วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

การโจมตีเงินบาททำอย่างไร ทำไมค่าเงินขึ้นลง

     รศ. ดร. ถวิล นิลใบ คณะเศรษฐศาสตร์ รามคำแหง เขียนเมื่อปลายปี 2546 ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา(กันยายน 2546)

     ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จน เป็นที่วิตก ว่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออกและต่อภาวการณ์ เติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลให้คำ อธิบายว่า เป็นภาวะปกติที่เป็นผลเนื่องมาจากดุลการค้าเกินดุล และภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับ สูง จึงเป็นสิ่งจูงใจให้มีเงินทุนไหลเข้ามา ค่าเงินบาทจึงแข็ง แต่ ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้ซึ่งดูแล เงินทุนไหลเข้าออกอย่างใกล้ชิดเห็นว่ามีเงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามาสู่ประเทศสูงผิดปกติ และได้ เปิดเผยว่า มีการเก็งกำไรค่าเงินบาทเกิดขึ้น จึงได้ มี มาตรการตอบโต้บรรดานักเก็ง กำไร ดัง กล่าว

     ทำ ให้นึกถึงเรื่องการโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2539 และต้นปี 2540 ซึ่งนำ ไปสู่ วิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติไทย การโจมตีค่าเงินบาทในครั้งนั้นทำ ให้ ประเทศไทยต้องเสียทุนสำ รองระหว่างประเทศเกือบหมด ประเทศต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF พร้อมทั้งต้องเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากคงที่เป็นลอยตัว สถาบันการเงินและภาคธุรกิจต้อง ประสบกับปัญหาหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ต้องล้มละลายและฉุดให้เศรษฐกิจตกตํ่าอย่างรุนแรง การโจมตีค่าเงินถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยและสังคมไทย ใน อดีตประเทศไทยเป็นประเทศเล็กและอยู่นอกสายตาของนักเก็งกำไรค่าเงิน เราจึงไม่คิดว่าคนกลุ่มนี้ จะมาสนใจโจมตีค่าเงินเรา แต่ในช่วง 2530 –2539 ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันดีในสายตาของชาว โลก ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีการเติบโตสูงในลำ ดับต้น ๆ ของโลก รวมทั้งได้รับคำ ชมเชยจากองค์ กรระหว่างประเทศ เช่น IMF และ World Bank ในการบริหารจัดการประเทศจนเติบโตในระดับที่ สูงและต่อเนื่อง ความโดดเด่นของประเทศไทยจึงเป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างประเทศและนัก เก็งกำ ไร เมื่อโอกาสและเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย กลุ่มนักเก็งกำ ไรจึงทำ การโจมตีค่าเงินบาท โดย ที่เราไม่คาดคิดมาก่อน

     บทความนี้จะย้อนกลับไปในอดีต นำ เสนอวิธีการที่นักเก็งกำ ไรใช้โจมตีค่า เงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539 และในช่วงต้นปี 2540 ทั้งนี้เพื่อเป็นบทเรียนและข้อคิดให้กับเรา ก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการโจมตีค่าเงินบาท เรามาทำ ความเข้าใจเบื้องต้นถึงความหมายของ “การโจมตีค่าเงิน” (currency attack) ซึ่งหมายถึงการที่นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาแสวงหากำ ไร จากการซื้อขายเงินตราของสกุลหนึ่งเพื่อทำ กำ ไรจากผลต่างระหว่างอัตราที่ซื้อและอัตราที่ขาย เป็น วิธีการหารายได้รูปแบบหนึ่งของนักลงทุนระหว่างประเทศ ถ้าจะเปรียบเทียบกับ “การเก็งกำ ไรค่า เงิน” (currency speculation) จะมีนิยามเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ การโจมตีนั้นมุ่งหวังให้เกิด ผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้น ขนาดของการเก็งกำ ไรจึงมีจำ นวนมากและกระทำ อย่างต่อเนื่องและ 2 พร้อมที่จะต่อสู้กับมาตรการที่ธนาคารชาติออกมาตอบโต้ โดยปกติการโจมตีค่าเงินมักจะกระทำ กับประเทศที่ใชระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate system) ที่ทางการกำ หนดค่าเงิน ไว้สูงเกินไป (over value) และมีสภาพแวดล้อมอื่นเอื้ออำ นวย เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเรื้อรัง หนี้ระยะสั้นสูงเมื่อเทียบกับทุนสำ รอง เป็นต้น ส่วนการเก็งกำ ไรค่าเงินมักจะกระทำ สำ หรับ ประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว นักลงทุนที่โจมตีค่าเงินมักเป็นนักลงทุนขนาด ใหญ่และเป็นนักลงทุนประเภทสถาบันที่ระดมทุนมาเก็งกำ ไรค่าเงินหรือโจมตีค่าเงินโดยตั้งเป็น กองทุน มีชื่อเรียกว่า Hedge Funds ตัวอย่างของกองทุนประเภทนี้คือ Quantum Fund ซึ่งดูแลโดย นาย George Soros ที่พวกเราคุ้นเคยชื่อนี้ดี และเข้ามาร่วมโจมตีค่าเงินบาทด้วย นอกจากนี้ธนาคาร พาณิชย์ทั้งไทยและเทศก็เป็นอีกกลุ่มที่แสวงหากำ ไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนมากมักจะเป็นรูป แบบของการเก็งกำ ไร เช่น ล่าสุดที่ทำ กับประเทศไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

     ช่องทางการโจมตี ค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในปลายปี 2539 และต้นปี 2540 มี เป็นดังนี้

    ช่องทางแรก เป็นการโจมตีผ่านช่องทางตลาดเงิน คือผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศ เริ่มจากนักเก็งกำ ไรกู้เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์แล้วนำ ไปซื้อดอลลาร์ทันที ธนาคารพาณิชย์จะ นำ เงินบาทที่นักเก็งกำ ไรขอกู้ไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้กับนักเก็ง กำ ไร การโจมตีค่าเงินด้วยวิธีนี้ นักลงเก็งกำ ไรต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้เงินบาทให้กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเมื่อได้ดอลลาร์สหรัฐแล้วไปพักไว้ในบัญชีได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดอลลาร์ซึ่งจะตํ่ากว่าดอกเบี้ย เงินกู้ (เงินบาท) นั่นคือนักเก็งกำ ไรยอมรับภาระผลต่างของดอกเบี้ยทั้งสอง ซึ่งเป็นต้นทุนในการ โจมตีค่าเงินด้วยช่องทางนี้ แต่หวังว่า เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยลดค่าเงินหรือลอยตัวค่าเงินก็จะ นำ ดอลลาร์ที่ถือไว้มาขายคืน เช่น ตอนเอาเงินบาทซื้อดอลลาร์สหรัฐที่ 25 บาท แต่ตอนขายคืน ถ้า อัตราแลกเปลี่ยนลดค่าไปอยู่ที่ 30 บาท นักลงทุนต่างชาติก็จะได้กำ ไร 5 บาทต่อดอลลาร์เมื่อหัก ดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับธนาคารแล้วยังมีกำ ไรเหลือ (หลังลอยตัวค่าเงินบาท ในปี 2540 อัตราแลก เปลี่ยนเฉลี่ย 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ) การโจมตีด้วยวิธีนี้ค่อนข้างง่าย นักเก็งกำ ไรหลายกลุ่มทำ พร้อม ๆ กันและต่อเนื่อง เงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งเป็นทุนสำ รองทางการก็จะเหลือน้อยลง คำ ถามคือ ธนาคารชาติทราบหรือไม่ว่า ถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ คำ ตอบคือ ทราบดี คำ ถามต่อไปคือ แล้วทำ ไมจึง ปล่อยให้ทำ คำ ตอบคือ มั่นใจว่าจะชนะ กล่าวคือ ถ้าธนาคารชาติไม่ลดค่าเงิน นักเก็งกำ ไร ซึ่งมักจะ กู้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 1 เดือน หรือ 3 เดือน เมื่อครบกำ หนดสัญญาต้องใช้คืนธนาคาร ถ้าอัตรา แลกเปลี่ยนคงเดิม ก็จะขาดทุนเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ การต่อสู้กันระหว่างธนาคารชาติกับนัก เก็งกำ ไรมี 2 ยก ยกแรก เกิดขึ้นประมาณปลายปี 2539 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2540 ธนาคารชาติ เป็นฝ่ายชนะ ยกที่สอง เกิดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคม 2540 ธนาคารชาติเป็นฝ่ายแพ้ ทำ ให้ ธนาคารชาติห้ามธนาคารพาณิชย์ให้กู้เงินบาทกับต่างชาติเพื่อมาซื้อดอลลาร์สหรัฐ ปิดช่องทางการ โจมตีค่าเงินโดยผ่านตลาดเงินหรือผ่านธนาคารพาณิชย์ 3 เมื่อธนาคารชาติปิดช่องทางดังกล่าว นักเก็งกำ ไรต่างชาติเริ่มโจมตีผ่าน

     ช่องทางที่สองคือ ผ่านตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหุ้น วิธีนี้ค่อนข้างซับซ้อนกว่าวิธีแรก กล่าวคือ นักเก็งกำ ไรจะขอกู้ เงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่สามารถนำ ไปซื้อดอลลาร์ได้ เพราะธนาคารชาติห้าม นักเก็ง กำ ไรจะนำ เงินบาทที่กู้ไปซื้อหุ้นในคราบของนักลงทุน ซึ่งทางการไม่ห้าม เมื่อเข้าไปซื้อหุ้นวันนี้ พรุ่งนี้ก็จะขายหุ้นทิ้งจากนั้น นำ เงินบาทที่ได้จาการขายหุ้นไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ก็นำ ไปซื้อดอลลาร์จากธนาคารชาติส่งมอบให้กับนักลงทุน เป็นผลทำ ให้ทุนสำ รอง ของทางการลดลงเหมือนกับช่องทางแรก แต่ช่องทางนี้ซับซ้อนและมีต้นทุนในการโจมตีเพิ่มขึ้น จากการซื้อขายหุ้น แต่เป็นวิธีที่มีแนวร่วม กล่าวคือ เมื่อขายหุ้นทิ้งราคาดิ่งลง ทำ ให้นักลงทุนที่เข้ามา เล่นหุ้นตามปกติ ขายหุ้นตามแล้วนำ เงินที่ได้แลกดอลลาร์กลับยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้ทุนสำ รองลดลง เมื่อธนาคารชาติทราบการโจมตีด้วยวิธีนี้ จึงห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ให้กู้กับต่างชาติไม่ว่ากรณีใด เท่ากับเป็นการแบ่งตลาดเงินบาทในประเทศ (ON SHORE MARKET) ออกจากตลาดต่างประเทศ (OFF SHORE MARKET)

     ช่องทางที่สาม เมื่อธนาคารชาติปิดทั้งสองช่องทาง นักเก็งกำ ไรค่าเงินก็ไม่สามารถหา เงินบาทในประเทศได้ ก็หากู้เงินบาทจากตลาดนอกประเทศ เช่น ในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง ลอน ดอนและนิวยอร์ค แล้วโอนเข้ามาขอแลกซื้อดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์นำ เงินบาทที่ได้ซื้อดอลลาร์จากธนาคารชาติส่งมอบให้กับนักเก็งกำ ไร ปริมาณเงินบาทในตลาดนอก ประเทศมีเท่าใด ไม่มีตัวเลขยืนยัน แต่เป็นที่ทราบว่ามีขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาท ปริมาณเงิน บาทในตลาดนอกประเทศส่วนหนึ่งเกิดจากธนาคารชาติเป็นผู้ปล่อยเงินบาทเข้าไปจากการทำ ธุร กรรม swap ของธนาคารชาติในการต่อสู้กับนักเก็งกำ ไร ( การทำ swap ของธนาคารชาติคือ การขอ กู้ดอลลาร์สหรัฐจากตลาดนอกประเทศโดยนำ เงินบาทไปแลก จากนั้นมีสัญญาขอซื้อเงินบาทกลับ พร้อมส่งมอบดอลลาร์สหรัฐคืน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน รายงานผลการวิเคราะห์และวินิจฉัยข้อ เท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ โดย คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ ( ศปร) )

     ช่องทางที่สี่ เป็นการโจมตีที่นักเก็งกำ ไรทำ ขึ้นในตลาดนอกประเทศโดยการหาเงินบาทใน ตลาดนอกประเทศแล้วนำ มาทุ่มซื้อดอลลาร์ ตลาดเงินนอกประเทศที่ทำ กันมากคือตลาดลอนดอน และตลาดนิวยอร์ค ผลก็คือจะทำ ให้เงินบาทเสื่อมค่าลงสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารชาติ กำ หนดในประเทศ ซึ่งมีผลทางจิตวิทยาทำ ให้นักลงทุนต่างประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทยวิตก ว่าค่าเงินบาทจะเสื่อมค่า (นักเก็งกำ ไรทำ พร้อมกับมีการปล่อยข่าว) จึงต้องรีบถอนเงินออก เป็นผล ทำ ให้เงินดอลลาร์สหรัฐไหลออก ว่าที่จริงแล้ว

     การโจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นยังมีช่องทางที่ห้า คือ การโจมตีค่าเงิน บาทด้วยคนไทยกันเอง กล่าวคือ จะมีคนไทย 2 กลุ่มที่รู้ล่วงหน้าว่า (คนทั้งสองกลุ่มนี้ท่านผู้อ่านคง พอเดาได้ว่ากลุ่มไหน) ธนาคารชาติจะต้องปล่อยให้เงินบาทลอยตัว เนื่องจากทุนสำ รองทางการ 4 สุทธิที่มีอยู่เหลือน้อยมาก ต้องลอยตัวค่าเงินบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงได้นำ เงินบาทไปซื้อ ดอลลาร์ตุนไว้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน 2540 มีตัวเลขยืนยันว่ามีการโจมตีผ่าน ช่องทางนี้พอสมควร (อ่านเพิ่มเติมในรายงานของ ศปร. )

     ผลจากการโจมตีเงินบาทในช่วงตั่งแต่ปลายปี 2539 ถึงต้นปี 2540 ทำ ให้ทุนสำ รองระหว่าง ประเทศที่มีอยู่จำ นวน 38,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปลายปี 2539 เหลือสุทธิเพียง 2,800 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ

     ณ วันที่ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทั้งหมดที่เล่ามา เป็นเหตุการณ์โจมตีค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา

     สำ หรับ วิธีการ เก็งกำ ไรค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดขึ้นจากนักเก็งกำ ไรค่าเงิน (ส่วนใหญ่เป็นธนาคาร พาณิชย์ต่างชาติ) นำ เงินดอลลาร์สหรัฐไปซื้อเงินบาทในตลาดนอกประเทศ แล้วนำ มาให้ธนาคาร พาณิชย์ทั้งไทยและเทศที่อยู่ในประเทศกู้ยืม การทำ เช่นนี้จะได้ผลประโยชน์สองทาง ทางแรกจะได้ ผลต่างของดอกเบี้ย (ดอกเบี้ยเงินบาทสูงกว่าดอกเบี้ยดอลลาร์สหรัฐ) และทางที่สองมุ่งหวังว่าค่าเงิน บาทจะเพิ่มค่ามากกว่าปกติ (ตั่งแต่ต้นปีค่าเงินบาทมีแนวโน้มเพิ่มค่า) และการที่นักเก็งกำ ไรขาย บาทซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศจะมีแรงกดดันทำ ให้ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศแข็ง ค่า ซึ่งจะมีผลผลักดันและผลทางจิตวิทยาหวังทำ ให้ค่าเงินบาทในประเทศแข็งค่าตามไปด้วย เมื่อค่า เงินบาทแข็งค่า นักเก็งกำ ไรต่างประเทศก็จะได้กำ ไรอีกต่อคือเมื่อแปลงเงินบาทที่ซื้อมาช่วงแรก กลับไปเป็นดอลลาร์

     มีข้อสังเกตที่สำ คัญประการหนึ่งของการโจมตีค่าเงินบาท และการเก็งกำ ไรค่าเงินดังที่เล่ามา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากตลาดเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ถ้าตลาดนี้มีขนาดใหญ่มากเท่าใด จะ ทำ ให้ธนาคารชาติบริหารนโยบายการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างลำ บาก และเป็นช่องทาง ที่ทำ ให้นักเก็งกาํ ไรโจมตหี รอื เก็งกาํ ไรค่าเงินบาทได้ โดยปกตแิ ล้วประเทศตา่ งๆ มักจะควบคุมไม่ ให้เงินของตัวเองออกไปเผ่นพล่านนอกประเทศมากเกินไป โดยเฉพาะประเทศที่มีขนาดเล็ก ครั้ง หนึ่งจำ ได้ว่า ประเทศไทยมีนโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า พร้อมกับประกาศว่าจะให้ เงินบาทเป็นเงินสกุลในภูมิภาคอินโดจีนเพื่อรองรับและกระตุ้นการค้าในภูมิภาค รวมทั้งมีนโยบาย ผ่อนปรนการปริวรรตเงินตรา อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน นับเป็นจุดเริ่ม ต้นของการขยายตัวตลาดเงินบาทนอกประเทศ และเมื่อเร็ว ๆ นี้เช่นกันนายกทักษิณ ประกาศว่า ต้องการให้เงินบาทเป็นเงินสกุลที่อ้างอิงในการค้าแถบภูมิภาค ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่จะปล่อย ให้เงินบาทออกนอกประเทศจะมีมาก (ท่านนายกได้กล่าวชวนให้สิงคโปร์ใช้เงินดอลลาร์สิงคโปร์ เข้าร่วมด้วย / หมายเหตุ ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์ก็มีการควบคุมเงินตราของตัวเองไม่ให้ออกไป นอกประเทศมากเกินไป) ไม่ทราบว่านโยบายนี้ท่านนายกเอาจริงหรือว่าเป็นเพียงแสดงวิชั่น แต่ผม คาดว่าน่าจะเป็นเหตุผลประการหลังมากกว่า เพราะถ้าเอาจริง ธนาคารชาติคงต้องปวดหัว แน่ ๆ หมายเหตุ ท่านสามารถ down load บทความนี้ได้จาก web site วิชา EC 219: วิเคราะห์เศรษฐกิจ ไทย ผ่าน web site รายวิชาของมหาวิทยาลัย: www.ru.ac.th/subjects/homestud หรือ web site ของ ผู้เขียน: www.ru.ac.th/eco2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น