...GDPไทยปี 2556 จำนวน 12 ล้านล้านบาท เก็บรายได้ได้ 2 ล้านล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 17% ของGDP ใช้เงินที่เก็บได้บวกเงินกู้อีก 2 แสนล้าน เป็นงบประมาณรายจ่ายในปีนั้น
...งบประมาณไทย 80% ใช้จ่ายเป็นเงินเดือนข้าราชการลูกจ้าง และ 20% ใช้เป็นงบลงทุนเช่นสร้างถนน,โครงสร้างพื้นฐาน,สวัสดิการ,โครงการรัฐบาล
...เรามักเรียกร้องให้รัฐ จัด งปม.เพื่อ ดำเนินการวิจัยนวัตกรรมอย่างน้อย 3 %ของGDP ตามอย่างประเทศพัฒนา หารู้ไม่ว่าเราเก็บรายได้ได้น้อยเมื่อเทียบกับ GDP ของเราเอง เรียกร้องให้รัฐจ่ายเท่าเขาแต่ไม่เรียกร้องให้รัฐรับมาเท่าเขาด้วย ย่อมเป็นไปไม่ได้ เราควรเรียกร้องให้รัฐเก็บรายได้ใกล้เคียงประเทศพัฒนา 35-40%ของ GDP ด้วย ไทยเก็บรายได้ ได้เพียง 17%ของ GDP ดังนั้นหากนำเงินจำนวน 3%ของ GDP ซึ่งมีค่าเท่ากับ 18% ของงบประมาณไทยไปใช้จ่ายด้านวิจัยแทบไม่เหลือเป็นเงินลงทุนอื่น ๆ เลย(เหลือ 2%)
...รัฐบาลที่ผ่านมา สร้างนโยบายเพิ่มรายจ่ายเช่น.รักษาฟรี,เรียนฟรี,จำนำข้าว,เบี้ยยังชีพคนชรา,ฯลฯ หลายโครงการเป็นโครงที่จำเป็น...แต่รัฐไม่สร้างนโยบาย หาวิธีเพิ่มรายได้มาชดเชยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น...งบดุลประเทศจึงไม่สมดุลใช้วิธีกู้มาโปะตลอดทุกรัฐบาล..ต้องการคะแนนเสียงอย่างเดียวอย่างไร้ความรับผิดชอบ..การหาเงินเก็บรายได้ แล้วแต่ข้าราชการกรมหารายได้ จะดำเนินการแหกตาตามบุญตามกรรม...แม้มีการทุจริตก็ไม่มีการเข้าไปตรวจสอบ
...ข้อเสนอ
...1)การเก็บรายได้เป็นหัวใจสำคัญของชาติ...รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรกำหนดให้รัฐหารายได้เข้ารัฐอย่างน้อยปีละ 40% ของGDP
...2)นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต้องมีทั้งนโยบายโครงการรายจ่ายและนโยบายโครงการหารายรับให้สมดุลโดยไม่ต้องกู้
...3)ให้มีหน่วยตรวจสอบการเก็บภาษีเป็นองค์กรอิสระมีหน้าที่ตรวจสอบกรมเก็บภาษีให้ได้ตามเป้าสากลที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ,ไม่ละเว้นเลือกปฏิบัติ,ไม่ซูเอี๋ย,ไม่ช่วยเหลือพวกพ้องหลบเลี่ยง
...4)หรือให้หน่วยงานจัดเก็บภาษีเป็นองค์กรอิสระทุกปีต้องเก็บรายได้ให้ได้อย่างน้อย40%ของGDPหากทำไม่ได้ให้ถอดถอนเปลี่ยนคณะดำเนินการชุดใหม่มาดำเนินการ...
...ปัจจุบันประเทศไทยเราเก็บรายได้...ได้น้อยมาก...เก็บได้ในอัตราครึ่งหนึ่งของสากลประเทศ..คือเพียง17% ของGDPประเทศ..ใช้เป็นค่าเงินเดือนรายจ่ายประจำก็หมดแล้ว...ต่างประเทศทางตะวันตกเก็บได้เฉลี่ย40%ของGDPประเทศตน..เขาจึงมีเงินเหลือลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากมาย
...ปัญหาคือ
...1)การหลบเลี่ยงซูเอี๋ย
...2)การคิดอัตราภาษีต่ำมากเช่นภาษีมูลค่าเพิ่มเพียง7% (ยุโรป15-25%)
...3)การไม่ขยายฐานและชนิดประเภทภาษีให้ครอบคลุม..ประชานิยมให้กลุ่มมีเงิน,กลุ่มนายทุนมาตลอดเกือบ100ปี
...หากเราสามารถเก็บรายได้ในอัตรา40%ปัญหาของชาติเราจะได้รับการแก้ไขได้หลายอย่างเช่น
...1)สร้างโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม,ชลประทาน,ป่าชุมชน,สวนสาธารณะ,สุดยอด
...2)ทุกคนได้รับสวัสดิการ,การรักษาพยาบาลฟรี,อย่างมีคุณภาพ
...3)ลูกจ้างราชการได้เงินค่าจ้างสตาร์ทเริ่มต้นเดือนละ15,000บาททุกคน
...4)ประชาชนทุกคนทุกอาชีพรวมทั้งชาวนา/เกษตรกร/ลูกจ้างกรรมกรได้รับเบี้ยยังชีพหรือบำนาญหลังเกษียณมากพอเพียงอยู่อย่างสบายอย่างคนตะวันตก
...5)ราชการจะมีวัสดุเครื่องมือปฏิบัติงานราชการบริการประชาชนทั่วถึงสมบูรณ์ได้อย่างทันสมัยมีคุณภาพ
....6)จะมีงบประมาณด้านวิจัยสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาโปรดักซ์ มีเงินลงทุนสร้างงานสร้างรายได้ให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก ไทยจะก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ต่ำหรือรายได้ปานกลาง ก้าวขึ้นสู่ประเทศรายได้สูงระดับใกล้เคียงประเทศเกาหลี,ฮ่องกง,มาเลเซีย,ไต้หวัน
..........ฯลฯ
รายงานผลสำรวจของสำนักงานสถิตแห่งชาติในปี 2553 ระบุว่าจากคนไทย 66 ล้านคนเป็นแรงงานในระบบประมาณ 38 ล้านคน(ส่วนที่เหลือ 28 ล้านคนเป็น เด้กคนชรา นักบวช และผู้ช่วยครัวเรือน) แบ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน 17 ล้านคน และกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น หมอ วิศวะ ก่อสร้าง เกษตรกร แท็กซี่ หาบเร่แผงลอยอีก 21 ล้านคน
แต่ที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มผู้มีเงินได้ 38 ล้านคน มีรายได้ไม่ถึง 300 บาทต่อวัน จำนวน 11.5 ล้านคน กลุ่มนี้อยู่นอกฐานภาษีของกรมสรรพากร เพราะมีรายได้ไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี ส่วนกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่เหลือ 5.5 ล้านคน ได้รับค่าแรงเกินวันละ 300 บาท เมื่อรวมกับกลุ่มอาชีพอิสระจำนวน 21 ล้านคน จะมีจำนวนผู้เสียภาษี 26.5 ล้านคน ปรากฏว่าในปี 2554 มีคนมายื่นแบบ ภ.ง.ด.90-91 กับกรมสรรพากรแค่ 11.7 ล้านคน แต่อีก 14.8 ล้านคน ไม่มายื่นแบบเสียภาษี
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากรยืนยันว่า จริงๆ จำนวนผู้ที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91) ไม่ได้ลดลง ตรงกันข้ามตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 8 ล้านคน เป็น 9 ล้านคน และปัจจุบัน 11.7 ล้านคน แต่ในบรรดาคนที่มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91 จำนวน 11.7 ล้านคนนั้น มีผู้ที่เสียภาษีจริงๆ แค่ 2 ล้านคน อีกประมาณ 9 ล้านคน เข้ามายื่นภาษีฯ อยู่ในระบบแล้ว เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เหลือเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี จึงหลุดออกไปอยู่นอกฐานภาษี
ข้อมูลจากกรมสรรพากรระบุในรายละเอียดว่า กลุ่มผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคธรรมดา 2 ล้านคนนั้น มีผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 4 ล้านบาทต่อปี เสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 37% ของรายได้สุทธิ อยู่ประมาณ 30,000 คน ซึ่งจ่ายภาษีคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้ อย่างในปีงบประมาณ 2554 กรมสรรพากรเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 236,339 ล้านบาท ซึ่งมีผู้มีรายได้สูงประมาณ 30,000 คนนี้ จ่ายภาษีประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยจ่ายภาษีคนละ 4 ล้านบาทต่อปี(คน 3 หมื่นจ่ายภาษีเงินได้ครึ่งของทั้งหมด) ส่วนผู้เสียภาษีที่เหลืออีกประมาณเกือบ 2 ล้านคน จ่ายภาษีได้ประมาณ 120,000 ล้านบาท เฉลี่ยต่อหัวจ่ายภาษีคนละประมาณ 60,000 บาทต่อปี
สรุป
มนุษย์เงินเดือนทั้งหมด 17 ล้านคน
มนุษย์อาชีพอิสระทั้งหมด 21 ล้านคน
รวมผู้มีเงินได้ทั้งหมด 38 ล้านคน
รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ 11.5 ล้านคน
ไม่มายื่นแบบเสียภาษี 14.8 ล้านคน
มายื่นแบบเสียภาษีเพียง 11.7 ล้านคน
มายื่น 11.7 ล้านคน มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 3 ล้านคน
(หักค่าลดหย่อนเหลือเงินได้ไม่ถึง 1.5 แสนบาท/ปี ไม่ต้องเสียภาษี)
ฐานคำนวนปี 2558
...ไทยมีผู้มีรายได้ทั้งหมด 38 ล้านคน มายื่นเสียภาษี 11.7 ล้านราย เสียภาษีจริง 3 ล้านคน หนีภาษี 26.3 ล้านราย (นายกพูดในรายการวันศุกร์ที่30 ตค.58) แต่ละปี หนีภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 70%
...นิติบุคคลจดทะเบียน จำนวน 1.5 ล้านราย เสียภาษีเพียง 6 แสนราย (นายกพูดในรายการวันศุกร์ที่30 ตค.58) หนีภาษีรายได้นิติบุคคล 60%
...ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไทยทั้งหมด 2.7 ล้านราย เสียภาษีเพียง 3 แสนราย หนีภาษี 2.4 ล้านราย แต่ละปี หนีภาษีรายได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล SME นี้ 88%
...ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย ผ่านเว็บไซด์ เฟซบุ๊ก ไอจี ทวิตเตอร์จำนวนทั้งหมดกว่า 5 แสนราย แต่มีผู้ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพียง 1.35 หมื่นราย และ 1.53 หมื่นเว็บไซด์ เพียง 6% ของทั้งหมด หรือหนีภาษีรายได้ด้านนี้ 94%
..อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มมูลของไทยน้อยที่สุดในโลกเพียง 7% ประเทศยุโรปอัตราเฉลี่ย 20% ไทยควรเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มได้แล้ว ใครซื้อสินค้ามากจับจ่ายใช้สอยมากกระทบมาก ชาวบ้านใช้จ่ายน้อยกระทบน้อย
...คนไทยเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะการจับจ่ายในห้างใหญ่เท่านั้น ร้านค้าทั่วไป อู่ซ่อมรถ ร้านอาหารร้านค้าสถานบริการห้องแถวไม่มีระบบเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ละปี หนีภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 70 %
...ภาษีศุลกากร ก็มีการหลบเลี่ยงช่วยเหลือโดยเจ้าหน้าที่ แต่ละปี หนีภาษีศุลกากร 30%
...ภาษีสัมประสามิตร มีการหนีภาษีสัมประสามิตร 30%
...รวมแล้วแต่ละปีไทยสูญเสียเงินภาษีประมาณปีละ 66.66% คิดเป็นเงินที่สูญเสียทั้งสิ้นปีละ 4 ล้านล้านบาท เก็บภาษีได้จริงเพียงปีละ 33.33% คิดเป็นเงิน 2 ล้านล้านบาท(ฐานปี งปม. 2558)
...เงิน ปีละ 4 ล้านล้านบาท (ฐานคิดปี 2558) เป็นเงินจำนวนมากมหาศาล 2 เท่าของเงินภาษีที่เก็บได้ หรือ 2 เท่าของงบประมาณประจำปีของไทย ถ้าเก็บได้ครบ 100% จะเก็บได้ปีละ 6 ล้านล้านบาท(50%GDP) หรือถ้าเก็บภาษีได้เพียง ปีละ 4 ล้านล้านบาทเมืองไทย จะ ก้าวข้ามพ้นประเทศที่มีรายได้น้อย หรือประเทศที่มีรายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูงเที่ยบเท่าประเทศเจริญระดับสากล มีกระแสเงินหมุนเวียน สามารถสร้างนวัตกรรม แก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำแตกแยกได้
...ควรมีการเก็บค่าผ่านทางระหว่างจังหวัดเก็บเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบคคลเท่านั้น กิโลเมตรละ 25 สตางค์ ส่งเสริมให้ใช้การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ระบบรางที่กำลังพัฒนาขึ้น เพื่อลดอุบัติเหตุที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างมาก ประหยัดพลังงาน และเพิ่มรายได้เข้าประเทศ
......กระผมเห็นว่าหากรัฐจัดโครงการประชานิยมเต็มรูปอย่างนี้ รัฐควรยกเลิกค่าลดหย่อนภาษีทุกตัว, ต้องเก็บภาษีจากผู้เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษีให้ได้ครบทั่วถึง 100% , และควรขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมผู้มีรายได้ทุกชนิดทุกประเภทในราชอาณาจักร์ไทยครับ กรมเก็บภาษีประสิทธิภาพต่ำปล่อยให้มีการหลบเลี่ยงภาษีมหาศาลและมีการทุจริตต่อเนื่องมาหลายทศวรรต
..... รายได้ที่สำคัญยิ่งอีกตัวคือรายได้จากรัฐวิสาหกิจ ทรัพย์สินรัฐวิสาหกิจของไทยลงทุนสะสมไว้เป็นมูลค่ามหาศาล แต่ทำกำไรหรือได้ผลตอบแทนมาไม่คุ้มค่า บางแห่งขาดทุนอย่างไม่น่าเชื่อทั้งที่ขาดทุนแต่มีโบนัสกันมากอย่างไม่ละอาย
......สมัยโรมันครอบครัวได้สิทธิเป็นพลเมืองโรมันได้รับสวัสดิการและมีสิทธิเลือกตั้งคือครอบครัวที่มีเงินซื้ออาวุธพร้อมให้ลูกชายถูกเกณฑ์เป็นทหารรับใช้ชาติหรือผู้เสียภาษีให้รัฐ เมืองไทยเอาบ้างดีไหม ใครไม่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่มีสิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการ ซึ่งปัจจุบันจะมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เพียง 2 ล้านคน ใครอยากได้สิทธิต้องหารายได้มาเสียภาษีครับ ใครไม่มีเงินให้มาลงทะเบียนทำงานลงแขกให้ภาคเกษตรฟรีในปีนั้น หรือทำงานในสายการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมยกค่าแรงให้รัฐส่วนหนึ่ง ......55555......
รายได้จากภาษีค่าธรรมเนียม ของประเทศต่าง ๆ
ฝรั่งเศส 44.6%GDP สวีเดน 45.8%GDP เยอรมัน 40.6%GDP อิตาลี 42.6 %GDP
อังกฤษ 39%GDP ฮังการี 39%GDP เกาหลีใต้ 18%GDP อินโดนิเซีย 14%GDP
ไทย 17%GDP
รายได้จากภาษีเมื่อเทียบกับร้อยละ GDP ที่แต่ละประเทศเก็บได้
>>>>คลิก<<<<
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_tax_revenue_as_percentage_of_GDP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น