วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภาษี ปฏิรูป



สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินการคลัง เริ่มต้นว่า ข้อเสนอปฏิรูปที่สำคัญที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปเศรษฐกิจ คือ การปฏิรูปด้านการคลัง ซึ่ง สปช.เสนอปฏิรูปใน 2 ประเด็น คือ เรื่องภาษี และงบรายจ่ายของประเทศ สมชัย ขยายความว่า การปฏิรูปภาษีมีข้อเสนอ....... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/analysis/interview/385408


http://www.posttoday.com/analysis/interview/385408

ฐานคำนวนปี 2558

...ไทยมีผู้มีรายได้ทั้งหมด 38 ล้านคน มายื่นเสียภาษี 11.7 ล้านราย เสียภาษีจริง 3 ล้านคน หนีภาษี 26.3 ล้านราย  (นายกพูดในรายการวันศุกร์ที่30 ตค.58) แต่ละปี หนีภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 70%
...นิติบุคคลจดทะเบียน จำนวน 1.5 ล้านราย เสียภาษีเพียง 6 แสนราย  (นายกพูดในรายการวันศุกร์ที่30 ตค.58) หนีภาษีรายได้นิติบุคคล 60%
 ...ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไทยทั้งหมด 2.7 ล้านราย เสียภาษีเพียง 3 แสนราย หนีภาษี 2.4 ล้านราย แต่ละปี หนีภาษีรายได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล SME นี้ 88%
...ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย ผ่านเว็บไซด์ เฟซบุ๊ก ไอจี ทวิตเตอร์จำนวนทั้งหมดกว่า 5 แสนราย  แต่มีผู้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพียง 1.35 หมื่นราย และ 1.53 หมื่นเว็บไซด์ เพียง 6% ของทั้งหมด หรือหนีภาษีรายได้ด้านนี้ 94%
..อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมูลของไทยน้อยที่สุดในโลกเพียง 7%  ประเทศยุโรปอัตราเฉลี่ย 20% ไทยควรเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มได้แล้ว ใครซื้อสินค้ามากจับจ่ายใช้สอยมากกระทบมาก ชาวบ้านใช้จ่ายน้อยกระทบน้อย
...คนไทยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะการจับจ่ายในห้างใหญ่เท่านั้น ร้านค้าทั่วไป อู่ซ่อมรถ ร้านอาหารร้านค้าสถานบริการห้องแถวไม่มีระบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ละปี หนีภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ  70 %
...ภาษีศุลกากร ก็มีการหลบเลี่ยงช่วยเหลือโดยเจ้าหน้าที่ แต่ละปี หนีภาษีศุลกากร 30%
...ภาษีสัมประสามิตร มีการหนีภาษีสัมประสามิตร 30%
...รวมแล้วแต่ละปีไทยสูญเสียเงินภาษีประมาณปีละ 66.66%  คิดเป็นเงินที่สูญเสียทั้งสิ้นปีละ 4 ล้านล้านบาท เก็บภาษีได้จริงเพียงปีละ 33.33% คิดเป็นเงิน 2 ล้านล้านบาท(ฐานปี งปม. 2558)
...เงิน ปีละ 4 ล้านล้านบาท (ฐานคิดปี 2558) เป็นเงินจำนวนมากมหาศาล 2 เท่าของเงินภาษีที่เก็บได้ หรือ 2 เท่าของงบประมาณประจำปีของไทย ถ้าเก็บได้ครบ 100% จะเก็บได้ปีละ 6 ล้านล้านบาท(50%GDP) หรือถ้าเก็บภาษีได้เพียง ปีละ 4  ล้านล้านบาทเมืองไทย จะ ก้าวข้ามพ้นประเทศที่มีรายได้น้อย หรือประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูงเที่ยบเท่าประเทศเจริญระดับสากล มีกระแสเงินหมุนเวียน สามารถสร้างนวัตกรรม แก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำแตกแยกได้

...ร่างภาษีมรดกออกมาแล้ว ผู้ใดได้รับมรดกมูลค่า 100 ล้านบาท(ต่างประเทศ 0.5 แสนดอนล่า)ไม่ต้องเสียภาษีมรดกส่วนที่ มากกว่า100ล้านบาทเท่านั้นจึงจะเสียภาษีเพียง 5%  (ต่างประเทศ20-40%) คงมีคนเข้าเกณฑ์เสียภาษีมรดกตัวนี้ในประเทศไทยไม่กี่รายไม่ถึง 20 ราย/ปี ออกกฎหมายต้มคนดู

...รอดูร่างภาษีทรัพย์สิน จะออกมาอย่างไรต้มคนดูอีกไหม

...กฎหมายที่ออกมาย่อมเป็นประโยชน์ต่อชนชั้นผู้ออกกฎหมายหรือตามอำนาจนายทุนที่ครอบงำ

...ความเหลื่อมล้ำ อันมากมหาศาล ยากที่จะเกิดความปองดอง คนไทยเพียง0.5%(ประมาณ3-4แสนคน)เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 50% ของทรัพย์สินทั้งหมดในประเทศ (ดูจากบัญชีเงินฝากธนาคาร, เจ้าของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์, และเจ้าของโฉนดที่ดิน) คนจนยังถูกกลุ่มการเมืองใช้เป็นข้ออ้างปลุกระดมได้เสมอ

...คนจนยังขาดที่ทำกิน ปัจจัยสี่ไม่เพียงพอ ขาดอาหาร การรักษาพยาบาลขาดคุณภาพ ที่อยู่อาศัยไม่มีแม้ห้องน้ำ แต่คนรวยคนชั้นกลางอยู่อย่างสุขสบาย คนกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของรัฐมากที่สุด จึงต้องเป็นกลุ่มอุ้มชูสังคม เป็นผู้เสียภาษีให้รัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรมและเสียสระ

...ภาษีมูลค่าเพิ่มได้จาก การซื้อสินค้า ใช้บริการทั่วไปเช่นซ่อมรถ ที่ไม่ใช่ห้างไม่มีเสียภาษี   อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยถูกที่สุดในโลกเพียง 7%   ยุโรป-อเมริกา 15-25% คนจับจ่ายซื้อของและใช้บริการมาก(คนมีเงิน)ย่อมเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาก คนจนใช้จ่ายน้อยย่อมกระทบกับภาษีมูลค่าเพิ่มน้อย

...คนเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเพียง 2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจเพราะหัก ณ ที่จ่าย ควรปรับปรุงให้คนวัยทำงานทุกคนต้องเสียภาษี มีรายได้น้อยเสียน้อยเพื่อสร้างความหวงแหนเงินภาษีของตน ใครไม่มีประวัติเสียภาษีไม่ให้รับเบี้ยยังชีพวัยชรา ยกเว้นคนพิการ

...เมืองไทยมีการหลบเลี่ยงภาษีกันมากได้รับการช่วยเหลือจากข้าราชการกรมเก็บภาษีนั่นเองคิดเป็นจำนวนเงินหลบเลี่ยงคอรับชั่นไม่ต่ำกว่าปีละ 17 % ของGDP เงินหายไปเท่ากับที่เก็บมาได้จริง ในแต่ละปีทีเดียว

...การเก็บรายได้เข้ารัฐประสิทธิภาพต่ำ เมื่อเทียบกับหลายประเทศ ไทยเก็บได้เพียง 17% ของ GDP (ต่างประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เก็บได้ 30-40% ของGDP ถือเป็นมาตรฐานสากล ประเทศใดหาได้น้อย GDP น้อย ก็เก็บน้อยตามอัตราส่วน ไม่เกี่ยวกับส่งออกได้มากได้น้อย GDP คือผลผลิตมวลรวมของชาติ เมื่อมีผลผลิตแต่ละรอบ ย่อมมีการจ้างงาน มีการขายจำหน่าย มีรายได้ มีมูลค่าเพิ่มทุกรอบ รัฐมีหน้าที่ปรับปรุงการทำงานหน่วยเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ) ต่างประเทศที่สามารถเก็บภาษีได้มากหลบเลี่ยงน้อยเพราะใช้วิธี ระบบการใช้จ่ายผ่านบัตรหรือการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ การใช้จ่ายจะถูกหักภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่จ่ายโดยตรง ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ภาษีรายได้นิติบุคคลจะถูกคำนาณจากข้อมูลรายได้ประจำปี

...[GDPไทยปี 2456 จำนวน 12 ล้านล้านบาท เก็บรายได้ได้ 2 ล้านล้านบาท 17% ของGDP ใช้เงินที่เก็บได้เป็นงบประมาณรายจ่ายในปีนั้น]

...งบประมาณไทย 80% ใช้จ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการลูกจ้าง และ 20% ใช้เป็นงบลงทุนเช่นสร้างถนน,โครงสร้างพื้นฐาน,สวัสดิการ,โครงการรัฐบาล

...เรามักเรียกร้องให้รัฐ จัดงปม.เพื่อ ดำเนินการวิจัยนวัตกรรมอย่างน้อย 3 %ของGDP ตามอย่างประเทศพัฒนา แต่ไม่เรียกร้องให้รัฐเก็บรายได้ใกล้เคียงประเทศพัฒนา 35-40%ของGDPด้วย ไทยเก็บรายได้ ได้เพียง 17%ของGDP ดังนั้นหากนำเงินจำนวน 3%ของGDP ซึ่งมีค่าเท่ากับ 18% ของงบประมาณไปใช้จ่ายด้านวิจัยแทบไม่เหลือเป็นเงินลงทุนด้านอื่น ๆ เลย

...เก็บได้ 17% ของ GDP เป็นเงิน 2 ล้านล้านบาท ถ้าเราเก็บได้ 35% ของ GDP เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นเงินงบประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 4 ล้านล้านบาท ใช้เป็นเงินเดือนข้าราชการ 1.6 ล้านล้านบาท ที่เหลือ 2.4 ล้านล้านบาท ใช้สร้างโครงสร้างพื้นฐานและต่อยอดโครงการแก้ความเหลื่อมล้ำได้อย่างพอเพียง ทำได้ทุกปีไม่ต้องกู้ โครงการละ 4 แสนล้านบาท เช่น

1)ใช้เป็นเงินเดือนข้าราชการ 1.6 ล้านล้านบาท
2)เงินวัสดุครุภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้จ่ายในสำนักงานทุกกระทรวง 4 แสนล้านบาท
3)สร้างนิคมการเกษตร นิคมอาชีพมีที่อยู่ที่ทำกินพร้อม ครอบครัวละ5ไร่พร้อมแหล่งน้ำตลอดปี ให้คนจนไร้ที่ทำกินเช่าราคาถูก ปีละแสนครัวเรือน ปีละ 2 แสนล้าน
4)รถไฟรางคู่ ปีละ4 แสนล้าน
5)โครงการเรียนฟรีมีคุณภาพ ปีละ2 แสนล้าน
6)โครงการรักษาฟรีตลอดชีพอย่างมีคุณภาพ และโครงการเบี้ยยังชีพคนอายุ60ปีขึ้นไปจ่ายคนละหมื่นบาท/เดือนอยู่ได้อย่างสบาย ปีละ4 แสนล้าน
7)สร้างถนน และระบบชลประทานป้องกันน้ำท่วม ป้องกันน้ำแล้ง ปีละ4 แสนล้าน
8)สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อต่อยอดอุตสาหกรรม 4 แสนล้านบาท

...ประเทศไทยติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ไม่สามารถก้าวขึ้นสู่ประเทศรายได้สูง ก้เพราะ 2 ปัจจัยสำคัญคือ

1)เราจัดเก็บรายได้ได้น้อย เงินไม่พอใช้จ่ายลงทุนสร้างนวัตกรรม สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

2)คอรับชั่นทุกหย่อมหญ้าเงินลงทุนร้อยเหลือเป็นเนื้อประโยชน์พัฒนาจริงเพียง 50%



*****************************


รายได้จากภาษีเทียบเป็นร้อยละ GDP ของแต่ละประเทศ ;
ประเทศที่จัดเก็บภาษีได้น้อยมี 3 กรณีคือ 

๑)ตั้งใจเก็บภาษีต่ำเพราะรัฐเป็นเจ้าของบ่อน้ำมัน มีรายได้มาก เป็นรัฐสวัสดิการเต็มที่ เก็บภาษีน้อย ประเทศสิงคโปร์เก็บภาษีจากประชากรของเขาน้อยเพียง 14%ของGDP ถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งของประเทศนักธุรกิจ แต่เขามีเงินจากการตั้งกองทุนต่าง ๆ ที่ลงทุนส่วนใหญ่โดยรัฐบาล ออกไปทำธุรกิจทั่วโลกหาเงินรายได้เข้างบประมาณเข้ากองทุนสะสมของประเทศไม่รู้จบ

๒)ตั้งใจเก็บภาษีต่ำเพราะรัฐไม่มีหนี้สิน ไม่จำเป็นสร้างโครงสร้างพื้นฐานมาก สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรเป็นหลัก ไม่เน้นทำรัฐสวัสดิการ ให้ประชาชนอยู่แบบพอเพียงพึ่งพาตนเอง 

๓)จัดเก็บได้น้อย เพราะระบบราชการกรมเก็บภาษีประสิทธิภาพต่ำ

>>>>>คลิกดูเปรียบเทียบรายได้จากภาษีที่เก็บได้เป็นร้อยละ GDP แต่ละประเทศทั่วโลก<<<<<<
                                                     
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP

6 ข้อ โชว์ อีโคโนมิค ฟอรั่ม’พ.ย.นี้
จากแนวหน้าออนไลน์ วันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้แจ้งหมายงานเร่งด่วนไปยังผู้บริหารกระทรวงการคลัง ว่าจะเข้าไปมอบนโยบาย สร้างความแปลกใจให้กับข้าราชการและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังอย่างมาก
นายสมคิดเปิดเผยหลังมอบนโยบายผู้บริหารกระทรวงการคลัง ว่า ได้มอบนโยบายในการทำงานระยะที่ 2 โดยแบ่งกลุ่มงานออกเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย

 1.การปฏิรูปโครงสร้างภาษีอากร เพื่อขยายฐานรายได้ และสร้างความเป็นธรรมให้สังคม โดยจะครอบคลุมหลายเรื่องของระบบภาษี ซึ่งจะทำให้รายได้ประเทศเพิ่มขึ้น โดยไม่เบียดเบียนประชาชน รวมถึงการเดินหน้าการพัฒนาช่องทางการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเพย์เม้นท์ด้วย
สำหรับกลุ่มงานที่

 2 การอำนวยความสะดวกในการลงทุน การทำธุรกิจ และการให้บริการประชาชน โดยในวันที่ 6 พ.ย.นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายักรัฐมนตรี จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงรายละเอียดแผนการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการทำธุรกิจ หรือ Doing Business โดยจะเร่งให้เกิดผลเร็วที่สุด

 3 การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ( สศค.) เรื่องการจัดตั้งกองทุนนวัตกรรม ที่จะนำเงินจากกองทุนมาใช้พัฒนาภาคธุรกิจทั้งไทยและต่างชาติร่วมลงทุน เป็นการยกระดับเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เบื้องต้นจะมีเงินจากรัฐในการจัดตั้งกองทุน

4 เรื่องการพัฒนาตลาดทุนและตลาดเงิน โดยจะให้ สศค. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้พัฒนาทั้ง 2 ตลาดให้เป็นสากลมากขึ้น และต้องสะท้อนความต้องการของเศรษฐกิจ รวมถึงจะต้องมีการแก้ไขกฎเกณฑ์ กฎหมายให้ทันสมัย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5-6 เดือน

5 การเน้นการปฏิรูปภายในกระทรวงการคลัง เช่น กรมธนารักษ์ ต้องตอบสนองนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุให้คุ้มกับมูลค่าทรัพย์สิน

 6 การคลังเพื่อสังคม เช่น ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise แนวทางคือดึงภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนด้านสังคม

“เมื่อมาตรการทุกด้านมีความชัดเจนจะเริ่มนำไปชี้แจงกับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะเวทีการประชุม Asia Economic Forum ช่วงเดือนพ.ย.นี้จะมีการหารือการปฏิรูปด้านต่างๆ ด้วย ส่วนการดำเนินงานในเฟสแรก ที่ออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เชื่อว่าจะเพียงพอต่อสถานการณ์ขณะนี้แล้ว จะไม่มีการออกมาตรการอื่นเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป ซึ่งหากว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่มีการออกมาตรการแล้ว แต่หากจำเป็นก็จะมีการพิจารณาเพิ่มได้”

นายสมคิดยังกล่าวถึงการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ว่า ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ได้เชิญกลุ่มคลัสเตอร์ 7-8 ราย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ชี้แจงในรายละเอียด ก่อนจะไปชี้แจงในที่ประชุมกับนักลงทุนรายใหญ่ในช่วงปลายเดือนพ.ย.นี้ โดยในที่ 3 พ.ย.นี้ จะมีการเสนอแพ็กเกจการส่งเสริมการลงทุนของเอสเอ็มอีกลุ่มใหม่ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่มากขึ้น

“การดำเนินการจากมาตรการทั้งหมดที่ผ่านมาไม่มีทางทำให้รัฐบาลกระเป๋าฉีกอย่างแน่นอน สามารถดูแลการคลังได้เป็นอย่างดี ส่วนการปฏิรูปโครงสร้างภาษีที่จะดำเนินการนั้นจะเป็นการปรับฐานให้ขยายมากขึ้น ลึกมากขึ้น” นายสมคิดกล่าว

http://www.naewna.com/business/186275
http://www.naewna.com/business/186275

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 สิงหาคม 2561 เวลา 01:34

    สวัสดี!
      คุณต้องการเงินกู้หรือไม่? ฉันเป็นผู้ให้กู้ที่ลงทะเบียนและเชื่อถือได้ฉันให้ออกเงินให้กู้ยืมแก่คนที่มีปัญหาทางการเงินคนพยายามที่จะชำระค่าใช้จ่ายโรงเรียนผู้ที่พยายามที่จะซื้อรถหรือเริ่มต้นขึ้นมีธุรกิจของตัวเองผู้รับเหมาและหน่วยงานภาครัฐ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือแบบฟอร์มขอสินเชื่อติดต่อเราทางอีเมล: thompson.loanservice@gmail.com
    การจัดการ whatsapp: +254753990568
    ติดต่อสินเชื่อ Speedy ตอนนี้ !!!

    ตอบลบ