วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

ปัญหาการศึกษาไทย
ปัญหาหลักคือคุณภาพผู้เรียน/คุณภาพครู/คุณภาพการสอน/คุณภาพการวัดผล/และผูกโยง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง 
กระทรวงคลังบอกว่าไม่มีเงิน ก็พวกคุณหย่อนยานมานานไม่หาทางเก็บรายได้ในอัตราใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยสากลประเทศ 35-40%ของGDP...ของไทยเราเก็บรายได้ได้เพียง17%ของGDPได้เพียง50%ของค่าเฉลี่ยสากลประเทศ

.....๑)เปลี่ยนผู้กำกับนโบายบ่อย ผู้บริหารระดับสูงควรเป็นลูกหม้อพันธุ์แท้รู้จักคนรู้จักปัญหาองค์กรของตนลึกซึ้ง ผู้บริหารการศึกษา-ผู้บริหารสถานศึกษา ขาดความมุ่งมั่น ขาดความเชี่ยวชาญสนใจเพื่อมุ่งเน้นด้านวิชาการ/วิธีสอน/วิธีวัดผล/วิธีพัฒนาผู้เรียน/วิธีบริหารธรรมาภิบาล/ตั้งสถาบันอะไรมากมายในมหาวิทยาลัยไม่เกี่ยวกับภาระกิจหลักของมหาวิทยาลัย/  ส่วนใหญ่พะวงอยู่กับผลประโยชน์ส่วนตัวการรักษาเก้าอี้ สนใจภาระกิจรอง ภาระกิจสร้างภาพเก็บคะแนน การโยกย้าย หานาย เข้าหานักการเมือง  หาประโยชน์ในตำแหน่งหน้าที่ ในกระทรวงศึกษาในมหาวิทยาลัยกระทู้ส่วนใหญ่ที่คุยกัน..ใครจะเป็นเลขา,อธิการ,ผอ.กอง,ผอ.เขต,ผอ.สถานศึกษา,ตำแหน่งวิชาการ,วิทยฐานะ,ผลประโยชน์,ไม่คุยเรื่องพัฒนาผู้เรียนไม่ได้เอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจริง,ไม่ได้จริงจังสนใจวางแผนและดำเนินการยุทธศาสตร์ Load Map พัฒนาการศึกษาของผู้เรียน,พัฒนาการวิจัยนวัตกรรม,พัฒนาการบริหารที่เป็นธรรมาภิบาล,ปฏิรูปคนข้าราชการ,ปฏิรูปการทำงานเพื่อมุ่งผลสำฤทธิ์ก่อน
.....๒)ยุบสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(สคศ./ก.ค.ศ./อ.ก.ค.ศ.เขตฯ)อำนาจก.ค.ศ.ยกกระจายอำนาจให้กลุ่มสถานศึกษา7-10แห่งไปจัดการกันเองภายใต้ระเบียบวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการกลุ่มสถานศึกษาที่เป็นธรรมมาภิบาล...แก้ระเบียบปรับระบบบรรจุหรือขึ้นสู่ตำแหน่งข้าราชการครู/ผู้บริหารสถานศึกษา การให้ความชอบ การโยกย้าย  ไม่เชื่อว่าการสอบทฤษฎีMultiple choice 4-5 ชั่วโมง จะประเมินวัดเลือกคนมีสมรรถนะมีจรรยาบรรณธรรมาภิบาลและมีความรอบรู้ที่เหมาะสมมาเป็นข้าราชการครู/เป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้ดีกว่าการประเมินตามสภาพจริง(Authentic Assessment)จากคณะบุคคลแวดวงใกล้ชิดสังเกตประเมินผลเริ่มจากเป็นครูจ้างทดลองดูผลงานก่อน
สรุปกระจายอำนาจข้อ๒)ดังนี้
1)กลุ่มสถานศึกษาสรรหาผู้บริหารสถานศึกษาจากคนในกลุ่มสถานศึกษาด้วยกันได้
2)คัดเลือกครูจ้างบรรจุเป็นข้าราชการในสถานศึกษากลุ่มตนเอง
3)ใช้งบประมาณเงินเดือนในกลุ่มพิจารณาความชอบให้คนในกลุ่มตน
4)สรรหาและโยกย้ายผู้บริหารและบุคลากรอื่นในกลุ่มตนได้
5)การหารายได้จากการเช่าที่บางส่วนของโรงเรียนตำแหน่งที่ตั้งหลายโรงเรียนทำเลการค้าหรือทำเลสร้างที่พักให้เช่าดีมาก
6) พิจารณายุบบางโรงเรียนในกลุ่มที่เห็นว่าการเดินทางสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพ/คุณภาพในการจัดการ
7)ใช้ทรัพยากรในกลุ่มร่วมกัน
8)การงบประมาณจัดเงินอุดหนุนให้กลุ่มพิจารณารายจ่ายเอง
9)การกำหนด/พัฒนาหลักสูตร
10)การพัฒนาการเรียนการสอน
11)การพัฒนาวิธีบริหารโรงเรียน
12)การพิจารณาความชอบจากจำนวนโควต้าที่กำหนด
13)การพิจารณาวิทยฐานะจากจำนวนโควต้าที่กำหนด
.....๓)กฎหมายควรกำหนดที่มาและอำนาจคณะกรรมการหน่วยงานการศึกษา กกอ.,กอศ.,กพฐ.,กกศ.,อ.ก.ค.ศ.เขตฯ,คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา,คณะกรรมการสถานศึกษา,อ.ก.ค.ศ.เขตฯ.,เป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจตัวจริงทุกเรื่องสรรหามาโดยอิสระปลอดจากอำนาจควบคุมมีอิสระในการตัดสินใจปฏิบัติงาน รูปแบบคล้ายกับ คณะกรรมการ ปปช.,กกต., เพราะปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ),สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ),สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ),สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(สกศ.),คณะอนุกรรมการบุคลากรทางการศึกษาประจำหน่วยงานการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.เขตฯ)คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา,คณะกรรมการสถานศึกษา,คณะกรรมการไม่มีประโยชน์ ไม่มีอำนาจเป็นเพียงตรายาง ผู้มีอำนาจคือเลขาธิการ/ผู้อำนวยการเขตพื้นที่/ผู้อำนวยการสถานศึกษามีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว/เผด็จการรวบอำนาจเล่นพวก...บางแห่งเรียกเงินโยกย้าย/คัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา,เรียกเงินการเลื่อนวิทยฐานะ,ทุจริตจัดจ้างจัดซื้อวัสดุ-ครุภัณฑ์,ทุจริตจัดจ้างสนามฟุตซอล,ทุจริตจัดสอบบรรจุครู/หาประโยชน์จากอำนาจหน้าที่,โยกเงินงบประมาณไปใช้กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียน,จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาไม่เป็นธรรม,ผู้นำคนเดียวมักคิดสั่งการคนเดียวพัฒนาองค์กรไม่ไหวและไม่เป็นธรรมาภิบาล,ไม่มีไม่ใช้ข้อมูลสถานศึกษาข้อมูลผู้เรียนประกอบการบริหาร,เป็นหน่วยลาน้ำทวนการศึกษามากกว่าหน่วยพัฒนาการศึกษา...คำสั่งการเรื่องเงินเรื่องบุคคลควรลงนามรับผิดชอบร่วมกันโดย กอศ.กพฐ.กกอ.กกศ.,อ.ก.ค.ศ.เขตฯ.,กรรมการเขตพื้นที่,กรรมการสถานศึกษา ทั้งคณะทุกคน
.....๔)งบประมาณตกไปถึงสถานศึกษาน้อยมากๆ เงินไปกองอยู่ที่ สอศ., สพฐ.,สนง.เขตพื้นที่การศึกษาจนถึงปลายปีงบประมาณโครงการใช้เงินหลั่งออกมาไม่ตรงเป้าการพัฒนาผู้เรียน... ส่วนใหญ่เงินจ่ายเป็นค่าไฟฟ้าห้องแอร์สำนักงานค่าดำเนินการที่ไม่ใช่สาระหลักค่าดำเนินการภาระกิจรอง  ไม่มีเงินค่าวัสดุฝึกวัสดุการศึกษาของผู้เรียนโดยตรง,ค่าอินเตอร์เน็ตของผู้เรียน, ค่าจ้างครูตามมารตฐาน,ค่าจ้างเจ้าหน้าที่,ค่าบริหารจัดการ,ค่าวัสดุการศึกษา....เงินที่เหลือรอดมาถึงสถานศึกษา หัวหน้าสถานศึกษาโยกย้ายเงินไปใช้ที่ไม่เกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนอีกเช่นกัน กระทรวงศึกษาได้เงินงบประมาณมากจริงแต่ใช้เพื่อการพัฒนาถึงผู้เรียนโดยตรงน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน...โรงเรียนประถมมีจำนวนมากเกินไป บางโรงเรียนตั้งห่างกันไม่ถึง 200 เมตร ทั้งที่การคมนาคมปัจจุบันสะดวกมาก ควรยุบรวมโรงเรียนใกล้เคียงห่างกันไม่ต่ำกว่า 3 กม.ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ไทยสูญเสียเงินลงทุนให้กระทรวงศึกษาจำนวนมากกว่าต่างประเทศ(โดยผู้เรียนยังไม่ได้คุณภาพ)
.....๕)ระบบประเมินสถานศึกษา โดย สมศ.สร้างภาระให้สถานศึกษา เสียเวลาครูทำการสอน ทำเอกสารที่ไม่ใช่เพื่อพัฒนาผู้เรียน พากัน Make Up สร้างเอกสารรายงานจึงจะผ่าน ควรพัฒนาตัวบ่งชี้และวิธีประเมินเน้นเชิงประจักษ์
...สมศ.ควรมีอำนาจ(ออกกฎหมายให้อำนาจ สมศ.)ขอใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ตามตัวชี้วัดทำนองต่อไปนี้จากหน่วยที่เกี่ยวข้องโดยตรง..ไม่ต้องเสียเวลาสถานศึกษาทำเอกสาร เช่น
๕.๑)ผลสอบO-NET,V-NET,U-NET ของ สทศ.(ดูข้อมูลจาก สมศ.)ควรมีสอบ Pre test/Post test เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของสถานศึกษา และทดสอบให้มีความเที่ยงความตรงตามหลักสูตรสำหรับอาชีวศึกษา/มหาวิทยาลัยควรสุ่มทดสอบวิชาภาคปฏิบัติด้วย
๕.๒)จำนวนรางวัลที่สถานศึกษาได้รับ,จำนวนอาจารย์ปัจจุบันศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่เคยได้รับรางวัลสำคัญจากองค์กรต่างๆ,และรางวัลจากต้นสังกัดดำเนินการจัดการประกวดแข่งขันเองโดยการสุ่มผู้เรียนอย่างเป็นระบบเข้าแข่งขัน(องค์กรหลักต้นสังกัดสถานศึกษาต้องมีข้อมูลนี้)
๕.๓)จำนวนผลงานวิชาการเกี่ยวกับพัฒนาผู้เรียนของครูของสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองตีพิมพ์ลงในวารสารของ สมศ.เอง(สมศ.ผลิตวารสารทำนองนี้เองและเผยแพร่ในวงการศึกษา)
๕.๔)ผลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาจากข้อมูลกรมการจัดหางาน,สนง.ประกันสังคม,กบข.,กระทรวง/ทบวง/กรม(ทุกหน่วยงานมีข้อมูลสารสนเทศนี้อยู่แล้วขอให้เพิ่มผู้ทำงานสำเร็จการศึกษาจากสถาบันใดเพื่อประโยชน์การใช้ข้อมูลร่วมกัน)
๕.๕)ข้อมูล"ผลการศึกษาต่อของผู้เรียน"จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ(รับผู้เรียนมาจากสถาบันใดบ้างสพฐ,สอศ,สกอ,วิทยาลัย,มหาวิทยาลัย,ต้องทำข้อมูลตัวนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำข้อมูลนี้ดีมากครับ)
๕.๖)ข้อมูลจากต้นสังกัดมากมายเช่น..สถิติจำนวนผู้เรียน,สถิติจำนวนงบประมาณที่จัดให้สถานศึกษา,สถิติจำนวนครู/เจ้าหน้าที่,ผลการประกวดแข่งขันผลงานทางวิชาการของผู้เรียนและของอาจารย์,อัตราการออกกลางคันของผู้เรียน(ต้นสังกัดองค์กรหลักของ ศธ.ทุกแท่งมีกิจกรรมนี้ทุกปีและได้รับรายงานเก็บข้อมูลไว้อย่างละเอียดประกอบการบริหารจัดการหน่วยงานของตนอยู่แล้ว)
๕.๗)อยากรู้ว้่าผู้เรียนของสถานศึกษาใดเป็นคนดีหรือไม่ให้ไปขอข้อมูลอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจท้องที่,ข้อมูลอัตราการคืนเงินกู้ยืม กยศ.ของศิษย์เก่าสถานศึกษา(ข้อมูลจาก กยศ.)ข้อมูลจากชุมชนจากวัดจากหน่วยราชการในพื้นที่
๕.๘)อยากรู้ว่าผู้เรียนประหยัดพอเพียงหรือไม่ให้ดูที่ผู้เรียนของสถานศึกษานั้น(เฉพาะผู้ที่บ้านพักหรือห้องพักห่างจากสถานศึกษารัศมีไม่เกิน 5 กม.)ใช้รถจักยานปั่นเดินทางมาเรียน
๕.๙)ส่งคนไปสังเกตการณ์ไปสัมภาษณ์บุคคลแวดล้อมไปเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างต่อเนื่องในพื้นที่
...มหาวิทยาลัยเพิ่มตัวชี้วัดต่อไปนี้
๕.๑๐)จำนวนงานวิจัยและบทความที่เคยได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารสำคัญ(ขอข้อมูลจากวารสาร)
๕.๑๑)จำนวนบุคลากรของสถาบันที่มีผู้นำไปอ้างอิงในงานวิจัย(สำนักงานวิจัยแห่งชาติต้องมีข้อมูลตัวนี้)
๕.๑๒)ค่าเฉลี่ยจำนวนผลงานที่ได้ตีพิมพ์เอกสารทางวิชาการรายบุคคลของอาจารย์ในสถาบัน(สำนักหอสมุดแห่งชาติต้องมีข้อมูลตัวนี้)

.....๖) ครูทำงานหลายหน้าที่ รายได้น้อยกว่าเอกชน พะวงหารายได้เสริม ทำให้งานด้านวิชาการคุณภาพลดลงอย่างมาก ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่เฉพาะจำนวนนักเรียนควรเป็น30คน/ห้องเรียนทฤษฎีและ15คน/ห้องเรียนปฏิบัติเช่นภาษาอังกฤษ,ภาษาไทย,Lap.วิทยาศาสตร์
.....๗)ครูอัตราจ้างถูกใช้งานเยอะรายได้น้อย/ชั่วโมงสอนมาก/ ครูประเทศอาเซี่ยนอื่นมีรายได้มากกว่างานเอกชน จึงได้คนเก่งมาเป็นครู ครูอัตราจ้างไทยรายได้น้อย ไม่มั่นคง  ลาออกบ่อยอยู่ไม่นาน ทำให้ประสบการณ์น้อย ครูอัตราจ้างเงินนอก งปม. เงินเดือนค่าจ้างป.ตรี 8,300 บาท/เดือนทำงานจนอายุ 60ปี เงินเดือนเท่าเดิมมีในระบบจำนวนมาก
.....๘)ปรับวิธีประเมินผลนักเรียนระดับประถม-มัธยมปลายให้มีตกซ้ำชั้น กำหนดผู้เรียนสำเร็จม.3เรียนต่อม.4ได้เพียง 40% ที่เหลือไปเรียนสายอาชีพ,...ข้อสังเกตุการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.)นักเรียนที่เรียนไม่ไหวในระบบโรงเรียน-วิทยาลัยออกกลางคันหนีมาเรียนกศน.จบได้วุฒิม.3-ม.6ปรากฎอ่านไม่ออกคำนวณไม่เป็นแล้วกลับเข้าไปเรียนในระบบในระดับที่สูงขึ้นใหม่ปรากฏว่าเรียนไม่สำเร็จกศน.ควรปรับปรุงอย่างไร...../จำนวนผู้เรียน/ห้องมากครูสอนปฏิบัติไม่ทั่วถึงสำหรับห้องเรียนปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกพูดภาษาอังกฤษห้องละไม่เกิน 20 คน ครูอาชีวศึกษาสอนมากเกิน สอนหลายวิชา สอนหลายกลุ่ม เฉลี่ย 33 ชั่วโมง/สัปดาห์ ชั่วโมงสอนไม่ควรเกิน 15 ชม/สัปดาห์
.....๙)การผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ได้คุณภาพ/เชี่ยวชาญวางแผนออกแบบและจัดการการเรียนรู้ได้สนุกผลสัมฤทธิ์สูง/เชี่ยวชาญวัดผลตามสภาพจริง/มีจิตวิทยาการสอนตามวัยผู้เรียน/มีจรรยาบรรณและสอนให้ผู้เรียนปฏิบัติเป็นอันดับเอก/ทฤษฎีเป็นอันดับโท/...ระหว่างเรียนบัณฑิตครูให้นิสิตครูอยู่ในระบบโรงเรียนกินนอนเหมือนนักเรียนนายร้อยสอนกันตลอด24ชั่วโมงทั้งวินัยตรงเวลาและคุณธรรมจริยธรรม/...ระหว่างฝึกสอนครูอาจารย์เดิมในสถานศึกษาที่ใช้ฝึกสอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีผลสัมฤทธิ์นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์สทศ. ครูพี่เลี้ยงควรมีคุณภาพทุกเรื่องครูพี่เลี้ยงผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีมีการขึ้นทะเบียนมีใบอนุญาตจากสถาบันผลิตครู...ครูพี่เลี้ยงมีค่าตอบแทนเฉพาะ ทุ่มเทกายใจเหมือนอาจารย์หมอฝึกปฏิบัตินักศึกษาแพทย์/คัดเลือกสถานศึกษาที่ใช้ฝึกสอนและประชุมทำความตกลงเข้าใจให้ดี/ให้สิทธิสถานศึกษาที่ใช้ฝึกสอนเป็นผู้ให้เกรดวิชาฝึกสอน100% /มีค่าตอบแทนให้สถานศึกษาฝึกสอนและครูพี่เลี้ยงเฉพาะตัวด้วย/...หรืออีกทางเลือกหนึ่งดีที่สุดสถาบันผลิตครู  ทั้งผลิตครูอาชีวศึกษาและผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีโรงเรียนสาธิตเพื่อใช้ฝึกสอนเป็นของตนเองและนักเรียนสาธิตของตนจะต้องมีคุณภาพได้มาตรฐานของ สทศ.หากไม่มีโรงเรียนสาธิตของตนก็ไม่ควรให้เปิดคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ว่าก่อนที่จะสอนผู้อื่นตนเองทำได้แล้วหรือยัง
.....๑๐)วิทยฐานะ/ตำแหน่งทางวิชาการ/เงินเดือน/ค่าตอบแทนอื่นๆ/ผูกโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่ตนสอน/และหากไม่บกพร่องต่อหน้าที่ไมขาดไม่ลาเกินกำหนดผู้เรียนมีผลสำฤทธิ์ตามกำหนดเมื่ออายุราชการ8ปี,12ปี,20ปีและ30ปี ได้วิทยฐานะชำนาญการ,ชำนาญการพิเศษ,เชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษอัตโนมัติตามลำดับ
.... ๑๑)วิธีสอน/วัดผล  ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ อันเป็นเหตุ พูด/ฟัง/อ่าน อังกฤษไม่ได้เพราะเน้นปลักอยู่กับไวยกรณ์แก้ไม่ได้ตราบใดที่สอบO-NET, V-NET, สอบเรียนต่อ, สอบเข้าทำงาน,ยังเน้นแบบทดสอบไวยากรณ์ ควรเปลี่ยนการทดสอบเป็นListening,เป็นสัมภาษณ์...คิดประยุกต์คำนวณเลขไม่ได้ เพราะครูสอนโดยใช้สูตรคำนวณ ร้อยละ เศษส่วน ทศนิยมฯลฯโดยไม่บอกที่มาของสูตร ครูไม่กล้าให้นักเรียนท่องสูตรคูณ ท่องเนื้อหาใด ๆ  ท่องอาขยาน เพราะนักวิชาการพร่ำบนอย่างไม่แยกแยะให้เข้าใจชัดเจน เช่นไม่บอกให้ชัดว่า"ให้ท่องจำได้เมื่อเข้าใจที่มาของสูตรนั้นแล้ว"
....๑๒)ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม-ระบบบริหารราชการที่ไม่เป็นธรรมาภิบาล พ่อแม่ปากกัดตีนถีบ นักเรียนประถมมัธยมไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เฉลี่ยทั่วประเทศ 40%ภาคอิสาน 80% พ่อแม่ออกไปทำงานหาเงินในจังหวัดอุตสาหกรรม...ก่อให้เกิดปัญหานักเรียน ระดับ ประถม มัธยมปลาย และ ปวช.ออกกลางคันจำนวนมาก ประถม 10% ม.ต้น10% ม.ปลายออก 20%  ปวช.ออก 50 % ปวส. 20% ป.ตรี 25% ของ นร. นศ.แรกเข้า ควรเพิ่มเงิน กยศ.จนจบ ป.ตรี เฉพาะสาขาขาดแคลนเท่านั้น เช่นสายอาชีพอาชีวศึกษา (ม.4-ม.6 งดให้กู้) วิศวกรรม แพทย์ วิทยาศาสตร์......วิทยาลัยอาชีวศึกษาทุกแห่งรับผู้จบม.3เข้าเรียนปวช.1ทั้งหมดที่มาสมัครเข้าเรียน...อ่านหนังสือไม่ออก/เขียนไม่ได้/คำนวณไม่เป็น/ จำนวณ..30%/ยากจน40%/อยู่ในกลุ่มเสียง50%...กลุ่มอ่านหนังสือออกฐานะดีส่วนใหญ่ไปเรียนม.4ผลคือนักเรียนปวช1จำนวน30-40%ไม่มาเรียนต่อเรียนได้ภาคเรียนเดียว(ที่เรียกว่าออกกลางคัน)กว่าจะถึงปวช3ออกกลางคัน50%สำเร็จการศึกษาเพียง50%...อาชีวศึกษาเป็นอย่างนี้เกือบทุกแห่งนี่คือการศึกษาของไทยเรา ..ปัญหาอยู่ตรงไหน...มันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมปัญหาความเหลื่อมล้ำปัญหาการทุจริตภาครัฐที่บอกว่ากระทรวงศึกษาใช้เงินเยอะ  แม้แต่ค่าหนังสือเรียนฟรี,ค่านมดื่มฟรี,โดนหักหัวคิวทั้งนั้น เงินไปถึงการพัฒนาผู้เรียนน้อยกว่าที่คาด มันไปอยู่ที่สำนักงานในกระทรวง หน่วยองค์กรหลัก สำนักงานเขตพื้นที่ เสียเงินไปกับภารกิจรองที่ไม่ใช่การพัฒนาผู้เรียนโดยตรง เสียเงินซื้อครุภัณฑ์สนามฟุตซอลทีใช้ไม่ได้ ใช้เงินก่อสร้างอาคารสำนักงาน ใช้ปรับปรุงสำนักงานห้องพื้นที่หาค่าหัวคิว ในมหาลัยเงินใช้ไปเป็น/ค่าตอบแทนค่าสอน/เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ/เงินประจำตำแหน่งการบริหาร/ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้บริหารรายเดือน/ค่าไฟฟ้าเชื้อเพลิงที่ฟุ่มเฟือย
....วันนี้ (29 ม.ค.2558) โรงแรมรามาการ์เด้นส์ นายไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวในการเสวนาปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอนหนึ่งว่า การจัดศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน จำเป็นที่ที่จะต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการประกอบ อาชีพด้วย เพราะข้อมูลจากหลายแหล่งสะท้อนว่า เด็กไทยจำนวนมากต้องเข้าสู่ตลาดแรงานโดยไม่มีโอกาสได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษา โดยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2557 ระบุว่า เยาวชนอายุ 15-19 ปี(วัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน) จำนวน 4.74 ล้านคน กำลังเรียนอยู่ในระบบการศึกษา 3.33 ล้านคน เลิกเรียนไปแล้วถึง 1.41 ล้านคน หรือ ร้อยละ 29.63 ส่วนใหญ่เด็กที่ออกกลางคันไม่ได้เต็มใจออกจากการเรียนก่อนวัยอันควร แต่จำเป็นต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานเพราะความยากจน เพราะฉะนั้นจึงทำให้ประชากรวัยแรงงานของไทยมีการศึกษาเฉลี่ยต่ำ โดยพบว่า ประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-60 ปี) จำนวน 39 ล้านคน มีผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ถึงร้อยละ 48.6 หรือ 19.5 ล้านคน นายไกรยส กล่าวต่อไปว่า การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนผู้เข้าสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ก็สะท้อนชัดเจนว่า มีเด็กออกกลางคันจำนวนมาก โดยจากการติดตามข้อมูลการเข้าสอบโอเน็ตของเด็กที่เกิดในปี 2538 พบว่า เด็กที่เกิดในปีนี้ทั้งหมด 928,956 คน เข้าสอบโอเน็ตระดับชั้น ม.3 ในปี 2554 จำนวน 804,822 คน พอถึงปี 2557 เหลือเข้าสอบโอเน็ตระดับชั้น ม.6 แค่ 411,195 คน หายไป 237,237 คน หรือ 29.5% ส่วนการติดตามข้อมูลของเด็กที่เกิดปี 2541 ทั้งหมด 862,260 คน พบว่า เข้าสอบโอเน็ตระดับชั้น ป.6 ในปี 2554 จำนวน 805,086 คน พอถึงปี 2557 เหลือเข้าสอบโอเน็ตชั้น ม.3 แค่ 680,348 คน หายไป 124,738 หรือ 15.5% “ ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า มีเด็กที่เกิดในปี 2538 และ 2541 หายไปจากระบบการศึกษาทั้งสิ้น 361,975 คน คิดเป็น 40% เมื่อดูข้อมูลการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา พบว่า เด็กที่เกิดในปี 2538 และ 2541 เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพแค่ร้อยละ 40 อีกร้อยละ 20 เข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยวุฒิ ม.6 เพราะฉะนั้นเท่ากับว่า เด็กไทยร้อยละ 60 หลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนเข้าระดับอุดมศึกษา โดย 2 ใน 3 หรือเกือบร้อยละ 40 ออกไปด้วยวุฒิการศึกษาไม่เกิน ม.3“ นายไกรยส กล่าวและว่า ส่วนเด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยได้ประมาณ 400,000 คนต่อปี มี 1 ใน 10 คน ใช้เวลาเรียนมากกว่า 4 ปี หรือต้องเปลี่ยนสาขา และมีเด็กที่เรียนไม่จบถึง 145,000 คน ส่วนเด็กที่จบนั้น สามารถหางานทำในปีแรกได้แค่ 105,000 คน ว่างงานในปีแรก 150,000 คน นายไกรยส กล่าวด้วยว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย ควรให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาของเด็กที่ไม่ได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษาด้วย โดยให้เด็กที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทักษะในการประกอบอาชีพ ดูแลตัวเองและครอบครัวได้ นอกจากนี้ควรขยายหลักสูตรท้องถิ่นให้โรงเรียนมีอิสระในการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพหลังจบการศึกษา หรือให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของระบบแรงงาน เพราะวิธีดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาเด็กออกจากระบบการศึกษากลางคัน และยังสามารถเพิ่มประชากรวัยแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถอีกด้วย. ....๑๓)ควรสร้างเด็กไทยพันธุ์ใหม่ ด้วยระบบโรงเรียนกินนอน อย่างน้อย 1 ใน 10 ของจำนวนนักเรียนแต่ละรุ่นคัดจากนักเรียนเรียนดี เน้น ม.3- ม.6และปวช1-3 หลังเลิกเรียน สอนโดยการปฏิบัติและปฏิบัติ สร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โรงเรียนประจำกินนอนหางานมีรายได้ให้ทำหลังเรียน หรือทำงานจิตอาสาพาฝึกดำนาเกี่ยวข้าว ทำงานในไลน์การผลิตของโรงงาน ตื่นนอน เข้านอน รับทาน ตรงเวลา ออกกำลัง กินอาหารมีประโยชน์ ฝึกทำอาหารเอง ดื่มนมวันละ 3 แก้วกินไข่วัน3ฟอง เพิ่มความสูงเฉลี่ยให้ได้ 180 ซม. จัด งปมให้ครูฝึกอย่างเพียงพอ แบบค่ายทหาร โรงเรียนนายร้อย จปร.เขาฝึกกันอย่างไร โรงเรียนแพทย์เขาใช้วิธีสอนอย่างไรวิเคราะห์เลือกมาใช้  กระทรวงคลังบอกว่าไม่มีเงิน ก็พวกคุณไม่หาทางเก็บรายได้ในอัตราใกล้เคียงกับสากลประเทศเก็บให้ได้ 40%ของGDP
.....๑๔)ทยอยกระจายอำนาจให้สถานศึกษา,ให้กลุ่มสถานศึกษา,ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,ที่มาตรฐานดีกำกับการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานและอาชีวศึกษาเพื่อการติดตามสนับสนุนนิเทศใกล้ชิด ข้อดีองค์กรเล็ก ไม่มีงานนอกภารกิจมาก ไม่เสียงบประมาณไปกับหน่วยเหนือ  งปม.ไม่ถูกโยกไปใช้นอกภาระกิจการพัฒนาผู้เรียน ให้กลุ่มครูผู้ปฏิบัติคิดพัฒนากันเองทุกเรื่องเป็นนิติบุคคลบริหารจัดการเอง,หาเงินช่วยเหลือตัวเองได้เช่นให้เอกชนเช่าที่,สรรหาหัวหน้าสถานศึกษาหัวหน้ากลุ่มเองในกลุ่มโรงเรียน,ทำหลักสูตรเอง,บรรจุครูเอง,พิจารณายุบรวมโรงเรียนใกล้กันเอง (รวมกลุ่มประมาณ 7สถานศึกษา)พัฒนาทุกอย่างกันเอง,รัฐกำหนดเป้าหมายเพียงอ่านออกเขียนได้พูดฟังไทย-อังกฤษได้เข้าใจคำนวณเป็นและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนด...ลดบทบาทหน่วยเหนืออันเป็นหน่วยทวนการศึกษาลงเปลี่ยนเป็นหน่วยประเมินตรวจสอบ
.....๑๕)ควรศึกษาวิจัยกำหนดอัตราส่วนระหว่างผู้เรียนมัธยมปลาย:ผู้เรียนปวชให้ชัดเจนตามความต้องการตลาดแรงงานจริง แล้วกำหนดจำกัดโค้วต้าจำนวนนักเรียน ม. 4 ให้แก่โรงเรียนมัธยมปลาย ใช้วิธีสอบคัดเลือก ที่เหลือจำเป็นต้องไปเรียนอย่างอื่นรวมทั้งไปเรียนอาชีวศึกษาด้วย
....๑๖)หลักสูตรวิชาชีพระดับอาชีวศึกษา ระดับปวส.และทลบ.ต้องเน้นเจาะเฉพาะทางเช่นปวช.ไฟฟ้ากำลังแยกเฉพาะทางปวส.ทลบ.ได้แก่ช่างติดตั้งซ่อมบำรุงไฟฟ้าในบ้าน-โรงงาน/ช่างติดตั้งซ่อมบำรุงไฟฟ้าในอาคารสูง/ช่างเครื่งกลไฟฟ้าและควบคุม/ช่างไฟฟ้าในยานยนต์/ช่างเครื่งมือวัดและควบคุม/ช่างปรับอากาศในอาคารและในรถยนต์,ช่างปรับอากาศในอาคารสูง,...และสาขางานที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมอาชีพที่ขาดแคลนในเมืองไทยปัจจุบันเช่น..นักภาษาพม่า,เวียตนาม,จีน, ช่างลิฟท์บันไดเลื่อน, ช่างตกแต่งภายในอาคาร, ช่างรถไฟฟ้าระบบราง, ช่างอากาศยาน, ช่างระบบไฟฟ้า-สุขาภิบาลอาคารสูง,เครื่องปรับอากาศอาคารสูง, พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงานดูแลระบบกล้องวงจรปิด, พนักงานขับรถยนต์ข้ามประเทศ, ช่างไฟฟ้าในยานยนต์, ช่างสีรถยนต์, ช่างเครื่องล่างรถยนต์, นักเคมีอุตสาหกรรม, นักขยายพันธุ์พืชด้วยเนื้อเยื่อ, ฯลฯ
.....๑๗)ครูวิชาชีพอาชีวศึกษา ควรผ่านงานวิชาชีพจากสถานประกอบการอย่างน้อย 5 ปีก่อนมาเป็นครู มีเงินเดือนเพิ่มเป็นขั้นประสบการณ์มากกว่าป.ตรี7ขั้นเพราะเสียเวลาในสถานประกอบการ5ปี  และมีกฎให้ออกไปทำงานในสถานประกอบการอย่างน้อยปีละ 1-2 เดือนทุกปี ครูไม่เคยทำงานในสถานประกอบการจะมีทักษะสอนผู้เรียนตรงตามตลาดได้อย่างไร
....๑๘)ปัญหานักเรียนนักเลงเสเพลในกรุงเทพ-ปริมณฑล ปัญหาหลักอยู่ที่ กฎหมายให้อำนาจผุู้รับผิดชอบจัดการไม่เพียงพอ ต่างประเทศไม่มีปัญหาเรื้อรังอย่างนี้ เขาทำกันอย่างไร....เสนอออกกฎหมาย["พรบ.ป้องกันนร./นศ.ก่อเหตุไม่สมควร"]ให้อำนาจเจ้าพนักงานควบคุม นร.นศ.ที่คณะกรรมการสถานศึกษาแห่งนั้นพิจารณาเห็นว่านร.นศ.คนใดเป็นกลุ่มเสี่ยงนักเลงเสเพลก่อวิวาท..ส่งต่อเข้าเรียนในสถานศึกษาเฉพาะที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เลือกวิทยาลัยการอาชีพที่มีอยู่แล้วแห่งหนึ่งดัดแปลงเป็นสถานศึกษากินนอนฝึกกิจวัตรประจำวันความตรงต่อเวลาทำอาหารกินเองได้ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์จิตรอาสามีรั้วสูงป้องกันหลบหนีมีครูฝึกมืออาชีพกฎหมายให้อำนาจครูฝึกตามควรเหมือนบังคับพลทหารเกณฑ์และได้ค่าตอบแทนคุ้มค่าผู้เรียนพักกินนอนทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์จนจบหลักสูตร ปวช. ปวส. เพียงมีกฎหมายนี้และเอาจริงเป็นตัวอย่าง นักเรียนนักเลงก็หัวหดสูญพันธุ์แล้วครับผู้ปกครองอยากให้มาเรียนในสถานศึกษาที่เข้มงวดอย่างนี้ด้วยซ้ำ....หากแก้ปัญหาข้อนี้ไม่ได้ ผู้ปกครองก็ไม่อยากให้ลูกมาเรียนอาชีวศึกษา
.....๑๙)ประเทศอาเซียนอื่นกระทรวงศึกษาสั่งราชการสถานศึกษาและมหาวิทยาลัยให้ปฏิบัติตามนโยบายสำคัญได้เป็นเอกภาพเช่นการร่วมมือพัฒนาหลักสูตร ร่วมมือพัฒนาครูอาจารย์  ร่วมมือพัฒนาสื่ออุปกรณ์ช่วยสอน ร่วมมือควบคุมจำนวนบัณฑิต การร่วมมือประกวดประเมินที่พอเหมาะเพื่อพัฒนา การร่วมมือช่วยเหลือระหว่างมหาลัย..และกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน,อาชีวศึกษา,มหาวิทยาลัยไทยต่างคนต่างทำ...กฎหมายไม่ให้อำนาจกระทรวง,สกอ.สั่งการ..มองต่างว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการ..วางมหาลัยอื่นเป็นคู่แข่ง
...๒๐)เพิ่มอำนาจ สกอ.สามารถปลดอธิการฯได้หากมีเหตุที่ควรเชื่อได้ว่าเกิดปัญหาแตกแยกหรือไม่ให้ความร่วมมือ5เรื่องต่อไปนี้....
1)ให้อำนาจ กกอ.ดำเนินการใดๆเช่นโอนย้ายบุคลากรออกจากสถานศึกษาเพื่อสลายขั้วอำนาจแตกแยกทั้งสองฝ่ายระงับความแตกแยก/ปลดอธิการบดี/ยุบสภามหาลัย/สั่งปิดคณะวิชาเพื่อแก้ปัญหาการออกข้อบัญญัติสภาฯหรือบริหารงานเลี่ยงนโยบายรัฐบาลเลี่ยงกฎหมายเลี่ยงธรรมมาภิบาลเพื่อประโยชน์กลุ่มตน/ปัญหาความแตกแยกรุนแรงในมหาลัย/ปัญหานักศึกษากระทำการก่อเหตุวิวาททั้งในและระหว่างสถาบัน
2)สกอ.กำหนดมาตรฐานและตั้งคณะกรรมการ(จากตัวแทนทุกมหาลัย)ประเมินความเป็นเลิศขบวนการบริหารจัดการด้านวิชาการทุกมหาวิทยาลัยไทย,ผลงานวิชาการภาพรวมของคณาจารย์และของมวลนักศึกษาภาพรวมทุกคณะประกาศผลเรียงลำดับระหว่างมหาลัยหรือจัดเป็นกลุ่มเหรียญทอง-เงิน-ทองแดง-สังกะสี-ตะกัว..แขวนบนเว็บไชด์ให้สาธาณะรับทราบและรายงาน สกอ.ทุกปี..
3)จัดงานอีเว้นประกวด/แข่งขันและแสดงผลงานประจำปีหรืออาจ 2 ปี/ครั้ง ระหว่างมหาวิทยาลัยไทยทั้งหมดเพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานระดับประเทศ ได้แก่ ผลงานวิจัย สื่อการสอน นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของคณาจารย์นักศึกษาและแข่งขันทักษะวิชาปฏิบัติของนศมหาลัยเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ.,ทุกสาขาวิชาทุกคณะประกาศผลแขวนเว็บไชด์ให้สาธารณะชนรับทราบทุกปี(ทุกครั้ง)ทั้งระดับกลุ่มมหาลัยหรือระดับภาค, ระดับชาติสรุปรายงานสกอ.ทุกปี(ทุกครั้ง) นำไปเป็นข้อมูลประเมินของสมศ.ได้ด้วย
4)ให้ทุกมหาวิทยาลัยร่วมมือกับสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องอบรมสัมนาแลกเปลี่ยน พัฒนาอาจารย์ด้านEngineerด้านปฏิบัติการทุกสาขาวิชารายงาน สกอ.ทุกปี...
5)ให้อำนาจ สกอ.เป็นผู้จัดสรรจำนวนโควต้าการผลิต.นศ.ให้แต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อไม่ให้ผลผลิตรวมขาดแคลน/หรือล้นตลาดแรงงานทุกหลักสูตรทุกสาขาวิชาต้องจัดให้นักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการจริงจังอย่างน้อย1 ปี/และอย่างน้อย2 สถานประกอบการ(สถานประกอบการละ6เดือน)
.....๒๑)คุณภาพอาจารย์/ผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่ได้มาตรฐาน,แตกแยก,ผลิตเน้นปริมาณเน้นสอนทฤษฎีปฏิบัติไม่เป็น,ผลิตบัณฑิตตกงาน,ขาดจิตวิญาณปูชนียบุคคล/ขาดจรรยาบรรณวิชาชีพ/ขาดจิตวิทยาการสอน/วัดผลประเมินผลไม่เที่ยงตรง/งานวิจัยคุณภาพต่ำ/วางแผนการจัดการเรียนรู้คุณภาพต่ำ   โดยเฉพาะผู้สอนบัณฑิตครูควรใช้ทักษะTeaching Methods ต้องจัดการการเรียนรู้เป็นแบบอย่างได้,มหาวิทยาลัยบางแห่งถือเป็นอันดับหนึ่งของไทยมีรายได้จากทรัพย์สิน ร.๕ ได้ค่าเช่าปีละหลายหมื่นล้านบาทเยอะมากแต่ไม่สามารถติดกลุ่มมหาวิทยาลัยเป็นเลิศระดับโลกได้  ดังนั้นผู้สอนและผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรพัฒนาตนเองครบทุกมิติมีมาตรฐานผ่านใบประกอบวิชาชีพผู้สอน/ผู้บริหารการศึกษาของกกอ. จับอาจารย์และผู้บริหารมหาลัยไปอบรมมาตรฐาน/จรรยาบรรณใหม่..เช่นเดียวกับครูสพฐ.และครูสอศ.
... ๒๒)ผลิตนักเรียน บัณฑิต หรือผู้สำเร็จการศึกษา  ไม่ตรงกับวิถีชีวิตประจำวันทำอาหารกินเองไม่เป็น ผลิตไม่ตรงกับความต้องการตลาดแรงงาน ขาดวินัยความรับผิดชอบ หยิบโหย่งไม่สู้งาน รังเกียจชีวิตเกษตรกรชีวิตลูกจ้าง ควรแก้โดยตัดวิชาไม่จำเป็นออก..ปรับหลักสูตร ระดับมัธยมปลายทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษได้/ทำอาหารที่มีประโยชน์ทานเองได้/ทุกคนต้องผ่านการฝึกงานอย่างน้อย 6เดือนได้แก่งาน/การดำนาเกี่ยวข้าว/งานในฟาร์ม/ในสถานประกอบการ/งานสายการผลิตของโรงงาน....ระดับปริญญาตรี ต้องผ่านการฝึกงานที่ตรงหรือใกล้เคียงกับสาขาที่ตนเรียนอย่างน้อยสองแหล่งงานรวม 12 เดิอน การทำงานคือการเรียนรู้ตรงตามตลาดแรงงานจริง อย่ายัดเยียดการพัฒนาผู้เรียนไว้กับอาจารย์ที่ไม่เคยทำงานวิชาชีพและไม่พัฒนาตนเองจริงจังอุปกรณ์การสอนฝึกปฏิบัติจำกัด ให้สถานประกอบการมีส่วนช่วยฝึกพัฒนานักศึกษา...ระหว่างนักศึกษาฝึกงานมีรายได้และสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร/ภาคอุตสาหกรรม/ภาคบริการ ของชาติได้อย่างดีเพราะมีแรงงานเพิ่มทันทีปีละเกือบหนึ่งล้านคน ทั้งนี้ต้องจัดระบบพัฒนาแลกเปลี่ยนติดตามนิเทศร่วมกับสถานประกอบการอย่างเข้ม
....๒๓)สถานศึกษามหาวิทยาลัยมีมากเกินไปแย่งแชร์งบประมาณกันเองแย่งผู้เรียนกันเลือกเปิดสาขาที่ลงทุนต่ำได้เงินง่ายผลิตง่าย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขาดจรรยาบรรณเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เปิดสาขาอย่างอิสระ ผลิตบัณฑิตออกมาเกินความต้องการตลาด   บางสาขาตกงานอย่างมาก บางสาขาขาดแคลนอย่างมาก งบลงทุนสูญเปล่าบางสถาบันมีผู้เรียนน้อยนิดแต่ได้งบสร้างสิ่งก่อสร้างมโหฬารควรมีโควต้าจำกัดจำนวนผู้เรียนเข้าใหม่
....๒๔)สื่อสารมวลชนต้องมีเวลามีพื้นที่เพื่อการพัฒนาคนในประเทศอย่างน้อย30%ของเวลาหรือพื้นที่ทั้งหมด

เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา การเมือง สื่อแวดล้อม การศึกษา เกี่ยวโยงกันเสมอ

ใบประกอบวิชาชีพผู้สอน(ครูอาจารย์)
...ผู้สอนทุกระดับต้องมีความรู้ด้านวิชาชีพครู...มีจิตวิทยาการสอน วัดผลประเมินผลมีความเที่ยงมีความตรง วางแผนการจัดการเรียนรู้ได้คุณภาพ มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพไม่มุ่งผลิตบัณฑิตเชิงการค้าจนตกงาน ผู้สอนบัณฑิตครู ต้องใช้ทักษะวิชาชีพครู(Teaching Methods) จัดการการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีคุณภาพเป็นแบบอย่างได้

...คุณภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนไม่มีมาตรฐาน ผลิตบัณฑิตผลสัมฤทธิต่ำ,ตกงานเยอะ53%ทุกปี,แต่ละมหาลัยแตกแยกแบ่งฝ่ายแย่งผลประโยชน์,บางแห่งใช้เงินได้ค่าเช่าจากทรัพย์สินที่ ร.5 ยกให้เยอะมากๆแต่ยังห่างไกลไม่สามารถก้าวสู่มหาวิทยาลัยชั้นเลิศระดับโลกได้

...ครูผู้สอนทุกสังกัดต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู/ใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา.....แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต้องมีทั้งสองใบ

...ใบประกอบวิชาชีพครู/ผู้สอนที่อ้างว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงควรยกเลิกไปเพราะผู้สอนไม่มีมาตรฐานเดียวกัน อาจารย์ในมหาลัยหลากหลายคณะหลายสถาบันไม่ได้ประเสริฐเลิศเกินกว่าครูในโรงเรียนแต่อย่างใด

...เราพยายามจะทำให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงวิชาชีพมาตรฐานแต่กลายเป็นวิชาชีพ"สองมาตรฐาน"...แบ่งชั้นกันแล้วจะได้รับการยอมรับจากสังคมเช่นวิชาชีพอื่นๆได้อย่างไรครับ
.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น