนึ่งทำ เปลี่ยนอีกรัฐบาลใหม่มา ก็บอกว่าเป็นภาระที่เกิดจากรัฐบาลเก่า กลายเป็นพอกหางหมู มาล้างหนี้ทีละเป็นแสนล้าน
สำหรับองค์กรเจ้าของ ประการแรกเหมือนเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทขนาดใหญ่ ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของตัวบริษัทในระยะยาว ที่สำคัญมากคือการตั้งกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะมีกระบวนการหาผู้ที่เป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น เหมือนกับการตั้งกรรมการบริษัทจดทะเบียน ต้องทำหน้าที่บริหารทรัพย์สินให้เกิดมูลค่าเพิ่มที่สุด และทำให้เกิดการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ส่วนรัฐวิสาหกิจคงเหลือหน้าที่เป็นแค่เพียงผู้ให้บริการ
ตัวอย่างขององค์กรเจ้าของที่เราคุ้นกันดี คือเทมาเสก (Temasek) ในสิงคโปร์ มาเลเซียมีคาซาน่า (Khazanah) จีนมีซาแซก (Sasac) แม้กระทั่งภูฏาน ก็ยังตั้งองค์กรเจ้าของ ทำหน้าที่ดูแลรัฐวิสาหกิจแล้ว
“ประเทศไทยมีความพยายามรอบนี้เป็นรอบที่ 3 ที่จะทำใน 2 รอบแรก ไม่ผ่านการเมือง เพราะอำนาจอย่างที่เคยเป็นอำนาจที่อยู่กับรัฐมนตรีต้นสังกัด จะถูกดึงออกมา แต่รอบนี้เป็นรอบที่ทำแล้วกว้างไกลและก้าวไกลกว่าใน 2 รอบแรก และมีลักษณะของการใช้รัฐวิสาหกิจในลักษณะรับผิดรับชอบมากขึ้น”
ทั้งนี้ โครงสร้างใหม่ที่จะเกิดขึ้น ข้างบนสุดคือคณะรัฐมนตรี ภายใต้จะมีคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เรียกว่าเป็นซุปเปอร์ แอดไวซอรี่ บอร์ด หรือซุปเปอร์ บอร์ด ใต้ลงมาจะมีองค์กร นั่นคือ บรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ซึ่งจะขนานคู่กับ สคร.ที่สังกัดกระทรวงการคลัง
“ซุปเปอร์บอร์ด”ชูนโยบายรัฐ ปลดกับดักพัฒนาเศรษฐกิจชาติ
ในรอบแรกเราจะโอนรัฐวิสาหกิจที่ผ่านการแปรสภาพมีทุนเรือนหุ้นแล้ว ตั้งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชน หรือจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทเหล่านี้ชัดเจนว่ามีวัตถุประสงค์ รูปแบบธุรกิจหลักเป็นเชิงพาณิชย์ ก็จะโอนเข้ามาอยู่ภายใต้บรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ประมาณ 12 รัฐวิสาหกิจในตอนนี้
โดยรัฐวิสาหกิจที่เริ่มทำ 12 แห่ง เป็นบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ได้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท บางจาก-ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน), บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
ในส่วนนี้คิดในแง่ทุนคิดเป็น 1.2 ล้านล้านบาท ในแง่ทรัพย์สิน 3 ล้านล้านบาท ส่วนอนาคตมีความหวังว่าจะเดินต่อไปได้ดี กระแสสังคมอาจจะส่งเสริมให้มีการย้ายเข้ามาเพิ่มมากขึ้น
สำหรับโครงสร้างบรรษัทที่จัดตั้งขึ้นมา มีกระทรวงการคลังถือหุ้น 100% กรรมการจะเป็นกรรมการอิสระทั้งหมด กรรมการเป็นมืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญ มีความเป็นอิสระในแง่ของงบประมาณ รายได้ที่รัฐวิสาหกิจนำส่ง 12 แห่ง บรรษัทก็มีสิทธิ์ที่จะหักบางส่วนไว้เป็นค่าบริหารจัดการ แต่จะไม่หักไว้สำหรับลงทุนอื่นๆ ที่เหลือก็จะนำส่งต่อเป็นรายได้แผ่นดิน เพราะว่าประเทศไทยรัฐบาลยังต้องพึ่งรายได้นำส่งจากรัฐวิสาหกิจ

รพี สุจริตกุล
กระบวนการทั้งหมดได้มีการร่าง พ.ร.บ.การกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ พ.ศ.... ขึ้นมา ขณะที่คืบหน้าไป 90-95% เหลือเพียงการตรวจถ้อยคำก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.)
“พ.ร.บ.ฉบับนี้พยายามสร้างระบบในการกำกับดูแลขึ้นมา ต้องเข้าใจก่อนว่ารัฐวิสาหกิจยังเป็นของรัฐอยู่ ถ้าเราจะตั้งองค์กรอิสระมาโดยที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับรัฐเลยคงเป็นไปไม่ได้ และรัฐวิสาหกิจยังต้องมีภารกิจที่จะต้องดำเนินนโยบายตามรัฐบาล แต่วิธีการในการดำเนินนโยบายต้องทำให้โปร่งใส ไม่ใช่งุบงิบทำ”
สำหรับ คนร. ซึ่งปัจจุบันเป็นระเบียบสำนักนายก ในครั้งนี้จะเขียนไว้ในตัวกฎหมายเลยว่าต้องมีคณะกรรมการชุดนี้อยู่ และต้องมีองค์ประกอบทางด้านการเมือง ข้าราชการประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกรรมการบุคคลภายนอก ซึ่งจะต้องเป็นผู้แทนใหญ่ของรัฐวิสาหกิจ เพราะจะเขียนบอกว่ารัฐวิสาหกิจจะต้องเสนอแผนไป 3 ปี 5 ปี เพื่อให้ คนร.เป็นผู้อนุมัติ แผนก็จะมาจากตัวรัฐวิสาหกิจเองก็ยังต้องคุยกับเจ้ากระทรวงอยู่ ว่าอยากทำอะไรและต้องประกาศแผนลงในราชกิจจาฯ
“ไม่ใช่รัฐมนตรีมาจะมาสั่งอย่างโน้นอย่างนี้ แผนที่จะทำต้องมองไปข้างหน้าระยะยาว ที่สำคัญเมื่อใดก็ตาม ถ้าแผนของรัฐบาลไปกระทบต่อเงินรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลต้องตั้งงบ ไม่ใช่ควักเงินไปใช้ก่อน เหมือนเอารัฐวิสาหกิจเป็นตัวประกัน เมื่อเกิดเอ็นพีแอลในอีก 3-4 ปีต่อมา แล้วรัฐบาลเปลี่ยนขึ้นมา ก็บอกว่าธนาคารจะเจ๊งเพราะหนี้เสียเยอะ จะทำอย่างไรก็ต้องเพิ่มทุนแล้ว ใครจะรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น”
เพราะฉะนั้นกฎหมายฉบับนี้จะบอกว่าถ้าต้องนำเงินของรัฐวิสาหกิจมาใช้ ซึ่งทำให้รัฐวิสาหกิจก่อให้เกิดปัญหา รัฐบาลจะต้องตั้งงบประมาณเป็นโครงการ ซึ่งจะทำให้เกิดการตรวจสอบกันในรัฐสภาว่า โครงการนี้ทำแล้วจะทำให้เกิดการขาดทุนหรือไม่ ไม่ใช่บอกว่าให้ทำไปก่อนแล้วจะกำไรขาดทุนค่อยไปว่ากันในวันข้างหน้า อย่างนี้จะทำให้ไม่เกิดความโปร่งใส เพราะเป็นทรัพย์สินของประชาชนไม่ใช่ทรัพย์สินของการเมือง
ส่วนกรณีที่มีปัญหาเฉพาะหน้าและเหตุการณ์เร่งด่วน ก็ตั้งงบประมาณได้ แต่ก็พยายามจะเขียนทางออกให้ไว้ว่าในกรณีที่เกิดเหตุการณ์สำคัญจริงๆ เร่งด่วน เช่น น้ำท่วม ก็ให้ใช้ไปก่อนได้ แต่ต้องตั้งงบประมาณมาชดใช้ในปีถัดไป อย่างน้อยผลักทั้งหมดให้เข้าสู่กระบวนการของรัฐสภา ไม่ได้ห้ามทำแต่ต้องทำให้โปร่งใส

กุลิศ สมบัติศิริ
“สคร. ยังมีหน้าที่อยู่คือดูสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่เรียกว่าปฏิรูปรัฐวิสาหกิจคืออะไร ตัวแผนพัฒนาระบบรัฐวิสาหกิจ และรัฐวิสาหกิจต้องเสนอแผนกรอบการลงทุนว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ต้องมองตัวเองว่าเป็นอย่างไร ผ่านรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัด”
หน้าที่ของบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ จะต้องทำแผนของรัฐวิสาหกิจ 12 แห่ง ประธานบรรษัทฯ เสนอเข้ามา ทาง คนร. ซึ่งมี สคร.เป็นเลขานุการ ก็ต้องรวบรวม และจัดทำแผนขึ้นมา 5 ปี เช่น สาขาพลังงานจะไปที่ไหน สาขาประปาจะเป็นอย่างไร โทรคมนาคมเป็นอย่างไร และก็จะมีแผนกลาง ที่เชื่อมโยงระหว่างกัน เช่น สาขา และสาขา พลังงานโทรคมนาคม ให้ใช้ไฟเบอร์ ออพติก ร่วมกันได้ไหม การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ลงทุนไม่ซ้ำซ้อน ทำอย่างไรที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ขณะเดียวกันจะต้องควบคุมเรื่องที่รัฐวิสาหกิจไปแตกบริษัทลูก หรือการยุบเลิกต่างๆ จะต้องมีการควบคุมซึ่งเป็นนโยบายกลาง อีกเรื่องคือเอกชนร่วมทุน
นอกจากนี้ ที่สำคัญที่จะมีการเปลี่ยนแปลงคือ การประเมินผล เนื่องจากรัฐวิสาหกิจจะต้องทำแผนรับวิสาหกิจเป็นแผนระยะ 5 ปี เหมือนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จากนั้นจะต้องทำเป็นแผนปฏิบัติการรายปี
ซึ่ง สคร. ก็จะกำกับว่าสามารถดำเนินการไปตามแผนได้สำเร็จหรือไม่ และใช้ตรงนี้เป็นการประเมินผล ซึ่งจะแตกต่างจากการประเมินทุกวันนี้ ที่ไม่ได้สะท้อนภาพรวมองค์กร และประเมินเพื่อที่จะเอาโบนัสกันไม่ได้ ซึ่งตัวประเมินใหม่จะต้องสะท้อนถึงภาพรวมองค์กร 360 องศา ประเมินทั้งกรรมการและประเมินทั้งองค์กร
หากประเมินผลแล้วทำไม่ได้ตามตัวชี้วัด จะต้องรีบแก้ไขรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลต่างๆทันที.
ทีมเศรษฐกิจ

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภาษี ปฏิรูป



สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินการคลัง เริ่มต้นว่า ข้อเสนอปฏิรูปที่สำคัญที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปเศรษฐกิจ คือ การปฏิรูปด้านการคลัง ซึ่ง สปช.เสนอปฏิรูปใน 2 ประเด็น คือ เรื่องภาษี และงบรายจ่ายของประเทศ สมชัย ขยายความว่า การปฏิรูปภาษีมีข้อเสนอ....... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/analysis/interview/385408


http://www.posttoday.com/analysis/interview/385408

ฐานคำนวนปี 2558

...ไทยมีผู้มีรายได้ทั้งหมด 38 ล้านคน มายื่นเสียภาษี 11.7 ล้านราย เสียภาษีจริง 3 ล้านคน หนีภาษี 26.3 ล้านราย  (นายกพูดในรายการวันศุกร์ที่30 ตค.58) แต่ละปี หนีภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 70%
...นิติบุคคลจดทะเบียน จำนวน 1.5 ล้านราย เสียภาษีเพียง 6 แสนราย  (นายกพูดในรายการวันศุกร์ที่30 ตค.58) หนีภาษีรายได้นิติบุคคล 60%
 ...ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไทยทั้งหมด 2.7 ล้านราย เสียภาษีเพียง 3 แสนราย หนีภาษี 2.4 ล้านราย แต่ละปี หนีภาษีรายได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล SME นี้ 88%
...ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย ผ่านเว็บไซด์ เฟซบุ๊ก ไอจี ทวิตเตอร์จำนวนทั้งหมดกว่า 5 แสนราย  แต่มีผู้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพียง 1.35 หมื่นราย และ 1.53 หมื่นเว็บไซด์ เพียง 6% ของทั้งหมด หรือหนีภาษีรายได้ด้านนี้ 94%
..อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมูลของไทยน้อยที่สุดในโลกเพียง 7%  ประเทศยุโรปอัตราเฉลี่ย 20% ไทยควรเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มได้แล้ว ใครซื้อสินค้ามากจับจ่ายใช้สอยมากกระทบมาก ชาวบ้านใช้จ่ายน้อยกระทบน้อย
...คนไทยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะการจับจ่ายในห้างใหญ่เท่านั้น ร้านค้าทั่วไป อู่ซ่อมรถ ร้านอาหารร้านค้าสถานบริการห้องแถวไม่มีระบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ละปี หนีภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ  70 %
...ภาษีศุลกากร ก็มีการหลบเลี่ยงช่วยเหลือโดยเจ้าหน้าที่ แต่ละปี หนีภาษีศุลกากร 30%
...ภาษีสัมประสามิตร มีการหนีภาษีสัมประสามิตร 30%
...รวมแล้วแต่ละปีไทยสูญเสียเงินภาษีประมาณปีละ 66.66%  คิดเป็นเงินที่สูญเสียทั้งสิ้นปีละ 4 ล้านล้านบาท เก็บภาษีได้จริงเพียงปีละ 33.33% คิดเป็นเงิน 2 ล้านล้านบาท(ฐานปี งปม. 2558)
...เงิน ปีละ 4 ล้านล้านบาท (ฐานคิดปี 2558) เป็นเงินจำนวนมากมหาศาล 2 เท่าของเงินภาษีที่เก็บได้ หรือ 2 เท่าของงบประมาณประจำปีของไทย ถ้าเก็บได้ครบ 100% จะเก็บได้ปีละ 6 ล้านล้านบาท(50%GDP) หรือถ้าเก็บภาษีได้เพียง ปีละ 4  ล้านล้านบาทเมืองไทย จะ ก้าวข้ามพ้นประเทศที่มีรายได้น้อย หรือประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูงเที่ยบเท่าประเทศเจริญระดับสากล มีกระแสเงินหมุนเวียน สามารถสร้างนวัตกรรม แก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำแตกแยกได้

...ร่างภาษีมรดกออกมาแล้ว ผู้ใดได้รับมรดกมูลค่า 100 ล้านบาท(ต่างประเทศ 0.5 แสนดอนล่า)ไม่ต้องเสียภาษีมรดกส่วนที่ มากกว่า100ล้านบาทเท่านั้นจึงจะเสียภาษีเพียง 5%  (ต่างประเทศ20-40%) คงมีคนเข้าเกณฑ์เสียภาษีมรดกตัวนี้ในประเทศไทยไม่กี่รายไม่ถึง 20 ราย/ปี ออกกฎหมายต้มคนดู

...รอดูร่างภาษีทรัพย์สิน จะออกมาอย่างไรต้มคนดูอีกไหม

...กฎหมายที่ออกมาย่อมเป็นประโยชน์ต่อชนชั้นผู้ออกกฎหมายหรือตามอำนาจนายทุนที่ครอบงำ

...ความเหลื่อมล้ำ อันมากมหาศาล ยากที่จะเกิดความปองดอง คนไทยเพียง0.5%(ประมาณ3-4แสนคน)เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 50% ของทรัพย์สินทั้งหมดในประเทศ (ดูจากบัญชีเงินฝากธนาคาร, เจ้าของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์, และเจ้าของโฉนดที่ดิน) คนจนยังถูกกลุ่มการเมืองใช้เป็นข้ออ้างปลุกระดมได้เสมอ

...คนจนยังขาดที่ทำกิน ปัจจัยสี่ไม่เพียงพอ ขาดอาหาร การรักษาพยาบาลขาดคุณภาพ ที่อยู่อาศัยไม่มีแม้ห้องน้ำ แต่คนรวยคนชั้นกลางอยู่อย่างสุขสบาย คนกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของรัฐมากที่สุด จึงต้องเป็นกลุ่มอุ้มชูสังคม เป็นผู้เสียภาษีให้รัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรมและเสียสระ

...ภาษีมูลค่าเพิ่มได้จาก การซื้อสินค้า ใช้บริการทั่วไปเช่นซ่อมรถ ที่ไม่ใช่ห้างไม่มีเสียภาษี   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยถูกที่สุดในโลกเพียง 7%   ยุโรป-อเมริกา 15-25% คนจับจ่ายซื้อของและใช้บริการมาก(คนมีเงิน)ย่อมเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาก คนจนใช้จ่ายน้อยย่อมกระทบกับภาษีมูลค่าเพิ่มน้อย

...คนเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเพียง 2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจเพราะหัก ณ ที่จ่าย ควรปรับปรุงให้คนวัยทำงานทุกคนต้องเสียภาษี มีรายได้น้อยเสียน้อยเพื่อสร้างความหวงแหนเงินภาษีของตน ใครไม่มีประวัติเสียภาษีไม่ให้รับเบี้ยยังชีพวัยชรา ยกเว้นคนพิการ

...เมืองไทยมีการหลบเลี่ยงภาษีกันมากได้รับการช่วยเหลือจากข้าราชการกรมเก็บภาษีนั่นเองคิดเป็นจำนวนเงินหลบเลี่ยงคอรับชั่นไม่ต่ำกว่าปีละ 17 % ของGDP เงินหายไปเท่ากับที่เก็บมาได้จริง ในแต่ละปีทีเดียว

...การเก็บรายได้เข้ารัฐประสิทธิภาพต่ำ เมื่อเทียบกับหลายประเทศ ไทยเก็บได้เพียง 17% ของ GDP (ต่างประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เก็บได้ 30-40% ของGDP ถือเป็นมาตรฐานสากล ประเทศใดหาได้น้อย GDP น้อย ก็เก็บน้อยตามอัตราส่วน ไม่เกี่ยวกับส่งออกได้มากได้น้อย GDP คือผลผลิตมวลรวมของชาติ เมื่อมีผลผลิตแต่ละรอบ ย่อมมีการจ้างงาน มีการขายจำหน่าย มีรายได้ มีมูลค่าเพิ่มทุกรอบ รัฐมีหน้าที่ปรับปรุงการทำงานหน่วยเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ) ต่างประเทศที่สามารถเก็บภาษีได้มากหลบเลี่ยงน้อยเพราะใช้วิธี ระบบการใช้จ่ายผ่านบัตรหรือการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ การใช้จ่ายจะถูกหักภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่จ่ายโดยตรง ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ภาษีรายได้นิติบุคคลจะถูกคำนาณจากข้อมูลรายได้ประจำปี

...[GDPไทยปี 2456 จำนวน 12 ล้านล้านบาท เก็บรายได้ได้ 2 ล้านล้านบาท 17% ของGDP ใช้เงินที่เก็บได้เป็นงบประมาณรายจ่ายในปีนั้น]

...งบประมาณไทย 80% ใช้จ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการลูกจ้าง และ 20% ใช้เป็นงบลงทุนเช่นสร้างถนน,โครงสร้างพื้นฐาน,สวัสดิการ,โครงการรัฐบาล

...เรามักเรียกร้องให้รัฐ จัดงปม.เพื่อ ดำเนินการวิจัยนวัตกรรมอย่างน้อย 3 %ของGDP ตามอย่างประเทศพัฒนา แต่ไม่เรียกร้องให้รัฐเก็บรายได้ใกล้เคียงประเทศพัฒนา 35-40%ของGDPด้วย ไทยเก็บรายได้ ได้เพียง 17%ของGDP ดังนั้นหากนำเงินจำนวน 3%ของGDP ซึ่งมีค่าเท่ากับ 18% ของงบประมาณไปใช้จ่ายด้านวิจัยแทบไม่เหลือเป็นเงินลงทุนด้านอื่น ๆ เลย

...เก็บได้ 17% ของ GDP เป็นเงิน 2 ล้านล้านบาท ถ้าเราเก็บได้ 35% ของ GDP เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นเงินงบประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 4 ล้านล้านบาท ใช้เป็นเงินเดือนข้าราชการ 1.6 ล้านล้านบาท ที่เหลือ 2.4 ล้านล้านบาท ใช้สร้างโครงสร้างพื้นฐานและต่อยอดโครงการแก้ความเหลื่อมล้ำได้อย่างพอเพียง ทำได้ทุกปีไม่ต้องกู้ โครงการละ 4 แสนล้านบาท เช่น

1)ใช้เป็นเงินเดือนข้าราชการ 1.6 ล้านล้านบาท
2)เงินวัสดุครุภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้จ่ายในสำนักงานทุกกระทรวง 4 แสนล้านบาท
3)สร้างนิคมการเกษตร นิคมอาชีพมีที่อยู่ที่ทำกินพร้อม ครอบครัวละ5ไร่พร้อมแหล่งน้ำตลอดปี ให้คนจนไร้ที่ทำกินเช่าราคาถูก ปีละแสนครัวเรือน ปีละ 2 แสนล้าน
4)รถไฟรางคู่ ปีละ4 แสนล้าน
5)โครงการเรียนฟรีมีคุณภาพ ปีละ2 แสนล้าน
6)โครงการรักษาฟรีตลอดชีพอย่างมีคุณภาพ และโครงการเบี้ยยังชีพคนอายุ60ปีขึ้นไปจ่ายคนละหมื่นบาท/เดือนอยู่ได้อย่างสบาย ปีละ4 แสนล้าน
7)สร้างถนน และระบบชลประทานป้องกันน้ำท่วม ป้องกันน้ำแล้ง ปีละ4 แสนล้าน
8)สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อต่อยอดอุตสาหกรรม 4 แสนล้านบาท

...ประเทศไทยติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ประเทศรายได้สูง ก้เพราะ 2 ปัจจัยสำคัญคือ

1)เราจัดเก็บรายได้ได้น้อย เงินไม่พอใช้จ่ายลงทุนสร้างนวัตกรรม สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

2)คอรับชั่นทุกหย่อมหญ้าเงินลงทุนร้อยเหลือเป็นเนื้อประโยชน์พัฒนาจริงเพียง 50%



*****************************


รายได้จากภาษีเทียบเป็นร้อยละ GDP ของแต่ละประเทศ ;
ประเทศที่จัดเก็บภาษีได้น้อยมี 3 กรณีคือ 

๑)ตั้งใจเก็บภาษีต่ำเพราะรัฐเป็นเจ้าของบ่อน้ำมัน มีรายได้มาก เป็นรัฐสวัสดิการเต็มที่ เก็บภาษีน้อย ประเทศสิงคโปร์เก็บภาษีจากประชากรของเขาน้อยเพียง 14%ของGDP ถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งของประเทศนักธุรกิจ แต่เขามีเงินจากการตั้งกองทุนต่าง ๆ ที่ลงทุนส่วนใหญ่โดยรัฐบาล ออกไปทำธุรกิจทั่วโลกหาเงินรายได้เข้างบประมาณเข้ากองทุนสะสมของประเทศไม่รู้จบ

๒)ตั้งใจเก็บภาษีต่ำเพราะรัฐไม่มีหนี้สิน ไม่จำเป็นสร้างโครงสร้างพื้นฐานมาก สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรเป็นหลัก ไม่เน้นทำรัฐสวัสดิการ ให้ประชาชนอยู่แบบพอเพียงพึ่งพาตนเอง 

๓)จัดเก็บได้น้อย เพราะระบบราชการกรมเก็บภาษีประสิทธิภาพต่ำ

>>>>>คลิกดูเปรียบเทียบรายได้จากภาษีที่เก็บได้เป็นร้อยละ GDP แต่ละประเทศทั่วโลก<<<<<<
                                                     
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP

6 ข้อ โชว์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม’พ.ย.นี้
จากแนวหน้าออนไลน์ วันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้แจ้งหมายงานเร่งด่วนไปยังผู้บริหารกระทรวงการคลัง ว่าจะเข้าไปมอบนโยบาย สร้างความแปลกใจให้กับข้าราชการและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังอย่างมาก
นายสมคิดเปิดเผยหลังมอบนโยบายผู้บริหารกระทรวงการคลัง ว่า ได้มอบนโยบายในการทำงานระยะที่ 2 โดยแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย

 1.การปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากร เพื่อขยายฐานรายได้ และสร้างความเป็นธรรมให้สังคม โดยจะครอบคลุมหลายเรื่องของระบบภาษี ซึ่งจะทำให้รายได้ประเทศเพิ่มขึ้น โดยไม่เบียดเบียนประชาชน รวมถึงการเดินหน้าการพัฒนาช่องทางการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเพย์เม้นท์ด้วย
สำหรับกลุ่มงานที่

 2 การอำนวยความสะดวกในการลงทุน การทำธุรกิจ และการให้บริการประชาชน โดยในวันที่ 6 พ.ย.นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายักรัฐมนตรี จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงรายละเอียดแผนการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการทำธุรกิจ หรือ Doing Business โดยจะเร่งให้เกิดผลเร็วที่สุด

 3 การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ( สศค.) เรื่องการจัดตั้งกองทุนนวัตกรรม ที่จะนำเงินจากกองทุนมาใช้พัฒนาภาคธุรกิจทั้งไทยและต่างชาติร่วมลงทุน เป็นการยกระดับเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เบื้องต้นจะมีเงินจากรัฐในการจัดตั้งกองทุน

4 เรื่องการพัฒนาตลาดทุนและตลาดเงิน โดยจะให้ สศค. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้พัฒนาทั้ง 2 ตลาดให้เป็นสากลมากขึ้น และต้องสะท้อนความต้องการของเศรษฐกิจ รวมถึงจะต้องมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมายให้ทันสมัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5-6 เดือน

5 การเน้นการปฏิรูปภายในกระทรวงการคลัง เช่น กรมธนารักษ์ ต้องตอบสนองนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุให้คุ้มกับมูลค่าทรัพย์สิน

 6 การคลังเพื่อสังคม เช่น ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise แนวทางคือดึงภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนด้านสังคม

“เมื่อมาตรการทุกด้านมีความชัดเจนจะเริ่มนำไปชี้แจงกับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะเวทีการประชุม Asia Economic Forum ช่วงเดือนพ.ย.นี้จะมีการหารือการปฏิรูปด้านต่างๆ ด้วย ส่วนการดำเนินงานในเฟสแรก ที่ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เชื่อว่าจะเพียงพอต่อสถานการณ์ขณะนี้แล้ว จะไม่มีการออกมาตรการอื่นเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป ซึ่งหากว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่มีการออกมาตรการแล้ว แต่หากจำเป็นก็จะมีการพิจารณาเพิ่มได้”

นายสมคิดยังกล่าวถึงการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ว่า ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ได้เชิญกลุ่มคลัสเตอร์ 7-8 ราย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ชี้แจงในรายละเอียด ก่อนจะไปชี้แจงในที่ประชุมกับนักลงทุนรายใหญ่ในช่วงปลายเดือนพ.ย.นี้ โดยในที่ 3 พ.ย.นี้ จะมีการเสนอแพ็กเกจการส่งเสริมการลงทุนของเอสเอ็มอีกลุ่มใหม่ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่มากขึ้น

“การดำเนินการจากมาตรการทั้งหมดที่ผ่านมาไม่มีทางทำให้รัฐบาลกระเป๋าฉีกอย่างแน่นอน สามารถดูแลการคลังได้เป็นอย่างดี ส่วนการปฏิรูปโครงสร้างภาษีที่จะดำเนินการนั้นจะเป็นการปรับฐานให้ขยายมากขึ้น ลึกมากขึ้น” นายสมคิดกล่าว

http://www.naewna.com/business/186275
http://www.naewna.com/business/186275

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อ17 สค. 58 และที่ท่าเรือสาธร เมื่อ 18 สค. 58

ไทยรัฐออนไลน์ 18 ส.ค. 2558 19:35




"ถาวร" วิเคราะห์ปม 2 เหตุ บอมม์กรุง เชื่อปัจจัยการเมืองภายในโยงเหตุในอดีต จี้ฝ่ายมั่นคงอย่าลูบหน้าปะจมูกเร่งจับมือป่วน...
เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 58 นายถาวร เสนเนียม อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีเหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวที่สูญเสียและบาดเจ็บ ทั้งขอประณามทั้งผู้กระทำผิดและผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่มีใจโหดเหี้ยม โดยไม่คำนึงถึงผู้บริสุทธิ์ที่มารับเคราะห์ในครั้งนี้ และตนขอวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดเหตุนี้ 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ 1. การเมืองระหว่างประเทศ จากกรณีที่รัฐบาลไทยเพิ่งผลักดันส่งตัวคนบางเชื้อชาติกลับไปยังประเทศที่เขาถือสัญชาติ โดยไม่สมัครใจเดินทางกลับ อาจทำให้คนเชื้อชาติศาสนานั้น ไม่พอใจจึงมีการโต้ตอบ แต่ตนให้น้ำหนักในเรื่องนี้น้อยมาก หรือแม้แต่เหตุความไม่สงบในภาคใต้ ก็ไม่สามารถเป็นไปได้
นายถาวร ระบุต่อว่า 2. จากเหตุการเมืองภายในประเทศ ซึ่งทุกครั้งที่ฝ่ายการเมืองกลุ่มที่สูญเสียประโยชน์ถูกต้อนเข้ามุมอับ มักจะมีเหตุร้าย รุนแรงเกิดขึ้นทุกครั้ง เช่น การวางระเบิดที่สถานีรถไฟฟ้าหน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน การวางระเบิดที่เกาะสมุยและรวมถึงการวางระเบิดครั้งนี้ที่สี่แยกราชประสงค์ (กรณีการถอดยศ) และมักจะมีการออกข่าวในโซเชียลมีเดียว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ทั้งนี้อยากให้ย้อนไปถึงเหตุระเบิดเกิดขึ้นที่สยามเมตตาแมนชั่น จ.นนทบุรี เหตุระเบิดที่เขตมีนบุรีและรวมถึงเหตุระเบิดหน้าศาลอาญา งานด้านการข่าวรู้ดีอยู่แล้วว่าโยงยึดของคนในกลุ่มการเมืองฝ่ายใด แต่รัฐบาลชุดนี้ยังจับคนร้ายที่สำคัญไม่ได้
"งานด้านความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน จะคิดลูบหน้าปะจมูก คิดถึงรุ่นและบุญคุณเก่าไม่ได้ เพราะเหตุเกิดแต่ละครั้งมีผลกระทบมหาศาลต่อประเทศชาติและประชาชน จึงขอกราบเรียนมายังรัฐบาลและรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงว่า ต้องเร่งจับคนร้ายให้ได้ทุกกรณีที่กล่าวมา สำหรับเหตุวางระเบิดที่เกาะสมุยนั้น ก็รู้กลุ่ม รู้เส้นทางการปฏิบัติงาน รู้จุดพักประกอบระเบิด รู้รถที่ใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด รู้หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ แต่ยังเงียบจับคนร้ายไม่ได้ จึงขอเรียกร้องให้จริงจังเกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงและรักษาความปลอดภัย และติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุร้ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ได้ รวมถึงจับคนร้ายในคดีที่ฆ่า พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และคนร้ายที่ฆ่าผู้ชุมนุมมวลมหาประชาชนจำนวน 24 ศพให้ได้ ซึ่งเป็นการเมืองภายใน ขณะนี้รัฐบาลนี้มีอำนาจเต็มมากที่สุด ด้านความมั่นคงอย่าทำให้ประชาชนต้องผิดหวัง" นายถาวร ระบุ