วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การผลิตครูอาชีวศึกษา

...การผลิตครูช่างครูอาชีวศึกษา...หลายสถาบันปัจุบันคุณภาพยังไม่ถึงขั้นไม่ควรรับผู้สำเร็จม.6มาเรียนครูที่จะไปสอนปวช.ปวส.ของอาชีวศึกษาเพราะพวกจบม.6ปฏิบัติงานทางช่าง,ทางเกษตรกรรม,ทางคหกรรม,ทางบริหารธุรกิจพาริชยกรรมคอมพิวเตอร์การขายการตลาดฯลฯไม่เป็นจะมาสอนเด็กอาชีวะได้อย่างไร
...ครุศาสตร์พระนครเหนือเข้มมากครับสมัยผมเรียนปี2520สมควรเป็นแบบอย่างรับผู้จบปวช.มาเรียนภาคปรกติ4ปี  รับผู้จบปวส.มาเรียนภาคบ่าย2.5ปีบวก2Summer
...เน้นฝึกสอนจริงกับนักเรียนสาธิตระดับปวช.ของพระนครเหนือเองและเรียนวิชาครูวิชาช่างเข้มข้นติวก่อนสอนหลังสอนนิเทศน์แนะนำอีกครั้งจริงจังใช้หลักสูตรเยอรมัน(ฝึกสอนสัปดาห์ละสามครั้ง ครั้งละ2 ชม.หมุนเวียนกัน..หลังสอนนิเทศตรวจปรับปรุงอีก1ชม. )
 ...สถาบันใดจะผลิตครูอาชีวศึกษาต้องมีโรงเรียนสาธิตระดับปวช./ปวส.เป็นของตนเองทีมอาจารย์ผู้สอนวิชาปฏิบัติการสอนแต่ละกลุ่มเรียนต้องมีอย่างน้อย4คนต้องไปนั่งดูวิธีการสอนและประชุมนิเทศแนะนำปรับปรุงพัฒนาการสอนด้วยตนเอง..ฝึกสอนทั้งวิชาปฏิบัติและวิชาทฤษฎี
...เมือผมมาประกอบอาชีพเป็นครูสอนและเป็นผู้บริหารฝ่ายวิชาการวิทยาลัยสังกัดสอศ.อาชีวศึกษาได้ตรวจผลงานครูได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้,เครื่องมือวัดผลแบบทดสอบ,การสร้างสื่อประกอบการสอน,สังเกตวิธีการสอนในห้องเรียนในพื้นที่ฝึกงาน,ได้พบเห็นผู้สำเร็จครูช่างอาชีวศึกษาจากหลายสถาบัน
...ไม่เข้าข้างสถาบันใดนะครับผลปรากฎว่าครูที่จบมาจากคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่พระจอมเกล้าพระนครเหนือexpertมีคุณภาพมากครับ
...คุณสมบัติผู้เข้าเรียนครูอาชีวศึกษารับจากผู้สำเร็จปวช.3 เท่านั้น  และควรเสริมหลักสูตรให้บัณฑิตครูช่างครูอาชีวศึกษาออกไปฝึกงานทางช่างทางอาชีพที่จะสอนในสถานประกอบการอย่างน้อย1ปีใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี ได้ปริญญาตรีควบปริญญาโทรวดเดียว 


การผลิตครูพันธุ์ใหม่ให้ได้คุณภาพ/เชี่ยวชาญวางแผนออกแบบและจัดการการเรียนรู้ได้สนุกผลสัมฤทธิ์สูง/เชี่ยวชาญวัดผลตามสภาพจริง/มีจิตวิทยาการสอนตามวัยผู้เรียน/มีจรรยาบรรณและสอนให้ผู้เรียนปฏิบัติเป็นอันดับเอก/ทฤษฎีเป็นอันดับโท/...ระหว่างเรียนบัณฑิตครูให้นิสิตครูอยู่ในระบบโรงเรียนกินนอนเหมือนนักเรียนนายร้อยสอนกันตลอด24ชั่วโมงทั้งวินัยตรงเวลาและคุณธรรมจริยธรรม/...ระหว่างฝึกสอนครูอาจารย์เดิมในสถานศึกษาที่ใช้ฝึกสอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีผลสัมฤทธิ์นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์สทศ. ครูพี่เลี้ยงควรมีคุณภาพทุกเรื่องครูพี่เลี้ยงผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีมีการขึ้นทะเบียนมีใบอนุญาตจากสถาบันผลิตครู...ครูพี่เลี้ยงมีค่าตอบแทนเฉพาะ ทุ่มเทกายใจเหมือนอาจารย์หมอฝึกปฏิบัตินักศึกษาแพทย์/คัดเลือกสถานศึกษาที่ใช้ฝึกสอนและประชุมทำความตกลงเข้าใจให้ดี/ให้สิทธิสถานศึกษาที่ใช้ฝึกสอนเป็นผู้ให้เกรดวิชาฝึกสอน100% /มีค่าตอบแทนให้สถานศึกษาฝึกสอนและครูพี่เลี้ยงเฉพาะตัวด้วย/...หรืออีกทางเลือกหนึ่งดีที่สุดสถาบันผลิตครู  ทั้งผลิตครูอาชีวศึกษาและผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีโรงเรียนสาธิตเพื่อใช้ฝึกสอนเป็นของตนเองและนักเรียนสาธิตของตนจะต้องมีคุณภาพได้มาตรฐานของ สทศ.หากไม่มีโรงเรียนสาธิตของตนก็ไม่ควรให้เปิดคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อพิสูจน์ว่าก่อนที่จะสอนผู้อื่นตนเองทำได้แล้วหรือยัง


(เดลินิวส์ออนไลน์หน้าการศึกษา:วันจันทร์ 20 ตุลาคม 2557 เวลา 09:38 น.)วันนี้ (20 ต.ค.) ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เปิดเผยว่า นักวิชาการ จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้เสนอแนวคิดการผลิตและพัฒนาครูว่า ต้องการให้มีระบบผลิตครูแบบปิด คือ มีสถาบันผลิตครูที่ควบคุมดูแลการผลิตครูในภาพรวมทั้งประเทศ เพราะที่ผ่านมาสถาบันอุดมศึกษาผลิตครูโดยไม่ดูความต้องการที่แท้จริง ทำให้ผลิตจนล้น ซึ่งความจริงต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าในแต่ละปีต้องการครูสาขาวิชาไหน จำนวนเท่าไหร่ จากนั้น สกอ.จึงจะไปประสานกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เพื่อผลิตครูให้ตรงตามเป้าหมาย และจะทำให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ได้รับการบรรจุเป็นครูทั้งหมดด้วย
“ผมจะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขด้วยว่า ผู้เรียนจะไม่สามารถเลือกสถานที่บรรจุได้ หากถูกส่งไปเป็นครูที่ไหนก็ต้องไป เพราะถือว่าตัวเองได้โอกาสที่ดีกว่าคนอื่น เนื่องจากมีการการันตีเรื่องตำแหน่งงานให้ทันทีหลังเรียนจบ และอาจจะต้องแลกกับการให้บางสถาบันต้องหยุดหรือลดการผลิตครูลงด้วย" ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว.

ใบประกอบวิชาชีพผู้สอน(ครูอาจารย์)
...ผู้สอนทุกระดับต้องมีความรู้ด้านวิชาชีพครู...มีจิตวิทยาการสอน วัดผลประเมินผลมีความเที่ยงมีความตรง วางแผนการจัดการเรียนรู้ได้คุณภาพ มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพไม่มุ่งผลิตบัณฑิตเชิงการค้าจนตกงาน ผู้สอนบัณฑิตครู ต้องใช้ทักษะวิชาชีพครู(Teaching Methods) จัดการการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีคุณภาพเป็นแบบอย่างได้

...คุณภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนไม่มีมาตรฐาน ผลิตบัณฑิตผลสัมฤทธิต่ำ,ตกงานเยอะ53%ทุกปี,แต่ละมหาลัยแตกแยกแบ่งฝ่ายแย่งผลประโยชน์,บางแห่งใช้เงินได้ค่าเช่าจากทรัพย์สินที่ ร.5 ยกให้เยอะมากๆแต่ยังห่างไกลไม่สามารถก้าวสู่มหาวิทยาลัยชั้นเลิศระดับโลกได้

...ครูผู้สอนทุกสังกัดต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู/ใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา.....แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต้องมีทั้งสองใบ

...ใบประกอบวิชาชีพครู/ผู้สอนที่อ้างว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงควรยกเลิกไปเพราะผู้สอนไม่มีมาตรฐานเดียวกัน อาจารย์ในมหาลัยหลากหลายคณะหลายสถาบันไม่ได้ประเสริฐเลิศเกินกว่าครูในโรงเรียนแต่อย่างใด

...เราพยายามจะทำให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงวิชาชีพมาตรฐานแต่กลายเป็นวิชาชีพ"สองมาตรฐาน"...แบ่งชั้นกันแล้วจะได้รับการยอมรับจากสังคมเช่นวิชาชีพอื่นๆได้อย่างไรครับ


...ควรใช้มาตรการเด็ดขาดกำหนดเป็นนโยบายจบม.3 เรียนต่อม.4ได้เพียง 40%ที่เหลือไปเรียนอาชีวศึกษา60%(เยอรมัน30:70)..ปล่อยตามใจคนไม่ได้..ใครๆก็หวัง/อยากทำงานสบาย..รัฐประหารทั้งทีอย่าให้เสียของ
...ดูอย่างเยอรมัน/สิงคโปร์/เกาหลี/ฮ่องกง/ไต้หวัน/เซี่ยงไฮ้
...สายสามัญรับจำนวนจำกัดใครอยากเรียนม.4ต้องสอบให้ได้ตามจำนวนที่จำกัดที่เหลือไปเรียนอาชีวศึกษาอ่านหนังสือกวดวิชากันสุดฤทธิสุดเดชซึ่งเป็นการดีทำให้เด็กเขาเก่งติดอันดับโลก..ผู้เรียนอาชีวศึกษาเขามีทางก้าวหน้าในอาชีพของตนและสามารถเรียนได้ถึงปริญญาเอกเช่นกัน
...แต่เพื่อให้มีคนทำงานในระดับล่างเขากำหนดว่าก่อนเรียนระดับสูงขึ้นต้องผ่านการทำงานก่อนเช่นจบม.6/ปวช3จะมีสิทธิเรียนต่อปริญญาตรี/ปวส.ต้องผ่านการทำงานในสายการผลิตอย่างน้อย1ปี..จบปวส.2จะมีสิทธิเรียนต่อปริญญาตรีต้องผ่านการทำงานอย่างน้อย2ปีและหลักสูตรระหว่างเรียนปริญญาตรีต้องมีเวลาฝึกงานหรือพัฒนางานในสถานประกอบการอย่างน้อย1ปี
...จะเป็นมาตรการให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาพัฒนาเยาวชน ได้แรงงานระดับล่างเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น1.2ล้านคน/ปีที่มีการศึกษาพัฒนาวินัยฝีมือพื้นฐานได้ง่ายสะดวกและผู้เรียนเยาวชนได้สัมผัสงานระดับล่างก่อนจบป.ตรีก่อนเป็นผู้บริหารระดับสูงของชาติต่อไป...วันนี้ (29 ม.ค.) โรงแรมรามาการ์เด้นส์ นายไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวในการเสวนาปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอนหนึ่งว่า การจัดศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน จำเป็นที่ที่จะต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการประกอบ อาชีพด้วย เพราะข้อมูลจากหลายแหล่งสะท้อนว่า เด็กไทยจำนวนมากต้องเข้าสู่ตลาดแรงานโดยไม่มีโอกาสได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษา โดยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2557 ระบุว่า เยาวชนอายุ 15-19 ปี(วัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน) จำนวน 4.74 ล้านคน กำลังเรียนอยู่ในระบบการศึกษา 3.33 ล้านคน เลิกเรียนไปแล้วถึง 1.41 ล้านคน หรือ ร้อยละ 29.63 ส่วนใหญ่เด็กที่ออกกลางคันไม่ได้เต็มใจออกจากการเรียนก่อนวัยอันควร แต่จำเป็นต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานเพราะความยากจน เพราะฉะนั้นจึงทำให้ประชากรวัยแรงงานของไทยมีการศึกษาเฉลี่ยต่ำ โดยพบว่า ประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-60 ปี) จำนวน 39 ล้านคน มีผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ถึงร้อยละ 48.6 หรือ 19.5 ล้านคน นายไกรยส กล่าวต่อไปว่า การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนผู้เข้าสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ก็สะท้อนชัดเจนว่า มีเด็กออกกลางคันจำนวนมาก โดยจากการติดตามข้อมูลการเข้าสอบโอเน็ตของเด็กที่เกิดในปี 2538 พบว่า เด็กที่เกิดในปีนี้ทั้งหมด 928,956 คน เข้าสอบโอเน็ตระดับชั้น ม.3 ในปี 2554 จำนวน 804,822 คน พอถึงปี 2557 เหลือเข้าสอบโอเน็ตระดับชั้น ม.6 แค่ 411,195 คน หายไป 237,237 คน หรือ 29.5% ส่วนการติดตามข้อมูลของเด็กที่เกิดปี 2541 ทั้งหมด 862,260 คน พบว่า เข้าสอบโอเน็ตระดับชั้น ป.6 ในปี 2554 จำนวน 805,086 คน พอถึงปี 2557 เหลือเข้าสอบโอเน็ตชั้น ม.3 แค่ 680,348 คน หายไป 124,738 หรือ 15.5%“ ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า มีเด็กที่เกิดในปี 2538 และ 2541 หายไปจากระบบการศึกษาทั้งสิ้น 361,975 คน คิดเป็น 40% เมื่อดูข้อมูลการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา พบว่า เด็กที่เกิดในปี 2538 และ 2541 เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพแค่ร้อยละ 40 อีกร้อยละ 20 เข้าสู่ตลาดแรงงานด้วยวุฒิ ม.6 เพราะฉะนั้นเท่ากับว่า เด็กไทยร้อยละ 60 หลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนเข้าระดับอุดมศึกษา โดย 2 ใน 3 หรือเกือบร้อยละ 40 ออกไปด้วยวุฒิการศึกษาไม่เกิน ม.3“ นายไกรยส กล่าวและว่า ส่วนเด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยได้ประมาณ 400,000 คนต่อปี มี 1 ใน 10 คน ใช้เวลาเรียนมากกว่า 4 ปี หรือต้องเปลี่ยนสาขา และมีเด็กที่เรียนไม่จบถึง 145,000 คน ส่วนเด็กที่จบนั้น สามารถหางานทำในปีแรกได้แค่ 105,000 คน ว่างงานในปีแรก 150,000 คน นายไกรยส กล่าวด้วยว่า การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย ควรให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาของเด็กที่ไม่ได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษาด้วย โดยให้เด็กที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทักษะในการประกอบอาชีพ ดูแลตัวเองและครอบครัวได้ นอกจากนี้ควรขยายหลักสูตรท้องถิ่นให้โรงเรียนมีอิสระในการจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพหลังจบการศึกษา หรือให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของระบบแรงงาน เพราะวิธีดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาเด็กออกจากระบบการศึกษากลางคัน และยังสามารถเพิ่มประชากรวัยแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถอีกด้วย.


เรียนสายอาชีพเพื่อสร้างชาติ

ประชาชาติธุรกิจ"การเรียนสายอาชีพเพื่อชาติ"

updated: 20 ต.ค. 2557 เวลา 13:51:47 น
Prev
1 of 3
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 20 ต.ค. 2557 เวลา 13:51:47 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
การที่จะชักจูงให้มีผู้สนใจเข้ามาเรียนสายอาชีพมากขึ้น ต้องทำทั้งมาตรการจูงใจและภาคบังคับ เปลี่ยนมุมคิดผู้ปกครองในโลกความจริง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยคาด 10 ปีเห็นการเปลี่ยนแปลง มีสัดส่วนสายวิชาชีพมากกว่าสายสามัญ ลดจำนวนแรงงานล้นเกิน(ว่างงาน)ทั้งที่ขาดแคลน





"ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์" ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า โครงสร้างแรงงานของไทยมีอัตราการว่างงานค่อนข้างต่ำ ภาคเศรษฐกิจของไทยใช้แรงงานเกินกว่าขีดความสามารถในการเพิ่มของกำลังแรงงานของไทย (Over-employment) ต่อเนื่องกันมานาน ดัชนีชี้วัดที่สำคัญสามารถดูได้จากจำนวนการจ้างงานที่สูงอย่างต่อเนื่อง จนอัตราการว่างงานของไทยถึงจะผันผวนเป็นรายไตรมาสไปบ้าง แต่ก็มีอัตราค่อนข้างต่ำอยู่ในช่วง 0.5-2.0% ของกำลังแรงงาน
"ยิ่งพิจารณาจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นรายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2557 พบว่าอัตราการว่างงานโดยรวมแต่ละเดือนยังสูงกว่าปี 2556 มาโดยตลอด แต่ยังไม่สูงพอที่จะทำให้การมีงานทำของประเทศไทยลดจำนวนการจ้างงานลง อาทิ ในเดือนมกราคม 2557 มีผู้มีงานทำ 37.79 ล้านคน เดือนสิงหาคมก็ยังมีผู้มีงานทำถึง 38.37 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 0.2% ต่อเดือน จึงไม่น่าแปลกใจว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานในเชิงปริมาณจะยังคงมีอยู่ แม้ว่าจะดีขึ้นบ้างก็ตาม"

"ปัญหาที่พบคือ มีการผลิตบุคลากรที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการในสาขาขาดแคลน โดยดูจากจำนวนผู้ว่างงานที่มีสัดส่วนมากกว่าจำนวนที่ขาดแคลนในทุกระดับการศึกษา เช่น ในปี 2556 ระดับ ม.ปลาย และ ปวช. ว่างงานมากกว่าจำนวนที่ขาดแคลนถึง 2 เท่า ระดับ ปวส. ว่างงานมากกว่าจำนวนที่ขาดแคลน 2.1 เท่า และระดับ ป. ตรี ว่างงานมากกว่าจำนวนที่ขาดแคลนถึง 3.5 เท่า"




ในปี 2557 กรมการจัดหางานได้คาดการณ์ผู้ที่จบการศึกษา และจำนวนที่เข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้ที่จบการศึกษาที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในระดับล่างเป็นสัดส่วนน้อยมาก ยกตัวอย่างเช่น มีผู้จบมัธยมต้นสูงถึง 741,931 คน และถ้าไม่เรียนต่อต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปีจึงจะเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ ซึ่งก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 11.8 ยิ่งเรียนถึงระดับมัธยมปลายสายสามัญแล้วก็ยิ่งจะออกสู่ตลาดแรงงานน้อยมากเพียงร้อยละ 4.2 เนื่องจากส่วนใหญ่เรียนต่อในระดับปริญญาตรี ส่วนผู้ที่เรียนระดับ ปวช. ซึ่งมีจำนวนผู้จบการศึกษาน้อยกว่าผู้เรียนมัธยมปลายมากอยู่แล้ว และมีผู้ที่จะออกมาทำงานเพียงร้อยละ 8.9
โดยผลการศึกษาของ TDRI พบว่าผู้ที่จบ ปวช. เรียนต่อ ปวส. มากกว่าร้อยละ 70 ถึงกระนั้นก็ตามก็ยังมีจำนวนผู้จบ ปวส.เข้าสู่ตลาดแรงงานเพียงร้อยละ 13.6 เท่านั้น ถ้าจะรวมผู้จบสายอาชีพทั้ง 2 ระดับเข้าด้วยกันก็ยังมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 17.8 ของผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งหมดเท่านั้น เทียบกับผู้จบระดับปริญญาตรีซึ่งมีสัดส่วนของผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานสูงถึงร้อยละ 61.5 ของผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งหมด

เมื่อเทียบกับสัดส่วนของการจ้างแรงงานในตลาดแรงงาน จะเห็นว่าเป็นสัดส่วนตรงกันข้ามกับผู้จบการศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงานโดยสิ้นเชิง จึงทำให้ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานระดับล่างและระดับกลางอย่างหนักตลอดมา ยิ่งคำนึงมิติของคุณภาพของผู้จบการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพที่มีสัดส่วนของผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทียบกับสายที่มิใช่วิทยาศาสตร์เข้ามาร่วมพิจารณาด้วยแล้ว ปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็ยิ่งจะรุนแรงมากขึ้นไปอีก

"ดร.ยงยุทธ" กล่าวอีกว่า การที่ประเทศไทยจะหนีจากกับดักของประเทศกำลังพัฒนาอันยาวนานนี้ได้ และมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาอารยประเทศในโลกได้ ประเทศไทยไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าและบริการให้มากขึ้น ด้วยการวิจัยและพัฒนาการออกแบบที่เป็นนวัตกรรมของคนไทยมากขึ้น
"การจะทำเช่นนี้ได้ประเทศไทยจะต้องลดสัดส่วนของการใช้ผู้จบการศึกษาในระดับ ม. ต้น (หรือต่ำกว่า) ซึ่งเป็นแรงงานระดับล่างให้น้อยลง และพยายามปรับปรุงอุปสงค์ต่อผู้ที่มีการศึกษาในระดับกลาง คือ ม. ปลาย รวมถึง ปวช. ให้มากขึ้น เนื่องจากมีข้อสมมติฐานในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ว่า การศึกษาในระดับนี้ฝึกอบรมเพิ่มทักษะได้ง่าย และสามารถปรับตัวกับกระบวนการผลิตได้ดีกว่า"
"เท่าที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีความต้องการที่จะจ้างผู้ที่จบสายอาชีพมากขึ้นโดยเฉพาะระดับ ปวช. แต่ผู้ปกครองกลับต้องการให้บุตรหลานได้เรียนในสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ (เพื่อหวังให้ลูกได้จบปริญญาตรี) โดยมีสัดส่วนของผู้เรียนสายสามัญต่อสายอาชีพเท่ากับ 66:34 และอยู่ในระดับนี้มานานนับสิบปี และผลการศึกษาของสำนักเลขาธิการสภาการศึกษาก็พบว่า สัดส่วนนี้ไม่ดีขึ้นมีแต่จะเลวลงเช่นในปีการศึกษา 2557 ต่อ 2558 นี้มีสัดส่วนแย่ลงเหลือประมาณ 71:29 ซึ่งถ้ายังปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมแบบนี้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานผู้จบสายอาชีพในระดับอาชีวศึกษาก็จะถึงขั้นวิกฤติ"
"ประเด็นที่เป็นปัญหามาโดยตลอดอีกมิติหนึ่งคือ มิติคุณภาพและการเรียนในสาขาวิชาชีพที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งทำให้ผู้ที่จบสายอาชีพยังคงว่างงานอยู่อีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดสมรรถนะที่ผู้ประกอบการต้องการ ทำให้กำลังแรงงานสายวิชาชีพช่างซึ่งมีน้อยอยู่แล้วก็ยิ่งจะน้อยลงไปอีก"

การที่จะชักจูงให้มีผู้สนใจเข้ามาเรียนสายอาชีพมากขึ้นนั้น "ดร.ยงยุทธ" เห็นว่าต้องทำ 2 มาตรการควบคู่กันคือ มาตรการจูงใจ
1.ต้องปรับทัศนคติของพ่อแม่ที่ต้องการใบปริญญา และนักเรียนเองที่เห็นว่าเรียนสายสามัญมีศักดิ์ศรีกว่าเรียนสายอาชีพ ใช้การแนะแนวเชิงรุกเสริมด้วย Social Media ช่วยในการทำความเข้าใจกับพ่อแม่ผู้ปกครอง
2.ต้องสร้างสถานศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กพิเศษที่ต้องการเรียนใน Smart TVET School เพื่อเป็น การสร้าง“เด็กอาชีวะรุ่นใหม่” โดยการคัดเลือกสถานศึกษาต้นแบบในทุกจังหวัดใหญ่หรือภูมิภาคของประเทศเพื่อให้เป็นสถานศึกษาที่มีครูดี สถานที่ฝึก (เครื่องมืออุปกรณ์พร้อม) สำหรับเด็กเก่งเข้ามาเรียนอาชีวศึกษาโดยเฉพาะในสายช่าง (อุตสาหกรรม) ได้รับทุนการศึกษา วางหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบกิจการหรือผู้ใช้นักศึกษาที่จบ เพื่อการันตีผู้จบเหล่านี้ว่ามีงานทำและมีรายได้ดี
3.สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาในสายช่างอื่น ๆ อาจจะเน้นในทางปฏิบัติร่วมกับผู้ใช้หรือสถานประกอบกิจการให้มากที่สุด อาจจะปรับลดหลักสูตรให้เหลือระยะเวลาเรียนภาควิชาการและฝึกงานจริง (ระบบทวิภาคี) อย่างละเท่า ๆ กัน โดยสถานศึกษาพิจารณาจัดหลักสูตรให้ชัดเจนว่า จะให้เด็กที่จบไปทำงานกับใครที่ไหน โดยดูตลาดแรงงานที่รองรับเป็นหลัก
4.กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสมาคมวิชาชีพ สภาวิชาชีพต้องร่วมกันกำหนดอัตราค่าจ้างที่เหมาะสม และจะต้องไม่แตกต่างจากผู้จบระดับปริญญาตรีสายอาชีพมากนัก อาทิ ผู้จบ ปวช. ได้เงินเดือน 1 หมื่นบาทขึ้นไป จบ ปวส. 1.2-1.3 หมื่นบาทขึ้นไป เป็นต้น และสำหรับเด็กจบ Smart ปวช. อาจจะให้เงินเดือนที่สูงกว่าเช่นเริ่มต้น 1.2 หมื่นบาท เป็นต้น
5.ให้ความสนใจกับอาชีวศึกษาเอกชนมากกว่า 400 แห่ง ที่ควรต้องได้รับการดูแลพัฒนาให้ดีขึ้น ให้สามารถผลิตบุคลากรตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้รั้วเดียวกันกับ สอศ.

สำหรับมาตรการเชิงบังคับ "ดร.ยงยุทธ" เห็นว่าควรจะนำมาใช้ได้แล้วนั่นคือ การเพิ่มสัดส่วนของผู้เรียนต่อจาก ม. 3 เป็นสายสามัญต่อสายอาชีพปัจจุบันจาก 67:33 ให้เป็น 50:50 ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยควรดำเนินการตามแนวทางของสภาการศึกษาฯ ได้แก่ จะต้องจัดตั้งผู้เข้ามารับผิดชอบหาวิธีการในการคัดกรองนักเรียนในระดับ ม. 3 ที่จะจบว่าสมควรจะเรียนต่อสายสามัญ หรือเรียนต่อสายอาชีพ โดยใช้มาตรการทางด้านงบประมาณ (Unit Cost) มาใช้ให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน อาทิ ให้การสนับสนุนรายหัวผู้เรียนสายอาชีพมากกว่าสายสามัญร้อยละ 30-50เป็นต้น
"จำกัดจำนวนนักเรียนสายสามัญต่อชั้นเรียน โดยมีข้อตกลงว่าจะมีนักเรียนไม่เกิน 30 คนต่อห้อง และถ้าเรียนเกินกว่าจำนวนที่กำหนดจะไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายหัว และโดยภาพรวมของประเทศจะร่วมกำหนดเป้าหมายว่า แต่ละปีจะลดผู้เรียนสายสามัญได้ปีละเท่าไร และในการบังคับใช้ข้อตกลงคือ เมื่อครบจำนวนโควต้าแล้วจะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายหัวหรือผู้เรียนไม่ได้รับเงินกู้เรียนเพื่อให้ได้เป้าหมาย 50:50 ให้เร็วที่สุด"

"นอกจากนั้นควรเน้นผู้เรียนสายมัธยมศึกษาฐานวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น เพื่อให้มีวัตถุดิบหรือจำนวนผู้จบ ม. 3 ที่จะเข้าเรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอาจจะใช้มาตรการอุดหนุนหรือการกู้ยืมเงินเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์มากขึ้น ขณะเดียวกัน เมื่อเข้าสู่มัธยมศึกษาสายอาชีพฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ควรจะได้รับการอุดหนุนรายหัวที่สูงกว่าการเรียนสายอื่น ๆ ถ้าทำได้จริงจะเป็นแนวทางในการสนับสนุนให้มีผู้จบมัธยมศึกษาสายอาชีพ โดยเฉพาะมัธยมสายอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เพียงพอและมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี"

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เขียนรายงานการวิจัย (Baby Thesis) ; เขียนโครงร่างคำเสนอทำวิจัย(Proposal) วิชาโครงการระดับ ปวช./ปวส. ป.ตรี

Power Point นำเสนอการเขียน
โครงร่างงานวิจัย(Proposal)
รายงานการวิจัย(Research report)

ควรศึกษาให้ครบทั้ง..77..frame

1)วิชาโครงการของนักศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี
2)วิจัยโครงงานวิทยาศาสตร์
3)วิจัยสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่

>>>คลิก<<<


https://www.facebook.com/groups/304513799663082/821500087964448/


ศักราชบอกปีได้แก่ มหาศักราช(ม.ศ.),จุลศักราช(จ.ศ.),รัตนโกสิทรศก(ร.ศ.),พุทธศักราช(พ.ศ.)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาศักราช (ตัวย่อ ม.ศ.; อังกฤษ: Shalivahana era, Saka era) เป็นศักราชที่ใช้ตามปีครองราชย์ของ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ หรือ พระเจ้าสลิวาหนะ ศากยะวงศ์องค์หนึ่ง[1] ที่มีอาณาเขตยิ่งใหญ่ปกครองอาณาเขตถึงบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ อินเดียส่วนเหนือ อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และส่วนตะวันตกของจีน ปีมหาศักราชนั้นในหนังสือไทยจะอ้างถึงปีที่เริ่มครองราชย์คือ พ.ศ. 621 (ค.ศ. 78)[2] ในขณะที่บันทึกต่างประเทศระบุว่าครองราชย์ในปี ค.ศ. 127 (พ.ศ. 670)[3] [4] ด้านสารานุกรมบริเตนนิการะบุว่าไม่ทราบปีครองราชย์ที่แน่นอน คาดว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 78 - 144[5]
เมื่อมหาศักราชแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้จารึกต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่[ต้องการอ้างอิง] คาดว่าไทยเลิกใช้มหาศักราชในปี พ.ศ. 2112 โดยเปลี่ยนไปใช้จุลศักราชแทน อย่างไรก็ตามมีการใช้มหาศักราชอยู่บ้างหลังจากนั้น ดังปรากฏในจารึกวัดไชยวัฒนาราม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)[ต้องการอ้างอิง]
ปัจจุบันการแปลงมหาศักราช เป็นพุทธศักราช ให้นำ 621 บวกปีมหาศักราชนั้น จะได้ปีพุทธศักราช


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จุลศักราช (จ.ศ.) (อังกฤษ: Chula Sakarat, Minor Era) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ จะประสูติ เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมา จึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่)
ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร หรือ ระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราช และปีนักษัตร ทำให้สามารถระบุปี ได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปี (มาจาก ครน. ของรอบ 10 ปีจากเลขท้ายของจุลศักราช และรอบ 12 ปีของปีนักกษัตร)


รัตนโกสินทรศก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัตนโกสินทร์ศก ตัวย่อ ร.ศ. (อังกฤษ: Rattanakosin era) คือ รูปแบบของศักราชบอกปีชนิดหนึ่ง ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก รัตนโกสินทรศกเริ่มมีการใช้ครั้งแรกเมื่อจุลศักราช 1250 [1] (พ.ศ. 2324) และวันเริ่มต้นปีคือวันที่ 1 เมษายน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้เป็นวันขึ้นปีใหม่และประกาศใช้รัตนโกสินทรศกอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเล็งเห็นประโยชน์และสะดวกในการอ้างอิงในด้านประวัติศาสตร์ จึงได้มีการยกเลิกการใช้งานโดยมีประกาศไว้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 131 (พ.ศ. 2455) โดยหนังสือราชการทั้งหมดได้เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชแทนที่ [1]
วิธีแปลงพุทธศักราชเป็นรัตนโกสินทรศก ให้นำเลขปีของพุทธศักราชลบด้วย 2324 จะได้เลขปีของรัตนโกสินทรศก [1] รัตนโกสินทรศกเริ่มนับเป็น 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 ดังนั้นจึงไม่มีรัตนโกสินทรศก 0

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สงครามการเงินQE หรือ Quantitative Easing

ถึงทียุโรป,ญี่ปุ่น,อังกฤษ(อีซีบี,บีโอเจ,บีโออี)นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ออกมาระบุว่าอีซีบี ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มขนาดของงบดุล
 สู่ระดับปี 2555 เพราะนับตั้งแต่นั้นมาก็เป็นจุดที่อีซีบีมีการอัดฉีดเงินซื้อพันธบัตรของรัฐบาล ที่มีปัญหาขาดแคลนเงินทุน รวมทั้งทำการลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้จนเหลือแค่ 0.05% และเงินที่รับฝากติดลบ 0.20% เท่ากับเป็นการยืนยันว่าจะมีการทำ QE หรือ Quantitative Easing มีการอัดฉีดสภาพคล่องทางการเงินขนาดใหญ่อีก 1 ล้านล้านยูโรหรือ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่กำลังถดถอย โดยที่อีซีบีคาดการณ์ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของยุโรปจะเติบโตอย่างเชื่องช้าลงที่ระดับ 0.8% ในปีนี้ ที่ 1.1% ในปี 2015 และที่ 1.7% ในปี 2016

ทั้งนี้การเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปทั้ง 3 ปีดังกล่าวยังขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้เดิมที่ระดับ 2% และมีเงินเฟ้อที่ 2%แต่เงินเฟ้อในปัจจุบันยืนอยู่ที่ 0.5%เท่านั้น ขณะเดียวกันโออีซีดีเป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ลดลงอีกจาก 3.4% เป็น 3.3% ทำให้เกิดการขายเงินยูโรอย่างหนักส่งผลให้เงินยูโรร่วงลงอย่างรวดเร็วล่าสุดลงมาอยู่ที่ 1.2376 ดอลลาร์อ่อนค่าลง 9.44%จากช่วงต้นปี โดยเงินยูโรที่อ่อนแอจึงกลายเป็นปัจจัยที่หนุนให้ดอลลาร์แข็งค่ามากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากที่มีการดึงเงินกลับหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ยกเลิก QEอย่างสมบูรณ์แบบ ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 88.08% เทียบกับช่วงเดือนพฤษภาคมที่มีการปล่อยให้ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงถึงระดับ 78-79%

ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมออกพันธบัตรใหม่เดือนละมูลค่า 10 ล้านล้านเยน ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจเตรียมวงเงิน 8-12 ล้านล้านเยน เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลทั้ง 100% โดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการออกพันธบัตรใหม่ลงเมื่อไร เพื่อให้บีโอเจสามารถอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านรัฐบาลได้โดยตรง แต่ผลที่เกิดขึ้นสะท้อนมาที่เงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงเช่นกันที่ 115.44 ต่อดอลลาร์ หรือลดลง 9.68% นับจากต้นปีนี้ และลดลงในช่วง 1 ปีถึง 17% จากระดับ 98 เยน ในเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว โดยเงินเยนอาจจะร่วงลงอีกถึงระดับ 120 ต่อดอลลาร์ ในระยะอันใกล้ หากบีโอเจ ยังดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเชิงรุกแบบช็อกตลาดด้วยการเพิ่มฐานเงินจาก 60 ล้านล้านเยน เป็น 80 ล้านล้านเยน

มาตรการช็อกตลาดการเงินโลกของบีโอเจ เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตามความมุ่งหมายของนายชินโซ อาเบะ ที่ถูกเรียกว่าเป็นหมอผีที่สร้างปาฏิหาริย์ Voodoo Abenomics ยังหวังให้ธุรกิจขนาดใหญ่กลับมาทำกำไรก้อนโตได้เหมือนธุรกิจของสหรัฐ 410 บริษัทที่สามารถทำกำไรติดระดับท็อปในตลาดหุ้นเอสแอนด์พี 500 บริษัท หลังจากที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการญี่ปุ่นที่มีขนาด 12 ล้านล้านเยน และมีสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น 12% เพิ่มสัดส่วนการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งเป็น 20% ที่ส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นนิกเคอิพุ่งขึ้นเกือบ 2,000 จุด หรือมากกว่า 13% ระหว่างชั่วโมงซื้อขายตั้งแต่วันที่เฟดยกเลิก QE

อีซีบีและบีโอเจกำลังทุ่มเม็ดเงินมหาศาลระลอกใหม่ เข้าสู่ระบบการเงินโลกที่มีการคาดการณ์ว่า จะทำให้เม็ดเงินจาก QE เมื่อรวมกับวงเงินเดิมที่มาจากเฟดและธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) แล้วจะมีเม็ดเงินสะสมเพิ่มขึ้นถึง 20 ล้านล้านดอลลาร์ จะยิ่งส่งผลให้เกิดแนวโน้มของสงครามการเงินในที่สุด เมื่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของประเทศที่มีค่าเงินแข็งต้องเสียเปรียบในเรื่องของการแข่งขันด้านการค้าก็จะต้องปล่อยให้ค่าเงินอ่อนตาม อาทิเงินบาทในขณะนี้อยู่ที่ 32.90 เทียบดอลลาร์อ่อนค่าลงไม่ถึง 1% นับจากต้นปีนี้ อาจต้องเข้าสู่สนามแข่งขันให้ค่าเงินอ่อนลง เหมือนอีกหลายประเทศที่ตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน

บทบรรณาธิการ

         โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 01:00