วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

ปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

เสนอปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลดังต่อไปนี้

...1)มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญใหม่เรียกว่า คณะกรรมการกระจายอำนาจแห่งชาติ(ม.201)(ม.285วงเล็บ2)มีหน้าที่กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานที่ทุก อปท.ต้องปฏิบัติ, กำหนดระเบียบมาตรฐานกลาง, ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแนวนโยบายพื้นฐานของ อปท.ทั่วประเทศ,  และขับเคลื่อนการกระจายอำนาจให้สำเร็จผล...กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นบางหน่วยงานโอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจแห่ชาติ...องค์กรตรวจสอบได้แก่ปปช.,สตง.,ผู้ตรวจการแผ่นดินฯ เร่งเพิ่มสรรพกำลังตรวจสอบอปท.เช่นการหารายได้ ไม่เกียร์ว่าง การใช้จ่ายเงินคุ้มค่ากับปริมาณและคุณภาพงาน มีสาขากระจายอยู่ครบทุกจังหวัด ดังนั้นปปช.,สตง.,ผู้ตรวจการแผ่นดินฯ,ต้องเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ เพิ่มเครื่องมือการทำงาน เพิ่มงบประมาณ...โดยรัฐต้องจัดงบประมาณให้องค์กรอิสระนี้อย่างเพียงพออย่างน้อยองค์กรละ 0.008%ของ GDP ...รัฐต้องเก็บภาษีและเก็บรายได้อื่นรวมกันให้ได้อย่างน้อยปีละ 36-40%ของGDP อย่างสากลประเทศตามแนวคณะกรรมการปฏิรูปการเงินการคลังและภาษีอากร(....) (มาตรา283วรรค 2) ...มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของ อปท.ระดับชาติและระดับจังหวัดและคณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการท้องถิ่นระบบคุณธรรมระดับจังหวัด(ม.204) (ม.216วงเล็บ2และวงเล็บ3) ระวังองค์เหล่านี้จะกลายเป็นองค์กรหาประโยชน์เสียเอง... เหตุผลป้องกันการเมืองตัดงบประมาณหน่วยตรวจสอบ,ตามหลักอาชญาวิทยา  การประชาสัมพันธ์ตรวจสอบติดตาม การลงโทษสถานหนักโดยรวดเร็ว สามารถสร้างสังคมปลอดทุจริตเป็นธรรมได้

...2) จังหวัดที่มีความพร้อมผู้ว่าราชการจังหวัดสมาชิกสภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง ยุบตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านเมื่อจังหวัดนั้นเป็น อปท.การปกครองท้องถิ่นมี 3 ประเภทได้แก่..จังหวัด..เทศบาล..และการปกครองรูปแบบพิเศษ..เป็นอปท. องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ยุบมาอยู่ในบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด เปลี่ยนองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)เป็นเทศบาล อบต.รอบเมืองยุบมารวมกับเทศบาลเมือง นายอำเภอเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นสังกัดจังหวัด... เหตุผลไม่ควรให้รัฐบาลคุมผู้ว่าราชการรวมศูนย์เบ็ตเสร็จทุกจังหวัดจะมีผลเสียมากกว่าผลดีเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งกินรวบให้เผด็จการรัฐสภา รัฐบาลกลางควรมีหน้าที่ หารายได้,ความมั่นคง,เศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมทรัพยากรพลังงานพาณิชย์อุตสาหกรรม,การต่างประเทศ,สร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่,และการส่งเสริมพัฒนาวิชาการ,กำกับ,ตรวจสอบ,ปรับปรุง,ถ่วงดุล,เป็นสำคัญ นอกนั้นเป็นหน้าที่อปท.

...3)ผู้บริหารอปท.ทั้ง 3 ประเภทสมัครรับเลือกตั้งและรับผิดชอบบริหารงานร่วมกันเป็นรูปแบบคณะบุคคลอย่างน้อย 3หรือ 5 คนออกคำสั่งปฏิบัติราชการเป็นมติเอกฉันท์ของคณะผู้บริหารทั้ง3หรือ5คนเท่านั้น  รับผิดชอบร่วมกันอยู่ในวาระ 4 ปี หากมีใครลาออกให้สมาชิกอปท.ประชุมสรรหาบุคคลในท้องถิ่นขึ้นมาทำหน้าที่แทน... เหตุผลเพื่อถ่วงดุลอำนาจกัน และหลายหัวดีกว่าหัวเดียว

...4)สมาชิกสภาอปท.แต่ละแห่งมีจำนวนจำกัดตามขนาดเช่น 12,18,24,36,คน ให้มีประธานชุมชนหรือกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่มีหน้าที่เข้าประชุมร่วมแสดงความเห็นได้แต่ไม่มีสิทธิหรือมีสิทธออกเสียงในบางเรืองตามแต่กฎหมายกำหนด... เหตุผลตัวแทนประชาชนยิ่งมากยิ่งมีการตรวจสอบสูงและประหยัดงบประมาณเงินเดือน

...5)มีกฎหมายกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานที่อปท.ต้องทำในแต่ละปีไว้ หากผู้บริหารไม่ปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐานดังกล่าว ประชาชน,สมาชิกสภาอปท.,นายอำเภอ,กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน,ประธานชุมชน,และองค์กรข้อ1, สามารถฟ้องต่อศาลให้ถอดถอนหากทำให้ประชาชนชุมชนเสียประโยชน์อาจมีโทษปรับจำคุกได้แล้วให้คณะที่ได้คะแนนอันดับรองขึ้นมาทำหน้าที่แทน ...เหตุผลบังคับทำงานที่เป็นประโยชน์ไม่เกียร์ว่างหรือเลือกปฏิบัติเฉพาะงานได้คะแนนเสียงได้ค่าหัวคิว

...6)ตัวอย่างแนวนโยบายพื้นฐานที อปท.ต้องดำเนินการต้องสร้างได้แก่

...ห้ามสร้างหนี้ผูกพันไว้ให้คณะผู้บริหารชุดต่อไป 

...จัดทำ Master Plan Zoning วางผังเมืองในพื้นที่ของตนกระจายเป็น เขตที่พักอาศัย,เขตหน่วยงานราชการโรงเรียนโรงพยาบาล,เขตทำการเกษตร,เขตทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์,เขตอุตสาหกรรมหัตกรรม,เขตป่าชุมชน,เขตการค้าพานิชย,เขตสถานบันเทิง,ที่กำจัดขยะ

..จัดทำแผนหลักวางแนวถนนอนาคตประสานขอที่ดินประชาชนหรือจัดซื้อที่ดินเพื่อวางแนวทำถนนอนาคตเป็นเส้นตรงเป็นตาข่ายใยแมงมุมความกว้างมาตรฐาน และสร้างถนนความยาวอย่างน้อย0.5-10กม./ปีแล้วแต่ขนาดอปท

..เทศบาลในชนบทต้องลงทุนสร้างนิคมการเกษตรพร้อมแหล่งน้ำ ตามหลักทฤษฎีใหม่ หรือนิคมอาชีพแนวอื่นพร้อมที่พักและสาธารณูปโภคจัดสรรแบ่งให้ครอบครัวเกษตรกรเช่า(แต่ละนิคมมีอย่างน้อย 50 หน่วย)อย่างน้อยปีละ 1-5นิคมจนกว่าจะพอกับความต้องการของครอบครัวในท้องถิ่น

..เทศบาลในชนบทต้องสร้างหรือปรับปรุงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดมาตรฐานอย่างน้อยปีละ 10-20แห่งจนกว่าจะครอบคลุมทั่วถึงพื้นที่การเกษตรทั้งหมด

..สวนสาธารณะ,สนามกีฬา,ตลาดจำหน่ายสินค้าชุมชนมาตรฐานถูกสุขอนามัย,อย่างน้อย 1 แห่ง/2ปีจนกว่าจะครอบคลุมทุกชุมชน

..ส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายสินค้าชุมชน OTOPให้ได้มาตรฐานติดตลาดยั่งยืนอย่างน้อย 1ผลิตภัณฑ์/4ปี

..แต่ละเทศบาลในชนบทต้องจัดซื้อจัดหาที่ดินเพื่อปลูกสร้างป่าชุมชนขนาดมาตรฐานประจำหมู่บ้าน ขั้นต่ำแห่งละ1,000ไร่/ต่อประชากรมีชื่อในทะเบียนบ้าน1,000คน  เพื่อให้ประชาชนใช้เก็บกินของป่าอย่างน้อย1แห่ง/4ปีจนกว่าจะครบตามเกณฑ์

..ประสานขอโอนโรงเรียนระดับประถมหรือสร้างโรงเรียนระดับ/ประถม/มัธยม/อาชีวศึกษา/เข้ามาอยู่ในสังกัดอย่างน้อย 1 โรงเรียน/ปี

..ส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมผู้สูงอายุ กิจกรรมดูแลสุขภาพอนามัย การรักษาพยาบาล

...ภาระกิจที่อปท.ควรให้ความสำคัญยิ่งได้แก่,การป้องกันไฟป่า,การบำบัดน้ำเสีย,การส่งเสริมทำปุ๋ยอินทรีย์บำรุงรักษาสภาพดิน,การป้องกันยาเสพติดป้องกันอาชญากรรม,การให้ความรู้เรื่องอาหารสุขอนามัย ทำอย่างไรให้เด็กร่างกายตัวสูงใหญ่กว่าฝรั่ง คนปลอดโรค ปลอดอุบัติเหตุ ...

...รายได้ส่วนใหญ่ต้องหาเอง เงินอุดหนุนจากรัฐบาลลดลง ท้องถิ่นอยากได้โครงการใด หาเงินเอง ใช้เอง ควบคุมกันเอง จึงจะเรียกว่าผู้บริหารมืออาชีพ จึงจะเรียกว่าองค์กรมีประสิทธิภาพ ... พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ตัดโครงการที่ไม่จำเป็น ตัดการจ้างลูกจ้างมากแต่ทำงานไม่คุ้มค่าจ้าง

เหตุผลสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายดูแลสวัสดิการความปลอดภัยให้ชุมชน องค์กรควบคุมกันเอง ลดรายจ่าย หาทางเพิ่มรายได้

...7)หน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรม/กระทรวงต่อไปนี้ต้องทยอยโอนเข้ามาอยู่ในสังกัดอปท.ได้แก่ การศึกษานอกโรงเรียน..สาธารณะสุข/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล...การประปา..กรมทางหลวงชนบท..โรงเรียนประถมศึกษา..การเคหะแห่งชาติ..หน่วยงานกระทรวงเกษตร..หน่วยงานกรมการพัฒนาชุมชน..หน่วยตำรวจท้องถิ่น..หน่วยงานประชาสงเคราะห์,หน่วยงานฝึกฝนอาชีพ, ฯลฯ พร้อมกับโอนเงินงบประมาณของส่วนราชการตามมาให้ท้องถิ่นด้วย ...เหตุผลเพื่อกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและคนท้องถิ่นรู้ปัญหาความต้องการของท้องถิ่นดีกว่าส่วนด้านวิธีการวิชาการให้ราชการส่วนกลางส่งเสริมสนับสนุน

...8)กำหนดให้อปท.หารายได้เพื่อใช้จ่ายได้เอง ปีใดหารายได้ได้น้อยปีนั้นต้องใช้จ่ายประหยัด ลดเงินสนับสนุนจากงบประมาณกลาง การหารายได้เช่นซื้อจัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายให้คนในท้องถิ่นตน, เพื่อจัดทำนิคมการเกษตรพร้อมที่พักอาศัยให้เช่า สร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า สร้างอาคารที่พักอาศัยจำหน่ายหรือให้เช่า  ค่าเช่าวางสินค้าจำหน่ายในตลาดชุมชน รายได้จากภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ภาษีโรงเรือน ภาษียานพาหนะ ภาษีการใช้ป่าชุมชน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีสถานประกอบการ ค่าเช่าที่จอดรถ ค่าเก็บขยะ ภาษีการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร เพื่อการบริโภค... เหตุผลให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมค่าใช้จ่าย เลี้ยงดูตนเองได้ และควบคุมติดตามตรวจสอบรายรับรายจ่ายกันเอง

...9)จำนวนบุคลากรข้าราชการลูกจ้าง ปัจจุบันบางอปท.จ้างลูกจ้างภาระกิจจำนวนมาก เพียงเพราะผู้บริหารหาค่าแป๊ะเจี๊ยะค่าหัวคิวเป็นรายบุคคล 1-3 แสนบาท/ราย ทำให้มีคนมากกว่างาน มาลงชื่อทำงานแล้วก็กลับบ้าน ผู้บริหารได้ทั้งเงินหัวคิวได้ทั้งคะแนนเสียง รัฐเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ปีละจำนวนมากเพราะต้องจ่ายเงินเดือนที่ขั้นเงินเดือนวิ่งขึ้นทุกปี ควรกำหนดมาตรฐานจำนวนข้าราชการลูกจ้างตามขนาดประชากรและขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบโดยองค์กรตามข้อ 1 และมีการประเมินผลงานคัดออกหรือให้อยู่ต่อทุก 2 ปีโดยคณะกรรมการที่เป็นอิสระจากการเมือง...ปลัดหัวหน้าพนักงานเป็นตัวอย่างไม่ดีไม่เคร่งครัดเวลามาปฏิบัติงานพากัน/มาสาย/พักกลางวันยาว/เลิกกลับบ้านก่อนเวลา/...การประชุมสัมนาพนักงานมักขาดประชุมหนีประชุมแต่เบิกค่าใช้จ่ายมาร่วมประชุม Organizer ผู้จัดการประชุมต้องรายงานผู้เข้าร่วมประชุมที่กระทำผิดวินัยต่อผู้บังคับบัญชาและองค์กรข้อ 1 ทุกครั้งเมื่อผู้บังคับบัญชารับทราบต้องลงโทษทางวินัย...การสอบขึ้นบัญชีเตรียมเลื่อนขึ้นสู่ตำแหน่งสูงขึ้นมีการทุจริตใช้เงินซื้อจึงจะสอบได้มีให้ประจักษ์โจ่งแจ้งควรยกเลิกการสอบ เปลี่ยนมาพิจารณาจากอายุราชการคุณสมบัติวุฒิการศึกษาและการผ่านการฝึกอบรมหัวข้อเรื่องที่จำเป็นตามเกณฑ์ ขอขึ้นทะเบียนเรียงลำดับ และเมื่อตำแหน่งว่างเรียกบรรจุแต่งตั้งหรือย้ายตามลำดับโดยอัตโนมัติ (การศึกษาต่อการผ่านการฝึกอบรมจะมีความสำคัญ)...การโยกย้ายการขึ้นสู่ตำแหน่งบางอปท.มีการเรียกเงิน ควรมีช่องสะดวกปลอดภัยให้พนักงานสามารถร้องเรียนให้ความเป็นธรรม... เหตุผลเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่น,ประหยัดงบประมาณและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

...10)ระบบการขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น การโยกย้าย การสอบขึ้นบัญชี การสอบบรรจุคัดเลือกลูกจ้างภาระกิจของ อปท.ภาคอิสาน(ผู้เขียนสัมผัสกับภาคอิสานโดยตรง แต่คิดว่าเหมือนกันทุกภาค)มีการเรียนเงิน Case ละ ไม่ต่ำกว่าแสนบาท การจัดซื้อจัดจ้าง การเลือกตั้งเข้ามา ล้วนทุจริต การตรวจประเมินผลการรายงานส่วนใหญ่สร้างหลักฐานให้ดูดีแต่เป็นจริงไม่ถึง 50%  เชคดูได้ครับ หากปล่อยไว้เอย่างนี้ นอกจากจะนำความเดือดร้อนสู่ข้าราชการลูกจ้าง ไม่เป็นธรรมเสมอภาค สองมาตรฐาน  สังคมเหลื่อมล้ำ เกิดความแตกแยกเป็นสีเสื้อในประเทศ  สร้างค่านิยมทุจริต นายกและปลัดร่วมมือกันหาประโยชน์ทำลายชาติ ทำลายสังคม ทำลายเศรษฐกิจ  เปลี่ยนมาพิจารณาจากอายุราชการคุณสมบัติวุฒิการศึกษาและการผ่านการฝึกอบรมหัวข้อเรื่องที่จำเป็นตามเกณฑ์ ขอขึ้นทะเบียนเรียงลำดับ และเมื่อตำแหน่งว่างเรียกบรรจุแต่งตั้งหรือย้ายตามลำดับโดยอัตโนมัติ

...11)ก่อนเข้าทำงานคณะผู้บริหารและสมาชิกอปท.ต้องผ่านการอบรมเข้มข้นเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและผลกระทบจากการบริหารงานที่ขาดธรรมมาภิบาล เป็นเวลาอย่างน้อย 45วันทำการโดยใช้งบประมาณจากผู้เข้ารับการอบรม หากไม่ผ่านเกณฑ์การอบรมถือว่าผลการเลือกตั้งได้ใบแดงให้ผู้สมัครคะแนนลำดับรองถัดไปขึ้นมาทำหน้าที่แทน..นักการเมืองมีหน้าที่กำหนดนโยบายติดตามงานตามนโยบายและป้องกันการทุจริต ห้ามนักการเมืองท้องถิ่นมาดำเนินการเอง  ซื้อของเองตกลงว่าจ้างเอง เป็นคู่ค้าเอง องค์กรจะไม่มีฝ่ายตรวจสอบ การดำเนินการเป็นหน้าที่ของปลัดและพนักงาน ...เหตุผล ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี  มีความรู้  มีสมรรถนะ  รู้วิธีติดตามตรวจสอบ  มีภาวะผู้นำ...ผู้บริหารอปท.บางคนไม่รู้ระเบียบระบบราชการ,อ่านหนังสือไม่ออก,สั่งงานมั่วขัดระเบียบ,เซ็นเช็คไม่เป็น,ประชุมเจ้าหน้าที่ไม่เป็น

...12)ตัวอย่างการถ่ายโอนหน่วยงาน เช่น สถานศึกษาระดับ ประถม มัธยม...ทฤษฎีการกระจายอำนาจ งานบริการประชาชนทุกด้าน รวมทั้งการศึกษา ควรกระจายให้ท้องถิ่นกำกับดูแล การปรับปรุงคุณภาพจึงจะสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้รับบริการ  ...แต่ท้องถิ่นของไทยเราขาดความเชื่อถือ อุดมด้วยวิกฤตศรัทธาอย่างยิ่ง ...ก่อนถ่ายโอนควรปฏิรูป อปท. ก่อน (เบื่อจังกับคำว่า"ปฏิรูป") ...คือออก "กฎหมายว่าด้วยการบริหารงานภายใน อปท." ให้อิสระแก่หน่วยงานสถานศึกษาในเรื่องใดบ้าง ผู้บังคับบัญชาในอปท. กำกับดูแลสถานศึกษาเพื่อ คุณภาพประสิทธิภาพ อย่างไรบ้าง....ประเด็น เนื้อหา ของกฎหมายนี้ ผ่านการพิจารณา ของตัวแทนครู ตัวแทนพนักงานอปท. ตัวแทนผู้บริหารท้องถิ่น และคนกลาง พิจารณากลั่นจนตกผลึกร่วมกัน ภายใต้คุณภาพผลประโยชน์ ของผู้เรียนของชาติเป็นสำคัญ

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอ สปช.ลงมติ และเสนอประชาชนลงประชามติ 13 สค. 2558 (อันใหม่)
http://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution/more_news.php?cid=67

ที่เกี่ยวข้องกับ อปท.มาตรา 199-204
ม.199 กระจายอำนาจให้ความเป็นอิสระแก่ อปท.
ม.200 ผู้บริหารมาจาการเลือกตั้ง หรือมาจากอำนาจประชาชน
ม.201 ให้มี การกำกับดูแลการใช้จ่ายงปม. การรายงานการเงินการคลัง
     1)ประมวลกฏหมายจัดตั้ง อปท.
     2)กฎหมายส่งเสริมการกระจายอำนาจและการบริหารท้องถิ่น
     3)คณะกรรมการส่งเสริมการบริหารท้องถิ่น
     4)หน่วยงานรับผิดชอบการกระจายอำนาจที่เป็นเอกภาพ
ม.202 กำกับดูแลเท่าที่จำเป็นให้มี
     1)กำหนดมาตรฐานกลางให้ อปท.ปฏิบัติ และติดตามตรวจสอบ (แนวนโยบายพื้นฐาน)
     2)ทำสัญญาแผนปฏิบัติงานระหว่าง  รัฐ/ภูมิภาค/ท้องถิ่น
ม.203
     1)ประชาชนมีสิทธิออกเสียงประชามติระดับท้องถิ่นปลดผู้บริหารหรืออื่น ๆ
     2)อปท.ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร รายงานผล ส่งเสริมสมัชชาพลเมือง
ม.204 การบริหารงานบุคคล
     1)ข้าราชการส่วน/ลูกจ้างส่วนท้องถิ่น สามารถย้าย/สักเปลี่ยนได้ 
     2)ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลร่วมกันระดับชาติ ระดับจังหวัด
     3)ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในการบริหารส่วนท้องถิ่น
     4)ให้มีคณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการส่วนท้องถิ่น


ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเสนอสปช.พิจารณาปรับปรุงครั้งแรกเดือนเมษายน 2558 (อันเก่า)
   http://bit.ly/1DtiwUO

บทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้  ที่เกี่ยวข้องอปท. มาตรา 211 - 216และมาตรา285
สตง.มาตรา 270
ปปช.มาตรา 271-274
ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน มาตรา 276




1 ความคิดเห็น: