วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เส้นทางขนทองคำโข่โหล่ ของพระยาภักดีชุมพล(แล)

ทองคำบ่อโข่โหล่ ค้นพบเมื่อ พศ. 2367 โดยท้าวศิริ คนลาวที่มาอยู่เมืองไทยนาน ตั้งแต่เด็กติดตามบิดามารดามาราชการสงครามตามธรรมเนียมประเทศราชสมัยพระเจ้าตากสิน นับว่าเป็นคนไทยแล้ว บ่อโข่โหล่อยู่บนหุบเขาอีเฒ่า เทือกเขาเพชรบูรณ์ มีลำน้ำเจียงไหลผ่าน พื้นที่ราบกว้างเป็นหมื่นไร่ มีร่องรอย ขุดหลุมหาแร่ทองคำ จำนวนมากเจ้าหน้าที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าอ้างว่าเป็นพันเป็นหมื่นหลุม หลุมขนาดคนลงได้สะดวก ลึกประมาณ 3-6 เมตร แสดงว่ามีทองคำมากมาย ใช้เวลาขุดร่อนหลายปี

ทองที่ได้ช่วงแรกนำไปบรรณาการแด่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์  เจ้าอนุวงศ์เป็นผู้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิ อาณาเขตเมืองประเทศสมัยนั้นไม่มีเส้นแบ่ง แล้วแต่เจ้าเมืองจะใช้กุศโลบายเอาตัวรอดให้อยู่ได้อย่างไร เมื่อเจ้าอนุวงศ์เริ่มคิดกบฏต่อกรุงเทพฯ พระยาแลไม่เอาด้วยเปลี่ยนมาสวามิภักดิ์พระนั่งเกล้าฯ พร้อมบรรณาการต่อเนื่องตามสมควร

เส้นทางการเดินทาง จากบ่อโข่โหล่ ลำห้วยเจียงหรือลำน้ำเจียง บนเขาพระยาฝ่อ สู่บ้านค่ายหมื่นแพ้วชัยภูมิ  จากบ่อโข่โหล่ตามลำน้ำเจียงถึงจุดเชื่อม ลำน้ำเจาประมาณ 15 กม. จากจุดเชื่อมแรกนี้ตามลำน้ำเจาถึงจุดเชื่อม ลำน้ำชีประมาณ 10 กม. จากจุดเชื่อมที่สองไปตามลำน้ำชีถึงบ้านค่ายหมื่นแพ้ว ประมาณ 70-80 กม. รวมเส้นทางตามลำน้ำทั้งสิ้นประมาณ ร้อย กม. เศษ

การเดินทางน้ำเป็นไปได้มากที่สุด เพราะประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา ประหยัดช้างม้าพาหนะและประหยัดอาหารสัมภาระ  ลำน้ำสมัยนั้นอุดมสมบูรณ์ มีระดับน้ำสูงในห้วยตลอดปี ป่าไม้หนาทึบซับน้ำไหลซึมลงห้วยลำตลอด น้ำไม่ไหลเชี่ยว(ยกเว้นฤดูมรสุม) สามารถพายเรือทวนน้ำได้ในบางฤดู

หากเดินทาง ทางบกใช้ช้างเป็นพาหนะแน่ เพราะช้างเดินป่าได้ และชาวชัยภูมิเป็นนักคล้องช้างนักเลี้ยงช้าง มีร่องรอย เลี้ยงช้างที่บ้านโพนทอง บ้านค่ายหมื่นแพ้ว อย่าลืมว่าคนไทยเชี่ยวชาญ การใช้ช้างม้ามาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ทางเดินช้างมักเดินไปเรียบฝังห้วยน้ำ ผ่าน  บ้านโปร่งคลองเหนือ ต.ห้วยต้อน-บ้านชีลองใต้ ต.ห้วยต้อน - บ้านสามพันตา ต.ห้วยต้อน - ออกช่องเขาขาดภูแลนคา - บ้านห้วยกนทา ต.คูเมือง เรียบตามห้วยลำน้ำเจาลำน้ำเจียง - บ้านหัวนาคำ ต.ถ้ำวัวแดง -บ้านบ่อทอง ต.ถ้ำวัวแดง ระยะทางประมาณ 60-70 กม.

ดูภาพจากเพจต่อไปนี้ครับ

https://www.facebook.com/snambin/posts/1018409818191663

 https://www.facebook.com/snambin/posts/1016918711674107

http://biodiversity.forest.go.th/TK/index.php?option=com_zoo&task=item&item_id=440&Itemid=11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น