วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ที่มาของรอยพระพุทบาทและทวารวดี

รอยพระพุทธบาท
...มีความเชื่อหลากหลาย บางตำนานยกเมฆพูดเกินจริงไม่เหลือให้เชื่อถือได้ แต่ที่เป็นเหตุเป็นผล เกิดจากการสร้างของมนุษย์ผู้ศัทธาแรงกล้าต่อศาสนาพุทธ..แสดงความหมายว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่มายังบริเวณพื้นที่นั้นอย่างครอบคลุมทั่วถึง  เพราะถือเป็นของสูงจึงนิยมสร้างบนที่สูงเช่นบนภูเขา
...ผู้สร้างน่าจะเป็นคณะสงฆ์และชาวพุทธในพื้นที่แห่งนั้นเอง รอยพระพุทธบาทที่มีชื่อเสียงได้แก่
...พระพุทธบาทแห่งเขาสุมณกูฏ(เขาสิริปาทะ)เทือกเขาอดัมส์พีก..เมืองฮัตตัน ประเทศศรีลังกา
....และพระพุทธบาทสระบุรีประเทศไทย
...น่าจะสร้างขึ้นช่วงเวลาใกล้เคียงกันตามกระแสนิยมสร้างรอยพระพุทธบาทของชาวพุทธฝ่ายเถรวาทนอกแผ่นดินใหญ่ชมพูทวีปขณะนั้น...ได้แก่ศรีลังกา...และที่สุวรรณภูมิ...(ในแผ่นดินใหญ่ชมพูทวีปไม่ปรากฏมีรอยพระพุทธบาท)...
...น่าจะสร้างช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 -16...ตรงกับยุคทวารวดีแห่งสุวรรณภูมิซึ่งมีความเชี่ยวชาญการแกะสลักหิน...
...เท่าที่ค้นพบมีในประเทศไทย.๔๙๑ แห่ง
...ต่างประเทศ ๖๔ แห่ง...(6..ประเทศได้แก่...ศรีลังกา1แห่ง...;สิบสองปันนา26แห่ง;...ลาว 22แห่ง;...พม่า10 แห่ง;...กัมพูชา 3แห่ง...เวียตนาม 2แห่ง;)
...รวมทั้งสิ้น ๕๕๕ แห่ง
...ชัยภูมิมีรอยพระพุทธบาททั้งหมด14 แห่ง ได้แก่...
๑.วัดเขาสระหงส์ บ.นกเขาน้อย ต.นาฝาย อ.เมือง
๒.พระพุทธบาท ๔ รอยภูแฝด บ.ไทรงาม ต.นาเสียว อ.เมือง
๓.ภูพระ (วัดศิลาอาสน์) บ.นาไก่เซา ต.นาเสียว อ.เมือง
๔.พระพุทธบาทเกือกแก้ว ๔ รอยเขายายหอม วัดพระพุทธบาท บ.พระพุทธบาท ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต
๕.อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิต
๖.พระพุทธบาทเขาแก้วพิศดาร (เขาน้อย) บ.ดงลาน ต.วะตะแบก อ.เทพสถิต
๗.วัดป่าภูเขาทอง ต.วังตะเฆ่ อ.หนองบัวระเหว
๘.วัดป่ากุดชุมแสง ต.กุดชุมแสง อ.หนองบัวแดง
๙.พระพุทธบาทเขาบ้านทิกแล้ง ต.หนองโพนงาม อ.เกษตรสมบูรณ์
๑๐.พระพุทธบาทวัดหลักศิลา ต.หนองบัวบาน อ.จัตุรัส
๑๑.สำนักสงฆ์เขาวง ต.โนนแดง อ.บ้านเขว้า
๑๒.เขาพระบาท ต.โนนแดง อ.บ้านเขว้า
๑๓.พระพุทธบาท, พระแท่นภูตะเภา บ.สามสวน ต.สามสวน อ.บ้านแท่น
๑๔.พระพุทธบาทสวนป่าโพธิธรรม ต.โคกมั่งงอย อ.คอนสวรรค์
...ความเป็นมา"ยุคทวารวดี"เป็นช่วงพุทธศตวรรษที่12-16
...คำว่า"ทวารวดี"ปรากฏในบันทึกการเดินทางของภิกษุจีน ที่เรียกอาณาจักรนี้ว่า..."โตโลโปตี้"... รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย...ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท,มีพุทธมหายานบ้างและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูบ้าง...ใช้อักษร"ปัลลวะ"ของอินเดียและอักษรมอญโบราณ
...ประชากรชาวทวารวดี...ชนชาติมอญเป็นส่วนใหญ่...อาจมีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน...แต่มีผู้ปกครองเป็นชาวมอญ...ดังได้พบจารึกภาษามอญที่เมืองนครปฐม...เมืองลพบุรี...พบการสร้างพระพุทธรูป...ใบเสมามีจารึกอักษรปัลลวะ..รอยพระพุทธบาท...กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของไทย(และมีในประเทศ-พม่า-ลาว-กัมพูชา-เวียตนาม)
..."ทวารวดี" ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยกษัตริย์มอญ...มีเมืองนครปฐมโบราณ..เมืองอู่ทอง เมืองละโว้..เป็นเมืองเอก..นอกนั้นอาจเป็นเมืองแว้นแค้น สัมพันธ์ติดต่อการค้า..แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน..หรือเมืองอาณัติบรรณาการ..พึ่งพาช่วยเหลือกันและกัน..ตามคติพุทธ..ชนชาติมอญไม่นิยมใช้กำลังทหารบังคับกดขี่ข่มเหง..หากนิยมใช้กำลังปัจจุบันควรเป็นชนชาติมอญที่ครอบครองพื้นที่แหลมทองไม่ใช่ไทยและพม่า
...การผลัดเปลี่ยนกลุ่มผู้ปกครองบนสุวรรณภูมิ...เปลี่ยนไปตามการแข่งขันแย่งชิงของกลุ่มชนชั้นปกครอง...แต่คนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มเดิมอาจมีอพยพจากที่อื่นเข้ามาหากินในพื้นที่ใกล้เคียงแล้วผสมปนเปเป็นชนชาติเดียวกัน...ดังนั้นคนท้องถิ่นครั้งหนึ่งอาจถูกเรียกว่าชนชาติ"มอญ"เปลี่ยนเป็น"ขอม"เป็น"สยาม"เป็น"ไทย"ชึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ปกครองและกำหนดให้เป็นอย่างไร
..............................................................................................................
คลิกหรือแตะชมภาพ
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=10q6U7XKJ8edugTK2IKACg&sqi=2&ved=0CBoQsAQ&biw=1024&bih=5400

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น