วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ไทยมีความเหลื่อมล้ำมาก ภาษีลดความเหลื่อมล้ำ


 
...สร้างนโยบายรายจ่ายเช่น.รักษาฟรี,เรียนฟรี,สร้างโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ..แต่ไม่สร้างนโยบายวิธีเพิ่มรายได้..งบดุลประเทศจึงไม่สมดุลใช้วิธีกู้มาโปะตลอดทุกรัฐบาล..ต้องการคะแนนเสียงโดยไร้ความรับผิดชอบ..การเก็บรายได้แล้วแต่ข้าราชการกรม/หน่วยหารายได้จะดำเนินการตามบุญตามกรรม

...ไทยมีผู้มีรายได้ทั้งหมด 38 ล้านคน มายื่นเสียภาษี 11.7 ล้านราย เสียภาษี 2 ล้านคน หนีภาษี 26.3 ล้านราย หนีภาษี 70% (ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา)

...นิติบุคคลผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)ไทยทั้งหมด 2.7 ล้านราย เสียภาษีเพียง 7 แสนราย หนีภาษี 2 ล้านราย หนีภาษี 74% (ภาษีรายได้นิติบุคคล)
 
...ข้อเสนอ
...1)การเก็บรายได้เป็นหัวใจสำคัญของชาติ...รัฐควรกำหนดเก็บรายได้เข้ารัฐอย่างน้อยปีละ 40% ของGDP
...2)นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต้องมีทั้งนโยบายโครงการรายจ่ายและนโยบายโครงการหารายรับให้สมดุลโดยไม่ต้องกู้
...3)ให้มีหน่วยตรวจสอบการเก็บภาษีการเก็บรายได้เป็นองค์กรอิสระมีหน้าที่ตรวจสอบกรมเก็บภาษีและรัฐวิสาหกิจสร้างรายได้ให้ได้ตามเป้ารวมสากล(40%ของGDP)ที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ,ไม่ละเว้นเลือกปฏิบัติ,ไม่ซูเอี๋ย,ไม่ช่วยเหลือพวกพ้องหลบเลี่ยง
...4)หรือให้หน่วยงานจัดเก็บภาษีเป็นองค์กรอิสระทุกปีต้องเก็บรายได้ให้ได้อย่างน้อย40%ของGDPหากทำไม่ได้ให้สว.ถอดถอนเปลี่ยนกรรมการชุดใหม่มาดำเนินการ...

  ...ปัจจุบันประเทศไทยเราเก็บรายได้...ได้น้อยมาก...เก็บได้ในอัตราครึ่งหนึ่งของสากลประเทศ..คือเพียง17% ของGDP..ใช้เป็นค่าเงินเดือนรายจ่ายประจำก็หมดแล้ว...ต่างประเทศทางตะวันตกเก็บได้เฉลี่ย40%ของGDP..เขาจึงมีเงินเหลือลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากมาย

...[GDPไทยปี 2456 จำนวน 12 ล้านล้านบาท เก็บรายได้ได้ 2 ล้านล้านบาท 17% ของGDP ใช้เงินที่เก็บได้เป็นงบประมาณรายจ่ายในปีนั้น]

...งบประมาณไทย 80% ใช้จ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการลูกจ้าง และ 20% ใช้เป็นงบลงทุนเช่นสร้างถนน,โครงสร้างพื้นฐาน,สวัสดิการ,โครงการรัฐบาล

...เราชอบเรียกร้องให้รัฐ จัดงปม.เพื่อ ดำเนินการวิจัยนวัตกรรมอย่างน้อย 3 %ของGDP ตามอย่างประเทศพัฒนา แต่ไม่เรียกร้องให้รัฐเก็บรายได้ใกล้เคียงประเทศพัฒนา 35-40%ของGDPด้วย ไทยเก็บรายได้ ได้เพียง 17%ของGDP ดังนั้นหากนำเงินจำนวน 3%ของGDP ซึ่งมีค่าเท่ากับ 18% ของงบประมาณไปใช้จ่ายด้านวิจัยแทบไม่เหลือเป็นเงินลงทุนอื่น ๆ เลย

...ปัญหาคือ
...1)การหลบเลี่ยงซูเอี๋ยโดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่รัฐ(สูญเสียจากข้อนี้ประมาณ 20-25% ของGDP)
...2)การคิดอัตราภาษีต่ำมากเช่นภาษีมูลค่าเพิ่มเพียง7%(ยุโรป15-25%)เก็บได้เฉพาะผู้ประกอบการที่มีระบบตรวจสอบจากใบเสร็จที่ให้แก่ผู้ซื้อ
...3)การไม่ขยายฐานเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมให้หลากหลาย เช่น:ควรเก็บเงินค่าผ่านทางจากรถนั่งส่วนบุคคลบนทางหลวงแผ่นดินทุกเส้นทาง
...4)การไม่ขยายฐานชนิดประเภทภาษีให้ครอบคลุม..ประชานิยมให้กลุ่มผู้มีเงิน,กลุ่มนายทุนมาตลอดเกือบ100ปี
...5)การเก็บค่าบริการต่ำกว่าความเป็นจริงเช่นใช้น้ำฟรี ไฟฟ้าฟรี รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี เรียนฟรี ค่าภาคหลวง ค่าสัมประทาน ค่าธรรมเนียมต่างๆทุกกระทรวงราคาถูกมาก
...6)หน่วยหารายได้และรัฐวิสาหกิจประสิทธิภาพดำเนินการต่ำ
...7)ภาษีรายได้บุคคลธรรมดามีการลดหย่อนมากหลายรายการและมีการหลบเลี่ยงมากทำให้มีผู้เสี่ยภาษีในระบบเพียง 2 ล้านคน ผู้เสียภาษีส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเพราะหลบเลี่ยงไม่ได้

...หากเราสามารถเก็บรายได้ในอัตรา40%ปัญหาของชาติเราจะได้รับการแก้ไขได้หลายอย่างเช่น
...1)สร้างโครงสร้างพื้นฐาน,การคมนาคม,ชลประทาน,ป่าชุมชน,สวนสาธารณะ,แหล่งพลังงานสุดยอด
...2)ทุกคนได้รับสวัสดิการ,การรักษาพยาบาลฟรี,อย่างมีคุณภาพ
...3)ประชาชนทุกคนทุกอาชีพรวมทั้งชาวนา/เกษตรกร/ลูกจ้างกรรมกรได้รับเบี้ยยังชีพหรือบำนาญหลังเกษียณมากพอเพียงอยู่อย่างสบายอย่างคนตะวันตก
...4)ราชการจะมีวัสดุเครื่องมือปฏิบัติงานบริการประชาชนทั่วถึงสมบูรณ์อย่างมีคุณภาพ
..........ฯลฯ

...รัฐสร้างถนนให้คนรวยใช้,สร้างรถไฟฟ้ามหานครให้คนกรุงเทพใช้,แต่ขาดเงินสร้างแหล่งน้ำชลประทานให้เกษตรกรขาดเงินสร้างถนนในชนบทให้เกษตรกรคนจน

...สร้างระบบขนส่งมวลชน Low Cross ระหว่างอำเภอตำบลชนบทด้วยระบบรางความเร็วต่ำ60กม./ชม.คนชนบทก็พอใจแล้ว  อย่าเลือกปฏิบัตรเอาใจแต่คนในเมือง สร้างให้คนกรุงเทพปริมลฑลหลายหมื่นหลายแสนล้านบาทนะครับ

...รายได้รัฐแต่ละปีน้อยไม่พอใช้จ่ายสร้างโครงสร้างพื้นฐานกระทรวงคมนาคมควรหารายได้เข้ารัฐเพิ่มลดความเหลื่อมล้ำ
1)เก็บค่าผ่านทางหลวงระหว่างจังหวัดจากรถยนต์นั่งส่วนตัวส่วนบุคคล
2)เพิ่มภาษีทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลส่งเสริมให้ใช้รถโดยสารหรือรถไฟ

ภาษีมรดก..ผู้รับมรดกจะเสียภาษี10%จากส่วนเกิน50ล้านบาทที่รับมา อัตราต่ำผิดคาด ...ความเหลื่อมล้ำเป็นต้นตอปัญหาความรู้สึกไม่เป็นธรรม/ไม่ยุติธรรม/ถูกเอาเปรียบแบ่งชั้น/ปัญหากีฬาสีเสื้อ...เกรงว่าอัตราภาษีมรดก/อัตราภาษีที่ดินที่กระทรวงการคลังยกร่าง..เริ่มต้นก็ต้มคนดูผิดทาง/จะยังคงเป็นปัญหาต่อไปครับ

 อังกฤษ..ผู้รับมรดกต้องเสียภาษี40%จากมรดกส่วนเกินมูลค่า 325,000 ปอนด์(17.033ล้านบาท) รายได้ประชาชาติต่อหัวของอังกฤษสูงกว่าไทย 3.767 เท่าดังนั้นถ้าเทียบเป็นเงินไทยตามฐานะคนไทยก็ควรเอา3.767เท่าหารเท่ากับคนไทยที่รับมรดกเกิน 4.521ล้านบาทขึ้นไปต้องเสียภาษีมรดก ตัวเลขเหล่านี้ปรับขึ้นลงตามมติคณะรัฐมนตรีตามสถานการณ์ไม่ได้ตายตัวแบบกฎหมายไทย ตัวอย่างผู้รับมรดกปราสาทขนาดใหญ่มูลค่าภาษีสูงมากจนไม่มีเงินเสียจำต้องจำหน่ายให้รัฐบาลทั้งหลัง
 ญี่ปุ่น..ผู้รับมรดกต้องเสียภาษี 33% จากมูลค่ามรดกส่วนเกินที่กำหนด
 สหรัฐอเมริกา..ผู้รับมรดกเกิน5.34ล้านดอลลาร์(172.319ล้านบาท) รายได้ประชาชาติต่อหัวของสหรัฐสูงกว่าไทย 12.345 เท่าดังนั้นถ้าเทียบเป็นเงินไทยตามฐานะคนไทยก็ควรเอา12.345เท่าหารเท่ากับคนไทยที่รับมรดกเกิน 13.958 ล้านบาทต้องเสียภาษีแบบขั้นบันใด..ได้รับมรดกน้อยเสียในอัตราน้อยระหว่าง 18-40%จากมูลค่ามรดกที่เกิน5.34ล้านดอลลาร์ ตัวเลขเหล่านี้ปรับขึ้นลงตามมติคณะรัฐมนตรีตามสถานการณ์เช่นกัน..นายบิลเกตส์ นายวอร์เรนบัฟเฟตต์ หรืออภิมหาเศรษฐ๊ใหญ่ๆเขาบริจาคเงินมหาศาลให่สาธารณะเพราะเอาไปไม่ได้ยังไงก็ต้องถูกหักภาษีมรดก 40%
 เยอรมัน แบ่งอัตราจัดเก็บจากผู้รับมรดกเป็นขั้นบันไดอัตราภาษีแตกต่างกันของผู้รับสามกลุ่มได้แก่กลุ่มคู่สมรส-ลูก 7-30% กลุ่มพี่น้องและญาติ15-43% กลุ่มบุคคลอื่น30-50%
 ไต้หวัน..ทายาทนายหวางผู้ก่อตั้งบริษัทฟอร์โมซาพลาสติก กลุ่มทุนใหญ่อันดับสองของไต้หวันเสียภาษีมรดกเป็นเงิน15,180ล้านบาท
 ไทย..ควรเริ่มเสียภาษีโดยผู้รับมรดมูลค่าตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไป..อัตราตามขั้นบันไดได้รับน้อยเสียภาษีในอัตราน้อยระหว่าง10-40% เพราะถือว่าได้รับทรัพย์สินมาฟรีๆโดยไม่ต้องทำงานต่างจากคนทำงานอื่นที่ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจความรู้ความสามาถทั่วไป
 หน่วยงานเก็บภาษี..ทั้งหลายควรเป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ หากปล่อยให้ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐบาล พวกนี้ไม่กล้ารีดภาษีกลัวเสียคะแนน การเก็บภาษีที่ผ่านมาขาดประสิทธิภาพและมีการหลบเลี่ยงภาษีอย่างมากสูญเสียรายได้ ประมาณ 1 เท่าตัวที่เก็บมาได้..หมายความว่าเก็บมาได้2ล้านล้านบาทหลบเลี่ยงสูญเสียไปจำนวนเท่าๆกัน


ปฏิรูปรายได้รัฐ
รายได้จากภาษีค่าธรรมเนียม ของประเทศต่าง ๆ
ฝรั่งเศส    41%GDP   สวีเดน     36%GDP    เยอรมัน   29%GDP    อิตาลี      36%GDP
อังกฤษ    36%GDP   ฮังการี     35%GDP  เกาหลีใต้  18%GDP  อินโดนิเซีย 14%GDP
ไทย        17%GDP

รายได้จากภาษีเมื่อเทียบกับร้อยละ GDP ที่แต่ละประเทศเก็บได้
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP



ภาษีลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มรายได้ภาครัฐ               

1) ที่ดินหากไม่เสียภาษีติดต่อกัน 5ปี ให้ยึดเป็นของรัฐ ที่ดินในแผ่นดินผู้ซื้อมีเวลาถือครองและโอนให้ทาญาติถือครองต่อเนื่องกันไม่เกิน 100 ปี นับจากเวลาที่ซื้อไป ครบกำหนดรัฐนำประกาดราคาขาย ภาษีที่ดิน ลดความเหลื่อมล้ำ ลดราคาที่ดิน  เช่นเก็บภาษี อัตรา 0.1% ของราคาประเมิน  (สำหรับนิติบุคคลที่ใช้ที่ดินประกอบการอุตสาหกรรม การพาณิชย์ การเกษตร และฟาร์มเก็บภาษีอีกอัตราหนึ่ง)

2) ภาษีมรดก 30%ของทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการให้หรือจากมรดก  ภาษีมรดกต้องมี มหาเศรษฐีโลกหลายคนเช่น บิลเกตส์, บัฟเฟอร์ ยัง แนะนำว่าถ้าไม่มีภาษีมรดก ก็ไม่ยุติธรรมกับสังคมเนื่องจากได้มรดกมาดุจอภิสิทธ์ชน ไม่ยุติธรรมกับคนเริ่มต้นมือเปล่าทั่วไป

3) วันที่ 28 ธค.2556 สภาศาลรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสพิพากษาอนุญาตให้รัฐบาลเก็บภาษีของผู้มีรายได้สูงกว่า 1 ล้านยูโร(45ล้านบาท)ต่อปีด้วยอัตรา 75% ตามที่ประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองค์ หาเสียงไว้(มีรายได้ 100 ส่วนโดนเก็บภาษี 75 ส่วนโดยให้บริษัทเป็นผู้จ่าย) มีผลเป็นเวลา 2 ปีตั้งแต่ปี 2556-2557 เพื่อจำกัดการจ่ายเงินเดือนอัตราสูงแก่ผู้บริหารของบริษัทต่าง ๆในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ กระทบประมาณ 470 บริษัท รัฐเพิ่มรายได้เพียง 210 ล้านยูโรต่อปี

4) ภาษีมูลค่าเพิ่มควรปรับจาก 7% เป็น 15% ของราคามูลค่าสินค้าที่เพิ่มขึ้น ภาษีที่ได้มานำไปจ่ายเป็นสวัสดิการประชาชน ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา และพัฒนาแหล่งน้ำ ใครซื้อมากเสียภาษีมาก คนรวยซื้อสินค้ามากกว่าคนจน .....ตัวอย่าง.....สินค้าต้นทุน100 บาท นำมาขายรวมกำไร120 บาท มูลค่าเพิ่ม20 บาท เสียภาษี 15% ของ 20 บาท =3 บาท(ภาษีขาย-ภาษีซื้อ คือ 18-15=3บาท)  หากเป็นไปตามระบบ เสียภาษีถูกต้องทุกขั้นตอน ผู้ซื้อจ่ายค่าสินค้ารวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงิน 120+3 บาท........ไม่ใช่120+18 อย่างปัจจุบัน ผลักมาให้ผู้ซื้อรายย่อย รับไปแต่เพียงผู้เดียว

5) กำไรจากการขายหุ้น ตราสารทุน ตราสารหนี้ เงินปันผล ควรหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย20-30%ของกำไรสุทธิ ให้ โปกเกอร์ หักจ่ายให้กระทรวงคลัง นักลงทุนก็เหมือนกับผู้ประกอบการ ขาดทุนต้องช่วยตัวเอง มีกำไรต้องเสียภาษีเงินได้

6)หุ้นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นธนาคารกรุงไทย การบินไทย  ปตท. ทำอย่างไรจะให้คนไทยที่ยากจนเป็นเจ้าของหุ้นบ้าง ตลาดหลักทรัพย์ควรขยายส่งเสริมให้คนชนบทได้เล่นหุ้นอย่างสะดวกบ้าง ดีกว่าเล่นหวย เพื่อส่งเสริมการติดตามข่าวสาร การอ่านหนังสือ การใช้อินเตอร์เน็ท คนไทยชนบทชอบเสี่ยงอยู่แล้ว สังเกตจากการเล่นหวยงวดละเกือบ พันล้านบาท คนติดตามข่าวสารมากๆ ปัญหาการแบ่งแยก กีฬาสีจะลดลง

7) เก็บภาษีมลพิษ จากโรงงานการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม หรือการประกอบการ ที่สร้างมลพิษ ฟาร์มที่ส่งกลิ่นเหม็น น้ำเสีย สารเคมี สู่อากาศ สู่น้ำ สู่สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

8)ขึ้นภาษีประจำปีทะเบียนรถยนต์ส่วนตัว เก็บค่าผ่านทางระหว่างจังหวัดจาก รถยนต์ส่วนตัว.......พวกเราสะดวกสบาย ขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศยังยากไร้เหลื่อมล้ำ ค่าครองชีพสูง ขาดสวัสดิการ  ฯลฯ
 
9) ภาษีคนเมืองใหญ่ คนอยู่เมืองใหญ่ใช้สาธารณะประโยชน์ มากกว่าคนชนบท เช่น ถนนหลวง ตรอก ซอย ไฟฟ้าแสงสว่าง  ตำรวจ การบริการต่าง ๆ สวนสาธารณะ ดังนั้นควรเก็บภาษีคนเมืองใหญ่ เช่นภาษีรายได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ของคนเมืองใหญ่ ควรจ่ายมากกว่าคนเมืองเล็ก คนชนบท

10)เลิกลดหย่อน การออมประกันภัย การออมกองทุนรวมต่าง ๆ
 
11)วัดที่รายได้มากกว่าปีละ 30 ล้านบาทต้องเสียภาษีเงินได้เทียบเท่าภาษีเงินได้นิติบุคคล รายได้ทุกชนิดเช่น เงินบริจาคเงินผ้าป่ากฐินหรือการจำหน่ายวัตถุมงคลจำหน่ายสินค้าดอกไม้ธูปเทียนฯลฯ,..พระสงฆ์รายบุคคลห้ามมีสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆ ห้ามมีเงินสดหรือเงินในบัญชีธนาคารเกิน 1ล้านบาท ทรัพย์สินอื่นใดของสงฆ์รายบุคคลให้ตกเป็นของวัดที่พระสงฆ์รูปนั้นสังกัด


คนไทยใครเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคลบ้าง

เมื่อปี 2557 นิติบุคคลเฉพาะผู้ประกอบการขนาดย่อม SME ทั้งประเทศจำนวน 2.7 ล้านราย มีผู้เสียภาษีเพียง 7แสนราย ที่เหลือ 2 ล้านรายหลบเลี่ยงหนีภาษี

รายงานผลสำรวจของสำนักงานสถิตแห่งชาติในปี 2553 ระบุว่าจากคนไทย 66 ล้านคนเป็นแรงงานในระบบประมาณ 38 ล้านคน(ส่วนที่เหลือ 28 ล้านคนเป็น เด้กคนชรา นักบวช และผู้ช่วยครัวเรือน) แบ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน และกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น หมอ วิศวะ ก่อสร้าง เกษตรกร แท็กซี่ หาบเร่แผงลอยอีก 21 ล้านคน

แต่ที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มผู้มีเงินได้ 38 ล้านคน มีรายได้ไม่ถึง 300 บาทต่อวัน จำนวน 11.5 ล้านคน กลุ่มนี้อยู่นอกฐานภาษีของกรมสรรพากร เพราะมีรายได้ไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี ส่วนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่เหลือ 5.5 ล้านคน ได้รับค่าแรงเกินวันละ 300 บาท เมื่อรวมกับกลุ่มอาชีพอิสระจำนวน 21 ล้านคน จะมีจำนวนผู้เสียภาษี 26.5 ล้านคน ปรากฏว่าในปี 2554 มีคนมายื่นแบบ ภ.ง.ด.90-91 กับกรมสรรพากรแค่ 11.7 ล้านคน แต่อีก 14.8 ล้านคน ไม่มายื่นแบบเสียภาษี

นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากรยืนยันว่า จริงๆ จำนวนผู้ที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91) ไม่ได้ลดลง ตรงกันข้ามตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 8 ล้านคน เป็น 9 ล้านคน และปัจจุบัน 11.7 ล้านคน แต่ในบรรดาคนที่มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91 จำนวน 11.7 ล้านคนนั้น มีผู้ที่เสียภาษีจริงๆ แค่ 2 ล้านคน อีกประมาณ 9 ล้านคน เข้ามายื่นภาษีฯ อยู่ในระบบแล้ว เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เหลือเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี จึงหลุดออกไปอยู่นอกฐานภาษี

ข้อมูลจากกรมสรรพากรระบุในรายละเอียดว่า กลุ่มผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคธรรมดา 2 ล้านคนนั้น มีผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 4 ล้านบาทต่อปี เสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 37% ของรายได้สุทธิ อยู่ประมาณ 30,000 คน ซึ่งจ่ายภาษีคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้ อย่างในปีงบประมาณ 2554 กรมสรรพากรเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 236,339 ล้านบาท ซึ่งมีผู้มีรายได้สูงประมาณ 30,000 คนนี้ จ่ายภาษีประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยจ่ายภาษีคนละ 4 ล้านบาทต่อปี(คน 3 หมื่นจ่ายภาษีเงินได้ครึ่งของทั้งหมด) ส่วนผู้เสียภาษีที่เหลืออีกประมาณเกือบ 2 ล้านคน จ่ายภาษีได้ประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยต่อหัวจ่ายภาษีคนละประมาณ 60,000 บาทต่อปี

สรุป
มนุษย์เงินเดือนทั้งหมด                        17    ล้านคน
มนุษย์อาชีพอิสระทั้งหมด                     21    ล้านคน
รวมผู้มีเงินได้ทั้งหมด                          38    ล้านคน
รายได้ไม่ถึงเกณฑ์                        11.5 ล้านคน
ไม่มายื่นแบบเสียภาษี                         14.8  ล้านคน
มายื่นแบบเสียภาษีเพียง                      11.7  ล้านคน
มายื่น 11.7 ล้านคน มีผู้เสียภาษีจริงเพียง  2     ล้านคน
(หักค่าลดหย่อนเหลือเงินได้ไม่ถึง 1.5 แสนบาท/ปี ไม่ต้องเสียภาษี)

ผู้มีรายได้ทั้งหมด 38 ล้านคน เสียภาษีเพียง 2 ล้านคน

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงเลื่อย

เงินได้พึงประเมิน             เสียภาษี2555    ภาษี2556-2557

0-150,000                      ยกเว้น                     ยกเว้น
150,000-300,000            10%                        5%
300,001-500,000            10%                       10%
500,001-750,000            20%                       15%
750,001-1,000,000        20%                        20%
1,000,001-2,000,000      30%                       25%
2,000,001-4,00,000        30%                       30%
มากกว่าสี่ล้าน                  37%                       35%

หมายเหตุ       ผู้มีเงินได้360,000บาท มีประมาณ 1.4ล้านคน
                     ผู้มีเงินได้ สี่ล้านบาทขึ้นไปมีเพียงประมาณ 2 พันคน

ลดหย่อนเยอะหลายอย่างได้แก่
1)รายได้ไม่ถึง 150,000/ปี ไม่ต้องเสียภาษี
2)ลดค่าใช้จ่ายตนเอง 60,000 บาท
3)ลดหย่อนให้ส่วนตัวอีก 30,000
4)ลดหย่อนให้คู่สมรส 30,000
5)บุพการีคนละ 30,000
6)บุตรคนละ 30,000
7)การศึกษาของบุตรคนละ 2,000
8)เบี้ยประกันชีวิตอย่างน้อย 10ปี จริงไม่เกิน 100,000 บาท
9)เงินสมทบเข้ากองทุนเลี้ยงชีพ จริงไม่เกิน 10,000
10)ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน จริงไม่เกิน 100,000
11)เงินสมทบประกันสังคม เท่าจ่ายจริง
12)เงินบริจาคเพื่อการศึกษา 2เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10%
13)เงินบริจาคการกุศลจริงไม่เกิน 10%
14)เงินเบี้ยประกันสุขภาพบุพการีตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000
15)เงินเบี้ยประกันสังคมประเภทบำนาญตามจ่ายจริง
16)เงินซื้อหน่วยลงทุนกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)ตามจริง
17)เงินซื้อกองทุนระยะยาว(LTF)ตามจริง (ข้อ15+16+17ไม่เกิน15%หรือ150,000บาท)
18)ผู้สูงอายุเกิน65ปียกเว้นเงินได้ 190,000บาท
19)เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานแต่ไม่เกิน300,000บาท

......กระผมเห็นว่าหากรัฐจัดโครงการประชานิยมเต็มรูปอย่างนี้ รัฐควรยกเลิกค่าลดหย่อนภาษีทุกตัวครับ
......สมัยโรมันครอบครัวได้สิทธิเป็นพลเมืองโรมันได้รับสวัสดิการและมีสิทธิเลือกตั้งคือครอบครัวที่มีเงินซื้ออาวุธให้รัฐหรือพร้อมให้ลูกชายถูกเกณฑ์เป็นทหารรับใช้ชาติหรือผู้เสียภาษีให้รัฐ เมืองไทยเอาบ้างดีไหม ใครไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่มีสิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการ ซึ่งตามจำนวนผู้เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาปัจจุบันจะมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เพียง 2 ล้านคน ใครอยากได้สิทธิต้องหารายได้มาเสียภาษีครับ ใครไม่มีเงินให้มาลงทะเบียนทำงานลงแขกให้ภาคเกษตรฟรีในปีนั้น หรือทำงานในสายการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมยกค่าแรงให้รัฐส่วนหนึ่ง ......55555......

...... รายได้แผ่นดินควรอย่างน้อย 35 % ของ GDP  งบค่าดำเนินการควรมากกว่างบเงินเดือน 2-3 เท่า  นั่นคือรัฐควรหารายได้เพิ่มมากขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวจากปัจจุบัน

 ....หน่วยงานเก็บรายได้ รมต.คลัง มีหน้าที่ค้นหาและเก็บรายได้ทุกเม็ด อย่างจริงจัง ไม่เลือกปฏิบัติ ปัจจุบันไทยเก็บภาษีประสิทธิภาพต่ำมากๆ มีการหลบเลี่ยงภาษีประมาณ 1 เท่าที่เก็บได้ ทุกคนทุกสถานประกอบการที่มีรายได้ต้องเสียภาษี   คนไทยอยู่ในระบบภาษีรายได้ส่วนบุคคลเพียง 2 ล้านคน เมื่อไม่เสียภาษีทางตรงก็ไม่สนใจการใช้เงินภาษีของข้าราชการและรัฐบาล
.......หากทุกรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพจัดเก็บต่ำ กลัวเสียคะแนน ควรแก้รัฐธรรมนูญให้หน่วยหารายได้แผ่นดินเป็น"องค์กรอิสระ"
.......หรือตั้งองค์กรอิสระเพิ่มอีกองค์กร มีหน้าที่ เร่งรัด ติดตาม ตรวจสอบ ลงโทษ อปท.และหน่วยเก็บรายได้แผ่นดินไม่ครอบคลุมทั่วถึง หรือเลือกปฏิบัติ
0)ภาษี ค่าธรรมเนียม รายได้ ที่หน่วยราชการจัดเก็บปัจจุบัน ยังมีการเลี่ยง เก็บไม่ทั่วถึง ไม่ครอบคลุม เลือกปฏิบัติ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และ อปท. ต้องติดตามเก็บทุกเม็ดอย่างจริงจัง รายได้ที่เสียไปจากข้อนี้น่าจะมากกว่า 1 ล้านล้านบาท/ปี (50% ของรายได้ทั้งหมด)
1)ค่าธรรมเนียมค่าผ่านทางหลวงระหว่างจังหวัดเฉพาะรถนั่งส่วนตัว (คนจนไม่ได้ใช้...ลดความเหลื่อมล้ำ)
2)เพิ่มภาษีทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล(รถเยอะ งปม.สร้างถนนจำกัด คนจนไม่ได้ใช้)
3)ภาษีสรรพสามิตอาหารและเครื่องดื่มที่มีสัดส่วนปริมาณพลังงานตั้งแต่ 275 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนัก 100 กรัม เช่น ขนมขบเคี้ยว ลูกอม ขนมคัสตาร์ดคาราเมล เนยถั่ว น้ำอัดลม ไอศกรีม ประเทศเม็กซิโกเก็บ 8 % ของราคา ต้านเบาหวานโรคอ้วน(เมกซิโกโมเดล)
4)ภาษีธุรกิจเฉพาะอีคอมเมิร์ซ เช่นภาษีธุรกิจการอัพโหลดแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ธุรกิจซื้อขายสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและผ่านทีวี ธุรกิจโฆษณาผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและผ่านทีวี (USA Model)
5)เก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้ามีมากจ่ายมากเริ่มที่0.1% ของราคาที่ดิน ภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า มีมากจ่ายอัตรามากเพิ่มขึ้นเริ่มต้นที่ 30ล้านบาท
6)ภาษีการพนันในชนบทเล่นกันทั่วไปตามงานศพ มีบ่อนเถื่อนอยู่ทั่วไป ......ควรอนุญาตเปิดเมืองบ่อนคาซิโนภาคละแห่งสองแห่ง เข้าถึงได้เฉพาะเครื่องบิน (คนรายได้น้อยในประเทศห้ามเล่น) มาเลย์ สิงคโปร์ ลาว พม่า เขมร รอบบ้านเรา เขามีกันตั้งนาน ดูดเงิน สร้างเมือง สร้างชาติ สร้างงาน สร้างรายได้มหาศาล
7)ภาษีธุรกิจเฉพาะโรงแรมและการบริการด้านท่องเที่ยวเพราะรัฐส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเพิ่มค่าลดหย่อนจากค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวให้แก่ภาษีรายได้บุคคลธรรมดาแล้ว
8)ภาษีธุรกิจเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน ส่งเสริมเมืองโรงพยาบาลบริการคนประเทศเพื่อนบ้านตั้งตามตระเข็บชายแดน (การแพทย์ไทยจุดแข็ง)
9)ภาษีธุกิจเฉพาะสถานดูแลคนชราชาวต่างประเทศ ......ส่งเสริมสถานดูแลคนชราสำหรับเศรษฐีชาวต่างประเทศ เข่น ญี่ปุ่น และในประเทศแบบ VIP (การดูแลคนไทยถนัด)
10)ภาษีการใช้น้ำชลประทานทำนาปัง
11)ภาษีธุรกิจเฉพาะกำไรจากการเล่นหุ้นระยะสั้นลดความเหลื่อมล้ำ(บราซิลโมเดล)
12)ยกเลิกการลดหย่อน การออมกองทุนรวม LTF,RMF, เลิกลดหย่อนเบี้ยประกันภัย, คนรวยมีลดหย่อนเสียอัตราภาษีน้อยกว่าบุคคนที่ไม่มีอะไรลดหย่อน
13)ส่งเสริมทุนไทยออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านให้มากกว่านี้ พันเท่า ทูตพาณิชย์ทำงาน จับมือคนไทยทุนหนาลงมือเลย (ส่งเสริมจุดแข็งธุรกิจไทย)
14)ภาษีสรรพสามิตสิ่งแวดล้อมจากโรงงานที่ทิ้งน้ำเสีย ของเสีย อากาศเสีย เสียงดัง
15)ภาษีสรรพสามิตสลากกินแบ่งรัฐบาล ภาษีหวยใต้ดินจัดเข้าระบบกฎหมายรายได้มหาศาล
16)ภาษีธุรกิจเฉพาะตลาดนัด มีมากทุกแห่งในต่างจังหวัด ชนบท รวมทั้งตลาดนัดสวนจัตุจักร
17)ภาษีธุรกิจเฉพาะโรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนภาษา โรงเรียนสอนอาชีพอิสระของเอกชน เช่น โรงเรียนสอนช่างซ่อมโทรศัพท์มือถือ ซ่อมไฟฟ้าในรถยนต์  ฯลฯ
18)ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ปัจจุบันมีเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน แต่ยังไม่เก็บภาษี และเลิกอุดหนุนเพื่อลดราคาพลังงานคนจนได้ประโยชน์ไม่คุ้ม งปม.ที่รัฐจ่ายออกไป
19)ภาษีธุรกิจเฉพาะโรงกลั่นน้ำมัน ปตท.  กำไรมาก ปีละแสนล้าน ต้องเก็บภาษีแบ่งเข้ารัฐนอกจากเงินปันผลปรกติ
20)ภาษีสรรพสามิตโรงแรมรีสอร์ท มีเยอะทั่วไทย
21)ภาษีธุรกิจเฉพาะการค้าทองคำ มีการซื้อขายหมุนเวียนจำนวนมาก และภาษีศุลกากรหรือภาษีนำเข้าทองคำประเทศอินเดียใช้ 10%
22)ภาษีธุรกิจเฉพาะกองทุน ภาษีตราสารหนี้ต่าง ๆ ในตลาดหลักทรัพย์
23)ภาษีเฉพาะโรงเรียนกวดวิชา ภาษีรายได้นิติบุคคลจากวัดเกินปีละ30 ล้านบาท
24)ภาษีธุรกิจเฉพาะห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า
25)ภาษีรายได้นิติบุคคล เดิม 30% ของรายได้หรือของกำไร  รัฐบาลลดให้เหลือ 20% เพื่อจูงใจการลงทุน สูญเสียเงินรายได้เข้ารัฐไปปีละ 2 แสนล้านบาท
26)ภาษีที่ให้ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น(อปท.)ได้แก่ เทศบาล อบต. เขาจัดเก็บไม่ได้ผล เพราะผู้บริหาร อปท. ไม่กวดขันเอาจริง กลัวเสียคะแนน ทำให้สูญเสียรายได้มหาศาล ขอย้ำว่ามหาศาล เช่นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ อากรฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียมรวมถึงประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล เงินอากรประทานบัตร ใบอนุญาตและอาชญาบัตรตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ค่าภาคหลวงและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้  ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่เก็บในอบต. ค่าภาคหลวงปิโตเลียม เหมืองแร่  ภาษีหาบเร่แผงลอย ฯลฯ
2X)เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 7% เป็น 15% ใครใช้จ่ายมากเสียภาษีมาก  ยกเว้นสินค้าในครัวเรือนใช้ 10%  ในยุโรปหลายประเทศ     เช่น  อิตาลี  ฝรั่งเศส  เยอรมัน  สวิส  15-25% แต่ละประเทศไม่เท่ากัน.....  หน่วยงานในกระทรวงการคลังวิเคราะห์แล้วว่า หากเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม 1% จะได้รายได้เข้ารัฐ   5-6 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 8% จะได้เงินได้เข้ารัฐเพิ่มปีละ      4 แสนล้านบาท.....ขึ้นภาษีของย่อมแพง  ของแพงคนต้องทำงานทุกคนต้องเสียภาษี..... แรงงานขาดแคลนในเมืองอุตสาหกรรมแต่คนไม่ทำงาน


โครงสร้างงบประมาณรายจ่าย
รายจ่าย
รายได้

1 ความคิดเห็น: