วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

งานบุคคลสงฆ์/เงินบริจาคกองทุนบำรุงพระพุทธศาสนา

ปฏิรูปโครงสร้างบุคคลสงฆ์และเงินบริจาคกองทุนบำรุงพระพุทธศาสนา


รายได้จากภาษีค่าธรรมเนียม ของประเทศต่าง ๆ
ฝรั่งเศส 41%GDP สวีเดน 36%GDP เยอรมัน 29%GDP อิตาลี 36%GDP
อังกฤษ 36%GDP ฮังการี 35%GDP เกาหลีใต้ 18%GDP อินโดนิเซีย 14%GDP
ไทย 17%GDP น้อยที่สุดในโลก

คนไทยมีเงินทำบุญแต่ไม่มีเงินเสียภาษี หลบเลี่ยงภาษีกันรัฐสูญเสียประมาณ 20-25% ของGDP
วัดวาอารามวิจิตรการตาเจ้าอาวาสทุจริตดังทั่วเมืองทรัพย์สินพระภิกษุรายบุคคลเจริญงอกงามอยู่ท่ามกลางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับคนส่วนใหญ่ของประเทสอันอับเฉา เช่น ระบบชลประทานจิ๊บจ้อย แหล่งน้ำชุมชนไม่ถึง 5 %  การคมนาคมชนบทอันทุลักทุเล ป่าชุมชนไม่มีให้เก็บกิน ดินอันเสื่อมสภาพ  ฯลฯ

....วงการสงฆ์เสื่อมในรอบ 2600 ปี ควรสร้างพ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพุทธศาสนา โดยมีเนื้อหาสำคัญในการดูแลสถาบันสงฆ์ และปรับปรุง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ปรับปรุงกฎหมายอาญาให้เพิ่มอาญาแผ่นดิน"หมวดโทษอาญาพระสงฆ์สามเณร" ปรับปรุงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับเรื่องเงินสงฆ์เงินวัดสำนักสงฆ์

....ศิลปาติโมกข์ห้ามพระสงฆ์ภิกษุ/ภิกษุณี/สามเณร มีสังหาริมทรัพย์,ทรัพย์สิน,เงินสดและเงินในบัญชีส่วนตัว,กฎหมายควรบัญญัติตามนั้น..ให้เป็นความผิดร้ายแรงจับสึกยึดทรัพย์และลงโทษอาญา สำนักพระพุทธศาสนาควรจัดทำสารสนเทศทะเบียนประวัติพระสงฆ์/สามเณร/มัคทายก..ทุกรูปทุกคนโดยละเอียด

...จากคอลัมน์การเมือง"กวนน้ำให้ใส"หนังสือพิพม์แนวหน้า ฉบับวันที่ 15 เมษายน 2558
1) วัดดังๆ หลายแห่ง ใช้วิธีกระตุ้นการทำบุญ
ไม่ต่างกับร้านค้าที่จัดกิจกรรม อีเว้นท์ ส่งเสริมการขาย
ไม่ต่างกับการจัดกิจกรรมบันเทิงสงกรานต์ของธุรกิจต่างๆ
ยังไม่ถึงกับมีโคโยตี้มาเต้นยั่ว แต่ก็มีสินค้าบุญมาขาย บริการทำบุญสารพัดรูปแบบ
นอกจากจะกราบไหว้สักการะองค์พระแล้ว ก็ยังมีทำบุญวันเกิดเสริมสิริมงคล เสี่ยงโชค เสริมชะตา ดูดวง เสี่ยงเซียมซี ปิดทององค์พระไถ่ชีวิตโคกระบือ ตู้บริจาคสารพัดนึก แล้วไหนจะเช่าซื้อวัตถุมงคล พระพุทธรูปบูชา เหรียญ สร้อย แหวน กำไล ฯลฯ
2) ด้วยความที่คนเราเดินไปทางไปวัด ต้องการจะทำบุญ
แต่แทนที่วัดจะใช้โอกาสนี้ให้สติปัญญาความรู้ ให้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาแก่ญาติโยม กลับใช้วิธีกระตุ้นให้ใช้เงินทำบุญสารพัด เพียงเพราะเข้าทางผลประโยชน์ของวัดและของพระเป็นสำคัญ
ไปวัดแต่ละครั้ง คนจึงต้องจ่ายเงินไปกับการซื้อบุญมากกว่า หรือพอๆ กับไปเดินตลาด หรือเดินห้าง
3) ธุรกิจบุญของวัดและของพระ มีมูลค่ามหาศาล
ใหญ่โตกว่ากิจการรัฐวิสาหกิจระดับ Top 3 ของประเทศไทยด้วยซ้ำ
ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า ผู้ทำวิจัยเรื่อง “การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย”พบว่ารายได้อันดับหนึ่งของวัดในแต่ละปี คือเงินที่ได้รับการบริจาคจากประชาชน, รองลงมา คือรายได้จากการการเช่า หรือซื้อวัตถุมงคล และลำดับถัดมา ค่อยเป็นรายได้จากเทศกาลพิเศษ เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า งานบวช พิธีฝังลูกนิมิต
เรียกได้ว่า เงินเข้าวัดและพระตัวหลักเลย คือ เงินจากการทำบุญของญาติโยม
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น ปีใหม่ วันสำคัญทางศาสนา รวมถึงเทศกาลสงกรานต์ด้วย
แต่ละปีมียอดเงินทำบุญไหลเวียนอยู่ในวัดทั่วประเทศเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี!!!
4) ล่าสุด บรรดาสถาบันการเงินรุมตอมเจ้าอาวาสของวัดใหญ่ๆ เพื่อดึงดูดเอาเงินมาเข้าธนาคารของตนเอง
โดยปีที่ผ่านมา ปริมาณเงินฝากในนามวัดเติบโตไม่น้อยกว่า 10% ต่อเนื่องทุกปี
ปัจจุบัน คาดว่า อยู่ในระดับที่สูงกว่า 3 แสนล้านบาท!
เจ้าหน้าที่แบงก์ประกบติดเจ้าอาวาสและลูกศิษย์ใกล้ชิด บริการดูแลอย่างดี เพราะถือเป็นผู้มีอำนาจ ผูกขาดการตัดสินใจง่าจะเอาเงินไปบริหารจัดการอย่างไร
จากเดิม แบงก์จะเข้าไปแจกร่ม แจกน้ำ แจกข้าวของเครื่องใช้ในช่วงงานบุญ หรือมีรถรับฝากเงินเข้าไปบริการเพื่ออำนวยความสะดวก แต่ปัจจุบันถึงขั้นแจกเต็นท์ หรือแม้แต่ซื้อรถเก๋ง รถตู้ให้เจ้าอาวาส รวมถึงจัดรถคอยรับ-ส่งลูกศิษย์วัดและคนใกล้ชิดที่มีอำนาจบริหารจัดการเงิน
บางแห่ง ใช้วิธีตรวจเช็คตารางกิจนิมนต์ของเจ้าอาวาส เฝ้าระวังเพื่อดูแลอย่างดี มิให้ขาดตกบกพร่อง ต้องการอะไรก็จะเอาอกเอาใจ หาไปถวาย เพราะเจ้าอาวาสถือเป็นคนมีอำนาจเบ็ดเสร็จ
5) ระบบกำกับดูแล ตรวจสอบ หรือสร้างหลักประกันว่าเงินทำบุญจะถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของพระพุทศศาสนาอย่างแท้จริงในปัจจุบันนั้น ละหลวม หย่อนยอน บกพร่อง
เทียบจะเรียกว่า เป็นแบบบุฟเฟ่ต์ ก็ว่าได้!
ไม่น่าเชื่อ เมื่อนึกถึงความจริงว่า ปริมาณเงิน ปริมาณผลประโยชน์มหาศาลขนาดนี้ มากกว่างบประมาณของกระทรวงขนาดใหญ่เสียอีก มากกว่างบรัฐวิสาหกิจยักษ์ใหญ่ด้วยซ้ำ แต่ระบบการบริหารเงินกลับถูกปล่อยปละละเลยให้เป็นไปตามความต้องการของคนไม่กี่คน พระไม่กี่รูป
ทั้งๆ ที่เรื่องเงิน เรื่องทรัพย์สินมหาศาลเหล่านี้ ไม่ใช่กิจของสงฆ์เลยแม้แต่น้อย
6) การปล่อยให้พระมีอำนาจจัดการเงินทองทรัพย์สินเสมือนเป็นของส่วนตัว ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่นปัญหาการฉ้อโกงทรัพย์สินวัด, ปัญหาการเรี่ยไรเงินทอง ระดมเงิน ระดมทุนเข้าวัด พุทธพาณิชย์ขนานหนัก เพราะมีผลประโยชน์ส่วนตัวของพระร่วมอยู่ด้วย, ปัญหาการล่อลวงและขโมยทรัพย์สินพระภิกษุสงฆ์, ปัญหาด้านอาชญากรรมฯลฯ
หรือแม้แต่หญิง-ชายบางประเภทที่เลือกเข้าไปหาพระ สร้างสัมพันธ์ชู้สาวก็ด้วยต้องการผลประโยชน์
ทั้งหมด มีผลกระทบร้ายแรงโดยตรงต่อการรักษาวิถีปฏิบัติของพระและวัดให้ถูกต้องและเป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย
7) ควรพิจารณาแนวทางตามรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ จะเห็นสภาพปัญหาและแนวทางควรจะต้องปฏิรูป
เฉพาะในส่วนเงินของวัดและเงินของพระเช่น เสนอให้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุ โดยอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีกลไกการจัดทำบัญชีทรัพย์สินของวัด ทรัพย์สินรวมถึงผลประโยชน์อื่นใดที่ได้มาจากการทำงานใต้ร่มกาสาวภัสตร์ย่อมตกเป็นของพระพุทธศาสนารวมถึงแก้ไขช่องโหว่ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623 ซึ่งถูกใช้หลบเลี่ยงนำทรัพย์สินที่มีการบริจาคให้วัดไปเป็นของส่วนตัวพระและของพวกพ้องเครือญาติเป็นต้น
สร้างหลักประกันว่า เงินทำบุญด้วยศรัทธาบริสุทธิ์ของพุทธศาสนิกชนจะถูกนำไปใช้เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มิใช่กลายเป็นการบำเรอผลประโยชน์ส่วนตัวของใครคนใดคนหนึ่ง

....เพื่อจรรโลงศาสนาจักรไทยอนาคตผู้มีอำนาจทางพุทธศาสนจักร และรัฐบาล ร่วมมือดำเนินการ ควรนิมนต์คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ทุกมหาวิทยาลัยในประเทศนิมนต์คณะกรรมการมหาเถระสมาคม เจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัดมาประชุมสัมมนาหาแนวทางปฏิรูป เลือกเฉพาะพระนักปฏิบัติธรรม พระที่ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว น่าจะเห็นทางสว่างที่ทุกฝ่ายยอมรับแล้วเสนอ สปช.และคสช.พิจารณาจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายสงฆ์   ต้องกล้าทำกล้าตัดสินใจไม่เช่นนั้นศรัทธาต่อพุทธศาสนาจะลดลง ศาสนาอื่นจะยิ่งเข้มแข็งขึ้นทวีคูณ ไหนจะปฏิรูปก็ทำทั้งเรื่องการควบคุมดูแลเงินบริจาคและเรื่องการบริหารงานบุคคลด้วยเลย

....ข้อเสนอกฎหมายควรกำหนดให้มีองค์คณะดังนี้
1)พระสังฆราชและคณะที่ปรึกษา(ประมุขสงฆ์)
2)สภาสงฆ์ไทย(ออกกฎข้อบัญญัติสงฆ์)
3)มหาเถรสมาคม(คณะบริหารสงฆ์)
4)กองทุนบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (งปม.)
5)ศาลสงฆ์(ตุลาการผสม)
6)กองปราบปรามสงฆ์(กองผสม)
7)หน่วยตรวจเงินสงฆ์(กองผสม)
8)คณะมัคทายกประจำวัดประจำหน่วยเบิกหน่วยจ่าย(ข้าราชการ)
9)เจ้าคณะทางปกครองสงฆ์(ลดเหลือเจ้าคณะจังหวัด/ตำบล)
10)สำนักพระพุทธศาสนา(ข้าราชการ)
...."พระสังฆราชและคณะที่ปรึกษา" ทำหน้าที่เป็นประมุขสงฆ์มีอำนาจออกพระสังฆราชแต่งตั้ง/ออกพระสังฆราชบัญญัติตามที่สภาสงฆ์ไทยเสนอและสภาสงฆ์ไทยเป็นผู้รับสนองพระสังฆราชแต่งตั้งและบัญญัติ
...."สภาสงฆ์ไทย" สรรหาจากตัวแทนจังหวัดละ 2รูป พระสังฆราชแต่งตั้งอีกให้ครบ 200 รูปอยู่ในวาระ4ปีมีหน้าที่ควบคุมตรวจสอบจัดสรรงบประมาณกองทุนบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งชาติวัตุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาและเพื่อดูแลสุขภาพสวัสดิการพระสงฆ์,  ร่างเสนอออกข้อบัญญัติสงฆ์..สรรหาและเสนอแต่งตั้ง/กรรมการเถรสมาคม/ตุลาการศาลสงฆ์/หน่วยตรวจเงินสงฆ์..โดยมีประธานสภาสงฆ์/และประธานมหาเถรสมาคมเป็นผู้รับสนองสังฆราชโองการที่เกี่ยวข้อง
...."กรรมการมหาเถรสมาคม" ประกอบด้วยประธาน,กรรมการ,ผอ.พระพุทธศาสนาเป็นเลขานุการกรรมการทุกรูปอายุไม่เกิน 60 ชันษามีประธานและกรรมการรวม 35 รูปมีวาระทำหน้าที่ 3 ปีมาจากการคัดสรรของสภาสงฆ์ไทยเสนอพระสังฆราชออกพระสังฆราชแต่งตั้ง ทำหน้าที่จัดการเผยแพร่พระธรรม จัดการกองทุนบำรุงพระพุทธศาสนา,เสนอข้อมูลแก่:กองปราบปรามสงฆ์,คณะมัคทายก,บังคับบัญชา:เจ้าคณะทางปกครอง,เจ้าอาวาส,และมวลพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร ให้ทำหน้าที่เผยแพร่พระธรรมและอยู่ในวินัยศิลปาฏิโมกข์
...."กองทุนบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ" เงินบริจาคเข้าคณะสงฆ์เข้าวัดทุกประเภทเช่นผ้าป่า,กฐิน,การจำหน่ายวัตถุมงคล,จำหน่ายสินค้าดอกไม้ธูปเทียนฯลฯ,เงินบริจาคอื่นใด,ถือเป็นเงิน "กองทุนบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ" ทุกวัดนำส่งเข้ากองทุนบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดย"กรรมการมหาเถรสมาคม"เป็นผู้ดูแลกำกับการใช้จ่าย"สำนักพระพุทธศาสนา"เป็นกองเลขาภายใต้การตรวจสอบของ"หน่วยตรวจเงินสงฆ์" ....เงินจากกองทุนฯจะถูกจัดสรรสนับสนุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา,ช่วยเหลือวัด/สำนักสงฆ์ที่ยากจน,สนับสนุนการศึกษาสงฆ์,ดูแลสวัสดิการพยาบาลพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร์,บำรุงงานธุรการการบริหารจัดการ"ศาลสงฆ์,กองปราบปรามสงฆ์,หน่วยตรวจเงินสงฆ์,คณะมัคทายก"เพื่อให้พระพุธศาสนาเจริญงอกงามไปทั่วราชอาณาจักรไทย
...."ศาลสงฆ์" มีหน้าที่พิจารณาลงโทษจับสึกลงโทษทางอาญาแผ่นดินรวดเร็ว
...."กองปราบปรามสงฆ์"  เป็นองค์กรคณะสงฆ์ฝ่ายรักษาวินัยตั้งขึ้นตามกฎหมายผสมกับตำราจกองปราบปรามและสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีหน้าที่ปราบปรามพระสงฆ์กระทำผิดวินัยการจัดตั้งสร้างวัดสำนักสงฆ์เถื่อนพระสงฆ์เถื่อนมีระบบสารสนเทศทะเบียนประวัติสงฆ์ทุกรูปโดยละเอียดทั่วราชอาณาจักร
...."หน่วยตรวจเงินสงฆ์ " เป็นองค์กรคณะสงฆ์ตามกฎหมายผสมหน่วยงานจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)กรมสรรพากรร่วมกันตรวจสอบทรัพย์สินสงฆ์รายบุคคลและการรับจ่ายเงินบริจาคบำรุงพระพุทธศาสนาของวัดสำนักสงฆ์ทำบัญชีเปิดเผยสาธารณะถูกต้องและจ่ายไปเพื่อความเจริญงอกงามพระพุทธศาสนาเท่านั้น
...."คณะมัคทายก"เป็นพนักงานราชการสังกัดสำนักพระพุทธศาสนามีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินแสดงรายการรับจ่ายให้ชุมชนวัดรับทราบทุกเดือน..วัดสำนักที่มีรายได้มากกว่าปีละ10,25,50ล้านบาทต้องนำเงินเข้าสมทบบัญชีกองทุนบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งชาติกองกลางอย่างน้อย65,80,90%ของรายรับตามลำดับ
....วัด/สำนักสงฆ์ที่มีรายได้มากกว่าปีละ 25 ล้านบาทต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่สรรพากรก่อนหักเข้าสมทบกองทุนบำรุงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  เงินภาษีเป็นเงินนำไปสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ประเทศชาติชุมชนได้ใช้ประโยชน์ถือว่าเป็นเนื้อนาบุญโดยตรง และการเสียภาษีจะทำให้มีการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
...."เจ้าคณะทางปกครองสงฆ์" ให้มีเพียงเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าคณะตำบลเท่านั้นมีหน้าที่ส่งเสริมเผยแผ่พระธรรมพิจารณาเสนอเลื่อนเสนอลดพัดยศแจ้งความ สำหรับหน้าที่จับกุมควบคุมตัวสอบสวนเป็นหน้าที่"กองปราบปรามสงฆ์ผิดวินัย"
...."สำนักพระพุทธศาสนา" ทำหน้าที่เป็นหน่วยตรวจสอบคุณสมบัติก่อนบวช ตรวจสอบการรับเงินการใช้จ่ายเงินของพระสงฆ์ของวัดสำนักสงฆ์ เป็นคณะเลขานุการคณะที่ปรึกษาพระสังราช,เลขามหาเถรสมาคม,เลขากองทุนบำรุงพระพุทธศาสนา,จัดทำทะเบียนประวัติบัตรประจำตัวสูติบัตรวัด/สำนักสงฆ์/พระสงฆ์/มัคทายกทั่วราชอาณาจักรเป็นหน่วยต้นสังกัดของคณะมัคทายกทั่วราชอาณาจักร
....แต่ละวัดไม่ควรมีอาณาจักร์ใหญ่โตเกินไปส่งเสริมให้มีวัดดีมีคุณภาพกระจายไปยังพื้นที่อื่นทั่วไทยแต่ไม่มากเกินไป  วัด/สำนักสงฆ์ควรห่างกันอย่างน้อย5กิโลเมตรมีพระลูกวัดได้ไม่เกิน สองร้อยรูป/วัด
....วัดสำนักสงฆ์ใดไม่ให้ความร่วมมือและหลักฐานชัดแจ้งกองปราบปรามสงฆ์ มีอำนาจปลดเจ้าอาวาสดำเนินการคดีฟ้องศาลสงฆ์ได้ทันทีถือเป็นความผิดซึ่งหน้าผิดวินัยสงฆ์อย่างร้ายแรง

 
...เงินนิตยภัต(เงินเดือนพระ)ปัจจุบัน 11 เมษายน 2015 สรุป รัฐนำเงินงบประมาณมาจ่ายให้แก่เจ้าคณะปกครองทุกๆ เดือน ตามตำแหน่ง
...สมเด็จพระสังฆราชเจ้า จะได้รับเงินเดือนละ ๓๗,๗๐๐ บาท
...สมเด็จพระสังฆราช โดยมิได้มาจากเชื้อพระวงศ์ก็ได้เดือนละ ๓๔,๒๐๐ บาท
...ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชได้เดือนละ ๓๐,๘๐๐ บาท
...สมเด็จพระราชาคณะ ๒๗,๔๐๐ บาท
...กรรมการมหาเถรสมาคม ๒๓,๙๐๐ บาท
...เจ้าคณะใหญ่หนเหนือใต้ออกตกและธรรมยุติได้เดือนละ ๒๓,๐๐๐ บาท
...พระราชาคณะและรองพระราชาคณะ ได้เดือนละ ๒๐,๕๐๐ บาท
...เจ้าคณะภาคและแม่กลองบาลี แม่กองธรรม ได้ตำแหน่งละ ๑๗,๑๐๐ บาท
...รองเจ้าคณะภาค ๑๓,๗๐๐ บาท
...เจ้าคณะจังหวัดและตำแหน่งเลขาสมเด็จพระสังฆราช ได้เดือนละ ๑๐,๓๐๐ บาท
...พระราชาคณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะปกครองและรองชั้นสัญญาบัตรและเจ้าคุณชั้นธรรม ทั้งหมดได้เดือนละ ๑๓,๗๐๐ บาท
...พระราชาคณะชั้นเทพ ได้เดือนละ ๑๐,๓๐๐ บาท
...พระราชาคณะชั้นราช ได้เดือนละ ๖,๙๐๐ บาท
...เปรียญธรรม ๙ ประโยค ได้เดือนละ ๖,๙๐๐ บาท
...เจ้าคุณปลัดขวา ปลัดซ้าย ปลัดกลาง และเจ้าคุณชั้นสามัญ เช่นเจ้าคุณเมธีธรรมาจารย์ ทั้งหมด ได้เดือนละ ๕,๕๐๐ บาท
...พระราชาคณะชั้นสามัญ เปรียญ ๗ ได้เดือนละ ๕,๒๐๐ บาท
...เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอกได้ ๔,๘๐๐ บาท
...เจ้าคุณรองเจ้าคณะจังหวัด หรือเจ้าอาวาสอารามหลวงชั้นโทได้เดือนละ ๔,๕๐๐ บาท
... เจ้าคณะอำเภอได้เดือนละ ๔,๑๐๐ บาท
...พระครูชั้นเอกได้เดือนละ ๓,๘๐๐ บาท เลขานุการเจ้าคณะหนได้ ๓,๘๐๐ บาท
...เลขานุการเจ้าคณะภาคได้เดือนละ ๓,๔๐๐ บาท
...รองเจ้าคณะอำเภอและพระครูชั้นโทลงมา ได้เดือนละ ๓,๑๐๐ บาท
...เจ้าคณะตำบลได้เดือนละ ๒,๕๐๐ บาท
...เจ้าอาวาสได้ ๒,๒๐๐ บาท
...ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้ ๑,๘๐๐ บาท
...เลขานุการเจ้าคณะตำบลได้ ๑,๒๐๐ บาท

พระ กับ รายได้

คอลัมน์การเมือง กำ กติกา ธุรกิจ    หนังสือพิมพ์แนวหน้า 17/4/2558

...พระในพระพุทธศาสนามีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เมื่อบุคคลธรรมดา มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษี จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปัญหาจึงมีว่า รายได้ของพระมาจากไหนบ้าง และอยู่ในเกณฑ์เป็นเงินได้พึงประเมินที่จะต้องนำมาเสียภาษีหรือไม่

...จะเห็นได้ว่า รายได้หลักของพระ มาจากการทำบุญตามศรัทธาของบรรดาญาติโยมทั้งหลาย ทั้งในรูปแบบที่เป็นสิ่งของและเป็นปัจจัย (เงิน) ผ่านทางการบิณฑบาต กิจนิมนต์ และอื่นๆ ตามโอกาสและพิธีทางศาสนา แต่เนื่องจากรายได้ที่พระได้รับจากการถวายของญาติโยมทั้งหลายนี้ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี จากญาติโยมเอง โดยที่พระไม่ต้องร้องขอแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเข้าเกณฑ์มาตรา ๔๒(๑๐) แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับสิทธิยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่ถ้าหากรายได้มีลักษณะเป็น เงินเดือน จากหน้าที่การงานที่ทำ เช่น เงินเดือนที่ได้รับจากทางมหาวิทยาลัย หรือเงินที่ได้รับจากทางงบประมาณแผ่นดิน ในส่วนนี้นั้นจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร(เงินได้ประเภทเงินเดือน) ซึ่งมีผลให้เงินได้ส่วนนี้ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพราะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นนั่นเอง

...ส่วนการที่จะแยกแยะว่า สิ่งของหรือเงินที่บริจาคหรือถวายนั้น ส่วนไหนถวายให้เป็นของวัดและส่วนไหนถวายให้พระเป็นรายบุคคล ขึ้นอยู่กับญาติโยมเป็นหลัก ว่าจะแยกให้หรือไม่ โดยทั่วไปตามวัดต่างๆ ก็จะมีตู้รับบริจาคในส่วนของวัดอยู่ตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสร้างโบสถ์ วิหาร หอระฆัง ฯลฯ ส่วนการบริจาคถวายแด่พระที่รับกิจนิมนต์ในพิธี ต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่จะบริจาคหรือถวายให้เป็นการเฉพาะพระที่รับกิจนิมนต์

...เงินที่ญาติโยมบริจาคถวายให้แก่วัดที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ นั้น จะถือว่าเป็นเงินได้จากการบริจาคซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี และทางผู้บริจาคสามารถขอหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีได้ด้วย แต่หากเข้าบัญชีส่วนบุคคล จะถือเป็นการให้โดยเสน่หา ไม่ได้รับสิทธิในส่วนนี้
และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบในการรับบริจาคของบางวัดก็ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับบริจาคให้ทันสมัยเป็นการเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น วัดบางวัดให้ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาสามารถบริจาคผ่านบัตร Visa Debit ซึ่งออกให้โดยธนาคารของรัฐได้ ซึ่งการรับบริจาคเงินผ่านบัตร Visa Debit นี้ ทางวัดจะได้รับเงินบริจาคเต็มจำนวนที่บริจาค ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเหมือนใช้บัตรเครดิตของธนาคารอื่นๆ ที่จะต้องถูกหักค่าธรรมเนียมในการบริจาคเป็นคิดเปอร์เซ็นต์ตามยอดเงินบริจาค นอกจากนี้ ผู้บริจาคยังสามารถใช้เป็นบัตรสะสมแต้มได้อีกด้วย โดยเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตร Visa Debit ตามร้านค้าที่มีเครื่องหมาย VISA ตามจำนวนที่กำหนด จะได้รับแต้มสะสม และแต้มสะสมครบทุก 10 แต้ม จะได้เท่ากับ 1 บาท เมื่อแต้มสะสมครบทุก 3,000 แต้ม ทางธนาคารจะบริจาคเงินดังกล่าวให้วัดโดยอัตโนมัติ (จะตรวจสอบแต้มสะสมทุก ๆ เดือน หรือตามความเหมาะสม) และวัดจะเป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตรให้แก่ผู้บริจาค
หรือบางวัด ได้คิดรูปแบบการรับบริจาคผ่านบัตรเติมบุญ แบบสมาร์ตการ์ด ทั้งนี้เพื่อ ความโปร่งใสป้องกันการครหากรรมการยักยอกเงินและไม่บังคับทำบุญ และ สามารถแลกเงินคืนได้ ทำให้วัดบางวัด หรือพระบางรูป มียอดเงินรับบริจาค จากญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา เป็นเงินจำนวนมาก บางวัดถึงกับมากจนไม่สามารถทราบยอดบริจาคที่แท้จริงได้ก็มี ซึ่งเงินบริจาคจำนวนมากเหล่านี้ หากกฎหมายเอื้ออำนวยให้สามารถนำมาประเมินเพื่อเสียภาษีเข้ารัฐได้ ก็จะทำให้รัฐมีเงินภาษีเพิ่มอีกส่วนหนึ่งที่นำไปพัฒนาหรือบริหารประเทศได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เจ้าอาวาสก็ดี มหาเถรสมาคมก็ดี คณะสงฆ์ก็ดี ที่มีอำนาจหรือมีสิทธิในเงินที่ได้รับจากการบริจาคด้วยความศรัทธานั้น นำเงินที่ได้รับบริจาคนั้นไปพัฒนานาชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด หรือประเทศ ด้วยการสร้างสิ่งซึ่งเป็นสาธารณะประโยชน์ ต่างๆ เช่น สร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ อย่างเช่นพระหรือหลวงพ่อในอดีตบางรูปได้ทำเป็นตัวอย่างไว้ ก็จะเป็นการช่วยในการพัฒนาประเทศอีกแรงหนึ่ง

...อย่าลืมว่า พระที่ยินดีและรับเงินทอง เกินกว่าความจำเป็นต้องใช้ตามอัตภาพแห่งตนนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ผู้นั้นมิใช่สมณะที่แท้จริง มิใช่เชื้อสายศากยบุตรอย่างแท้จริง ดังพระพุทธดำรัสที่ว่า “ เงินทอง (ชาตรูปรชตะ) ไม่ควรแก่สมณเชื้อสายศากยบุตรโดยประการทั้งปวง สมณะเชื้อสายศากยบุตรยินดีและรับเงินทองย่อมไม่ได้ พระเหล่านี้ย่อมเป็นผู้สละเสียซึ่งเงินทอง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง เงินและทองควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณห้า (ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ก็ย่อมควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้งห้าเหล่านี้ควรแก่ผู้ใด พึงจำไว้อย่างแม่นยำว่า ผู้นั้นมิใช่สมณะที่แท้จริง มิใช่เชื้อสายศากยบุตรอย่างแท้จริง เราตถาคตจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ แต่เราไม่กล่าวโดยปริยายใดๆว่า “สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาเงินทอง และพึงครองความเป็นเจ้าของเงินทอง

รุจิระ บุนนาค
rujira_bunnag@yahoo.com
Twitter : @ RujiraBunnag

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น