วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระธาตุพนม,พระธาตุศรีโคตรบอง

ที่มาน่าสนใจลอกมาจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=721889
วันที่ ศุกร์ มิถุนายน 2554
พิมพ์หน้านี้  |  ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation

นครพนม 1,300 ปี ....”ทวารวดี” ที่ศรีโคตรบูร


        ช่วงไม่นานนี้ ผมได้เดินทางไปยังจังหวัดนครพนมอยู่บ่อยครั้ง ทั้งมาร่วมงานด้านวัฒนธรรมที่ “เรณูนคร” งานรื่นรมย์บุญปีใหม่ไทย – ลาว ที่แขวงคำม่วน งานกิจกรรมด้านกีฬาในการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ระหว่างประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงครั้งที่ 7 ที่จังหวัดนครพนมเป็นเจ้าภาพ และในอาทิตย์หน้า ผมก็มีโอกาสได้ติดตามคณะกรรมการวิสามัญ ศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหาภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบบบูรณาการ วุฒิสภา ไปดูงานพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม รวมไปถึงงานด้านการพัฒนาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวที่จังหวัดนครพนมอีกครั้งหนึ่งครับ
.
        ทุกครั้งที่เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง ผมก็ยังคงสังเกตและมองหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและมานุษยวิทยา ประเภทนอกกรอบ – วิชากวน เพื่อมาเขียนเป็นเรื่องราวที่ไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นอีกมุมหนึ่ง ที่อยากนำเสนอให้กับผู้ที่สนใจและมี “จินตนาการ” ลองมารับฟัง”หลักฐาน” ที่ "แตกต่าง” ไปจากที่เคยรับรู้ ใน Blog ข่าว OKNation แห่งนี้อยู่เสมอ
.
         เมื่อเราพูดถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ โบราณคดีของจังหวัดนครพนม หลายคนที่เคยศึกษาก็จะต้องนึกถึงเรื่องราวคำอธิบายประวัติศาสตร์ที่มาจาก “ตำนาน” ผ่านทาง “ตำนานอุรังคธาตุ” ที่อธิบายถึงกำเนิดของ”พระธาตุพนม” พระธาตุคู่บ้านคู่เมือง
.
        อีกทั้ง “ตำนานพระธาตุพนม” ที่กล่าวถึงอมรฤาษีและโยธิกฤาษี ไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุพนม เรื่องราวการสร้างพระธาตุพนมที่ "ภูกำพร้า" เรื่องราวของแคว้นศรีโคตรบูรที่ว่า “ในราว พ.ศ.8 ดินแดน ศรีโคตรบูร ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร" มีกษัตริย์ครองเมือง ๕ องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า”
.
          และ “ตำนาน” ที่อธิบายเรื่องราวของพระยาโคตรบอง (โคตรบูร)จาก ตำนานพระยาศรีโคตร และ ”พงศาวดารเหนือ” ที่กล่าวถึงผู้มีบุญทรงฤทธานุภาพฆ่าไม่ตาย มีพละกำลังสามารถลากท่อนซุงขนาดใหญ่มาทำกระบอง เพื่อปราบช้างป่านับล้านตัว ให้กับ อาณาจักรเวียงจันทน์ จนเป็นที่มาของ อาณาจักรล้านช้าง
.
.
         “ประวัติศาสตร์ผสม” จากตำนานคำบอกล่าหรือนิทานทั้งหลายนี้ ได้กลายมาเป็นคำอธิบายประวัติศาสตร์โบราณคดี เรียบเรียงและนำมาใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่องครับ
.
        แต่ในมุมของผม มันคนละอย่างกัน !!!
.
         ถ้าอยากอ่านเรื่องราว ประวัติศาสตร์เชิงตำนานของเมืองนครพนม มรุกขนครหรือศรีโคตรบูร ก็สามารถหาอ่านได้จากเวปไซต์หลายแห่ง ผมคงไม่ต้องไป “คัดลอก” มาให้อ่านกันนะครับ หุหุ
.
        แต่ในอีกส่วนมุมมองของผม ผมได้ไปพบกับหลักฐานทางโบราณคดีเก่าแก่ ที่วางระเกะระกะหรือถูกนำมาใช้อ้างใหม่ตามตำนาน เพื่อให้สอดรับกันเท่านั้น
.
        เมื่อไปพบเห็น ก็ต้องนำมาเล่าสู่กันฟังสิครับ !!!
.
         ในคราวข้ามไปทำบุญตามกิจกรรม รื่นรมย์ปีใหม่ ไทย – ลาว ณ วัดศรีโคตรบอง เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศลาว ที่จัดขึ้นโดยวัฒนธรรมจังหวัดนครพนมเมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมา “พระเจดีย์ประธานของวัด มีลักษณะผสมผสานทางศิลปะ เป็นเจดีย์ที่น่าจะมีอายุไม่มากนัก” นี่คือความคิดแรกที่ออกมาระหว่างการเวียนทักษิณาวัตร
.
.
         แต่เมื่อผมเดินขึ้นไปบนลานประทักษิณของ “องค์พระธาตุศรีโคตรบอง” ก็พบว่า มี “ก้อนหิน” ในรูปแบบวัฒนธรรม “หินตั้ง” ซึ่งอาจกลายมาเป็นคติ “ใบเสมา” แล้ว ถูกทาสีขาวปักไว้มุมด้านหนึ่งของพระเจดีย์ประธาน
.
.
        ตรงด้านหน้าทิศตะวันออกของพระเธาตุ มี “นาคปัก” ที่เป็นเครื่องบนของปราสาทหินแบบเขมรอยู่ 2 ชิ้น ประมาณณอายุอยู่ในราวศิลปะแบบเกลียง – บาปวน พุทธศตวรรษที่ 15 – 16 และใบเสมาหินทรายขนาดใหญ่ที่มีจารึกอักษรไทยน้อย (ลาว) กล่าวถึงการสร้างพระธาตุศรีโคตรบอง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22
.
.
        ที่ตกใจก็คือ ผมได้มาพบกับหลักฐานทางโบราณคดี ของวัฒนธรรมแบบทวารวดีและวัฒนธรรมแบบเขมร พร้อมกันที่วัดพระธาตุศรีโคตรบอง ครับ
.
        “เออน่า มันคงถูกย้ายมาจากที่อื่นในยุคหลัง” ผมพูดกับตัวเอง
.
        แต่ความสงสัยใคร่รู้ มันทำให้ผมลุกออกจากศาลาที่เขากำลังประกอบพิธีการกันอยู่ เดินออกไปด้านนอกทางด้านหน้าวัด ทิศตะวันออก ที่เป็นลานโล่งกว้างขนาดใหญ่
.
        “ให้ตายเถิด” ผมได้ไปพบกับสถูปโบราณในศิลปะแบบล้านนา – ล้านช้าง อายุในพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยา ในสภาพพังทลายเป็นกองอิฐขนาดใหญ่อีกองค์หนึ่ง
.
.
        “ แล้วจะมีอะไรอีกไหม” ผมเดินตระเวนสำรวจไปทั่ววัดศรีโคตรบอง แล้วมันก็มีจริง ๆ
.
        ผมพบฐานอิฐของอาคารโบราณ 2 – 3 แห่ง พบฐานอิฐของสถูป ? ขนาดไม่ใหญ่นัก อีก 1 – 2 แห่ง
.
        ก่อนจะมาเป็นวัดศรีโคตรบอง ที่นี่คงมีศาสนสถานมาแล้วในยุคก่อนหน้า และก่อนหน้ามาขนาดไหนล่ะ ? ผมถามกับตัวเอง
.
        คำตอบก็อยู่กับตรงหน้า “หินตั้ง” ที่ตั้งอยู่ค้ำขอบฐานอาคารอิฐชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งกับชิ้นเล็กอีกสองสามชิ้น ทำขึ้นจากหินตระกูลหินทรายสีออกแดง รูปทรงด้านบนเป็นใบเสมาและสันกลางที่คล้ายรูปทรงสถูป โผล่ขึ้นมาจากดิน
.
.
        ผมพบ ใบเสมาทวารวดี (แบบอีสาน) ที่ฝั่งลาวและพบรูปสลักหินทรายในศิลปะแบบเขมร ที่วัดศรีโคตรบอง !!! 
.
.
.
        .......ย้อนกลับมาที่นครพนม
.
        วันหนึ่งผมมีโอกาสได้แวะเข้าไปไหว้พระที่วัดโอกาส (ศรีบัวบาน) ที่ตั้งอยู่ข้างตลาดอินโดจีน เพื่อเข้าไปนมัสการพระติ้ว พระเทียม พระคู่เมืองนครพนม เมื่อเข้าไปภายในวัดก็ไปพบกับ “ใบเสมา” แบบทวารวดี (อีสาน) รูปแบบเดียวกันกับที่พบที่วัดศรีโคตรบอง
.
.
        รูปแบบของใบเสมา ตกแต่งด้วยรูปสถูปหรือหม้อปูรณฆฏะอันเป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์ ฐานเป็นลายกลีบบัว สภาพแตกหัก เหมือนถูกทำลายโดย “จงใจ”
.
.
        ส่วนที่เหลือ ถูกนำมาเรียงล้อมรอบโบสถ์ของวัด ตามคติใบเสมาล้อมพัทธสีมาแห่งสงฆ์
.
.
        เมื่อดูจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่วัดโอกาสและใกล้เคียง พื้นที่นี้เมื่อ 1,300 – 1,400 ปีที่แล้ว ต้องเคยเป็น “มณฑลหรือเขตแดนศักดิ์สิทธิ์” ที่จะถูกล้อมรอบด้วย “หินตั้ง” ในรูปแบบของใบเสมาตามคติ “เถรวาท” ทวารวดีแบบอีสาน
.
.
        แบบเดียวกับเนินดินของวัดศรีโคตรบอง ที่มีร่องรอยของหลักฐานหินตั้งแบบเดียวกัน !!!
.
        นอกจากจะพบหินตั้งในรูปแบบ “ใบเสมา” ล้อมรอบเนินดินเพื่อกำหนดเขตมณฑลศักดิ์สิทธิ์ที่วัดโอกาส กลางเมืองนครพนมแล้ว ยังพบในเสมาในรูปแบบ ศิลปะและวัสดุที่ใช้สร้างแบบเดียวกันที่ บ้านทู้ อำเภอธาตุพนม บ้านโปร่ง(กลุ่มหินตั้งจะอยู่ระหว่าง3 หมู่บ้าน คือ บ้านโปร่ง บ้านอุ่มเหม้า บ้านข้าวหลาม)ตำบลน้ำกำ อำเภอธาตุพนม และในอีกพื้นที่หลายแห่งในเขตอำเภอเมืองอีกด้วยครับ
.
        และรูปแบบวัฒนธรรม “หินตั้ง” ตามคติแบบทวารวดีนี้ ยังไปพบที่วัดพระธาตุพนมอีกด้วยครับ
.
        หลายท่านที่ไปนมัสการพระธาตุพพนม ก็อาจมองไม่เห็นหรือมองเห็นไปตามคำอธิบายที่มาจากตำนานอุรังคธาตุหรือตำนานพระธาตุพนม
.
.
        หินตั้งของวัดพระธาตุพนม มีอายุที่หลากหลายกว่าที่พบที่วัดโอกาสและวัดพระธาตุศรีโคตรบอง ที่เก่าสุดเห็นจะเป็น กลุ่ม “หินตั้ง” ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในราวพุทธศตวรรษที่ 8 – 9 รูปแบบหินจะยังไม่มีการตกแต่งแกะสลักให้เป็นลวดลาย นิยมใช้หินตระกูลหินตะกอน (sedimentary rock) ประเภท หินทรายเม็ดใหญ่ (Millet-seed Sandstone) ก้อนขนาดใหญ่ มาวางเรียงไว้รอบมณฑลศักดิ์สิทธิ์ หรือที่อาจเรียงว่า “ภูกำพร้า” ในตำนาน เนินดินขนาดใหญ่ริมแม่น้ำโขง
.
.
        ต่อมารูปแบบของหินตั้ง เริ่มมีการ ”เปลี่ยนแปลง” มาใช้เป็น "ใบเสมา" ตามคติเถรวาท ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 รูปแบบใบเสมา จะทำเป็นแท่งหินที่มีการกำหนดมุม 4 เหลี่ยมบ้าง 8 เหลี่ยมบ้างหรือ ดัดแปลงแค่ลบปรับเหลี่ยม เป็นแท่งสูง ฐานทำเป็นลายกลีบบัว ลายลูกปะคำ
.
.
         หินตั้งในยุคก่อนประวัติศาสตร์หลายก้อน ก็ถูกดัดแปลงรูปทรงให้ใกล้เคียงกับรูปแบบใบเสมา สลักรูปสถูปเจดีย์บนหม้อปูรณฆฏะ เสมาหินแบบนี้พบตั้งอยู่มุมหลังวิหารด้านทิศเหนือหน้าองค์พระธาตุพนม
.
.
.
        จากการศึกษาภายหลังจากที่องค์พระธาตุพนมล้มลงในปี 2518 พบหลักฐานศิวลึงค์ ฐานโยนี ท่อรางโสมสูตร และร่องรอยฐานขององค์พระธาตุพนมที่เป็นอาคารปราสาทอิฐแบบวัฒนธรรมเขมร       
.
       สรุปได้ว่า ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 หรือประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่มีการวางใบเสมาหินทรายล้อมรอบมณฑลศักดิ์สิทธิ์ กลุ่มชนใหม่ผู้มี "อำนาจ" จากทิศใต้ ได้เข้ามาสร้างอาคารปราสาทอิฐขนาดใหญ่ในศิลปะแบบอินเดีย ที่เรียกกันตามศิลปะแบบเขมรว่า ศิลปะแบบสมโปร์ไพรกุก (Sombor Prei Kuk) ศิลปะแบบไพรกเมง (Prei Khmeng) หรืออาจอยู่ในช่วงสมัยกำพงพระ (Kampong Phra)
.
        ในช่วงพุทศตวรรษที่ 13 - 14 ต่อมา บริเวณรอบพื้นที่เนินภูกำพร้า มีการบูรณะปราสาทอิฐแบบเขมรโดยช่างฝีมือจากอาณาจักรจามปา (ดงเดือง -หมี่เซิน) ก่อองค์ปราสาทให้สูงใหญ่ขึ้นตามคติผสมระหว่างฮินดูและพุทธศาสนา ในช่วงนี้จึงน่าจะมีการนำเสาหินรูปทรงแปดเหลี่ยมที่สลักขึ้นจากหินทรายสีเขียวขนาดใหญ่ ที่เรียกกันตาม “ตำนานพระธาตุพนม” ว่า “เสาอินทขีล” (เสาหลักเมือง) มาปักอยู่ 4 มุม ของอาคารศาสนสถานกลางมณฑลศักดิ์สิทธิ์ที่บูรณะขึ้นใหม่
.
.
        ตามตำนานพระธาตุพนมกล่าวว่า “เสาอินทขีล” นั้น พญาทั้งห้าผู้สร้างพระธาตุพนมในยุคแรก ได้ให้คนไปขนมาจากที่ต่าง ๆ รวมกันสี่ต้น แล้วฝังไว้ในบริเวณรอบ ๆ องค์พระธาตุทั้งสี่มุม คือ ต้นที่หนึ่งนำมาจากเมืองกุสินารา ฝังไว้ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และสร้างรูปอัจจมุขีไว้ที่โคนเสาหนึ่งตัว ต้นที่สองนำมาจากเมืองพาราณสี ฝังไว้ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างรูปอัจจมุขีไว้ที่โคนเสาหนึ่งตัว ต้นที่สามนำมาจากเมืองลังกาฝังไว้ที่มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ต้นที่สี่นำมาจากเมืองตักกศิลาฝังไว้ที่มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เสาอินทขีลทั้งสี่ต้นนี้อาจใช้เป็นเสาปักเขตแดนของศาสนสถานคล้ายใบเสมา
.
.
.
.
.
        "ประติมากรรมรูปสิงห์หรืออัจจมุขี" พบที่วัดพระธาตุพนม ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวไว้ว่า ได้มีการสร้างรูปอัจจมุขีขึ้นไว้สองตัว อยู่ที่มุมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือหนึ่งตัว และฝังไว้ที่มุมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้อีกหนึ่งตัว
.
.
.
        ในความเห็นของผม รูปสิงห์หรืออัจจมุขีนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงหลังการสร้างปราสาทอิฐ เพื่อใช้เป็นรูปสิงโตหมอบเฝ้าทางเข้า (ทวารบาล) ที่จะมีเพียงทางเดียว มีลักษณะของอิทธิพลศิลปะอินเดียที่ผ่านมาจากศิลปะจาม - ชวา อีกทีหนึ่ง ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับการบูรณะปราสาทอิฐในยุคแรก ที่มีการแกะสลักอิฐรอบองค์ธาตุเป็นภาพบุคคลขี่ช้าง ขี่ม้า ยักษ์ สัตว์ป่า รูปเทพเจ้าประจำทิศ ฯลฯ (ราวพุทธศตวรรษที่ 14 ) โดยนำหินทรายที่ใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างอาคารอิฐที่ถูกรื้อถอนออกมาจากยุคแรกเป็นวัสดุหลัก  
.
.
ใบเสมาหินทรายตรงกลางสลักเป็นสถูปเจดีย์ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุพนม
รูปแบบเดียวกับที่พบที่วัดศรีโคตรบอง
.
        ในขณะที่ "ตำนานอุรังคธาตุ" ก็ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยปราชญ์ชาวล้านช้าง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 เพื่ออธิบายเรื่องราวในยุคก่อนหน้าของการเข้ามาครอบครองแผ่นดินใหม่ แผ่นดินที่เคยมีผู้คนอาศัยแต่ได้ทิ้งร้างสาบสูญไปแล้ว
.
        กลุ่มชนในวัฒนธรรมล้านช้าง ได้เข้ามาครอบครองพื้นที่ที่เคยมีศาสนสถานของวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมแบบเขมร ที่ซ้อนทับกันอยู่ในในชื่อของ “ศรีโคตรบูร” และน้อมรับที่จะเป็นศรีโคตรบูรณ์สืบทอดต่อมา
.
.
ลวดลายแกะสลักหินทรายบนชิ้นส่วนยอดบนสุดของใบเสมายุคล้านช้างที่แตกหัก
ด้านหลังเป็นชิ้นส่วนของ "หินตั้ง" ?
.
        "พระธาตุพนม" จึงถูกสร้างขึ้นใหม่ในยุค อาณาจักรเวียงจันทน์ - ล้านช้าง โดยดัดแปลงปราสาทอิฐแบบเก่าของอินเดีย – จาม – เขมร เติมยอดแบบโกศ (บรรจุกระดูก) แบบลาวเหนือเรือนธาตุขึ้นไปกลายเป็นสถูปเจดีย์แทนปราสาท
.
        ชาวล้านช้าง ได้อาศัย “ตำนาน” ที่แต่งขึ้น เพื่อครอบครอง “มรุกขนคร” อย่างสมบูรณ์ และสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมากมาย ดังที่เราพบเห็นโบราณสถานร้างในยุค “ล้านช้าง” ราวพุทธศตวรรรษ ที่ 19 - 22 ในพื้นที่อำเภอเมืองมากกว่า 20 แห่ง
.
        “หินตั้ง” ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ กลายมาเป็น “ใบเสมา” ในยุควัฒนธรรมทวารวดีแบบอีสาน และบางส่วนก็ถูกนำมาขัดผิวหน้าให้เรียบ พร้อมเขียนจารึกในยุค “ล้านช้าง” อธิบายเรื่องราวความเป็นมาของบ้านเมือง ตั้งแต่ครั้งแคว้น “ศรีโคตรบูร” ให้สืบเนื่องต่อกันมาอย่างแนบแนียน
.
.
นาคปักแบบปราสาท "บาปวน" ในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุพนม
     
 ........เราแยกแยะความจริงและเหตุผลออกจากประวัติศาสตร์ ก็เพียงเพราะมันอาจจะมีคุณค่าต่อสังคมมนุษย์มากกว่าเป็นเพียงเรื่องราวตาม “ความเชื่อ” ที่ถูกสร้างขึ้นในแต่ละยุคสมัย ....
.
.
.
.

วรณัย พงศาชลากร
17 มิถุนายน 2554

.


โดย ศุภศรุต

.
.

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คนเกาหลี/เวียตนาม/พม่า/กัมพูชา/เยอรมัน/เกาหลี/คนลาว



(คนเกาหลีไว้ท้ายบทความ)







คนเวียดนาม


วันที่ 29 กันยายน 2557 01:00 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



คนเวียดนามที่อายุ 35-40 ปีขึ้นไปนั้น จะต้องเผชิญกับความยากลำบากของสงครามเวียดนามมาก่อน ทั้งๆ ที่สงครามเวียดนามจบไปตั้งแต่ 30 กว่าปีที่แล้ว แต่ชีวิตหลังสงครามก็ยังคงยากลำบากอยู่ ความเสียหายของบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเฉพาะเวียดนามใต้เดิม ก่อนที่จะถูกเวียดนามเหนือเข้ามาปกครองแทน คนกลุ่มนี้จึงจะต้องดิ้นรนอย่างมาก ความคิดของคนกลุ่มนี้จึงแตกต่างกับกลุ่มคนรุ่นหลังสงครามเป็นอย่างมาก


พวกคนอายุต่ำกว่า 30 ปี พวกนี้จะเป็นกลุ่มคนสำคัญที่เราจะพูดถึงกัน คนเวียดนามเหล่านี้เป็นกลุ่มคนทำงาน จริงๆคนเหล่านี้จะขยันทำงานมาก ทำงานได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว แต่ขาดความละเอียดประณีต เรื่องศิลปะ (Artistic) ยังเก่งสู้คนไทยไม่ได้ งานจะออกมาค่อนข้างหยาบหน่อย ไม่ค่อยประณีต


คนเวียดนามจะชอบอะไรใหม่ๆ เสมอๆ อุปกรณ์ไอทีสมัยใหม่ (Gadget) ทั้งหลายถูกใจคนเวียดนามเป็นอย่างมาก แต่ด้วยปัญหาจากรายได้ของคนเวียดนาม ต่ำกว่าคนไทย แต่ค่าครองชีพในเมืองกลับสูงกว่ากรุงเทพ ดูได้จากค่าอาหารตามศูนย์การค้า (Shopping Plaza) หรือ อาหารจานด่วน (Fast Food) ต่างๆ


เอาง่ายๆ ร้านเฝอที่เมืองไทยเป็นร้านติดแอร์ราคาประมาณ 45-60 บาท ที่เวียดนามขายอยู่ที่ราคา 65-100 บาท ทำให้เงินไม่ค่อยพอใช้ จึงมีปัญหาเรื่องการคดโกงคอร์รัปชันในทุกระดับ ทั้งภาคราชการ และเอกชน ราชการ ปาเข้าไป 50% เอกชน 5-10% ดังนั้นถ้าคุณเข้าไปลงทุนในเวียดนาม คุณต้องระวังต้นทุนในส่วนนี้ด้วย


คนเวียดนามจะแต่งงานเร็วกว่าคนไทย จบมาได้ไม่นานเท่าไหร่ก็แต่งงานกันแล้ว และจะเน้นมีลูก 2-3 คน เพราะรัฐบาลเวียดนามให้สวัสดิการ ส่งเสียเลี้ยงดูบุตร ได้เรียนฟรีได้ถึง 3 คน ที่สำคัญมารดาสามารถลาคลอดได้ถึง 6 เดือน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างจำนวนเต็ม เรียกว่ากลับมาทำงานกันไม่เป็นเลยทีเดียว ดีไม่ดีเกิดท้องติดๆ กันอีก บริษัทต้องรับภาระเพิ่มขึ้นอย่างหนักเลยครับ


คนเวียดนามจะใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะหลัก รถยนต์นั้นต้องสำหรับคนที่รวยจริงๆ ไปไหนมาไหนจะเห็นมอเตอร์ไซค์เต็มไปหมดเลย ยิ่งช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ (Peak Hours) เช่น เทศกาลปีใหม่ วาเลนไทน์ เขาจะขี่รถออกมาชมเมืองกัน ชนิดที่เกิดมาผมก็ไม่เคยเห็นรถมอเตอร์ไซค์เยอะขนาดนี้มาก่อน ทั้งถนนมีแต่รถมอเตอร์ไซค์เป็นหมื่นๆ คัน แต่ข้อดีคือ ทุกคนใส่หมวกกันน็อก เพราะตำรวจเอาจริงมาก ถ้าไม่ใส่หมวกกันน็อก ตำรวจเจอ รถก็จะถูกยึดเลย แต่หมวกกันน็อกที่เวียดนามจะบางมาก มีความหนาเพียงแค่หนึ่งนิ้วเท่านั้น ป้องกันอะไรไม่ได้จริงๆเลยครับ


สิ่งหนึ่งที่สาวเวียดนามเหมือนกับสาวไทยคือ กลัวแดดมากๆ ครับ กลางวันไปไหนมาไหน จะแต่งตัวมิดชิดให้มากที่สุด ยิ่งถ้าจะต้องไปเจอแดดนี่ ใส่ทั้งหมวก ปลอกแขน ป้องกันแดดเต็มที่เหมือนกับสาวไทย แต่พอตกเย็นๆ ค่ำๆ ก็เริ่มจะโชว์กันเต็มที่ครับ


สาวเวียดนามแต่งตัวเปิดเผยกว่าสาวไทยเยอะมาก โดยเฉพาะช่วงบน เปิดเผยกันชนิดที่เวลานั่งประชุมด้วย ต้องใช้สมาธิอย่างสูง เพื่อไม่ให้สายตาเราซุกซน


บทสรุปของคนเวียดนามคือ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ค่อนข้างเร็ว มีกลุ่มเวียดเกียว คือคนเวียดนามที่ไปเติบโตเมืองนอก แล้วกลับมาทำงานที่เวียดนาม คนกลุ่มนี้จะมีความคิดแบบคนตะวันตก พยายามนำสิ่งใหม่ๆ เข้าไปในเวียดนาม กลุ่มคนเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญทำให้เวียดนามเจริญต่อไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็จะต้องผ่านอุปสรรคของคนรุ่นเก่าที่ปกครองประเทศ ที่มีปัญหาการคอร์รัปชันซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศของเวียดนามเลยทีเดียว







คนพม่า
วันที่ 30 กันยายน 2557 01:00กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


เรื่องราวที่น่าสนใจในมุมมองของคนที่ได้สัมผัสกับคนพม่าในฐานะคนที่ไปทำงานจริงๆ อยู่ที่ย่างกุ้งเกือบสองปี


คนต่างชาติส่วนใหญ่ที่ได้เข้าไปทำงานที่พม่าในระยะแรกๆ นั้น อาจจะมีความรู้สึกต่อคนพม่าไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ประทับใจ และรู้สึกชื่นชอบในน้ำใจใสซื่อของคนพม่า ที่คิดอะไรตรงไปตรงมา และดูเป็นตัวของตัวเองแบบซื่อๆ จนกลายเป็นความน่ารักไปเสียอย่างนั้น หรือบางคนคิดไปเสียด้วยซ้ำว่าคำว่า "สยามเมืองยิ้ม" ของไทยเรานั้นเทียบไม่ได้เลยกับรอยยิ้มพิมพ์หมากของพี่หม่อง


แต่พอได้ไปลองใช้ชีวิตในพม่าสักพักหนึ่ง ไม่ใช่ในฐานะนักท่องเที่ยว แต่ในฐานะผู้ร่วมงานกับชาวพม่าจริงๆ เราจึงได้เรียนรู้เรื่องราว และวิธีคิดแบบพม่ารามัญมากขึ้น ดังนี้


คนพม่าพื้นฐานโดยรวมเป็นคนจิตใจดี ใสซื่อ ไม่คดโกง และมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ยกตัวอย่างเช่น ในร้านอาหาร หรือโรงแรม เราไม่จำเป็นต้องให้เงินทิปแก่บริกร และบริกรก็ไม่แม้แต่จะยืนรอด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่ารายได้คนพม่าจะไม่มากก็ตามที


ของที่เราวางลืมไว้ หรือของหายแทบจะไม่เกิดขึ้นเลยในเมืองพม่า ยกตัวอย่าง เช่น ผมลืมร่มไว้ในร้านกาแฟ หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ผมกลับไปที่ร้านกาแฟร้านนั้น ร่มก็ยังคงอยู่ที่เดิม


“จ่ายสด งดเชื่อ เบื่อทวง” คนพม่านิยมทำธุรกิจกันด้วยเงินสด เป็นเรื่องลำบากของสังคมพม่าในเรื่องการซื้อของ เพราะในสังคมพม่าแต่ก่อนไม่มีบัตรเครดิต ไม่เชื่อถือในระบบธนาคารของรัฐ และเอกชน ฉะนั้นคนพม่าจึงเก็บเงินสดไว้ที่บ้าน และหอบไปซื้อของกันเป็นกองๆ นับและจ่ายเงินกันจนมือหงิกกันไปข้างหนึ่ง


"คนพม่านี้รักสงบ" จริงๆ ความคิดนี้ไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะหากมองผิวเผิน คนพม่าเหมือนจะเป็นคนง่ายๆ ชิลๆ ตามใจทุกคน ไม่เคยทะเลาะกับใครแรงๆ แต่ในการทำงานจริงๆ กับคนพม่านั้น เขามีความคิดเป็นของตนเอง และค่อนข้างดื้อเงียบ เพียงแต่คนพม่าเป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตน และมักจะมีนิสัยหนึ่งที่พบเห็นบ่อยๆ คือ พยักหน้ารับฟังเรา และพูดว่า โอเค โอเค ไอ โนว์ แต่เวลาปฏิบัติงานจริงกลับทำอีกอย่างหนึ่งอันดับที่ อย่างไรก็ตามคนเมียนม่าในภาพรวมเป็นชนชาติเอื้อเฟื้อมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นมากเป็นอันดับ 1 ของโลกในปี 2557-2558 ติดต่อกัน ในขณะที่คนไทยอยู่ในอันดับที่ 34


"รู้ทุกเรื่อง" คนพม่าเป็นชนชาติที่มีฟอร์ม ไม่ยอมขายหน้า และเสียฟอร์มเลย ฉะนั้นคนพม่าจะไม่แสดงออกว่าตนไม่รู้ แม้ว่าที่จริงแล้วจะไม่เข้าใจในสิ่งที่คุยกันเลย ก็ตาม


"ไม่ยอมตกเทรนด์" ของใหม่มีที่ไหนขอให้บอก ในสังคมพม่าเมื่อมีสิ่งใหม่ๆ มา คนพม่าจะแห่แหนกันไปเสพตามกระแส Social Media หรือ Viral Marketing จึงใช้ได้ผลดีในพม่า โฆษณาชวนเชื่อและการบอกต่อจึงเป็นวิธีที่ได้ผลดีมาก


"นินทากาเลเหมือนเทน้ำ" อาจเพราะสังคมพม่าไม่เร่งรีบ เรื่องหนึ่งที่เป็นผลมาจากความว่างของชาวพม่าคือ เม้าท์มอยกันจนสนุกปาก เรียกได้ว่า เห็นใครดีกว่าเป็นไม่ได้ เห็นมดพูดเท่าช้าง ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยสื่อหนังสือพิมพ์มักมีผลต่อสังคมในเรื่องคำวิจารณ์


"น้อยใจไปเสียทุกเรื่อง" คนพม่าเหมือนเด็กน้อย เวลาทำงานชอบให้ชมมากกว่าให้ติ ถึงแม้จะทำผิดก็ไม่ชอบฟังคำวิจารณ์ ชอบให้ชม และเยินยอเสมอ


"เหนื่อยนักพักซะเลย" ลองหลับตานึกภาพดูนะครับว่า พม่าวันนี้เหมือนเชียงใหม่ของเราเมื่อสามสิบปีก่อน ที่สังคมยังต๊ะยอนยอนกันอยู่เลย ไม่ชอบทำงานหนัก ไม่ดิ้นรน และไม่ขวนขวาย ถ้าเหนื่อย หรือถูกกดดันมากๆ จากการทำงาน ก็จะลาออกไปเลยซะดื้อๆ โดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น และนี่เป็นปัญหาหลัก หลังจากพม่าเปิดประเทศ และมีบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุน คนพม่าจึงไม่อยากทำงานด้วย เพราะทนแรงกดดันไม่ไหว


"ทะเยอทะยานแต่ไม่ขวนขวาย" คนพม่าอยากได้ดี และอยากประสบความสำเร็จ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ค่อยขวนขวาย ส่วนมากมักจมปลักอยู่กับสิ่งเดิมๆ


ทั้งหมดนี้ คือเรื่องราว และมุมมองจากคนได้ไปทำงานจริง และคลุกคลีกับคนพม่า อย่างน้อยก็เป็นข้อมูลเบื้องต้น สำหรับคนที่จะต้องไปร่วมงานกับคนพม่าในอนาคตได้นะครับ


คนกัมพูชา
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 21 ตุลาคม 2557 01:00ในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านทางตะวันออกของเรา มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งยังเป็นประเทศที่มีปัญหาขัดแย้งกับประเทศเราบ่อยครั้งที่สุดประเทศหนึ่ง

ลักษณะพฤติกรรมนิสัยคนเขมรกับคนเวียดนามจะมีความใกล้เคียงกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ผ่านสงครามมามากมายด้วยกันทั้งคู่ ได้แก่ สงครามกลางเมืองเพื่อแย่งชิงอำนาจในเขมร ทำให้มีประชาชน ต้องเสียชีวิตถึง 3 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 7.5 ล้านคน ทำให้สูญเสียคนที่มีความรู้ไปเป็นจำนวนมาก นิสัยผู้คนจึงสามารถจำแนกเป็นกลุ่มที่เคยผ่านสงครามอายุ 35 ขึ้นไป กับกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 35 ปี คือพวกที่ไม่ได้ลิ้มรส ความยากไร้ของสงคราม

เรามาพิจารณากลุ่มคนเขมรรุ่นใหม่กันก่อนครับ แน่นอนว่าอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศไทยจะมีสูงมาก โดยผ่านทางสินค้าไทย ละครไทย ภาพยนตร์ไทย ด้วยวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน การเรียนรู้ก็ง่ายขึ้น ใครใช้สินค้าไทยต้องถือว่าไฮโซ

ที่สำคัญคือเชื่อว่าสินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ดีกว่าของที่มาจากจีนหรือเวียดนาม ทำให้พบมีการปลอมแปลงสินค้าไทยให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง คนเขมรจะชอบคนไทยมากกว่าคนเวียดนาม เนื่องจากเขมรต้องเสียดินแดนมากมายให้กับเวียดนาม ช่วงสงครามอินโดจีน กองทัพเวียดนามเองก็บุกเข้ามาในเขมร

นอกจากนั้นคนเขมรที่เป็น "ชนชั้นกลาง" ขึ้นไปจะแสดงสถานะโดยการไปเที่ยวเมืองไทย ส่งลูกมาเรียนที่เมืองไทย ซึ่งถือว่าเป็นคนชั้นนำของเขมรทันที สาวๆ เขมรบางส่วนก็อยากแต่งงานกับหนุ่มไทย เพื่อให้ได้มาใช้ชีวิตในประเทศไทย อยากมาอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองที่เจริญกว่าประเทศของเขา

เนื่องจากรายได้ของคนเขมรส่วนใหญ่ยังค่อนข้างต่ำ ชนชั้นกลางจะอาศัยอยู่ในเมือง ระบบสาธารณูปโภคก็ยังไม่ดีนัก ถนนหนทางส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร จะไปไหนมาไหน ระยะทางเพียงแค่ 100 กิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 4-5 ชม.

สำหรับการบริโภคสื่อของคนที่นั่น โทรทัศน์เป็นสื่อยอดนิยมอันดับหนึ่ง รองลงมาคือสื่อ พวกบิลบอร์ด พวกสื่อออนไลน์ยังคงต้องพัฒนาอีกมาก

นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังมีเฉพาะในเมืองใหญ่ สังคมออนไลน์ โดยเฉพาะ "เฟซบุ๊ค" ถือได้ว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก วัยรุ่นเขมรให้ความสนใจสินค้าที่เกี่ยวกับความสวยงามมาก โดยมีดาราไทยหรือเกาหลีเป็นไอดอล ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ก็เน้นให้ขาวๆ ไว้ก่อน ก็เป็นพวกไวท์เทนนิ่ง กลางวันก็สวมเสื้อผ้ามิดชิดเพราะกลัวแดด ส่วนรูปร่างหน้าตาถ้าเทียบกับคนไทยต้องถือว่าคนไทยยังได้เปรียบอยู่มาก

สำหรับอาหารการกินที่นั่น ยังได้คงมีอิทธิพลและกลิ่นอายของฝรั่งเศสอยู่พอสมควร เช่น ประเพณีนอนกลางวัน ร้านค้าปิดกลางวันยังมีให้เห็นอยู่ ขนมปังฝรั่งเศสแต่มีไส้แบบเขมรก็มีให้เห็นตามท้องถนน ส่วนชอปปิงพลาซ่าอย่าง อิออนก็เพิ่งไปเปิดอย่างใหญ่โต มีโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ของคุณ วิชา พูลวรลักษณ์ ซึ่งเป็นที่นิยมของคนเขมรอย่างมาก เพราะมีโรงภาพยนตร์ เช่นเดียวกับแบบมาตรฐานสากลเป็นครั้งแรก

จำนวนพลเมืองเขมร 15 ล้านคนถ้าเปรียบเทียบกับเวียดนาม 90 ล้านคน หรือพม่า 70 ล้านคนก็ถือว่ายังน้อยมาก การท่องเที่ยวก็มีเสียมเรียบ เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ คนไปเที่ยวมากกว่า พนมเปญ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเสียอีก โอกาสในการลงทุนนั้นยังมีอยู่มากมาย พร้อมด้วย ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน

หากนักลงทุนที่มองหาโอกาสในประเทศกัมพูชาแห่งนี้ก็ถือว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจ แต่จำเป็นจะต้องเรียนรู้พื้นฐาน และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้อย่างถ่องแท้เสียก่อน ลองศึกษากันดูนนะครับ


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 21 ตุลาคม 2557 01:00




คนเยอรมัน
เยอรมันเป็นประเทศเดียวในโลกที่เป็น Fully industrialized country ประเทศอุตสาหกรรมสมบูรณ์แบบ
---►บีบีซีของอังกฤษ ศึกษาสำรวจลักษณะชาวเยอรมันทั้งประเทศ --------------------------
►1. ระดับหนี้สินต่อครัวเรือนของคนเยอรมันอยู่ในระดับต่ำมากที่สุดในยุโรป ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้จ่ายด้วยเงินสดมากกว่าบัตรเครดิต
...
►2. ธนาคารไม่อนุมัติบัตรเครดิตให้กันง่ายๆ ในขณะที่ชาวเยอรมันก็ไม่ต้องการได้บัตรเครดิตง่ายๆเช่นกัน
►3. คนเยอรมันสามารถออมเงินได้ 10% ของเงินเดือนแทบทุกคน
►4. ผู้คนส่วนใหญ่มีเงินฝากในธนาคารเป็นกอบเป็นกำทำให้ระบบการหมุนเวียนของเงินกู้กับเงินฝากสมดุลกันได้ดี
►5. คนเยอรมันไม่นิยมเอาบ้านหรือรถยนต์ไปจำนองเพื่อนำเงินมาทำธุรกิจ เพราะถือว่าเป็นความเสี่ยงที่อาจจะสูญเสียทรัพย์สินที่มีอยู่
►6. คนเยอรมันใช้เวลาทำงานต่อสัปดาห์น้อยกว่าคนในชาติอื่น ๆ ทั่วโลก แต่ได้ประสิทธิภาพมากกว่า
►7. การทำงานล่วงเวลาถูกมองว่าเป็นสิ่งไม่เหมาะสม เนื่องจากการให้เวลากับครอบครัวหลังเลิกงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก
►8. เวลาแปดชั่วโมงต่อวัน คนเยอรมันทำงานอย่างจริงจังในเวลางาน ไม่เสียเวลาไปกับการพูดคุยเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงาน อีเมลล์ส่วนตัว Facebook และโทรศัพท์มือถือ …เป็นที่รู้กันว่าไม่ควรใช้ในชั่วโมงทำงาน
►9. นักข่าวชาวอังกฤษที่ไปทำงานในโรงงาน Faber & Castel ที่เยอรมนี ถูกต่อว่าจากเพื่อนร่วมงานทันทีที่หยิบโทรศัพท์เพื่อต้องการส่ง SMS แค่ครั้งเดียว
►10. ชีวิตในที่ทำงานที่นี่เขาจริงจังกันมาก ไม่มีการพูดคุย นินทา ไม่อยากรู้อยากเห็นว่าใครเป็นแฟนใคร ใครเลิกกับใคร ใครจะไปออกเดทกับใคร ไม่แม้แต่จะเล่าเรื่องละครทีวีที่ดูเมื่อคืน เลิกงานแล้วจะไปไหน จะไปทานดินเนอร์กับใคร ก็ไม่มีการพูดคุยกัน
►11. การมาทำงานสายจะถูกมองว่าเป็นคนไม่รักษาสัญญา จะมาสายสามนาทีหรือสามสิบนาที ก็ถือว่าเป็นคนไม่มีคุณภาพ เพราะขาดความเคารพต่อตัวเองและองค์กร
►12. สองในสามของคุณแม่มือใหม่จะไม่ทำงานนอกบ้าน การบอกว่าเป็น Housewife ในประเทศอื่น ๆ อาจจะรู้สึกเขินอายเหมือนว่าตนเองไม่มีงานทำ แต่ที่นี่มีแต่ความภาคภูมิใจ หากจะได้เป็น Housewife
►13. รัฐบาลให้สวัสดิการดีกับคุณแม่ที่ต้องออกจากงาน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้แม่ได้เลี้ยงดูลูกด้วยตนเอง การให้เวลากับลูกถือเป็นสิ่งสำคัญ
►14. ในวันอาทิตย์ ร้านรวงทั่วไปตามแหล่ง Shopping จะปิดเงียบ เพื่อให้ผู้คนส่วนใหญ่มีเวลาอยู่กับครอบครัว เมื่อสถาบันครอบครัวแข็งแรงประเทศชาติก็จะแข็งแรง
►15. ในยามยากของเศรษฐกิจ บริษัทส่วนใหญ่ไม่ใช้วิธีการ Lay off พนักงาน ไม่นิยมการปลดคนงานออกแบบกระทันหัน เพื่อความอยู่รอดของบริษัท
►16. อาจจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปเสียแล้วที่บริษัทจะเป็นห่วงความอยู่รอดของพนักงานก่อน เพื่อที่จะได้ช่วยกันประคองให้บริษัทอยู่รอด
►17. พนักงานยินดีที่จะถูกลดรายได้อย่างพร้อมเพียงกันเพื่อให้ทุกคนอยู่ได้และบริษัทอยู่รอด สิ่งนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงการรักพวกพ้อง รักองค์กร และรักชาติในที่สุด
►18. ทีมชาติฟุตบอลของเยอรมนี จะไม่ค่อยมีดาวเด่นที่โด่งดังระดับโลก แต่ก็สามารถคว้าแชมป์โลกได้ถึง 3 สมัย ด้วยทักษะการเล่นอย่างเป็นทีมเวิร์คมากกว่าความสำเร็จจากความสามารถเฉพาะบุคคล
►19. การใช้ชีวิตแบบพอเพียง ประหยัด จริงจังในหน้าที่ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบสูง รักครอบครัว รักพวกพ้อง รักชาติ เหล่านี้ล้วนเป็นอุปนิสัยขั้นพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่ในเยอรมนีได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา


คนเกาหลี
16 เรื่อง(จริง)แปลกๆ ของ วัยรุ่น เกาหลี
ประเทศ เกาหลี นั้นเป็นอีกประเทศที่ทุกคนใฝ่ฝันอยากจะไปกันจริงจังเลย แหม!ก็ เห็น ซีรีส์ เกาหลี สถานที่สวยๆ บรรยากาศดีๆตั้งมากมาย แถมเวลาไป ช๊อปปิ้ง คงถูกใจสาวๆ ก็ของถูกมากๆ จะไม่อยากไปสอยได้ยังไง … แต่ถ้าอยากจะรู้จักเกาหลีให้มากขึ้น ลองมาดูกันว่า?16 เรื่อง(จริง) แปลกๆ ของคน ประเทศเกาหลี เขามีอะไรบ้างนะ? ^^
1. บนรถไฟใต้ดินที่เกาหลี จะมีคนเอาของขึ้นมาขายบ่อยๆ แล้วจะพูดขายของเสียงดังมาก โดยส่วนมากจะลากใส่รถเข็นขึ้นมา ที่เห็นบ่อยๆ ก็เช่น ถุงใส่ผ้า ยาขัดรองเท้า ถุงเท้า
2. บนรถไฟใต้ดินจะมีที่นั่งของคนชรา คนท้อง และคนพิการแยกอยู่ ซึ่งคนปกติทั่วไปไม่ควรนั่งเด็ดขาดไม่งั้นจะถูกมองด้วยสายตาแปลกๆ
3. ที่ว่าคนเกาหลีกินหมานั้นเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ใช่ทุกคน หาได้ง่ายตามต่างจังหวัด ส่วนเมืองหลวง (กรุงโซล) อาจหายากหน่อยแต่ก็ไม่ยากเกินไป นอกจากหมาแล้ว แมวก็กินด้วย

4. วัยรุ่น เกาหลี จะนิยมส่งเมสเสจหากันมากกว่าโทรไปหาโดยตรง และคนเกาหลีตัวจริงจะกดแป้นโทรศัพท์กันไวมาก โดยปีล่าสุดคนเกาหลีใต้เคยไปแข่งกดส่ง sms และได้รางวัลที่ 1 ระดับโลก
5. ประเทศไทย นักศึกษา (วัยรุ่น) บางคนจะใส่ชุดนักศึกษาตัว?เล็กจนรัด แต่ที่เกาหลี นักเรียน (วัยรุ่น) บางคนจะใส่ชุดนักเรียนตัว?เล็กจนรัดมาก (แต่ส่วนมากจะใส่เสื้อทับนะ)
6. พ่อแม่คนเกาหลีจำนวนมากยอมย้ายบ้านเพื่อมาส่งลูกเรียนในโรงเรียนดีๆ ที่อยู่ต่างเมือง?เช่น บ้านอยู่ปูซาน แต่จะส่งลูกเข้าเรียนในกรุงโซล ก็จะพากันย้ายมาอยู่โซลกันทั้งครอบครัว โดยส่วนมากจะเป็นช่วงมัธยมต้นและปลายของลูก

7. และชุดนักเรียนเกาหลีราคาแพงมาก!!!!!!! ชุดนึงตกประมาณ 7-8 พันบาทจนไปถึงเป็นหมื่นบาท
8. เด็ก (วัยรุ่น) นักเรียนเกาหลีแทบทุกคนต้องเรียนพิเศษ การเรียนพิเศษเลิก 4 ทุ่มทุกวัน ถือเป็นเรื่องธรรมดา ช่วงสอบ?ปลายภาคอาจมีคอร์สพิเศษเปิดสอนถึงตี 2 โดยเฉพาะวิชาเลขเป็นวิชาที่ วัยรุ่น เกาหลีทุ่มเทมากๆๆ
9. คนเกาหลีไม่ได้ศัลยกรรมทุกคน อย่าเข้าใจผิด เพียงแต่การ?ศัลยกรรมที่นั่นถือเป็นเรื่องธรรมดา คนจึงทำกันเยอะ อย่าไปเรียก?ประเทศเค้าว่าเป็นประเทศคนหน้าพลาสติก

10. หน้างานคอนเสิร์ตทุกงาน จะมีลุงหรือป้าแก่ๆ มาขายแท่งไฟ ขายป้ายชื่อ ขายกล้องส่องทางไกลและสินค้าอื่นๆ ของศิลปิน ถ้าเป็นหน้าหนาว ลุงหรือป้าคนนั้นจะเปลี่ยนอาชีพมาเดินขายผ้าห่มหน้าคอนเสิร์ตนั้นๆ แทน
11. เวลาซื้อของกินตามแผงข้างทางแล้วยืนกินตรงแผงนั้น ควร?จะกินให้หมดเลย เพราะป้าเจ้าของร้านบางร้านจะเอาของที่กินไม่?หมด เอาลงไปผัดในกะทะแล้วขายต่อ
12. เวลาย้ายบ้าน คนที่ย้ายไปใหม่จะต้องเอาขนมต๊อกไปมอบ?ให้แก่เพื่อนบ้าน ถือเป็นการทำความรู้จักและผูกมิตรในขั้นต้น

13. เวลา วับรุ่น เกาหลีไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนทั่วไปไปกิน?เหล้า ส่วนมากหลังจากเปิดขวด จะใช้แก้วใบเดียวรินเหล้าแล้วค่อยๆ?ดื่มทีละคน แล้ววนกันไปจนครบทุกคนก่อน 1 รอบโดยใช้แก้วใบ?เดียวกัน หลังจากนั้นค่อยต่างคนต่างดื่ม แก้วใครแก้วมัน
14. ในเกาหลี ผู้ชายสามารถบ้าดาราได้อย่างเปิดเผยและออกรสออกชาติมาก เวลาไปดูคอนเสิร์ตจึงไม่ต้องแปลกใจที่จะเจอแฟนคลับกลุ่มผู้ชายตะโกนโหวกเหวกยิ่งกว่าผู้หญิงซะอีก
14. ในเกาหลี ผู้ชายสามารถบ้าดาราได้อย่างเปิดเผยและออกรสออกชาติมาก เวลาไปดูคอนเสิร์ตจึงไม่ต้องแปลกใจที่จะเจอแฟนคลับกลุ่มผู้ชายตะโกนโหวกเหวกยิ่งกว่าผู้หญิงซะอีก
15. วันสอบเอนทรานซ์ของ วับรุ่น เกาหลี (เรียกว่าซูนึง) เป็นวันที่ถือว่าสำคัญมากๆๆ อาจารย์ผู้หญิงห้ามใส่รองเท้าส้นสูงเพราะถือว่าเดินแล้วเสียงดังจะทำลายสมาธิเด็ก คนทำงานอนุญาตให้เข้างานสายได้กว่าปกติ เพราะต้องออกจากบ้านช้า เนื่องจากให้นักเรียน (วัยรุ่น) รีบออกไปสอบก่อน รวมถึงในคาบสอบการฟัง สายการบินต่างๆ จะงดเที่ยวบินในช่วงเวลานั้น เนื่องจากเกรงว่าเสียงเครื่องบินจะรบกวนการทำข้อสอบ
16. มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาหลีคือ มหาวิทยาลัยโซล มหาวิทยาลัยโคเรีย และมหาวิทยาลัยยอนเซ คนเกาหลีเรียกรวมกันว่า SKY โดยมาจากตัวอักษรตัวแรกของแต่ละมหาวิทยาลัย

คนลาว

คนลาวอัธยาศัยไมตรีดี่ต่อคนต่างชาติ โดยเฉพาะกับคนไทย เนื่องจากคนลาวชมทีวีไทย นิยมชมชอบคนไทยจากละครที่วี อ่านหนังสือไทยได้เพราะตัวอักษรใกล้เคียงกัน ฟังพูดภาษาไทยได้เข้าใจ ในชนบทถ้าสามารถเข้าสัมผัสได้โดยมีคนลาวที่เป็นญาติในหมู่บ้านนั้นพาเข้าไป จะเห็นวิถีชีวิตคล้ายชาวเหนือไทย มีน้องสาวลูกสาวจะพาแนะนำให้รู้จัก อยากได้เขยคนไทย ผู้ชายคนไทยไปมีเมียมีลูกสร้างบ้านที่ดูดีกว่าบ้านหลังอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันไว้ให้  ไปหาลูกเมียลาวเดือนละครั้งสองครั้ง คนไทยรุ่นหลังอย่าไปทำเสียชื่อนะครับ

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ใบเสมา บ้านกุดโง้ง ต.บุ่งคล้า อ.เมือง จ.ชัยภูมิ


...ของดีเมืองชัยภูมิที่คนขัยภูมิสนใจน้อยลง อย่างน่าเสียดาย
...ใบเสมาอันเป็นอิทธิพลของศาสนาพุทธที่พบบริเวณบ้านกุดโง้ง ต.บุ่งคล้า อ.เมือง จ.ชัยภูมิสร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษ ที่14-16 อยู่ในยุคสมัยทวารวดี(พุทธศตวรรษ ที่12-16)
...ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างระหว่างศตวรรษที่15-16
...ปราสาทหินพิมายสร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่16-17
... นครวัดสร้างขึ้นเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่16-17ยุคขอมเรืองอำนาจ(พุทธศตวรรษที่15-18) ...
...ปรางค์กู่สร้างขึ้นศตวรรษ์ที่ 18(พศ.1724-1763)
...แสดงว่าคนพื้นเมืองที่ชัยภูมินับถือพุทธก่อนขอม
...ขอมคือชื่อวัฒนธรรมพวกนับถือฮินดู,พุทธมหายาน,ท้ายสุดเป็นพุทธเถรวาท คล้ายกับพวกแขกหมายถึงพวกที่นับถือฮินดู,ซิก,และอิสลาม แขกมีหลายชนชาติเช่น อินเดีย ปากิสถาน อัฟกานิสถาน ศรีลังกา
...ขอม อาจหมายถึงคนนับถือฮินดู/พุทธมหายานสมัยนั้น ที่อาศัยอยู่ละโว้ลพบุรี กาญจนบุรี สุโขทัย(วรรคดีเรื่อง"ขอมดำดิน")คนท้องถิ่นเดิมที่อีสาน คนเขมรก่อนเป็นเมืองระแวก

...เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จนิพพาน พระอรหันต์เถรได้สังคายนา พระธรรมคำเทศนา แบ่งออกเป็น 3หมวด เรียกว่า พระไตรปิฎกได้แก่
1)พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยของภิกษุและภิกษุณีโดยเฉพาะ
2)พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยการระลึกชาติชาดกของพระพุทธ เทศนาพระสูตรกรณีตัวอย่างที่มีชื่อคนชื่อสถานที่เช่น กาลามสูตร ฯลฯ
3)พระอภิธรรมปิฎก เป็นธรรมะขั้นสูง หลักวิขาการล้วนๆ เช่นอริยสัจ4 อิทิปัจยตา อิทบาท4 พรหมวิหาร4 ฯลฯ
...ในพระสุตตันตปิฎก กล่าวถึง การระลึกชาติที่เด่น 10 ชาติเรียกว่าทศชาติหรือพระเจ้าสิบชาติ ได้แก่
-พระเตมีย์
-สุวรรณสาม
-มโหสถ
-พระจันทกุมาร
-วิทูรย์บัณทิตหรือวิธูรบัณทิต
-พระนารทะหรือพระพรหมนาทร
-ภูริทัศ
-เนมิราช
-พระมหาชนก
-พระเวสสันดร
...ใบเสมาบ้านกุดโง้ง แกะสลักหิน เป็นภาพทศชาติของพระพุทธเจ้า หนึ่งแผ่นหนึ่งชาดก เช่น ภาพสุวรรณสาม ภาพมโหสถ ภาพวิทูรย์บัณทิต ภาพพระพรหมนารทชาดก น่าจะสร้างเสมาแกะสลักหินครบทั้ง 10 ชาดก
...แสดงว่ายุคนั้น(อยู่ในช่วงเวลาสมัยทวารวดี) คนในสุวรรณภูมิแห่งนี้มีความรู้พระไตรปิฎก ความรู้ภาษาบาลี ใช้อักษรปัลลวะ มีการปฏิบัติธรรมขั้นสูง ทำสมาธิ เดินจงกรม อิงคำสอนศาสนาพุทธอย่างเข้มข้น
...ใบเสมาบ้านกุดโง้ง น่าจะอยู่ในยุคสมัยเดียวกับ พระพุทธบาทบ้านไทรงาม ต.นาเสียว พระเจ้าองค์ตื้อภูพระ ต.นาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ เสมาหินและพระหินใหญ่นครกาหลง อ.คอนสวรรค์
...ภูมิศาสตร์บริเวณบ้านนาฝาย บ้านนาเสียวและบ้านกุดโง้งมีสาขาแขนงแม่นำ้ลำประทาวหลายสายคตเคี้ยวไหลมาจากตาดโตนลงสู่แม่น้ำชี เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะเป็นที่ตั้งชุมชนยิ่งนัก
...ท่านทั้งหลายมาอยู่เมืองชัยภูมิหลายเดือนหลายปี ใครที่ยังไม่ได้ชม ขอเชิญไปเยี่ยมชม ภูพระบ้านนาเสียว พระพุทธบาทบ้านไทรงาม และเสมาหินบ้านกุดโง้งอำเภอเมืองชัยภูมิ พระพุทธรูปหลวงพ่อใหญ่/ใบเสมานครกาหลงวัดคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์กันนะครับ
ดูเพิ่มเติม

ที่มาของรอยพระพุทบาทและทวารวดี

รอยพระพุทธบาท
...มีความเชื่อหลากหลาย บางตำนานยกเมฆพูดเกินจริงไม่เหลือให้เชื่อถือได้ แต่ที่เป็นเหตุเป็นผล เกิดจากการสร้างของมนุษย์ผู้ศัทธาแรงกล้าต่อศาสนาพุทธ..แสดงความหมายว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่มายังบริเวณพื้นที่นั้นอย่างครอบคลุมทั่วถึง  เพราะถือเป็นของสูงจึงนิยมสร้างบนที่สูงเช่นบนภูเขา
...ผู้สร้างน่าจะเป็นคณะสงฆ์และชาวพุทธในพื้นที่แห่งนั้นเอง รอยพระพุทธบาทที่มีชื่อเสียงได้แก่
...พระพุทธบาทแห่งเขาสุมณกูฏ(เขาสิริปาทะ)เทือกเขาอดัมส์พีก..เมืองฮัตตัน ประเทศศรีลังกา
....และพระพุทธบาทสระบุรีประเทศไทย
...น่าจะสร้างขึ้นช่วงเวลาใกล้เคียงกันตามกระแสนิยมสร้างรอยพระพุทธบาทของชาวพุทธฝ่ายเถรวาทนอกแผ่นดินใหญ่ชมพูทวีปขณะนั้น...ได้แก่ศรีลังกา...และที่สุวรรณภูมิ...(ในแผ่นดินใหญ่ชมพูทวีปไม่ปรากฏมีรอยพระพุทธบาท)...
...น่าจะสร้างช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 -16...ตรงกับยุคทวารวดีแห่งสุวรรณภูมิซึ่งมีความเชี่ยวชาญการแกะสลักหิน...
...เท่าที่ค้นพบมีในประเทศไทย.๔๙๑ แห่ง
...ต่างประเทศ ๖๔ แห่ง...(6..ประเทศได้แก่...ศรีลังกา1แห่ง...;สิบสองปันนา26แห่ง;...ลาว 22แห่ง;...พม่า10 แห่ง;...กัมพูชา 3แห่ง...เวียตนาม 2แห่ง;)
...รวมทั้งสิ้น ๕๕๕ แห่ง
...ชัยภูมิมีรอยพระพุทธบาททั้งหมด14 แห่ง ได้แก่...
๑.วัดเขาสระหงส์ บ.นกเขาน้อย ต.นาฝาย อ.เมือง
๒.พระพุทธบาท ๔ รอยภูแฝด บ.ไทรงาม ต.นาเสียว อ.เมือง
๓.ภูพระ (วัดศิลาอาสน์) บ.นาไก่เซา ต.นาเสียว อ.เมือง
๔.พระพุทธบาทเกือกแก้ว ๔ รอยเขายายหอม วัดพระพุทธบาท บ.พระพุทธบาท ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต
๕.อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิต
๖.พระพุทธบาทเขาแก้วพิศดาร (เขาน้อย) บ.ดงลาน ต.วะตะแบก อ.เทพสถิต
๗.วัดป่าภูเขาทอง ต.วังตะเฆ่ อ.หนองบัวระเหว
๘.วัดป่ากุดชุมแสง ต.กุดชุมแสง อ.หนองบัวแดง
๙.พระพุทธบาทเขาบ้านทิกแล้ง ต.หนองโพนงาม อ.เกษตรสมบูรณ์
๑๐.พระพุทธบาทวัดหลักศิลา ต.หนองบัวบาน อ.จัตุรัส
๑๑.สำนักสงฆ์เขาวง ต.โนนแดง อ.บ้านเขว้า
๑๒.เขาพระบาท ต.โนนแดง อ.บ้านเขว้า
๑๓.พระพุทธบาท, พระแท่นภูตะเภา บ.สามสวน ต.สามสวน อ.บ้านแท่น
๑๔.พระพุทธบาทสวนป่าโพธิธรรม ต.โคกมั่งงอย อ.คอนสวรรค์
...ความเป็นมา"ยุคทวารวดี"เป็นช่วงพุทธศตวรรษที่12-16
...คำว่า"ทวารวดี"ปรากฏในบันทึกการเดินทางของภิกษุจีน ที่เรียกอาณาจักรนี้ว่า..."โตโลโปตี้"... รับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย...ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท,มีพุทธมหายานบ้างและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูบ้าง...ใช้อักษร"ปัลลวะ"ของอินเดียและอักษรมอญโบราณ
...ประชากรชาวทวารวดี...ชนชาติมอญเป็นส่วนใหญ่...อาจมีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน...แต่มีผู้ปกครองเป็นชาวมอญ...ดังได้พบจารึกภาษามอญที่เมืองนครปฐม...เมืองลพบุรี...พบการสร้างพระพุทธรูป...ใบเสมามีจารึกอักษรปัลลวะ..รอยพระพุทธบาท...กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของไทย(และมีในประเทศ-พม่า-ลาว-กัมพูชา-เวียตนาม)
..."ทวารวดี" ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยกษัตริย์มอญ...มีเมืองนครปฐมโบราณ..เมืองอู่ทอง เมืองละโว้..เป็นเมืองเอก..นอกนั้นอาจเป็นเมืองแว้นแค้น สัมพันธ์ติดต่อการค้า..แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน..หรือเมืองอาณัติบรรณาการ..พึ่งพาช่วยเหลือกันและกัน..ตามคติพุทธ..ชนชาติมอญไม่นิยมใช้กำลังทหารบังคับกดขี่ข่มเหง..หากนิยมใช้กำลังปัจจุบันควรเป็นชนชาติมอญที่ครอบครองพื้นที่แหลมทองไม่ใช่ไทยและพม่า
...การผลัดเปลี่ยนกลุ่มผู้ปกครองบนสุวรรณภูมิ...เปลี่ยนไปตามการแข่งขันแย่งชิงของกลุ่มชนชั้นปกครอง...แต่คนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มเดิมอาจมีอพยพจากที่อื่นเข้ามาหากินในพื้นที่ใกล้เคียงแล้วผสมปนเปเป็นชนชาติเดียวกัน...ดังนั้นคนท้องถิ่นครั้งหนึ่งอาจถูกเรียกว่าชนชาติ"มอญ"เปลี่ยนเป็น"ขอม"เป็น"สยาม"เป็น"ไทย"ชึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ปกครองและกำหนดให้เป็นอย่างไร
..............................................................................................................
คลิกหรือแตะชมภาพ
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=10q6U7XKJ8edugTK2IKACg&sqi=2&ved=0CBoQsAQ&biw=1024&bih=5400

พระธาตุหนองสามหมื่น

ของดีเมืองชัยภูมิ


...พระธาตุหนองสามหมื่นที่ อำเภอภูเขียว จ.ชัยภูมิ เป็นพระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เหมือนพระธาตุทั่วไป แต่ทีพึ่งทราบและแปลกใจมากคือนักโบราณคดีสัญนิฐานสรุปพร้องกันจากรูปแบบสถาปัตย์และอายุว่าน่าจะสร้างสมัยกษัตริย์ลาวพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชยุคเดียวกับพระธาตุศรีสองรักที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย และผู้สร้างน่าจะเป็นพระไชยเชษฐาธิราช นั่นเอง ผู้สร้างพระธาตุสมัย พศ. ๒๑๐๐ ได้ต้องเป็นเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ที่ทรงอำนาจบารมีอย่างยิ่งมีผู้คนศรัทธามีแรงงานมีทรัพย์สินและที่สำคัญต้องมีพระบรมสารีริกธาตุ ระหว่างอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลยตำแหน่งที่ตั้งพระธาตุศรีสองรักไม่ไกลจากอำเภอภูเขียวจังหวัดชัยภูมิ
พระไชยเชษฐาฯเป็นกษัตริย์ลาวยุคเดียวกับพระมหาจักรพรรดิ/พระศรีสุริโยทัยและบุเรงนองของพม่า
...แต่เพราะเหตุใดจึงมาสร้างพระธ...าตุไว้ ณ หนองสามหมื่น และทำไมหนองแห่งนี้จึงมีชื่อว่าหนองสามหมื่น ใครรู้ช่วยบอกที
...พระไชยเชษฐาอยากได้มเหสีเลือดพระนางศรีสุริโยทัยส่งอำมาตย์ผู้ใหญ่มาขอพระราชบุตรี พระมหาจักรพรรดิ เห็นเป็นการผูกไมตรีทรงยกลูกสาวให้เดินทางไปพร้อมอำมาตย์และทหารคุ้มกัน บุเรงนองรู้ข่าวจัดทหารมาชิงตัวไปไว้ที่พม่า
......เรื่องราวพระไชยเชษฐาฯ ผู้สร้างลาวเป็นปึกแผ่น,สร้างพระธาตุหลวงเวียงจันทร์,พระธาตุศรีสองรักอ.ด้านซ้าย,บูรณะพระธาตุพนมจ.นครพนม,พระธาตุอิงฮังแขวงสุวันเขตและพระธาตุศรีโคตรตะบองแขวงคำม่วน,อัญเชิญเชิญพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงส์จากเชียงใหม่ไปไว้ที่ลาวนับสองร้อยกว่าปี,พาชาติรอดพ้นจากบุเรงนองได้ทั้งที่ล้านนาและอยุธยาเสียเมืองแก่บุเรงนองสิ้นแล้วน่าสนใจมาก, ลาวยกให้เป็นมหาราชองค์สำคัญ/เปิดดูเลย
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99&biw=1024&bih=540&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=Inc8VNf3Gs6LuASS_IHIDg&sqi=2&ved=0CBsQsAQ