วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปัญหาโรฮิงยา/โรฮิงญา

เรามาเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส คนโรฮิงยา เป็นประเภทไปตายเอาดาบหน้า ให้ทำอะไรก็ยอม

ยูเอ็นเอชซีอาร์ในไทย


ปัญหาผู้ย้ายถิ่นฐานชาวโรฮิงยา  ปัญหาที่อังกฤษทิ้งไว้ให้ภูมิภาคนี้
และกลายเป็นปัญหาที่ไม่มีทางออก

ทำไม ทุกประเทศในแถบนี้ ไม่ยอมรับโรฮิงยาให้ขึ้นฝั่งและให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะโรฮิงยาที่มาจากรัฐยะไข่ในพม่า

เพราะพม่าประกาศมาตั้งแต่ได้รับเอกราชมาจากอังกฤษเมื่อ 70 ปีมาแล้ว โรฮิงยาไม่ใช่คนพม่า แม้พม่าจะประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ เกือบ 140 ชนเผ่า ที่รัฐบาลพม่ายอมรับว่าเป็นคนสัญชาติพม่า แต่พม่ไม่เคยยอมรับว่าชนเผ่าโรฮิงยาเป็นหนึ่งในนั้น และไม่ให้สิทธิต่างๆ ในฐานะพลเมือง ยังถือว่าเป็นผู้อาศัยเท่านั้น และกดดันต้วยวิธีต่างๆ เพราะความแค้น

ความแค้นของพม่ามีมาตั้งแต่สงครามกับอังกฤษ รวมสามครั้ง สองครั้งแรก อังกฤษยึดพม่าตอนล่างรวมทั้งกรุงย่างกุ้งและเมืองต่างๆ บริเวณทางใต้  ครั้งที่สามอังกฤษตีเมืองมัณฑะเลย์จับกษัตริย์พม่าและครอบครัวไปกักตัวไว้ที่มุมไบจนตาย พร้อมทั้งขโมยทับทิม เพชรพลอยและส่ิงของมีค่าไปจากพม่าเกือบหมด และยึดพม่าไว้เป็นเมืองขึ้นทั้งประเทศ

ในการรบกับพม่า นอกจากทหารอังกฤษแล้ว อังกฤษยังเอาทหารกูรข่า และพวกโรฮิงยาจากอินเดีย (ปัจจุบันเป็นบังคลาเทศ) มาช่วยอังกฤษรบกับพม่า และเมื่ออังกฤษยึดครองพม่า ก็เปิดให้คนอินเดียอพยพเข้ามาในพม่าได้อย่างเสรี พวกโรฮิงยาที่มาช่วยรบก็ลงหลักปักฐานในพม่าและส่วนหนึ่งก็อพยพเข้ามาเพิ่มเติม จนปัจจุบันมีคนโรฮิงยาจำนวน 1.6 ถึง 2 ล้านคนในพม่า ซึ่งพม่ายังถื่อว่าพวกโรฮิงยากไม่ใช่พม่าเดิมและเป็นพวกศัตรู แม้โรฮิงยารุ่นแรกๆ จะล้มหายตายจากไปตามอายุขัยและลูกหลานรุ่นหลังๆ จะเกิดในพม่า แต่พม่าก็ยังถือว่าไม่มีทางที่จะเป็นคนพม่าได้ เป็นเพียงผู้อาศัยชั่วคราว ถ้าออกจากพม่าไปแล้วจะไม่ให้กลับเข้ามาอีกเด็ดขาด

แม้จะถูกกดดันจากพม่า แต่สถานการณ์ในบังคลาเทศก็ยิ่งยากจนกว่า และเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่น พวกโรฮิงยาที่เกิดในพม่า เมื่อหลบหนีไปประเทศบังคลาเทศ ก็ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นพลเมือง แม้จะเป็นคนเชื้อชาติเดียวกันและถือศาสนาอิสลามเหมือนกันก็ตาม มีโรฮิงยาจำนวนมากที่หนีไปบังคลาเทศ บังคลาเทศก็ไม่ให้เข้าประเทศ แต่จัดให้อยู่ในแค้มป์ผู้ลี้ภัยตามชายแดนซึ่งยากลำบากมาก และจะกลับเข้าพม่า พม่าก็ไม่ยอมให้กลับเช้ามา และทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดคนพวกนี้ออกไปจากพม่า

ปัญหาจึงอยู่ตรงนี้ว่า คนโรฮิงยาจึงไม่เหมือนผู้ลี้ภัยกลุ่มอื่น และมีจำนวนมากเกือบสองล้านคน ที่อยู่ในความกดดันของพม่าอยู่ตลอดเวลา คนลี้ภัยหรือหนีภัยสงครามจากประเทศลาว เขมร เวียตนาม หรือพวกกะเหรียง หรือชนกลุ่มนัอยอื่น เป็นผู้ลี้ภัยชั่วคราว เมื่อภัยนั้นพ้นไป ก็สามารถส่งกลับประเทศได้ เป็นการให้ที่พักพิงลี้ภัยชั่วคราว (แต่ก็เป็นภาระหนักมาก และอย่าไปหวังว่าประเทศอื่นจะเข้ามาช่วย แม้การรับพวกผู้อพยพไปประเทศที่สาม ก็ใช้เวลานานประมาณ 20 ปี โดยคัดเอาแต่คนหนุ่มสาวที่ไปเป้นกลังแรงงานได้และมีความรู้ไป ทิ้งประชากรที่ด้อยคุณภาพไว้ให้ประเทศไทยรับเป็นภาระต่อมาจนทุกวันนี้) แต่ผู้ลี้ภัยโรฮิงยาเป็นผู้ลี้ภัยถาวร ไม่ว่าประเทศใดที่รับไว้ หมายความว่าต้องรับไว้ตลอดชีวิตตลอดจนลูกหลานที่จะเกิดตามมาในอนาคต  ไม่มีทางที่จะส่งกลับไปได้ และ UNHCR  United Nations High Commissioner for Refugees  หรือ The UN Refugee Agency ก็ไม่กล้าออกมาสนับสนุนเงินทุนเหมือนกรณีอื่น เพราะกรณีนี้หากมีการตั้งค่าย จะต้องเป็นค่ายถาวรไปไม่รู้ว่าจะจัดการส่งกลับต้นทางได้หรือไม่ (ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางทำได้) และจะตั้งค่ายไปตลอดชีวิตจนถึงชั้นลูกหลานได้อย่างไร ใครจะรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย ในที่สุดก็ต้องกดดันประเทศที่รับไว้ให้หาทางเลี้ยงคนพวกนี้ไปจนตาย

ด้วยเหตุนี้ ทั้งสามประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย จึงไม่กล้าที่จะรับชาวโรฮิงยามาไว้ในประเทศ ที่เข้ามาแล้วก็ผลักดันกันไปด้วยวิธีการนอกระบบ ด้วยการส่งออกไปทางชายแดนพม่า แต่ทั้งสามประเทศไม่ยอมให้เข้ามาในน่านน้ำตัวเอง ได้แต่ส่งน้ำ ส่งอาหารและซ่อมเรือให้ แล้วผลักดันออกไปในเขตทะเลสากล หรือในน่านน้ำของต่างประเทศ  เพราะไม่มีใตรที่กล้ารับภาระที่ไม่รู้จบในขณะที่ประเทศเหล่านี้ยังมีปัญหาประชาชนที่ยากจนและเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่

ทางตะวันตกที่เคยเสียงแข็งเรื่่องสิทธิมนุษยชน ก็ไม่กล้าแอะปาก เพราะในยุโรปเอง อิตาลีก็ใช้วิธีกันเรื่อผู้อพยพไม่ให้เข้ามาในน่านน้ำ เพราะอิตาลีเองก็เจอปัญหาผู้อพยพจากอาฟริกาเข้ามาในอิตาลีจำนวนมาก และได้ร้องขอให้ชาติในยูโรช่วย แต่ก็ถูกทอดทิ้งให้รับภาระตามลำพัง

ออสเตรเลียที่ทำตัวเป็นชาติที่มีมนุษยธรรมสูง และชอบโจมตีผู้อื่น ก็เจอปัญหาผู้อพยพทางเรือเข้าออสเตรเลียมากมาย จนออสเตรเลียต้องใช้ทหารเรื่อกันไม่ให้เรือผู้อพยพเข้ามาในน่านน้ำ และใช้วิธีลากเรือผู้อพยพออกนอกเขตน่านน้ำของตนเช่นเดียวกัน หากผู้อพยพจมเรือ ก็จะเอาไปทิ้งไว่้ในเกาะคริสต์มาส ซึ่งออสเตรเลียถือว่าไม่ได้อยุ่ในดินแดนของตน (แต่ออสเตรเลียครอบครองอยู่) และสร้างค่ายกักกันคนเหล่านี้ไว้  และเมื่อไม่ถือว่าอยู่ในดินแดนของตน คนเหล่านี้จึงไม่ได้สิทธิในฐานะผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย (ที่ทั้งออสเตรเลียและอิตาลี เป็นภาคีอนุสัญญานี้ แต่ประเทศในอาเซียนทั้งหมดไม่มีใครกล้าเป็นภาคี เพราะอนุสัญญานี้ให้สิทธิผู้ลี้ภัยมากมาย และกำหนดให้รัฐบาลที่รับผู้ลี้ภัยไว้ต้องดูแลผู้ลี้ภัยดีกว่าที่ดูแลประชาชนของตัวเองเสียอีก)

ประเทศที่เคยทำตัวเป็นผู้ที่มีมนุษยธรรมสูงและชอบตำหนิประเทศอื่นว่าไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ ก็ไม่กล้ามีปากเสียง เพราะหากออกหน้ามาจะถูกสวนทันทีว่า ประเทศนั้นจะรับผิดชอบด้านการเงินไหม และจะรับคนพวกนี้ไปประเทศตัวเองไหม จะได้ส่งให้ทันที

UN ก็เหมือนคนง่อยเปลี้ยเสียขา เพราะมองเห็นแล้วว่าหากเข้าไปรับภาระเต็มๆ ด้วยตัว UN เอง ก็ต้องรับภาระทั้งหมด โดยเฉพาะด้านการเงิน ทั้งๆ ที UN ก็ใกล้ล้มละลายเต็มที จะหาเงินมาใช้แต่ละปีต้องไปง้อประเทศผู้บริจาคให้วุ่นไปหมด ถ้ามารับงานนี้เต็มตัว  UN จะไม่มีเงินมาจ่าย ต้องตัดเนื่อตัวเอง และอาจจะล้มละลายในที่สุด

นอกจากนั้น UN เองก็ไม่มีปัญญาที่จะไปจัดการกับประเทศพม่าให้ลดการกดดันชาวโรฮิงยา และให้รับพวกโรฮิงยากลับ  หากพม่ายอมรับกลับ และอยู่ร่วมกันโดยไม่กดดันชาวโรฮิงยา ปัญหาคงจะน้อยไปกว่านี้เยอะมาก

อีกประเด็นหนึ่งที่ประะเทศในแถบนี้ไม่กล้ารับโรฮิงยาไว้และดูแลตามมาตรฐานที่ UN กำหนด เพราะยังมีชาวโรฮิงยาอีกล้านกว่าคนที่รอดูอยู่ หากเห็นว่าได้รับการดูแลดี อีกล้านกว่าคน หรืออย่างน้อยหลายแสนคนพร้อมที่จะเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมฺของพม่าที่ต้องการไล่ชาวโรฮิงยาออกนอกประเทศอยู่แล้ว

ประเทศในแถบนี้ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ บรูไน) ไม่มีใครกล้ารับพวกนี้ไว้และปกป้องน่านน้ำของตนเองอย่างรัดกุม

จึงอยู่ที่ความร่วมมือของทั้งสามชาติหลัก คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ที่จะต้องร่วมมือกันกำจัดกลุ่มเครือข่ายการลักลอบพาคนเข้าเมือง ซึ่งมีทั้ง คนพม่า คนโรฮิงยา คนไทย คนมาเลเซีย และคนอินโดนีเซียอย่างเด็ดขาด โดยใช้กฎหมายใหม่ของไทย คือ พรบ ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ อย่างเด็ดขาด เพราะคนพวกนี้เป็นต้นตอในการนำคนเหล่านี้ให้ลงทะเลข้ามมา  รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ต้องไม่เห็นแก่ได้  ต้องไม่รับเงิน และต้องจัดการปราบปรามอย่างจริงจัง  เงินเล็กน้อยที่พวกนี้ได้ แต่จะสร้างภาระให้ประเทศไทยไปชั่วลูกชั่วหลาน

โรงฮิงยาแทรกซึมเข้ามาอยู่เมืองไทยนานแล้วเริ่มตั้งแต่หลังพม่าได้เอกราชจากอังกฤษประมาณปี พศ. 2493 เป็นต้นมา แขกขายโรตี ขายถั่ว เกือบ 100% คือโรฮิงยา พวกเขาส่วนมากจะปิดบังตัวเอง อ้างตัวเองเป็นชาวอินเดียเนื่องจากเข้าประเทศด้วยขบวนการสีเทา

อังกฤษสร้างปัญหาไว้ให้พม่าอีกหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งคือเรื่องสนธิสัญญาเวียงปางหลวง(โหลง) ที่อังกฤษเป็นเจ้ากี้เจ้าการ จนทำให้พม่าต้องรบกับชนกลุ่มน้อยมา 70 กว่าปีที่ผ่านมา (จากโพสต์แชร์ในไลน์)

ความเห็นผมว่า

เรามาเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส คนโรฮิงยา เป็นประเภทไปตายเอาดาบหน้า ให้ทำอะไรก็ยอมเราเอามาอบรมพัฒนาฝีมือพัฒนาความเชื่อให้เข้ากันได้กับคนไทยอย่างไม่มีปัญหา  แลกกับการอนุญาตให้อยู่เมืองไทย หากเป็นไปได้ต่อรองให้นับถือพุทธเหมือนคนไทย ส่งเข้าทำงานที่คนไทยไม่ยอมทำเช่นงานแรงงานไร้ฝีมือต่าง ๆ เอามาเป็นพลเมืองชั้นสองมีบัตรประชาชนแบบชั้นสอง(Green Card)มีสิทธิและหน้าที่เฉพาะแบบที่อเมกาให้แก่คนต่างชาติ  เมื่อเป็นที่ไว้วางใจแล้วจึงให้บัตรประชาชนแท้  ช่วยกันสร้างรายได้สร้างชาติหาเงินเสียภาษีให้รัฐ

ย้อนอดีต โรฮิงญา เมืองระนอง ในความทรงจำของลูกสาวนายจ้าง          
http://www.oknation.net/blog/kangmatoom/2009/02/13/entry-2 

 
 
"โรฮิงญา" กำลังโด่งดังเป็นปัญหาเรื่องการไหลทะลักเข้าเมืองโดยเฉพาะที่ระนอง เมืองที่มีพม่าคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ร่วมในสังคม ชนิดที่พูดกันว่า"ระนองน่าจะเป็นจังหวัดหนึ่งของพม่า เพราะประชาชนเกือบสองแสนคนเป็นพม่าเกินครึ่ง" เมื่อคนต่างด้าวเหล่านี้ไม่ก่อปัญหาอาชญากรรม การอยู่ร่วมกันก็ผาสุกดี เกิดปัญหาขึ้นมาก็จัดการกันเสียที "โรอิงญา" ก็อยู่กันเต็มระนองเหมือนกัน โดยเฉพาะที่ชุมชน "โรฮิงญา" ซอย 2
"โรฮิงญา" ก็เป็นพลเมืองพม่าพลัดถิ่น จากรัฐอาระกันที่พม่าไม่ยอมรับว่าเป็นพลเมืองของตน พยายามผลักดันให้ออกนอกประเทศ ไม่ใช่ว่าเพิ่งกระทำกันในช่วงนี้ ปัญหานี้มีมานานแล้ว เพิ่งมาโด่งดังจนไทยเราจะกลายเป็นดินแดนไร้มนุษย์ธรรมในสายตาต่างประเทศเพราะไปผลักดันให้ออกไป เรื่องจริง ความจริง การกระทำจริงเป็นอย่างไรผู้เขียนไม่ทราบได้ แต่ในสายเลือดความเป็นไทยไม่เชื่อว่าไทยเราจะโหดร้ายทารุณขนาดนั้น ไม่ว่าประเทศใดในโลกก็ต้องการทนุบำรุงประชาชนในชาติของตนให้เงยหน้าอ้าปาก มีชีวิตที่ดีอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกก่อนที่จะอ้าแขนรับชนต่างด้าวแน่นอน การกล่าวหาเจ้าหน้าที่ไทย ในความรู้สึกของผู้เขียนแล้วคงเข้าประเภทไม่โดนกับตัวเองไม่รู้สึก
ขอพูดถึง"โรฮิงญา" ตามที่ตั้งหัวเรื่องดีกว่า เมื่อ 57 ปีที่แล้ว คุณตาของผู้เขียนเป็นหัวหน้าช่างไฟฟ้าในบริษัทไซมีสติน ซึ่งเข้ามาทำเหมืองขุดแร่ดีบุก ผู้เขียนเกิดได้ 1 ปี คุณตารับจากคุณพ่อไปอยู่ด้วยในฐานะลูกบุญธรรม เท่าที่จำได้เคยมีพี่เลี้ยงเป็นแขกตัวดำ ๆ ที่คนระนองเรียกว่า "กะลา" ชื่อรำรู" และ "อานะ" เป็นพี่เลี้ยง ผู้เขียนยังจำกลิ่นนมเนยผสมขี้วัวของพี่เลี้ยงทั้งสองคนได้จนบัดนี้ คุณตาเคยเล่าให้ฟังว่าพวกนี้เป็นแขกในเมืองพม่า จะเป็นพม่าก็ไม่ใช่ เป็นแขกบังคลาเทศเขาก็ไม่ยอมรับ ต้องระเหเร่ร่อนจากบ้านเมือง มาแล้วก็ไม่มีบ้านให้กลับไปอีก ชีวิตมาตายเอาดาบหน้า ซึ่งก็ไม่ทราบที่มามากไปกว่านั้น แขกกะลาจะไม่กินเส้นกับพม่าแท้ ๆ เจอกันมักตีกัน บริษัทก็จัดที่อยู่ให้ต่างหากไม่รวมกับพม่า บริเวณที่อยู่ของพวกนี้เรียกว่า "เทิกกะลา" ( เทิกหมายถึงเนินเขา ในความหมายของคนระนอง) ผู้เขียนเป็นเด็กก็ไม่ทราบต้นสายปลายเหตุว่าทำไมเขาต้องตีกันด้วย ต่างฝ่ายก็เข้ามารับจ้างเป็นคนงานในบริษัท คนพวกนี้ใช้แรงงานแลกเงิน ทุกคนทำงานหนัก ความเป็นอยู่ไม่ค่อยดีนัก (ตามความคิดของผู้เขียน) มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ เคยเห็นกะลากินเหล้าเมาจนตัวตายนอนกลางถนนในบริษัท เก็บมาฝันร้ายไปหลายคืน คุณยายซึ่งเป็นแม่สอนให้รู้จัก "ให้" ความรัก ความสงสาร เท่าที่เพื่อนมนุษย์จะให้แก่กันได้ ครอบครัวเราก็ได้รับความรัก ความซื่อสัตย์ตอบแทนตามควร "โรฮิงญา" บางคนหันมานับถือศาสนาพุทธ เข้าวัดทำบุญ มีวิถีชีวิตผสมกลมกลืนไปกับไทยและพม่าในบริษัท จนผู้เขียนเติบใหญ่ ย้ายไปอยู่ที่อื่น และบริษัทเลิกกิจการ ผู้เขียนกับ"โรฮิงญา" ก็จากกัน มีเพียง "รำรู" ที่ตามไปทำเหมืองกับคุณพ่อจนแก่ตายไปหลายปีแล้ว ที่มานั่งเขียนถึงนี้ มิใช่อะไร แต่เหตุการณ์เกี่ยวกับ "โรฮิงญา" ที่เกิดขึ้นทำให้นึกถึงเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาได้ ก็อยากระลึกถึงความหลัง ฝากผ่านให้เพื่อนสมาชิกบล็อกได้อ่านกันบ้างเท่านั้นเองค่ะ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น