วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาการศึกษาไทย

ปัญหาการศึกษา
ปัญหาหลักคือคุณภาพผู้เรียน/คุณภาพครู/คุณภาพการสอน/คุณภาพการวัดผล/และผูกโยง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง 
กระทรวงคลังบอกว่าไม่มีเงิน ก็พวกคุณหย่อนยานมานานไม่หาทางเก็บรายได้ในอัตราใกล้เคียงกับสากลประเทศเก็บให้ได้ 35-40%ของGDP

.....๑)ผู้บริหารสถานศึกษา-ผู้บริหารการศึกษา ขาดความมุ่งมั่น ขาดความเชี่ยวชาญสนใจเพื่อมุ่งเน้นด้านวิชาการ/วิธีสอน/วิธีวัดผล/วิธีพัฒนาผู้เรียน/วิธีบริหารธรรมาภิบาล/ตั้งสถาบันอะไรมากมายในมหาวิทยาลัยไม่เกี่ยวกับภาระกิจหลักของมหาวิทยาลัย/  ส่วนใหญ่พะวงอยู่กับการรักษาเก้าอี้ สนใจภาระกิจรอง ภาระกิจสร้างภาพเก็บคะแนน พะวงกับการโยกย้าย หานาย หานักการเมือง  หาประโยชน์ในตำแหน่งหน้าที่ ในกระทรวงศึกษากระทู้ส่วนใหญ่ที่คุยกัน..ใครจะเป็นเลขา,อธิการ,ผอ.กอง,ผอ.เขต,ผอ.สถานศึกษา,วิทยฐานะ,ผลประโยชน์,ไม่คุยเรื่องพัฒนาผู้เรียนไม่ได้เอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจริง,ไม่ได้สนใจวางแผนและดำเนินการยุทธศาสตร์ Load Map พัฒนาการศึกษาของผู้เรียน,พัฒนาการวิจัยนวัตกรรม,พัฒนาการบริหารที่เป็นธรรมาภิบาล,ปฏิรูปคนข้าราชการ,ปฏิรูปการทำงานเพื่อมุ่งผลสำฤทธิ์ก่อน
.....๒)ยุบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(สคศ./ก.ค.ศ./อ.ก.ค.ศ.เขตฯ)อำนาจก.ค.ศ.ยกกระจายอำนาจให้กลุ่มสถานศึกษา7-10แห่งไปจัดการกันเอง...แก้ระเบียบปรับระบบบรรจุหรือขึ้นสู่ตำแหน่งข้าราชการครู/ผู้บริหารสถานศึกษา การให้ความชอบ การโยกย้าย หากไม่เป็นธรรมจะทำให้ระบบราชการ เฉื่อยชาคนทำงานน้อยเช้าชามเย็นชาม วิธีที่ดีที่สุดให้กลุ่มสถานศึกษา7-10สถานศึกษาพิจารณาสรรหาผู้เหมาะสมโดยคณะกรรมการสรรหากันเองเขารู้มือกันดี ไม่เชื่อว่าการสอบทฤษฎีMultiple choice 4-5 ชั่วโมง จะประเมินวัดเลือกคนมีสมรรถนะมีจรรยาบรรณธรรมาภิบาลและรอบรู้ที่เหมาะสมมาเป็นข้าราชการครู/เป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้ดีกว่าการประเมินตามสภาพจริง(Authentic Assessment)จากคณะบุคคลแวดวงใกล้ชิดสังเกตประเมินผลเริ่มจากเป็นครูจ้างทดลองดูผลงานก่อน
สรุปกระจายอำนาจข้อ๒)นี้
1)กลุ่มสถานศึกษาสรรหาผู้บริหารสถานศึกษาจากคนในกลุ่มสถานศึกษาด้วยกัน
2)คัดเลือกครูจ้างบรรจุเป็นข้าราชการในสถานศึกษากลุ่มตนเอง
3)ใช้งบประมาณเงินเดือนในกลุ่มพิจารณาความชอบให้คนในกลุ่มตน
4)โยกย้ายผู้บริหารและบุคลากรอื่นในกลุ่มตนได้ 

.....๓)กฎหมายควรกำหนดอำนาจคณะกรรมการหน่วยงานการศึกษา กกอ.,กอศ.,กพฐ.,กกศ.,อ.ก.ค.ศ.เขตฯ,คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา,คณะกรรมการสถานศึกษา,อ.ก.ค.ศ.เขตฯ.,เป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจตัวจริงทุกเรื่อง รูปแบบคล้ายกับ คณะกรรมการ ปปช.,กกต., เพราะปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ),สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ),สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ),สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(สกศ.),คณะอนุกรรมการบุคลากรทางการศึกษาประจำหน่วยงานการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.เขตฯ)คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา,คณะกรรมการสถานศึกษา,คณะกรรมการไม่มีประโยชน์ ไม่มีอำนาจเป็นเพียงตรายาง ผู้มีอำนาจคือเลขาธิการ/ผู้อำนวยการเขตพื้นที่/ผู้อำนวยการสถานศึกษามีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว/เผด็จการรวบอำนาจเล่นพวก...บางแห่งเรียกเงินโยกย้าย/คัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา,เรียกเงินการเลื่อนวิทยฐานะ,ทุจริตจัดจ้างจัดซื้อวัสดุ-ครุภัณฑ์,ทุจริตจัดจ้างสนามฟุตซอล,ทุจริตจัดสอบบรรจุครู/หาประโยชน์จากอำนาจหน้าที่,โยกเงินงบประมาณไปใช้กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน,จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาไม่เป็นธรรม,ผู้นำคนเดียวมักคิดสั่งการคนเดียวพัฒนาองค์กรไม่ไหวและไม่เป็นธรรมาภิบาล,ไม่มีไม่ใช้ข้อมูลสถานศึกษาข้อมูลผู้เรียนประกอบการบริหาร,เป็นหน่วยลาน้ำทวนการศึกษามากกว่าหน่วยพัฒนาการศึกษา...คำสั่งการเรื่องเงินเรื่องบุคคลควรลงนามรับผิดชอบร่วมกันโดย กอศ.กพฐ.กกอ.กกศ.,อ.ก.ค.ศ.เขตฯ.,กรรมการเขตพื้นที่,กรรมการสถานศึกษา,ทั้งคณะ
.....๔)งบประมาณตกไปถึงสถานศึกษาน้อยมากๆ เงินไปกองอยู่ที่ สอศ., สพฐ.,สนง.เขตพื้นที่การศึกษาจนถึงปลายปีงบประมาณโครงการใช้เงินหลั่งออกมาไม่ตรงเป้าการพัฒนาผู้เรียน... เงินจ่ายเป็นค่าไฟฟ้าห้องแอร์สำนักงาน  ไม่มีเงินค่าวัสดุการศึกษาของผู้เรียน,ค่าอินเตอร์เน็ตของผู้เรียน, ค่าจ้างครูตามมารตฐาน,ค่าจ้างเจ้าหน้าที่,ค่าบริหารจัดการ,ค่าวัสดุการศึกษา....เงินที่เหลือรอดมาถึงสถานศึกษา หัวหน้าสถานศึกษาโยกย้ายเงินไปใช้ที่ไม่เกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนอีกเช่นกัน กระทรวงศึกษาได้เงินงบประมาณมากจริงแต่ใช้เพื่อการพัฒนาถึงผู้เรียนโดยตรงน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน...โรงเรียนประถมมีจำนวนมากเกินไป บางโรงเรียนตั้งห่างกันไม่ถึง 200 เมตร ทั้งที่การคมนาคมปัจจุบันสะดวกมาก ควรยุบรวมโรงเรียนใกล้เคียงห่างกันไม่ต่ำกว่า 3 กม.ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ไทยสูญเสียเงินลงทุนให้กระทรวงศึกษาจำนวนมากกว่าต่างประเทศ(โดยผู้เรียนยังไม่ได้คุณภาพ)

.....๕)ระบบประเมินสถานศึกษา โดย สมศ.สร้างภาระให้สถานศึกษา(แต่ไม่ควรยุบเลิกช่วงพัฒนาการย่อมมีปัญหายังไมเข้าที่) เสียเวลาครูทำการสอน ทำเอกสารที่ไม่ใช่เพื่อพัฒนาผู้เรียน พากัน Make Up สร้างเอกสารรายงานจึงจะผ่าน ควรพัฒนาตัวบ่งชี้และวิธีประเมินเน้นเชิงประจักษ์
...สมศ.ควรมีอำนาจ(ตามกฎหมาย สมศ.)ขอใช้ข้อมูลตามตัวชี้วัดทำนองต่อไปนี้จากหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยตรง..ไม่ต้องเสียเวลาสถานศึกษา
๕.๑)ผลสอบO-NET,V-NET,U-NET ของ สทศ.ควรมีสอบ Pre test/Post test เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของสถานศึกษา และทดสอบให้มีความเที่ยงความตรงตามหลักสูตรสำหรับอาชีวศึกษา/มหาวิทยาลัยควรสุ่มทดสอบวิชาภาคปฏิบัติด้วย
๕.๒)จำนวนรางวัลที่สถานศึกษาได้รับ,จำนวนอาจารย์ปัจจุบันศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่เคยได้รับรางวัลสำคัญจากองค์กรต่างๆ,และรางวัลจากต้นสังกัดดำเนินการจัดการประกวดแข่งขันเอง(องค์กรหลักต้นสังกัดสถานศึกษาต้องมีข้อมูลนี้)
๕.๓)จำนวนผลงานวิชาการของครูที่ผ่านการตีพิมพ์ลงในวารสารของ สมศ.เอง(สมศ.ผลิตวารสารทำนองนี้เองและเผยแพร่ในวงการศึกษา)
๕.๔)ผลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาจากข้อมูลกรมการจัดหางาน,สนง.ประกันสังคม,กบข.,กระทรวง/ทบวง/กรม(ทุกหน่วยงานมีข้อมูลสารสนเทศนี้อยู่แล้วขอให้เพิ่มผู้ทำงานสำเร็จการศึกษาจากสถาบันใดเพื่อประโยชน์การใช้ข้อมูลร่วมกัน)
๕.๕)ข้อมูล"ผลการศึกษาต่อของผู้เรียน"จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ(รับผู้เรียนมาจากสถาบันใดบ้างสพฐ,สอศ,สกอ,วิทยาลัย,มหาวิทยาลัย,ต้องทำข้อมูลตัวนี้)
๕.๖)ข้อมูลจากต้นสังกัดมากมายเช่น..สถิติจำนวนผู้เรียน,สถิติจำนวนงบประมาณที่จัดให้สถานศึกษา,สถิติจำนวนครู/เจ้าหน้าที่,ผลการประกวดแข่งขันผลงานทางวิชาการของผู้เรียนและของอาจารย์,อัตราการออกกลางคันของผู้เรียน(ต้นสังกัดองค์กรหลักของ ศธ.ทุกแท่งมีกิจกรรมนี้ทุกปีและได้รับรายงานเก็บข้อมูลไว้อย่างละเอียดประกอบการบริหารจัดการหน่วยงานของตนอยู่แล้ว)
๕.๗)ข้อมูลอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจ,ข้อมูลอัตราการคืนเงินกู้ยืม กยศ.ของศิษย์เก่าสถานศึกษา(ข้อมูลจาก กยศ.)
๕.๘)ส่งคนไปสังเกตการณ์ไปสัมภาษณ์บุคคลแวดล้อมไปเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างต่อเนื่องในพื้นที่
...มหาวิทยาลัยเพิ่มตัวชี้วัดต่อไปนี้
๕.๙)จำนวนงานวิจัยและบทความที่เคยได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารสำคัญ(ขอข้อมูลจากวารสาร)
๕.๑๐)จำนวนบุคลากรของสถาบันที่มีผู้นำไปอ้างอิงในงานวิจัย(สำนักงานวิจัยแห่งชาติต้องมีข้อมูลตัวนี้)
๕.๑๑)ค่าเฉลี่ยจำนวนผลงานที่ได้ตีพิมพ์เอกสารทางวิชาการรายบุคคลของอาจารย์ในสถาบัน(สำนักหอสมุดแห่งชาติต้องมีข้อมูลตัวนี้)

.....๖) ครูทำงานหลายหน้าที่ รายได้น้อยกว่าเอกชน พะวงหารายได้เสริม ทำให้งานด้านวิชาการคุณภาพลดลงอย่างมาก ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่เฉพาะจำนวนนักเรียนควรเป็น30คน/ห้องเรียนทฤษฎีและ15คน/ห้องเรียนปฏิบัติเช่นภาษาอังกฤษ,ภาษาไทย,Lap.วิทยาศาสตร์
.....๗)ครูอัตราจ้างถูกใช้งานเยอะรายได้น้อย/ชั่วโมงสอนมาก/ ครูประเทศอาเซี่ยนอื่นมีรายได้มากกว่างานเอกชน จึงได้คนเก่งมาเป็นครู ครูอัตราจ้างไทยรายได้น้อย ไม่มั่นคง  ลาออกบ่อยอยู่ไม่นาน ทำให้ประสบการณ์น้อย ครูอัตราจ้างเงินนอก งปม. เงินเดือนค่าจ้างป.ตรี 8,300 บาท/เดือนทำงานจนอายุ 60ปี เงินเดือนเท่าเดิมมีในระบบจำนวนมาก
.....๘)นักเรียนระดับประถม-มัธยมปลายให้มีตกซ้ำชั้น กำหนดผู้เรียนสำเร็จม.3เรียนต่อม.4ได้เพียง 40% ที่เหลือไปเรียนสายอาชีพ,...ข้อสังเกตุการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.)นักเรียนที่เรียนไม่ไหวในระบบโรงเรียน-วิทยาลัยออกกลางคันหนีมาเรียนกศน.จบได้วุฒิม.3-ม.6ปรากฎอ่านไม่ออกคำนวณไม่เป็นแล้วกลับเข้าไปเรียนในระบบในระดับที่สูงขึ้นใหม่ปรากฏว่าเรียนไม่สำเร็จกศน.ควรปรับปรุงอย่างไร...../จำนวนผู้เรียน/ห้องมากครูสอนปฏิบัติไม่ทั่วถึงสำหรับห้องเรียนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกพูดภาษาอังกฤษห้องละไม่เกิน 20 คน ครูอาชีวศึกษาสอนมากเกิน สอนหลายวิชา สอนหลายกลุ่ม เฉลี่ย 33 ชั่วโมง/สัปดาห์ ชั่วโมงสอนไม่ควรเกิน 15 ชม/สัปดาห์

.....๙)การผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ได้คุณภาพ/เชี่ยวชาญวางแผนออกแบบและจัดการการเรียนรู้ได้สนุกผลสัมฤทธิ์สูง/เชี่ยวชาญวัดผลตามสภาพจริง/มีจิตวิทยาการสอนตามวัยผู้เรียน/มีจรรยาบรรณและสอนให้ผู้เรียนปฏิบัติเป็นเอก/เลขทฤษฎีเป็นโท/ให้นิสิตครูอยู่ในระบบโรงเรียนกินนอนเหมือนนักเรียนนายร้อยสอนกันตลอด24ชั่วโมง/ครูอาจารย์เดิมในสถานศึกษาที่ใช้ฝึกสอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทุกเรื่องทุกคนเหมือนอาจารย์หมอของนักศึกษาแพทย์/ต้องคัดเลือกสถานศึกษาที่ใช้ฝึกสอนและประชุมทำความตกลงเข้าใจให้ดี/มีค่าตอบแทนให้สถานศึกษาฝึกสอนและครูพี่เลี้ยงโดยเฉพาะด้วย
.....๑๐)วิทยฐานะ/ตำแหน่งทางวิชาการ/เงินเดือน/ค่าตอบแทนอื่นๆ/ผูกโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่ตนสอน/และหากไม่บกพร่องต่อหน้าที่ไมขาดไม่ลาเกินกำหนดผู้เรียนมีผลสำฤทธิ์ตามกำหนดเมื่ออายุราชการ8ปี,12ปี,20ปีและ30ปี ได้วิทยฐานะชำนาญการ,ชำนาญการพิเศษ,เชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษอัตโนมัติตามลำดับ
.... ๑๑)วิธีสอน/วัดผล  ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ อันเป็นเหตุ พูด/ฟัง/อ่าน อังกฤษไม่ได้เพราะเน้นปลักอยู่กับไวยกรณ์แก้ไม่ได้ตราบใดที่สอบO-NET, V-NET, สอบเรียนต่อ, สอบเข้าทำงาน,ยังเน้นแบบทดสอบไวยากรณ์ ควรเปลี่ยนการทดสอบเป็นListening,เป็นสัมภาษณ์...คิดประยุกต์คำนวณเลขไม่ได้ เพราะครูสอนโดยใช้สูตรคำนวณ ร้อยละ เศษส่วน ทศนิยมฯลฯโดยไม่บอกที่มาของสูตร ครูไม่กล้าให้นักเรียนท่องสูตรคูณ ท่องเนื้อหาใด ๆ  ท่องอาขยาน เพราะนักวิชาการพร่ำบนอย่างไม่แยกแยะให้เข้าใจชัดเจน เช่นไม่บอกให้ชัดว่า"ให้ท่องจำได้เมื่อเข้าใจที่มาของสูตรนั้นแล้ว"

....๑๒)ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม-ระบบบริหารราชการที่ไม่เป็นธรรมาภิบาล พ่อแม่ปากกัดตีนถีบ นักเรียนประถมมัธยมไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เฉลี่ยทั่วประเทศ 40%ภาคอิสาน 80% พ่อแม่ออกไปทำงานหาเงินในจังหวัดอุตสาหกรรม...ก่อให้เกิดปัญหานักเรียน ระดับ ประถม มัธยมปลาย และ ปวช.ออกกลางคันจำนวนมาก ประถม 10% ม.ต้น10% ม.ปลายออก 20%  ปวช.ออก 50 % ปวส. 20% ป.ตรี 25% ของ นร. นศ.แรกเข้า ควรเพิ่มเงิน กยศ.จนจบ ป.ตรี เฉพาะสาขาขาดแคลนเท่านั้น เช่นสายอาชีพอาชีวศึกษา (ม.4-ม.6 งดให้กู้) วิศวกรรม แพทย์ วิทยาศาสตร์......วิทยาลัยอาชีวศึกษาทุกแห่งรับผู้จบม.3เข้าเรียนปวช.1ทั้งหมดที่มาสมัครเข้าเรียน...อ่านหนังสือไม่ออก/เขียนไม่ได้/คำนวณไม่เป็น/ จำนวณ..30%/ยากจน40%/อยู่ในกลุ่มเสียง50%...กลุ่มอ่านหนังสือออกฐานะดีส่วนใหญ่ไปเรียนม.4ผลคือนักเรียนปวช1จำนวน30-40%ไม่มาเรียนต่อเรียนได้ภาคเรียนเดียว(ที่เรียกว่าออกกลางคัน)กว่าจะถึงปวช3ออกกลางคัน50%สำเร็จการศึกษาเพียง50%...อาชีวศึกษาเป็นอย่างนี้เกือบทุกแห่งนี่คือการศึกษาของไทยเรา ..ปัญหาอยู่ตรงไหน...มันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมปัญหาความเหลื่อมล้ำปัญหาการทุจริตภาครัฐที่บอกว่ากระทรวงศึกษาใช้เงินเยอะ  แม้แต่ค่าหนังสือเรียนฟรี,ค่านมดื่มฟรี,โดนหักหัวคิวทั้งนั้น เงินไปถึงการพัฒนาผู้เรียนน้อยกว่าที่คาด มันไปอยู่ที่สำนักงานในกระทรวง หน่วยองค์กรหลัก สำนักงานเขตพื้นที่ เสียเงินไปกับภารกิจรองที่ไม่ใช่การพัฒนาผู้เรียนโดยตรง เสียเงินซื้อครุภัณฑ์สนามฟุตซอลทีใช้ไม่ได้ ใช้เงินก่อสร้างอาคารสำนักงาน ใช้ปรับปรุงสำนักงานห้องพื้นที่หาค่าหัวคิว ในมหาลัยเงินใช้ไปเป็น/ค่าตอบแทนค่าสอน/เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ/เงินประจำตำแหน่งการบริหาร/ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้บริหารรายเดือน/ค่าไฟฟ้าเชื้อเพลิงที่ฟุ่มเฟือย

....๑๓)ควรสร้างเด็กไทยพันธุ์ใหม่ ด้วยระบบโรงเรียนกินนอน อย่างน้อย 1 ใน 10 ของจำนวนนักเรียนแต่ละรุ่นคัดจากนักเรียนเรียนดี เน้น ม.3- ม.6และปวช1-3 หลังเลิกเรียน สอนโดยการปฏิบัติและปฏิบัติ สร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โรงเรียนประจำกินนอนหางานมีรายได้ให้ทำหลังเรียน หรือทำงานจิตอาสาพาฝึกดำนาเกี่ยวข้าว ทำงานในไลน์การผลิตของโรงงาน ตื่นนอน เข้านอน รับทาน ตรงเวลา ออกกำลัง กินอาหารมีประโยชน์ ฝึกทำอาหารเอง ดื่มนมวันละ 3 แก้วกินไข่วัน3ฟอง เพิ่มความสูงเฉลี่ยให้ได้ 180 ซม. จัด งปมให้ครูฝึกอย่างเพียงพอ แบบค่ายทหาร โรงเรียนนายร้อย จปร.เขาฝึกกันอย่างไร โรงเรียนแพทย์เขาใช้วิธีสอนอย่างไรวิเคราะห์เลือกมาใช้  กระทรวงคลังบอกว่าไม่มีเงิน ก็พวกคุณไม่หาทางเก็บรายได้ในอัตราใกล้เคียงกับสากลประเทศเก็บให้ได้ 40%ของGDP
.....๑๔)ทยอยกระจายอำนาจให้สถานศึกษา,ให้กลุ่มสถานศึกษา,ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,ที่มาตรฐานดีกำกับการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาเพื่อการติดตามสนับสนุนนิเทศใกล้ชิด ข้อดีองค์กรเล็ก ไม่มีงานนอกภารกิจมาก มีเสียงบประมาณไปกับหน่วยเหนืองปม.พอใช้ไม่ถูกโยก ให้กลุ่มครูผู้ปฏิบัติคิดพัฒนากันเองทุกเรื่องเป็นนิติบุคคลบริหารจัดการเอง,หาเงินช่วยเหลือตัวเองได้,สรรหาหัวหน้าสถานศึกษาหัวหน้ากลุ่มเองในกลุ่มโรงเรียน,ทำหลักสูตรเอง,บรรจุครูเอง,รวมกลุ่ม(ประมาณ 7สถานศึกษา)พัฒนาทุกอย่างกันเอง,รัฐกำหนดเป้าหมายเพียงอ่านออกเขียนได้พูดฟังไทย-อังกฤษได้เข้าใจคำนวณเป็นและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนด...ลดบทบาทหน่วยเหนืออันเป็นหน่วยทวนการศึกษาลง

.....๑๕)ควรศึกษาวิจัยกำหนดอัตราส่วนระหว่างผู้เรียนมัธยมปลาย:ผู้เรียนปวชให้ชัดเจนตามความต้องการตลาดแรงงานจริงเราห่วงจะให้ประชากรได้เรียนสูงทุกคน ประเด็นนี้อาจผิดพลาด สังคมจำเป็นต้องมีหลายระดับ ตามศักยภาพ ตามพฤติกรรม หากทุกคนเรียนสูง ระวังจะหาคนใช้แรงงานยาก ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ
....๑๖)หลักสูตรวิชาชีพระดับอาชีวศึกษา ระดับปวส.และทลบ.ต้องเน้นเจาะเฉพาะทางเช่นปวช.ไฟฟ้ากำลังแยกเฉพาะทางปวส.ทลบ.ได้แก่ช่างติดตั้งซ่อมบำรุงไฟฟ้าในบ้าน-โรงงาน/ช่างติดตั้งซ่อมบำรุงไฟฟ้าในอาคารสูง/ช่างเครื่งกลไฟฟ้าและควบคุม/ช่างไฟฟ้าในยานยนต์/ช่างเครื่งมือวัดและควบคุม/ช่างปรับอากาศในอาคารและในรถยนต์,ช่างปรับอากาศในอาคารสูง,...และสาขางานที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมอาชีพที่ขาดแคลนในเมืองไทยปัจจุบันเช่น..นักภาษาพม่า,เวียตนาม,จีน, ช่างลิฟท์บันไดเลื่อน, ช่างตกแต่งภายในอาคาร, ช่างรถไฟฟ้าระบบราง, ช่างอากาศยาน, ช่างระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาลอาคารสูง,เครื่องปรับอากาศอาคารสูง, พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงานดูแลระบบกล้องวงจรปิด, พนักงานขับรถยนต์ข้ามประเทศ, ช่างไฟฟ้าในยานยนต์, ช่างสีรถยนต์, ช่างเครื่องล่างรถยนต์, นักเคมีอุตสาหกรรม, นักขยายพันธุ์พืชด้วยเนื้อเยื่อ, ฯลฯ

.....๑๗)ครูวิชาชีพอาชีวศึกษา ควรผ่านงานวิชาชีพจากสถานประกอบการอย่างน้อย 5 ปีก่อนมาเป็นครู มีเงินเดือนเพิ่มเป็นขั้นประสบการณ์มากกว่าป.ตรี7ขั้นเพราะเสียเวลาในสถานประกอบการ5ปี  และมีกฎให้ออกไปทำงานในสถานประกอบการอย่างน้อยปีละ 1-2 เดือนทุกปี ครูไม่เคยทำงานในสถานประกอบการจะมีทักษะสอนผู้เรียนตรงตามตลาดได้อย่างไร
....๑๘)ปัญหานักเรียนนักเลงเสเพลในกรุงเทพ-ปริมณฑล ปัญหาหลักอยู่ที่ กฎหมายให้อำนาจผุู้รับผิดชอบจัดการไม่เพียงพอ ต่างประเทศไม่มีปัญหาเรื้อรังอย่างนี้ เขาทำกันอย่างไร....เสนอออกกฎหมาย["พรบ.ป้องกันนร./นศ.ก่อเหตุไม่สมควร"]ให้อำนาจเจ้าพนักงานจับคุม นร.นศ.ที่คณะกรรมการสถานศึกษาแห่งนั้นพิจารณาเห็นว่านร.นศ.คนใดเป็นกลุ่มเสี่ยงนักเลงเสเพลก่อวิวาท..ส่งต่อเข้าเรียนในสถานศึกษาเฉพาะที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เลือกวิทยาลัยการอาชีพที่มีอยู่แล้วแห่งหนึ่งดัดแปลงเป็นสถานศึกษากินนอนมีรั้วสูงป้องกันหลบหนีมีครูฝึกมืออาชีพกฎหมายให้อำนาจครูฝึกตามควรเหมือนบังคับพลทหารเกณฑ์และได้ค่าตอบแทนคุ้มค่าผู้เรียนพักกินนอนทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์จนจบหลักสูตร ปวช. ปวส. เพียงมีกฎหมายนี้และเอาจริงเป็นตัวอย่าง นักเรียนนักเลงก็หัวหดสูญพันธุ์แล้วครับผู้ปกครองอยากให้มาเรียนในสถานศึกษาที่เข้มงวดอย่างนี้ด้วยซ้ำ....หากแก้ปัญหาข้อนี้ไม่ได้ ผู้ปกครองก็ไม่อยากให้ลูกมาเรียนอาชีวศึกษา
.....๑๙)ประเทศอาเซียนอื่นกระทรวงศึกษาสั่งราชการสถานศึกษาและมหาวิทยาลัยให้ปฏิบัติตามนโยบายสำคัญได้เป็นเอกภาพเช่นการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาอาจารย์ การพัฒนาสื่ออุปกรณ์ช่วยสอน การควบคุมจำนวนบัณฑิต การร่วมมือประกวดประเมินที่พอเหมาะเพื่อพัฒนา การร่วมมือช่วยเหลือระหว่างมหาลัย..และกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน,อาชีวศึกษา,มหาวิทยาลัยไทยต่างคนต่างทำ...กฎหมายไม่ให้อำนาจกระทรวง,สกอ.สั่งการ..มองต่างว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการ..วางมหาลัยอื่นเป็นคู่แข่ง

.....๒๐)เพิ่มอำนาจ สกอ.สามารถปลดอธิการฯได้หากไม่ให้ความร่วมมือ5เรื่องต่อไปนี้....
1]ให้อำนาจ กกอ.ดำเนินการใดๆเช่นโอนย้ายบุคลากรออกจากสถานศึกษา/ปลดอธิการบดี/ยุบสภามหาลัย/สั่งปิดคณะวิชาเพื่อแก้ปัญหาการออกข้อบัญญัติสภาฯหรือบริหารงานเลี่ยงนโยบายรัฐบาลเลี่ยงกฎหมายเลี่ยงธรรมมาภิบาลเพื่อประโยชน์กลุ่มตน/ปัญหาความแตกแยกรุนแรงในมหาลัย/ปัญหานักศึกษากระทำการก่อเหตุวิวาททั้งในและระหว่างสถาบัน
2]สกอ.กำหนดมาตรฐานและตั้งคณะกรรมการ(จากตัวแทนทุกมหาลัย)ประเมินความเป็นเลิศขบวนการบริหารจัดการด้านวิชาการทุกมหาวิทยาลัยไทย,ผลงานวิชาการภาพรวมของคณาจารย์และของมวลนักศึกษาภาพรวมทุกคณะประกาศผลเรียงลำดับระหว่างมหาลัยหรือจัดเป็นกลุ่มเหรียญทอง-เงิน-ทองแดง-สังกะสี-ตะกัว..แขวนบนเว็บไชด์ให้สาธาณะรับทราบทุกปี..
3]จัดงานอีเว้นประกวด/แข่งขันและแสดงผลงานประจำปีระหว่างมหาวิทยาลัยไทยทั้งหมดเพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานระดับประเทศ ได้แก่ ผลงานวิจัย สื่อการสอน นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของคณาจารย์นักศึกษาและแข่งขันทักษะวิชาปฏิบัติของนศมหาลัยเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ.,ทุกสาขาวิชาทุกคณะประกาศผลแขวนเว็บไชด์ให้สาธารณะชนรับทราบทุกปีทั้งระดับกลุ่มมหาลัยหรือระดับภาค, ระดับชาตินำไปเป็นข้อมูลประเมินของสมศ.ได้,
4]จัดงบประมาณให้ทุกมหาวิทยาลัยร่วมมือกับสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องอบรมสัมนาแลกเปลี่ยน พัฒนาอาจารย์ด้านEngineerด้านปฏิบัติการทุกสาขาวิชาทุกปี...
5]ให้อำนาจ สกอ.เป็นผู้จัดสรรจำนวนโควต้าการผลิต.นศ.ให้แต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อไม่ให้ผลผลิตรวมขาดแคลน/หรือล้นตลาดแรงงาน
ทุกหลักสูตรทุกสาขาวิชาต้องจัดให้นักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการจริงจังอย่างน้อย1 ปี/และอย่างน้อย2 สถานประกอบการ(สถานประกอบการละ6เดือน)

.....๒๑)คุณภาพอาจารย์/ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่ได้มาตรฐาน,แตกแยก,ผลิตเน้นปริมาณเน้นสอนทฤษฎีปฏิบัติไม่เป็น,ผลิตบัณฑิตตกงาน,ขาดจิตวิญาณปูชนียบุคคล/ขาดจรรยาบรรณวิชาชีพ/ขาดจิตวิทยาการสอน/วัดผลประเมินผลไม่เที่ยงตรง/งานวิจัยคุณภาพต่ำ/วางแผนการจัดการเรียนรู้คุณภาพต่ำ   โดยเฉพาะผู้สอนบัณฑิตครูควรใช้ทักษะTeaching Methods ต้องจัดการการเรียนรู้เป็นแบบอย่างได้,มหาวิทยาลัยบางแห่งถือเป็นอันดับหนึ่งของไทยมีรายได้จากทรัพย์สิน ร.๕ ได้ค่าเช่าปีละหลายหมื่นล้านบาทเยอะมากแต่ไม่สามารถติดกลุ่มมหาวิทยาลัยเป็นเลิศระดับโลกได้  ดังนั้นผู้สอนและผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรพัฒนาตนเองครบทุกมิติมีมาตรฐานผ่านใบประกอบวิชาชีพผู้สอน/ผู้บริหารการศึกษาของกกอ. จับอาจารย์และผู้บริหารมหาลัยไปอบรมมาตรฐาน/จรรยาบรรณใหม่..เช่นเดียวกับครูสพฐ.และครูสอศ.
... ๒๒)ผลิตนักเรียน บัณฑิต หรือผู้สำเร็จการศึกษา  ไม่ตรงกับวิถีชีวิตประจำวันทำอาหารกินเองไม่เป็น ผลิตไม่ตรงกับความต้องการตลาดแรงงาน ขาดวินัยความรับผิดชอบ หยิบโหย่งไม่สู้งาน รังเกียจชีวิตเกษตรกรชีวิตลูกจ้าง ควรแก้โดยตัดวิชาไม่จำเป็นออก..ปรับหลักสูตร ระดับมัธยมปลายทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษได้/ทำอาหารที่มีประโยชน์ทานเองได้/ทุกคนต้องผ่านการฝึกงานอย่างน้อย 6เดือนได้แก่งาน/การดำนาเกี่ยวข้าว/งานในฟาร์ม/ในสถานประกอบการ/งานสายการผลิตของโรงงาน....ระดับปริญญาตรี ต้องผ่านการฝึกงานที่ตรงหรือใกล้เคียงกับสาขาที่ตนเรียนอย่างน้อยสองแหล่งงานรวม 12 เดิอน การทำงานคือการเรียนรู้ตรงตามตลาดแรงงานจริง อย่ายัดเยียดการพัฒนาผู้เรียนไว้กับอาจารย์ที่ไม่เคยทำงานวิชาชีพและไม่พัฒนาตนเองจริงจังอุปกรณ์การสอนฝึกปฏิบัติจำกัด ให้สถานประกอบการมีส่วนช่วยฝึกพัฒนานักศึกษา...ระหว่างนักศึกษาฝึกงานมีรายได้และสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร/ภาคอุตสาหกรรม/ภาคบริการ ของชาติได้อย่างดีเพราะมีแรงงานเพิ่มทันทีปีละเกือบหนึ่งล้านคน ทั้งนี้ต้องจัดระบบพัฒนาแลกเปลี่ยนติดตามนิเทศร่วมกับสถานประกอบการอย่างเข้ม

....๒๓)สถานศึกษามหาวิทยาลัยมีมากเกินไปแย่งแชร์งบประมาณกันเองแย่งผู้เรียนกันเลือกเปิดสาขาที่ลงทุนต่ำได้เงินง่ายผลิตง่าย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขาดจรรยาบรรณเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เปิดสาขาอย่างอิสระ ผลิตบัณฑิตออกมาเกินความต้องการตลาด   บางสาขาตกงานอย่างมาก บางสาขาขาดแคลนอย่างมาก งบลงทุนสูญเปล่าบางสถาบันมีผู้เรียนน้อยนิดแต่ได้งบสร้างสิ่งก่อสร้างมโหฬารควรมีโควต้าจำกัดจำนวนผู้เรียนเข้าใหม่
....๒๔)สื่อสารมวลชนต้องมีเวลามีพื้นที่เพื่อการพัฒนาคนในประเทศอย่างน้อย30%ของเวลาหรือพื้นที่ทั้งหมด

เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา การเมือง สื่อแวดล้อม การศึกษา เกี่ยวโยงกันเสมอ

ความเห็นเรื่องปฏิรูปการศึกษามีมากมายในปัจจุบันจนอาจเรียกได้ว่า เฝือ
 ถ้าเราเข้าใจเหตุแห่งความเป็นมาของการหักเหของคุณภาพการศึกษาไทยแล้ว อาจทำให้เห็นภาพรวมชัดเจนขึ้น

หลายคนสงสัยว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้การศึกษาของเราซึ่งแต่ดั้งเดิมก็มีคุณภาพพอควรหักเหลดต่ำลงได้ขนาดนี้ คำตอบก็คือ

(1) ระบบการศึกษาของเราแต่ก่อนเป็นระบบที่เรียกว่า “exclusive” คือเป็นการศึกษาเฉพาะคนชั้นสูง คนมีเงิน คนมีอำนาจ ฯลฯ แต่มาในยุคหลังการวางแผนเศรษฐกิจเมื่อประมาณ พ.ศ. 2505 ลักษณะของการศึกษาไทยก็เริ่มเปลี่ยนไป เรามีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประชาชนธรรมดามีความต้องการการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เมื่อกระแสของโลกตะวันตกในเรื่องความเท่าเทียมกันของโอกาสในการศึกษาพัดแรงขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบที่เรียกว่า “inclusive” กล่าวคือทุกคนมีโอกาสเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับระดับอุดมศึกษาของภาครัฐที่เบ่งบานอย่างยิ่งตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา

2) เสรีภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุควางแผนเศรษฐกิจเป็นต้นมาสร้างพลังผลักดันทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองที่ยิ่งใหญ่มาก จำนวนนักเรียนมีมากขึ้นจนการบริหารจัดการทำได้ยากมากขึ้นเป็นลำดับ

ถ้าจำกันได้ เมื่อสมัยก่อนนักเรียนชั้นมัธยมปลายจะสอบข้อสอบเดียวกันพร้อมกันทั้งประเทศ แต่พอถึงราว พ.ศ. 2508-2509 แต่ละโรงเรียนออกข้อสอบและจัดสอบกันเองเนื่องจากภาระการบริหารงานสูงขึ้นมากจนไม่อาจทำได้อย่างเดิม

(3) กระแสโลกที่มีทางโน้มเพิ่มจำนวนปีของการศึกษาภาคบังคับทำให้ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมาเราปรับการศึกษาภาคบังคับจาก 4 เป็น 6 และ 9 ปีในที่สุด การเพิ่มจำนวนปีการศึกษาพร้อมกับเด็กที่เกิดปีละกว่า 1 ล้านคน เป็นเวลาต่อเนื่องกันนับสิบปีนับตั้งแต่การวางแผนเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมีการรับครูเข้าบรรจุเป็นจำนวนมากมายนับหมื่นนับแสนคนในเวลาอันรวดเร็วเมื่อ 20-30 ปีก่อน (จำการเรียนครูภาคทไวไลท์กันได้ไหม ที่แห่เรียนตอนเย็น และเสาร์-อาทิตย์ มืดฟ้ามัวดินเพื่อจะได้เป็นข้าราชการครู)

เมื่อมีความจำเป็นต้องผลิตและรับครูจำนวนมากมายในเวลาอันสั้นเพื่อรับมือกับความต้องการ คุณภาพของการผลิตและการคัดเลือกที่ไม่เข้มข้นทำให้มีครูจำนวนมากที่คุณภาพไม่สูง และไม่ได้ต้องการเป็นครูอย่างแท้จริง (ต้องการเพียงเป็นข้าราชการ) หลุดเข้ามาเป็นจำนวนไม่น้อย แต่ครูที่รักความเป็นครู มีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริงก็มีคละปะปนอยู่ด้วยอย่างไม่แน่ใจว่าส่วนใดมากกว่ากัน

การรับครูจำนวนมากเช่นนี้ในอดีตเมื่อ 20-30 ปีก่อนจึงมีผลทำให้ครูเกือบครึ่งหนึ่งในปัจจุบันอยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี และเป็นที่ทราบกันดีว่าคนในวัยนี้มีพลังกายและพลังใจลดน้อยถอยลงเป็นอันมาก ยิ่งครูที่ไม่ได้ตั้งใจเป็นครูและอยู่ในวัยนี้ด้วยแล้ว เราพอจะมองเห็นได้ว่าคุณภาพครูเหล่านี้เป็นอย่างไร

(4) ในภาพรวมครูมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 400,000 คน เป็นจำนวนที่มากอย่างสอดคล้องกับจำนวนนักเรียนปัจจุบันที่เกิดเพียงประมาณปีละ 800,000-850,000 คน แต่ครูกลับขาดแคลนในโรงเรียนนับหมื่นโรงเรียนในจำนวนกว่า 32,000 โรงเรียนทั่วประเทศ เป็นเวลายาวนานที่โรงเรียนจำนวนมากโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กต่ำกว่า 150 คนในชนบทขาดแคลนครูทั้งๆ ที่จำนวนครูรวมทั้งประเทศมีเพียงพอ สาเหตุมาจากครูส่วนใหญ่ต้องการสอนในโรงเรียนใหญ่ดังๆ ในกรุงเทพฯ หรือในตัวเมืองของจังหวัด เนื่องจากสามารถสอนพิเศษหารายได้ตอนเย็น ได้อยู่ใกล้ “ผู้ใหญ่” และ “กำนัน” เรียนต่อก็สะดวก โอกาสก้าวหน้ามีมากกว่าเป็นอันมาก ฯลฯ

กระทรวงศึกษาธิการไม่สามารถโอนย้ายครูจากโรงเรียนเหล่านี้ที่มีครูเป็นสัดส่วนกับนักเรียนต่ำไปยังโรงเรียนที่ขาดแคลนครูในพื้นที่ไกลออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นเพราะประเพณีหรืออะไรก็ไม่ทราบที่ยึดกันมาว่าถ้าครูไม่ยินยอมให้ย้ายโรงเรียนแล้วไม่อาจย้ายครูได้ (กลัวครู ช้ำใจจนสอนไม่ได้? ครูเส้นใหญ่จนบังคับไม่ได้?)

การขาดแคลนครูในโรงเรียนนอกเมืองซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ของประเทศศึกษาอยู่จึงเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน หลายโรงเรียนขาดแคลนครู แถมครูยังมีคุณภาพไม่ดีอีก ขาดจิตวิญญาณของการเป็นครู ได้รับเงินอุดหนุนโรงเรียนต่ำเพราะมีนักเรียนน้อย (เขาให้เงินอุดหนุนต่อหัวต่างกันไม่มากระหว่างเด็กในเมืองกับนอกเมือง) แต่โรงเรียนใหญ่ในเมืองรับเงินอุดหนุนมหาศาลเพราะมีนักเรียนมาก ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือเด็กซึ่งอยู่ห่างไกลซึ่งเป็นจำนวนส่วนใหญ่ของประเทศถูกลงโทษสามเด้ง (เกิดมาจน ขาดแคลนครู โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนต่ำ)

(5) การเมืองเข้าแทรกแซงในการโอนย้ายครู บวกคอร์รัปชันในบางกลุ่มของผู้บริหารโรงเรียน ไม่ว่าจัดซื้อ จัดจ้าง โอนย้ายครู เลือกซื้อแบบเรียน เงินบริจาค ฯลฯ สถานการณ์ที่เลวร้ายอยู่แล้วก็เลยรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อมองไปรอบบ้านเด็ก สังคมก็ให้ตัวอย่างที่เลวแก่เด็ก พ่อแม่ส่วนใหญ่ก็มุ่งแต่หาเงินเลี้ยงชีพ ตัวอย่างดี ๆ ที่เด็กเห็นมีน้อย เด็กเห็นว่าความไม่จริงใจ การโกหกหลอกลวง เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำกัน

(6) แต่ละรัฐบาลมีความฝันเฟื่องในเรื่องการศึกษาที่ไม่ปะติดปะต่อกัน บางพรรคบางรัฐบาลทำให้การศึกษาเดินหน้าไป 5 ก้าว แต่ต่อมาอีกไม่กี่เดือนก็มีรัฐมนตรีใหม่ที่ทำให้ถอยไป 3 ก้าวมาแทน เปลี่ยนกันรวดเร็วราวกับเดินทางมาบนสายพานของโรงงานอุตสาหกรรม และก็เป็นอย่างนี้สลับไปมายาวนานอย่างไม่มีทิศทางที่แน่ชัดและไม่มีโครงการที่ต่อเนื่อง

(7) เมื่อสิบกว่าปีก่อน หลักสูตรใจกว้างให้ครูมีวิจารณญาณในการเลือกสอนเนื้อหาได้กว้างขวาง ดังนั้น เด็กจึงเรียนพื้นฐานไม่เหมือนกัน ประวัติศาสตร์บางตอนครูบางคนก็ข้ามไปเพราะเห็นว่าไม่น่าสนใจ

(8) โรงเรียนไม่มีอัตราจ้างเจ้าหน้าที่ธุรการใหม่มานาน ดังนั้น ครูบางส่วนจึงทำหน้าที่ธุรการปนเปไปกับการสอนเด็ก เมื่อถึงยุคสมัยฮิตของการตรวจประเมินโรงเรียน มีตัวชี้วัดมากมายดังเช่นปัจจุบัน ครูจำนวนมากก็หมกมุ่นอยู่กับงานเหล่านี้ เพราะมีผลกระทบต่อชื่อเสียงโรงเรียน แต่ไม่กระทบต่อผู้บริหารโรงเรียนและผู้บริหารส่วนกลาง

ไม่ว่านักเรียนจะมีสัมฤทธิผลการศึกษาเป็นอย่างไร อ่านหนังสือไม่ออกกี่คน คุณภาพเป็นอย่างไร ผู้บริหารโรงเรียนและผู้บริหารส่วนกลางก็ได้รับเงินเดือนขึ้นเสมอ (แถมมีโบนัสอีกด้วย) ตำแหน่งก้าวหน้าอย่างไม่มีการเชื่อมโยงกับคุณภาพการศึกษาที่เด็กได้รับอย่างแท้จริง พูดง่าย ๆ ก็คือ ระบบเป็นไปในทางที่ทำให้ผู้บริหาร “ไม่ต้องมีความรับผิดรับชอบ” ต่อผลที่เกิดขึ้น

(9) ในต่างจังหวัดครูต้องไปร่วมงานของจังหวัดเสมอในเทศกาลต่าง ๆ ไม่ว่าส่งเสริมเรื่องใดก็ตาม อีกทั้งต้องเกณฑ์นักเรียนไปร่วมงานราชการ มีการพูดกันว่าครูในปัจจุบันนั้น “ทำทุกอย่างยกเว้นสอนหนังสือ”

ครูรุ่นหนุ่มรุ่นสาวที่บังเอิญหลุดพลัดเข้าไปในโรงเรียนต่างจังหวัดต้องรับเหมางานเหล่านี้ทั้งหมด เพราะเป็นประเพณีว่าเมื่อเป็นผู้บริหารแล้วไม่สอนหนังสือ ยกเว้นผู้บริหารที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูและรักและปรารถนาดีต่อเด็กอย่างแท้จริง

การที่ต้องมีการปฏิรูปใดๆ ก็เพราะสถานะเดิมนั้นไม่เป็นที่น่าพอใจของสังคม อย่างไรก็ดี ในสถานะที่มันเป็นอยู่นั้นมีผู้ “พอใจ” อยากให้มันดำรงอยู่ต่อไปเพราะได้รับผลประโยชน์ ดังนั้น การปฏิรูปจึงสร้างความเจ็บปวดให้คนที่ “พอใจ” อยู่แล้วอย่างแน่นอน และถ้าไม่มีการออกแรง “ทุบโต๊ะ” แล้ว ยากนักหนาที่จะเปลี่ยนแปลง หรือ “ปฏิรูป” อะไรได้ เพราะคน “ที่พอใจ” อยู่แล้วมีพลังในตัวอันเข้มแข็งและมีออร่าเจิดจรัสโดยธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น