วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภาษี ปฏิรูป



สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินการคลัง เริ่มต้นว่า ข้อเสนอปฏิรูปที่สำคัญที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปเศรษฐกิจ คือ การปฏิรูปด้านการคลัง ซึ่ง สปช.เสนอปฏิรูปใน 2 ประเด็น คือ เรื่องภาษี และงบรายจ่ายของประเทศ สมชัย ขยายความว่า การปฏิรูปภาษีมีข้อเสนอ....... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/analysis/interview/385408


http://www.posttoday.com/analysis/interview/385408

ฐานคำนวนปี 2558

...ไทยมีผู้มีรายได้ทั้งหมด 38 ล้านคน มายื่นเสียภาษี 11.7 ล้านราย เสียภาษีจริง 3 ล้านคน หนีภาษี 26.3 ล้านราย  (นายกพูดในรายการวันศุกร์ที่30 ตค.58) แต่ละปี หนีภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 70%
...นิติบุคคลจดทะเบียน จำนวน 1.5 ล้านราย เสียภาษีเพียง 6 แสนราย  (นายกพูดในรายการวันศุกร์ที่30 ตค.58) หนีภาษีรายได้นิติบุคคล 60%
 ...ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไทยทั้งหมด 2.7 ล้านราย เสียภาษีเพียง 3 แสนราย หนีภาษี 2.4 ล้านราย แต่ละปี หนีภาษีรายได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล SME นี้ 88%
...ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย ผ่านเว็บไซด์ เฟซบุ๊ก ไอจี ทวิตเตอร์จำนวนทั้งหมดกว่า 5 แสนราย  แต่มีผู้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพียง 1.35 หมื่นราย และ 1.53 หมื่นเว็บไซด์ เพียง 6% ของทั้งหมด หรือหนีภาษีรายได้ด้านนี้ 94%
..อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมูลของไทยน้อยที่สุดในโลกเพียง 7%  ประเทศยุโรปอัตราเฉลี่ย 20% ไทยควรเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มได้แล้ว ใครซื้อสินค้ามากจับจ่ายใช้สอยมากกระทบมาก ชาวบ้านใช้จ่ายน้อยกระทบน้อย
...คนไทยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะการจับจ่ายในห้างใหญ่เท่านั้น ร้านค้าทั่วไป อู่ซ่อมรถ ร้านอาหารร้านค้าสถานบริการห้องแถวไม่มีระบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ละปี หนีภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ  70 %
...ภาษีศุลกากร ก็มีการหลบเลี่ยงช่วยเหลือโดยเจ้าหน้าที่ แต่ละปี หนีภาษีศุลกากร 30%
...ภาษีสัมประสามิตร มีการหนีภาษีสัมประสามิตร 30%
...รวมแล้วแต่ละปีไทยสูญเสียเงินภาษีประมาณปีละ 66.66%  คิดเป็นเงินที่สูญเสียทั้งสิ้นปีละ 4 ล้านล้านบาท เก็บภาษีได้จริงเพียงปีละ 33.33% คิดเป็นเงิน 2 ล้านล้านบาท(ฐานปี งปม. 2558)
...เงิน ปีละ 4 ล้านล้านบาท (ฐานคิดปี 2558) เป็นเงินจำนวนมากมหาศาล 2 เท่าของเงินภาษีที่เก็บได้ หรือ 2 เท่าของงบประมาณประจำปีของไทย ถ้าเก็บได้ครบ 100% จะเก็บได้ปีละ 6 ล้านล้านบาท(50%GDP) หรือถ้าเก็บภาษีได้เพียง ปีละ 4  ล้านล้านบาทเมืองไทย จะ ก้าวข้ามพ้นประเทศที่มีรายได้น้อย หรือประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูงเที่ยบเท่าประเทศเจริญระดับสากล มีกระแสเงินหมุนเวียน สามารถสร้างนวัตกรรม แก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำแตกแยกได้

...ร่างภาษีมรดกออกมาแล้ว ผู้ใดได้รับมรดกมูลค่า 100 ล้านบาท(ต่างประเทศ 0.5 แสนดอนล่า)ไม่ต้องเสียภาษีมรดกส่วนที่ มากกว่า100ล้านบาทเท่านั้นจึงจะเสียภาษีเพียง 5%  (ต่างประเทศ20-40%) คงมีคนเข้าเกณฑ์เสียภาษีมรดกตัวนี้ในประเทศไทยไม่กี่รายไม่ถึง 20 ราย/ปี ออกกฎหมายต้มคนดู

...รอดูร่างภาษีทรัพย์สิน จะออกมาอย่างไรต้มคนดูอีกไหม

...กฎหมายที่ออกมาย่อมเป็นประโยชน์ต่อชนชั้นผู้ออกกฎหมายหรือตามอำนาจนายทุนที่ครอบงำ

...ความเหลื่อมล้ำ อันมากมหาศาล ยากที่จะเกิดความปองดอง คนไทยเพียง0.5%(ประมาณ3-4แสนคน)เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 50% ของทรัพย์สินทั้งหมดในประเทศ (ดูจากบัญชีเงินฝากธนาคาร, เจ้าของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์, และเจ้าของโฉนดที่ดิน) คนจนยังถูกกลุ่มการเมืองใช้เป็นข้ออ้างปลุกระดมได้เสมอ

...คนจนยังขาดที่ทำกิน ปัจจัยสี่ไม่เพียงพอ ขาดอาหาร การรักษาพยาบาลขาดคุณภาพ ที่อยู่อาศัยไม่มีแม้ห้องน้ำ แต่คนรวยคนชั้นกลางอยู่อย่างสุขสบาย คนกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของรัฐมากที่สุด จึงต้องเป็นกลุ่มอุ้มชูสังคม เป็นผู้เสียภาษีให้รัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรมและเสียสระ

...ภาษีมูลค่าเพิ่มได้จาก การซื้อสินค้า ใช้บริการทั่วไปเช่นซ่อมรถ ที่ไม่ใช่ห้างไม่มีเสียภาษี   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยถูกที่สุดในโลกเพียง 7%   ยุโรป-อเมริกา 15-25% คนจับจ่ายซื้อของและใช้บริการมาก(คนมีเงิน)ย่อมเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาก คนจนใช้จ่ายน้อยย่อมกระทบกับภาษีมูลค่าเพิ่มน้อย

...คนเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเพียง 2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจเพราะหัก ณ ที่จ่าย ควรปรับปรุงให้คนวัยทำงานทุกคนต้องเสียภาษี มีรายได้น้อยเสียน้อยเพื่อสร้างความหวงแหนเงินภาษีของตน ใครไม่มีประวัติเสียภาษีไม่ให้รับเบี้ยยังชีพวัยชรา ยกเว้นคนพิการ

...เมืองไทยมีการหลบเลี่ยงภาษีกันมากได้รับการช่วยเหลือจากข้าราชการกรมเก็บภาษีนั่นเองคิดเป็นจำนวนเงินหลบเลี่ยงคอรับชั่นไม่ต่ำกว่าปีละ 17 % ของGDP เงินหายไปเท่ากับที่เก็บมาได้จริง ในแต่ละปีทีเดียว

...การเก็บรายได้เข้ารัฐประสิทธิภาพต่ำ เมื่อเทียบกับหลายประเทศ ไทยเก็บได้เพียง 17% ของ GDP (ต่างประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เก็บได้ 30-40% ของGDP ถือเป็นมาตรฐานสากล ประเทศใดหาได้น้อย GDP น้อย ก็เก็บน้อยตามอัตราส่วน ไม่เกี่ยวกับส่งออกได้มากได้น้อย GDP คือผลผลิตมวลรวมของชาติ เมื่อมีผลผลิตแต่ละรอบ ย่อมมีการจ้างงาน มีการขายจำหน่าย มีรายได้ มีมูลค่าเพิ่มทุกรอบ รัฐมีหน้าที่ปรับปรุงการทำงานหน่วยเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ) ต่างประเทศที่สามารถเก็บภาษีได้มากหลบเลี่ยงน้อยเพราะใช้วิธี ระบบการใช้จ่ายผ่านบัตรหรือการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ การใช้จ่ายจะถูกหักภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่จ่ายโดยตรง ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ภาษีรายได้นิติบุคคลจะถูกคำนาณจากข้อมูลรายได้ประจำปี

...[GDPไทยปี 2456 จำนวน 12 ล้านล้านบาท เก็บรายได้ได้ 2 ล้านล้านบาท 17% ของGDP ใช้เงินที่เก็บได้เป็นงบประมาณรายจ่ายในปีนั้น]

...งบประมาณไทย 80% ใช้จ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการลูกจ้าง และ 20% ใช้เป็นงบลงทุนเช่นสร้างถนน,โครงสร้างพื้นฐาน,สวัสดิการ,โครงการรัฐบาล

...เรามักเรียกร้องให้รัฐ จัดงปม.เพื่อ ดำเนินการวิจัยนวัตกรรมอย่างน้อย 3 %ของGDP ตามอย่างประเทศพัฒนา แต่ไม่เรียกร้องให้รัฐเก็บรายได้ใกล้เคียงประเทศพัฒนา 35-40%ของGDPด้วย ไทยเก็บรายได้ ได้เพียง 17%ของGDP ดังนั้นหากนำเงินจำนวน 3%ของGDP ซึ่งมีค่าเท่ากับ 18% ของงบประมาณไปใช้จ่ายด้านวิจัยแทบไม่เหลือเป็นเงินลงทุนด้านอื่น ๆ เลย

...เก็บได้ 17% ของ GDP เป็นเงิน 2 ล้านล้านบาท ถ้าเราเก็บได้ 35% ของ GDP เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นเงินงบประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 4 ล้านล้านบาท ใช้เป็นเงินเดือนข้าราชการ 1.6 ล้านล้านบาท ที่เหลือ 2.4 ล้านล้านบาท ใช้สร้างโครงสร้างพื้นฐานและต่อยอดโครงการแก้ความเหลื่อมล้ำได้อย่างพอเพียง ทำได้ทุกปีไม่ต้องกู้ โครงการละ 4 แสนล้านบาท เช่น

1)ใช้เป็นเงินเดือนข้าราชการ 1.6 ล้านล้านบาท
2)เงินวัสดุครุภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้จ่ายในสำนักงานทุกกระทรวง 4 แสนล้านบาท
3)สร้างนิคมการเกษตร นิคมอาชีพมีที่อยู่ที่ทำกินพร้อม ครอบครัวละ5ไร่พร้อมแหล่งน้ำตลอดปี ให้คนจนไร้ที่ทำกินเช่าราคาถูก ปีละแสนครัวเรือน ปีละ 2 แสนล้าน
4)รถไฟรางคู่ ปีละ4 แสนล้าน
5)โครงการเรียนฟรีมีคุณภาพ ปีละ2 แสนล้าน
6)โครงการรักษาฟรีตลอดชีพอย่างมีคุณภาพ และโครงการเบี้ยยังชีพคนอายุ60ปีขึ้นไปจ่ายคนละหมื่นบาท/เดือนอยู่ได้อย่างสบาย ปีละ4 แสนล้าน
7)สร้างถนน และระบบชลประทานป้องกันน้ำท่วม ป้องกันน้ำแล้ง ปีละ4 แสนล้าน
8)สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อต่อยอดอุตสาหกรรม 4 แสนล้านบาท

...ประเทศไทยติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ประเทศรายได้สูง ก้เพราะ 2 ปัจจัยสำคัญคือ

1)เราจัดเก็บรายได้ได้น้อย เงินไม่พอใช้จ่ายลงทุนสร้างนวัตกรรม สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

2)คอรับชั่นทุกหย่อมหญ้าเงินลงทุนร้อยเหลือเป็นเนื้อประโยชน์พัฒนาจริงเพียง 50%



*****************************


รายได้จากภาษีเทียบเป็นร้อยละ GDP ของแต่ละประเทศ ;
ประเทศที่จัดเก็บภาษีได้น้อยมี 3 กรณีคือ 

๑)ตั้งใจเก็บภาษีต่ำเพราะรัฐเป็นเจ้าของบ่อน้ำมัน มีรายได้มาก เป็นรัฐสวัสดิการเต็มที่ เก็บภาษีน้อย ประเทศสิงคโปร์เก็บภาษีจากประชากรของเขาน้อยเพียง 14%ของGDP ถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งของประเทศนักธุรกิจ แต่เขามีเงินจากการตั้งกองทุนต่าง ๆ ที่ลงทุนส่วนใหญ่โดยรัฐบาล ออกไปทำธุรกิจทั่วโลกหาเงินรายได้เข้างบประมาณเข้ากองทุนสะสมของประเทศไม่รู้จบ

๒)ตั้งใจเก็บภาษีต่ำเพราะรัฐไม่มีหนี้สิน ไม่จำเป็นสร้างโครงสร้างพื้นฐานมาก สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรเป็นหลัก ไม่เน้นทำรัฐสวัสดิการ ให้ประชาชนอยู่แบบพอเพียงพึ่งพาตนเอง 

๓)จัดเก็บได้น้อย เพราะระบบราชการกรมเก็บภาษีประสิทธิภาพต่ำ

>>>>>คลิกดูเปรียบเทียบรายได้จากภาษีที่เก็บได้เป็นร้อยละ GDP แต่ละประเทศทั่วโลก<<<<<<
                                                     
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP

6 ข้อ โชว์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม’พ.ย.นี้
จากแนวหน้าออนไลน์ วันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้แจ้งหมายงานเร่งด่วนไปยังผู้บริหารกระทรวงการคลัง ว่าจะเข้าไปมอบนโยบาย สร้างความแปลกใจให้กับข้าราชการและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังอย่างมาก
นายสมคิดเปิดเผยหลังมอบนโยบายผู้บริหารกระทรวงการคลัง ว่า ได้มอบนโยบายในการทำงานระยะที่ 2 โดยแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย

 1.การปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากร เพื่อขยายฐานรายได้ และสร้างความเป็นธรรมให้สังคม โดยจะครอบคลุมหลายเรื่องของระบบภาษี ซึ่งจะทำให้รายได้ประเทศเพิ่มขึ้น โดยไม่เบียดเบียนประชาชน รวมถึงการเดินหน้าการพัฒนาช่องทางการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเพย์เม้นท์ด้วย
สำหรับกลุ่มงานที่

 2 การอำนวยความสะดวกในการลงทุน การทำธุรกิจ และการให้บริการประชาชน โดยในวันที่ 6 พ.ย.นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายักรัฐมนตรี จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงรายละเอียดแผนการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการทำธุรกิจ หรือ Doing Business โดยจะเร่งให้เกิดผลเร็วที่สุด

 3 การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ( สศค.) เรื่องการจัดตั้งกองทุนนวัตกรรม ที่จะนำเงินจากกองทุนมาใช้พัฒนาภาคธุรกิจทั้งไทยและต่างชาติร่วมลงทุน เป็นการยกระดับเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เบื้องต้นจะมีเงินจากรัฐในการจัดตั้งกองทุน

4 เรื่องการพัฒนาตลาดทุนและตลาดเงิน โดยจะให้ สศค. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้พัฒนาทั้ง 2 ตลาดให้เป็นสากลมากขึ้น และต้องสะท้อนความต้องการของเศรษฐกิจ รวมถึงจะต้องมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมายให้ทันสมัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5-6 เดือน

5 การเน้นการปฏิรูปภายในกระทรวงการคลัง เช่น กรมธนารักษ์ ต้องตอบสนองนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุให้คุ้มกับมูลค่าทรัพย์สิน

 6 การคลังเพื่อสังคม เช่น ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise แนวทางคือดึงภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนด้านสังคม

“เมื่อมาตรการทุกด้านมีความชัดเจนจะเริ่มนำไปชี้แจงกับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะเวทีการประชุม Asia Economic Forum ช่วงเดือนพ.ย.นี้จะมีการหารือการปฏิรูปด้านต่างๆ ด้วย ส่วนการดำเนินงานในเฟสแรก ที่ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เชื่อว่าจะเพียงพอต่อสถานการณ์ขณะนี้แล้ว จะไม่มีการออกมาตรการอื่นเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป ซึ่งหากว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่มีการออกมาตรการแล้ว แต่หากจำเป็นก็จะมีการพิจารณาเพิ่มได้”

นายสมคิดยังกล่าวถึงการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ว่า ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ได้เชิญกลุ่มคลัสเตอร์ 7-8 ราย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ชี้แจงในรายละเอียด ก่อนจะไปชี้แจงในที่ประชุมกับนักลงทุนรายใหญ่ในช่วงปลายเดือนพ.ย.นี้ โดยในที่ 3 พ.ย.นี้ จะมีการเสนอแพ็กเกจการส่งเสริมการลงทุนของเอสเอ็มอีกลุ่มใหม่ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่มากขึ้น

“การดำเนินการจากมาตรการทั้งหมดที่ผ่านมาไม่มีทางทำให้รัฐบาลกระเป๋าฉีกอย่างแน่นอน สามารถดูแลการคลังได้เป็นอย่างดี ส่วนการปฏิรูปโครงสร้างภาษีที่จะดำเนินการนั้นจะเป็นการปรับฐานให้ขยายมากขึ้น ลึกมากขึ้น” นายสมคิดกล่าว

http://www.naewna.com/business/186275
http://www.naewna.com/business/186275

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ เมื่อ17 สค. 58 และที่ท่าเรือสาธร เมื่อ 18 สค. 58

ไทยรัฐออนไลน์ 18 ส.ค. 2558 19:35




"ถาวร" วิเคราะห์ปม 2 เหตุ บอมม์กรุง เชื่อปัจจัยการเมืองภายในโยงเหตุในอดีต จี้ฝ่ายมั่นคงอย่าลูบหน้าปะจมูกเร่งจับมือป่วน...
เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 58 นายถาวร เสนเนียม อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีเหตุระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวที่สูญเสียและบาดเจ็บ ทั้งขอประณามทั้งผู้กระทำผิดและผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่มีใจโหดเหี้ยม โดยไม่คำนึงถึงผู้บริสุทธิ์ที่มารับเคราะห์ในครั้งนี้ และตนขอวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดเหตุนี้ 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ 1. การเมืองระหว่างประเทศ จากกรณีที่รัฐบาลไทยเพิ่งผลักดันส่งตัวคนบางเชื้อชาติกลับไปยังประเทศที่เขาถือสัญชาติ โดยไม่สมัครใจเดินทางกลับ อาจทำให้คนเชื้อชาติศาสนานั้น ไม่พอใจจึงมีการโต้ตอบ แต่ตนให้น้ำหนักในเรื่องนี้น้อยมาก หรือแม้แต่เหตุความไม่สงบในภาคใต้ ก็ไม่สามารถเป็นไปได้
นายถาวร ระบุต่อว่า 2. จากเหตุการเมืองภายในประเทศ ซึ่งทุกครั้งที่ฝ่ายการเมืองกลุ่มที่สูญเสียประโยชน์ถูกต้อนเข้ามุมอับ มักจะมีเหตุร้าย รุนแรงเกิดขึ้นทุกครั้ง เช่น การวางระเบิดที่สถานีรถไฟฟ้าหน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน การวางระเบิดที่เกาะสมุยและรวมถึงการวางระเบิดครั้งนี้ที่สี่แยกราชประสงค์ (กรณีการถอดยศ) และมักจะมีการออกข่าวในโซเชียลมีเดียว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ทั้งนี้อยากให้ย้อนไปถึงเหตุระเบิดเกิดขึ้นที่สยามเมตตาแมนชั่น จ.นนทบุรี เหตุระเบิดที่เขตมีนบุรีและรวมถึงเหตุระเบิดหน้าศาลอาญา งานด้านการข่าวรู้ดีอยู่แล้วว่าโยงยึดของคนในกลุ่มการเมืองฝ่ายใด แต่รัฐบาลชุดนี้ยังจับคนร้ายที่สำคัญไม่ได้
"งานด้านความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน จะคิดลูบหน้าปะจมูก คิดถึงรุ่นและบุญคุณเก่าไม่ได้ เพราะเหตุเกิดแต่ละครั้งมีผลกระทบมหาศาลต่อประเทศชาติและประชาชน จึงขอกราบเรียนมายังรัฐบาลและรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงว่า ต้องเร่งจับคนร้ายให้ได้ทุกกรณีที่กล่าวมา สำหรับเหตุวางระเบิดที่เกาะสมุยนั้น ก็รู้กลุ่ม รู้เส้นทางการปฏิบัติงาน รู้จุดพักประกอบระเบิด รู้รถที่ใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด รู้หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ แต่ยังเงียบจับคนร้ายไม่ได้ จึงขอเรียกร้องให้จริงจังเกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงและรักษาความปลอดภัย และติดตามจับกุมผู้ก่อเหตุร้ายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ได้ รวมถึงจับคนร้ายในคดีที่ฆ่า พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และคนร้ายที่ฆ่าผู้ชุมนุมมวลมหาประชาชนจำนวน 24 ศพให้ได้ ซึ่งเป็นการเมืองภายใน ขณะนี้รัฐบาลนี้มีอำนาจเต็มมากที่สุด ด้านความมั่นคงอย่าทำให้ประชาชนต้องผิดหวัง" นายถาวร ระบุ

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ

  จากหนังสือพิมพ์แนวหน้าออนไลน์ วันพุธ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

...11 ส.ค. 58 เมื่อเวลา 18.15 น. ที่รัฐสภา นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีกรรมการยุทธศาสตร์และการปรองดองแห่งชาติ ในมาตรา 260 ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการไม่เกิน 22 คน ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่งได้แก่ ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการกองทัพไทย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ซึ่งเลือกกันเองประเภทละ 1 คน และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 11 คน ซึ่งแต่งตั้งตามมติรัฐสภา จากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการปฏิรูปด้านต่างๆ และการสร้างความปรองดอง โดยมีอำนาจหน้าที่เสริมสร้างการปฏิรูป และกำกับการสร้างความปรองดอง และระงับเหตุที่อาจนำไปสู่การเกิดความรุนแรง

...กมธ.ยกร่างฯ ได้กำหนดอำนาจพิเศษของ กรรมการยุทธศาสตร์ฯ ไว้ในบทเฉพาะกาล ระบุว่า หากคณะรัฐมนตรีไม่มีเสถียรภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศได้ กรรมการยุทธศาสตร์มีมติคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมด มีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็นสำหรับจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าว ภายหลังจากที่ได้รับการปรึกษากับ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุดแล้ว เพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว จากนั้น ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ มีอำนาจสั่งการระงับยับยั้งหรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหาร ให้ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งและการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้ และถือเป็นที่สุด และเมื่อได้ดำเนินการตามมาตราการดังกล่าวแล้ว ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ รายงานต่อประธานสภา ประธานวุฒิสภา รายงานต่อ ประธานศาลศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด รับทราบโดยเร็ว และแถลงให้ประชาชนรับทราบ และเมื่อมีการใช้อำนาจตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นการเปิดประชุมสภา โดยอำนาจพิเศษตามมาตรานี้กำหนดให้ใช้ได้เพียง 5 ปี ซึ่งอำนาจตามมาตรานี้ไม่เหมือนกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เพราะไม่มีอำนาจทางตุลาการ

..."ตัวอย่างสำหรับการใช้มาตรานี้ เช่น หากเกิดการชุมนุมขึ้นหลายพื้นที่ จนกลายเป็นจราจล รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว ตำรวจ ทหาร ก็ยังเอาไม่อยู่ ถือว่ากลไกทางกฎหมายตามปกติไม่สามารถใช้ได้แล้ว กรรมการยุทธศาสตร์ก็ต้องมาใช้อำนาจตามมาตรานี้ ซึ่งขอบเขตของอำนาจตามมาตรานี้ มีไว้เพื่อทำให้สถานการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่มีการหมกเม็ด แต่เปิดเม็ดวางอยู่บนโต๊ะ ทั้งยังไม่ใช่การสืบทอดอำนาจแต่ต้องการทำให้เมืองสงบ" นายบวรศักดิ์ กล่าว


ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558
หลังจากปกปิดเป็นความลับสุดยอดมาหนึ่งปีเต็มๆ

 ในที่สุด “กล่องดวงใจ” ที่ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ แอบฝังชิปไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ก็ถูกเปิดออกมาเต็มเปา

“แม่ลูกจันทร์” แกะกล่องดวงใจออกมาดู พบ “ยาวิเศษ” บรรจุไว้ 3 ขวด ดังนี้คือ

ยาวิเศษขวดที่ 1, คือ แปลงร่าง คสช.กลายเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ

เป็นซุปเปอร์รัฐบาลซ้อนทับเหนือรัฐบาลจากการเลือกตั้งอีกที

ยาวิเศษขวดที่ 2, คือการล็อกสเปกให้เกิดรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ ที่มี ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆผสมข้ามสายพันธุ์ ไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของจำนวน ส.ส.ทั้งสภาฯ เพื่อเปิดประตูให้ “คนนอก” แหกด่านมะขามเตี้ยเป็นนายกฯคนกลาง

ยาวิเศษขวดที่ 3, คือ เพิ่มบท เฉพาะกาลให้รัฐบาล คสช.มีอำนาจแต่ง ตั้ง ส.ว.ลากตั้งชุดใหม่ 123 คน

เพื่อให้ คสช.ควบคุมเสียงข้างมากในวุฒิสภา เพื่อถอดถอนนักการเมืองและเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระได้อย่างสะดวกโยธิน
“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่า การเพิ่มกติกาทั้ง 3 อย่างไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพื่อให้ คสช.ยังกุมอำนาจเบ็ดเสร็จในการจัดระเบียบประเทศ

หรือควบคุมสถานการณ์ประเทศ หรือจัดการกับปัญหาต่างๆต่อไปในระยะยาว โดยไม่จำเป็นต้องขยายโรดแม็ป คสช.ให้ปวดเมื่อยไข่ดัน

เพราะแม้ว่า คสช.ต้องสลายตัวไป หลังมีรัฐบาลใหม่ แต่อำนาจ คสช.ที่ใส่เพิ่มเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญ ยังคงอยู่เหมือนเดิม

เพียงแต่แปลงร่าง คสช.เป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปแห่งชาติฯ เท่านั้นเอง

“แม่ลูกจันทร์” ย้ำว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯชุดนี้ จะอยู่ในตำแหน่ง 5 ปี สามารถต่อวีซ่าได้อีก 5 ปี รวมเป็น 10 ปี

โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการส่วนคณะกรรมการจะประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานรัฐสภา ผบ.สูงสุด ผบ.ทบ. ผบ.ทอ. ผบ.ทร. ผบ.ตร. และผู้ทรงคุณวุฒิที่ คสช.แต่งตั้งรวมทั้งสิ้น 21 คน

แต่ที่ “ฮ้อแร่ดอย่าบอกใคร” คือให้อำนาจคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ สั่งการเหนือรัฐบาล สั่งการเหนือรัฐสภา

และให้ถือว่าการกระทำใดๆ ของคณะกรรมการฯทุกกรณีชอบด้วยกฎหมายทุกประการ

“แม่ลูกจันทร์” สรุปว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงเรือแป๊ะเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกแบบพิเศษสำหรับแป๊ะโดยตรง

เพราะผู้มีอำนาจบารมีเหมาะสมที่จะเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ

คงไม่มีใครเหมาะสมเท่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

และผู้ที่จะได้รับเกียรติสูงสุดบนเก้าอี้นายกฯ คนกลางในรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ

ก็คงไม่มีใครเหมาะสมกว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เช่นกัน

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงไม่ใช่การต่อท่ออำนาจ คสช.อย่างที่พวกปากหอยปากปูนินทา

แต่เป็นการสร้างทางพิเศษ 8 เลน เพื่อให้ “พล.อ.ประยุทธ์” ช่วยดูแลรักษาประเทศชาติให้สงบเรียบร้อยไปอีก 5 ปี หรือ 10 ปี

อามะภันเต...มันเป็นเช่นนี้แหละโยม.

แม่ลูกจันทร์

www.thairath.co.th/content/518178

...ไชยันต์ ไชยพร นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ......ถ้าคิดว่าประชาชนเท่าเทียมกันจริงๆ ประชาชนมีอำนาจทางการเมืองเท่าเทียมกันจริง ต่อไปนี้ก็ล้มระบบ สส. ล้มระบบเลือกตั้ง ให้จับสลากเอาประชาชนเข้ามาตัดสินเรื่องราวของประชาชนเลย

...รู้หรือไม่ว่าการมีระบบเลือกตั้งเป็นการสะท้อนว่าคนไม่เท่ากัน

...ไชยันต์ กล่าวอีกว่า รัฐธรรมนูญก่อน 22 พ.ค. 2557 ไม่ได้มีความหมายเลย กลุ่มมวลชนปิดสถานที่ราชการ รัฐบาลก็อ้างว่าลาออกไม่ได้ เกิดมีมวลชนฝ่ายรัฐบาลออกมาชุมนุมพร้อมที่จะยกกำลังเข้าหากัน

...นี่คือเหตุผลว่ารัฐธรรมนูญต้องมีเครื่องมือที่เข้มแข็งพอจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญเองเมื่อเกิดปัญหา จึงไม่พ้นทหาร คนอาจจะมองว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เป็นปัญหา แต่อาจเป็นเครื่องมือที่จำเป็นก็ได้ที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้มีความเข้มแข็งเสียก่อน แล้วค่อยๆ ปรับแก้เปลี่ยนแปลงต่อไป

http://www.posttoday.com/analysis/politic/392751
http://www.posttoday.com/analysis/politic/392751


 ผู้เขียน: ไม่แน่ใจ แต่อยากให้ยาวิเศษมีสรรพคุณ อย่างแม่ลูกจันทร์กล่าวว่าไว้จริง ๆ
 



ความเห็นผู้เขียน

...เป็นความพยายาม หามาตรการสยบปัญหา เมื่อบ้านเมืองไม่สงบ ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายก่อม๊อบต่างไม่ยอมลดราวาศอก รัฐบาลไม่สามารถบริหารให้สงบได้ อดีตในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมาปรากฏให้ประจักษ์หลายครั้ง ขอชมเชยถือเป็นนวัตกรรมกลไกใหม่

...เป็นมาตรการมีไว้แก้ปัญหาโดยไม่ต้องทำรัฐประหารไม่รู้จบ เป็นกลไกบริหารทรงอำนาจเด็ดขาดเพื่อสยบจราจล ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ต้องฉีก อารยะประเทศยอมรับได้ ทุกฝ่ายได้ประโยชน์การเมืองเศรษฐกิจเดินต่อได้ สอดคล้องรูปแบบวัฒนธรรมการเมืองแบบไทย อัตลักษณ์การเมืองไทย พยายามอย่างไรก็กลับสู่วงจรเดิม เป็นวงจรแบบไทยมาเกือบ 100 ปี ยากที่จะปรับเปลี่ยนเป็นอื่น  ดังนั้นจัดให้เป็นวงจรถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเถิด ไม่เห็นแปลก แต่ละชาติบนโลกใบนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะรูปแบบการเมืองเป็นของตนเอง ถือเป็นการพัฒนาแก้ปัญหาเฉพาะของเรา ไม่มีรูปแบบการปกครองสากลเหมือนกันเป๊ะทุกอย่างบนโลกนี้ การพยายามตะแบงบุคลิกให้เหมือนคนอื่นไม่มีทางแก้ปัญหาของตนได้ การมีมาตรการแบบนี้ไม่ทำให้ชาติสูญเสียอิสระภาพอธิปไตยอันใดเลย ยังเป็นชาติไทย ของคนไทย เพื่อคนไทย โดยคนไทย เหมือนเดิม

...เมื่อรัฐบาลขาดเสถียรภาพ นายกรัฐมนตรีคนปัจุบันขณะนั้น ย่อมขาดความเชื่อถือจากหลายฝ่าย ช่วงเริ่มเกิดสถานการณ์ ประธานและรองประธานกรรมการฯ ชุดนี้ ควรระบุให้เป็น ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด มีหน้าที่ตัดสินใจ ว่าเมื่อใดเป็นสถานการณ์ที่รัฐบาลขาดเสถียรภาพ เมื่อนั้นให้ประธานเรียกประชุมคณะกรรมการฯ 22คน ดำเนินการได้ทันที ต่อไปจะตั้งใครทำอะไรขึ้นอยู่กับมติคณะกรรมการ

...เนื่องจากสถานการณ์เมืองไทยระยะนี้ หากปล่อยให้มีการเลือกตั้ง ก็ยากที่จะสงบลงได้ อำนาจพิเศษควรมีไว้เป็นทางออก ซึ่งคงไม่ได้ใช้ถ้าไม่มีสถานการณ์ความรุนแรงไม่ต้องกลัว และที่เกรงว่าทหารจะเป็นเผด็จการทรราษฎ์ กระทำเอาประโยชน์ส่วนตัว เลยยุคเลยเวลาที่จะทำย่ำยีอย่างนั้นได้แล้ว คนไทยยุคนี้และยุคต่อไปทุกสีไม่มีใครยอมแน่ ดังนั้นเพื่อเป็นทางออกฉุกเฉิน ไม่ควรกำหนดไว้เพียง 5 ปี   ตัวอย่างรัฐธรรมนูญสหรัฐ กำหนดกลไกอำนาจพิเศษไว้พร้อมใช้ได้ตลอด เมื่อประธานาธิบดีโดนลักพาตัว


...เราศรัทธาประชาธิปไตย แต่เราไม่ศรัทธานักการเมืองพรรคการเมืองไทยที่ผ่านมา แอบอ้างประชาธิปไตยซื้อเสียงขึ้นสู่อำนาจ แล้วมากอบโกยเพื่อประโยชน์ตนเอง และพยายามปรับกติกาเป็นเผด็จการรัฐสภา ลดกลไกการตรวจสอบเช่นแก้รัฐธรรมนูญอย่างน่าเกลียด  ซื้ออำนาจการตรวจสอบ อย่างซื้อ กกต.

...ในเมื่อกติกาประชาธิปไตยที่ผ่านมา ไม่ถูกกับนิสัยและวัฒนธรรมไทย หันมาใช้ประชาธิปไตยกติกาแบบไทยที่เรากำลังพัฒนาขึ้นมาเอง พัฒนาจากปัญหา จากประสบการณ์ สร้างมาตรการกลไกแก้ปัญหาในอดีต


... ... รัฐบาลที่ทำให้บ้านเมืองสงบ มีเสถียรภาพมั่นคง มีเวลาคิดวางแผนงานโครงการแก้ปัญหาระยะยาวได้ การทุจริตน้อย มีการปราบปรามข้าราชการนักการเมืองทุจริตได้ผลชัดเจน คือยุค จอมพลปอ พิบูรณ์สงคราม ยุคพลเอกเปรม ติณสูรานนท์ ยุคนายอนันท์ ปัญญารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี คือประชาธิปไตยตามแนววิถีไทย ยุคพลเอกเปรมถือเป็นผลการวิจัยที่ผ่านการพิสูจน์สมมติฐานว่ามีนัยสำคัญ เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะกับวิถีแบบไทย หลายท่านอ้างว่า "ไม่เป็นประชาธิปไตยสากล, เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ" ถามว่าประชาธิปไตยสากลเต็มใบ ลองใช้ในไทยหลายยุค,หลายสมัย, หลายปี ผลเป็นอย่างไร ตั้งแต่ ยุคที่1)2475-2480ยุคก่อการ; ยุคที่2)2514-2519ยุคเบ่งบาน; ยุคที่3)2531-2534ยุคพลเอกชาติชาย; ยุคที่4)2540-2548ยุคทักษิณ; ยุคที่5)2550-2557ยุคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ ...พิสูจน์แล้วว่า ไม่Sig ไม่มีนัยสำคัญ ใช้ไม่ได้ ไม่ WORK ไม่สามารถนำมาใช้ในไทยได้

...บนโลกนี้ไม่มีกติกาประชาธิไตยเหมือนกัน  ไม่มีประชาธิปไตยสากลโลก ทุกประเทศต่างพัฒนาขึ้นมาเป็นแบบเฉพาะของตนเองทั้งสิ้น และปัจุบันตะวันตกได้พัฒนาประชาธิปไตยแตกต่างจากต้นแบบ Original ดั้งเดิมกลายพันธุ์กันเยอะแล้ว เพิ่มมาตรการจำกัดสิทธิเสรีภาพเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้นและมากขึ้น

...จราจลสีเสื้อ เมื่อพรรคแดงเป็นรัฐบาลมวลชลเหลืองก่อจราจล, เมื่อพรรคเหลืองเป็นรัฐบาลมวลชนแดงก่อจราจลต่างประเทศมีไหมเขามีมาตรการอย่างไร, เมื่อรัฐบาลเสียงข้างมากขาดความชอบธรรมเขามีมาตรการกลไกหาทางออกอย่างไร, เมื่อนักการเมืองซื้อเสียงต่างประเทศมีไหมเขามีมาตรการกลไกอย่างไร, เมื่อพรรคใหญ่ซื้อพรรคเล็กต่างประเทศมีไหมเขามีมาตรการป้องกันอย่างไร,  รัฐบาลแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์พรรคตนต่างประเทศมีไหมเขามีมารตการอย่างไร,   สถานการณ์บางอย่างต่างประเทศไม่มี มีเฉพาะในประเทศไทย เราจึงต้องมีมาตรการเฉพาะของเรา  และต้องเป็นมาตรการกลไกที่ได้ผลเตรียมป้องกันไว้แล้ว

...มาตรการเหล่านี้แต่ละชาติล้วนพัฒนาขึ้นมาเป็นการเฉพาะตัวทั้งสิ้น