ทองคำบ่อโข่โหล่ ค้นพบเมื่อ พศ. 2367 โดยท้าวศิริ คนลาวที่มาอยู่เมืองไทยนาน ตั้งแต่เด็กติดตามบิดามารดามาราชการสงครามตามธรรมเนียมประเทศราชสมัยพระเจ้าตากสิน นับว่าเป็นคนไทยแล้ว บ่อโข่โหล่อยู่บนหุบเขาอีเฒ่า เทือกเขาเพชรบูรณ์ มีลำน้ำเจียงไหลผ่าน พื้นที่ราบกว้างเป็นหมื่นไร่ มีร่องรอย ขุดหลุมหาแร่ทองคำ จำนวนมากเจ้าหน้าที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าอ้างว่าเป็นพันเป็นหมื่นหลุม หลุมขนาดคนลงได้สะดวก ลึกประมาณ 3-6 เมตร แสดงว่ามีทองคำมากมาย ใช้เวลาขุดร่อนหลายปี
ทองที่ได้ช่วงแรกนำไปบรรณาการแด่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าอนุวงศ์เป็นผู้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิ อาณาเขตเมืองประเทศสมัยนั้นไม่มีเส้นแบ่ง แล้วแต่เจ้าเมืองจะใช้กุศโลบายเอาตัวรอดให้อยู่ได้อย่างไร เมื่อเจ้าอนุวงศ์เริ่มคิดกบฏต่อกรุงเทพฯ พระยาแลไม่เอาด้วยเปลี่ยนมาสวามิภักดิ์พระนั่งเกล้าฯ พร้อมบรรณาการต่อเนื่องตามสมควร
เส้นทางการเดินทาง จากบ่อโข่โหล่ ลำห้วยเจียงหรือลำน้ำเจียง บนเขาพระยาฝ่อ สู่บ้านค่ายหมื่นแพ้วชัยภูมิ จากบ่อโข่โหล่ตามลำน้ำเจียงถึงจุดเชื่อม ลำน้ำเจาประมาณ 15 กม. จากจุดเชื่อมแรกนี้ตามลำน้ำเจาถึงจุดเชื่อม ลำน้ำชีประมาณ 10 กม. จากจุดเชื่อมที่สองไปตามลำน้ำชีถึงบ้านค่ายหมื่นแพ้ว ประมาณ 70-80 กม. รวมเส้นทางตามลำน้ำทั้งสิ้นประมาณ ร้อย กม. เศษ
การเดินทางน้ำเป็นไปได้มากที่สุด เพราะประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา ประหยัดช้างม้าพาหนะและประหยัดอาหารสัมภาระ ลำน้ำสมัยนั้นอุดมสมบูรณ์ มีระดับน้ำสูงในห้วยตลอดปี ป่าไม้หนาทึบซับน้ำไหลซึมลงห้วยลำตลอด น้ำไม่ไหลเชี่ยว(ยกเว้นฤดูมรสุม) สามารถพายเรือทวนน้ำได้ในบางฤดู
หากเดินทาง ทางบกใช้ช้างเป็นพาหนะแน่ เพราะช้างเดินป่าได้ และชาวชัยภูมิเป็นนักคล้องช้างนักเลี้ยงช้าง มีร่องรอย เลี้ยงช้างที่บ้านโพนทอง บ้านค่ายหมื่นแพ้ว อย่าลืมว่าคนไทยเชี่ยวชาญ การใช้ช้างม้ามาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ทางเดินช้างมักเดินไปเรียบฝังห้วยน้ำ ผ่าน บ้านโปร่งคลองเหนือ ต.ห้วยต้อน-บ้านชีลองใต้ ต.ห้วยต้อน - บ้านสามพันตา ต.ห้วยต้อน - ออกช่องเขาขาดภูแลนคา - บ้านห้วยกนทา ต.คูเมือง เรียบตามห้วยลำน้ำเจาลำน้ำเจียง - บ้านหัวนาคำ ต.ถ้ำวัวแดง -บ้านบ่อทอง ต.ถ้ำวัวแดง ระยะทางประมาณ 60-70 กม.
ดูภาพจากเพจต่อไปนี้ครับ
https://www.facebook.com/snambin/posts/1018409818191663
https://www.facebook.com/snambin/posts/1016918711674107
http://biodiversity.forest.go.th/TK/index.php?option=com_zoo&task=item&item_id=440&Itemid=11
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ราชภัฏ/อาชีวะ/กศน./การศึกษาพื้นฐาน
......มหาวิทยาลัยของไทย หาก งปม.เท่ากัน คุณภาพการจัดการเรียนการสอนไม่ต่างกันมาก แต่ที่มหาลัยดัง ผลิตผู้เรียนออกมามีคุณภาพ ไม่ใช่มหาลัยมีคุณภาพเป็นสำคัญ แต่ได้เด็กหัวดีมีคุณภาพตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนเป็นสำคัญ
......มีคุณภาพเพราะเด็กเก่งเอง มาจากระบบการเรียนกวดวิชาเข้ม ไม่ใช่มหาวิทยลัยทำให้เก่งเกินมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ราชภัฏเขาได้เด็กเหลือขอจากมหาลัยดัง ก็ได้เท่านี้ มหาวิทยาลัยไทยนิยมเปิดสาขาที่สอนง่าย ได้เงินง่าย ไม่สนใจว่าเรียนจบแล้วจะมีงานทำหรือไม่ สาขาที่ขาดแคลนไม่กล้าเปิดมาก ไม่อยากขยายเพิ่ม เช่นวิทยาศาสตร์ เคมี แพทย์ วิศวกรรม เพราะลงทุนสูงมาก กำไรน้อย ไม่ลงทุนจ้างอาจารย์คุณภาพดีสอน กลัวอาจารย์ที่มีอยู่ไม่มีชั่วโมงสอน จ้างพวกอาจารย์คุณภาพต่ำแต่เป็นฐานเสียงเดิม เอามหาวิทยาลัยอาจารย์และผู้บริหารเป็นศูนย์กลางสำคัญ แทนที่จะยึดผู้เรียนนักศึกษาประเทศชาติเป็นศูนย์กลางเป็นฐานการพิจารณาตัดสินใจที่สำคัญ
.......ลงทุนซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่ทันสมัยตรงกับตลาดแรงงาน ให้นักศึกษาฝึกใช้ ฝึกปฏิบัติทดลองน้อยมาก ซื้อทีก็มีค่าหัวคิวคอรับชั่น ได้ของคุณภาพต่ำราคาสูง กำหนดเวลาในหลักสูตรให้ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการน้อยเพราะห่วงแย่งเวลาสอนของอาจารย์ ห่วงอาจารย์จะได้ชั่วโมงสอนค่าสอนน้อยลง จึงทำให้นักศึกษามีเวลาเรียนรู้งานจริง งานตรงกับตลาดแรงงานจริงในสถานประกอบการน้อยมาก เป็นการวางหลักสูตรโดยยึดผลประโยชน์ของอาจารย์ มากกว่าผลประโยชน์ของนักศึกษา มากกว่าผลประโยชน์ของชาติ
.......ข้อเสนอแนะ ครึ่งเวลาสุดท้ายของหลักสูตรอุดมศึกษาทุกสถาบัน ควรให้ผู้เรียน เรียนรู้กับแหล่งฝึกงาน อย่างบางสาขาที่เดินมาถูกทาง เช่น แพทย์ เรียนปฏิบัติในโรงพยาบาล มีแพทย์ครูพี่เลี้ยง; วิศวกรรม เรียนในโรงงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องมีครูฝึกเป็นพี่เลี้ยง นักศึกษาครู ฝึกปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสถานศึกษามีครูฝึกเป็นพี่เลี้ยง บรรดาครูฝึกครูพี่เลี้ยงทุกสาขาต้องผ่านการสรรหาอย่างมีคุณภาพ มีเอกสารรับรอง มีการฝึกอบรม มีการประเมินผ่านไม่ผ่านทุกปี มีค่าตอบแทนพิเศษ มีระบบการนิเทศประเมินผลระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพทุกสาขาวิชา ฯลฯ
......โรงเรียนกวดวิชาเป็นตัวช่วยการศึกษาไทยที่สำคัญ ควรมีการตรวจสอบควบคุมคุณภาพ อย่างจริงจังอย่าให้กลายเป็นแหล่งมั่วสุม แต่ไม่ใช่ส่งเสริมโดยการงดภาษี การตรวจสอบเรื่องภาษีที่เข้มข้นถึงเนื้อในรายรับเท่าไร รายจ่ายอะไรบ้าง รายการจ่ายจำเป็นหรือไม่ กำไรจริงเท่าไร เสียภาษีเท่าไร ต่างหากเป็นมาตรการควบคุมคุณภาพทางอ้อม
.......ลงทุนซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่ทันสมัยตรงกับตลาดแรงงาน ให้นักศึกษาฝึกใช้ ฝึกปฏิบัติทดลองน้อยมาก ซื้อทีก็มีค่าหัวคิวคอรับชั่น ได้ของคุณภาพต่ำราคาสูง กำหนดเวลาในหลักสูตรให้ฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการน้อยเพราะห่วงแย่งเวลาสอนของอาจารย์ ห่วงอาจารย์จะได้ชั่วโมงสอนค่าสอนน้อยลง จึงทำให้นักศึกษามีเวลาเรียนรู้งานจริง งานตรงกับตลาดแรงงานจริงในสถานประกอบการน้อยมาก เป็นการวางหลักสูตรโดยยึดผลประโยชน์ของอาจารย์ มากกว่าผลประโยชน์ของนักศึกษา มากกว่าผลประโยชน์ของชาติ
.......ข้อเสนอแนะ ครึ่งเวลาสุดท้ายของหลักสูตรอุดมศึกษาทุกสถาบัน ควรให้ผู้เรียน เรียนรู้กับแหล่งฝึกงาน อย่างบางสาขาที่เดินมาถูกทาง เช่น แพทย์ เรียนปฏิบัติในโรงพยาบาล มีแพทย์ครูพี่เลี้ยง; วิศวกรรม เรียนในโรงงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องมีครูฝึกเป็นพี่เลี้ยง นักศึกษาครู ฝึกปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสถานศึกษามีครูฝึกเป็นพี่เลี้ยง บรรดาครูฝึกครูพี่เลี้ยงทุกสาขาต้องผ่านการสรรหาอย่างมีคุณภาพ มีเอกสารรับรอง มีการฝึกอบรม มีการประเมินผ่านไม่ผ่านทุกปี มีค่าตอบแทนพิเศษ มีระบบการนิเทศประเมินผลระหว่างการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพทุกสาขาวิชา ฯลฯ
......โรงเรียนกวดวิชาเป็นตัวช่วยการศึกษาไทยที่สำคัญ ควรมีการตรวจสอบควบคุมคุณภาพ อย่างจริงจังอย่าให้กลายเป็นแหล่งมั่วสุม แต่ไม่ใช่ส่งเสริมโดยการงดภาษี การตรวจสอบเรื่องภาษีที่เข้มข้นถึงเนื้อในรายรับเท่าไร รายจ่ายอะไรบ้าง รายการจ่ายจำเป็นหรือไม่ กำไรจริงเท่าไร เสียภาษีเท่าไร ต่างหากเป็นมาตรการควบคุมคุณภาพทางอ้อม
.......ทำนองเดียวกันเด็ก ที่จะมาเรียนอาชีวะก็เป็นเด็กเหลือขอ จะไปเรียน ม" 4 มหาวิทยาลัยก็คงสู้เขาไม่ได้ จึงเลือกมาเรียนอาชีวศึกษา เด็กอาชีวะ ปวช. 1 ได้เด็กอ่านหนังสือไม่ออก คำนวณไม่เป็น 50% เข้ามาเรียนปีแรกทุกปี ผลสุดท้ายเรียนไม่ไหว ออกกลางคัน 50% ทุกรุ่น ค่านิยมผู้ปกครองและครูแนะแนวมีอิทธิพลสำคัญ ผู้ปกครองครูแนะแนวเห็นเด็กคุณภาพต่ำแนะแนวแนะนำให้มาเรียนอาชีวศึกษา แทนที่จะแนะนำจากความถนัด ความต้องการตลาดแรงงาน ความสอดคล้องบริบทของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจะได้เด็กผู้เข้าเรียนอาชีวศึกษามีคุณภาพบ้าง
......เด็กนักเรียน เรียน ม.ต้น หรือม.ปลาย หรือ ปวช. ในระบบไม่สำเร็จ หนีไปเรียนการศึกษานอกโรงเรียน เอาชื่อไปฝาก ถึงเวลาประเมินผล ผ่านจบสำเร็จตามหลักสูตร แต่ออกมาอ่านเขียนไม่ได้คำนวณไม่เป็น เมื่อได้วุฒิจาก กศน. มีเงินกลับเข้าไปเรียนระดับที่สูงขึ้นในระบบสถานศึกษาเอกชนจบทุกราย แต่ยังอ่านไม่ออก ไม่ชอบค้นคว้าไม่ชอบอ่านหนังสือเหมือนเดิม คุณภาพอย่าพูดถึง เป็นตัวถ่วงคุณภาพการศึกษาภาพรวมของไทยที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง
......ควรยุบเลิกการศึกษานอกโรงเรียน เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ และซ้ำซ้อนโดยใช่เหตุ ไม่เชื่อว่าการศึกษานอกโรงเรียน จะมีระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพขนาดปั้นหรือซ่อมเสริมนักเรียนที่ ที่ตกมาตรฐานจากสถานศึกษาในระบบปรกติ ให้กลับเข้าสู่มาตรฐานตามเกณฑ์ปรกติได้ แต่เป็นการทำลายมาตรฐานการศึกษาไทยให้ต่ำลงมากกว่า การศึกษานอกโรงเรียนมีทุกตำบล หาผลงานด้วยการหาผู้เรียนเข้ามาลงชื่อเรียน จึงมีรายชื่อผู้เรียนทุกปีแต่ไม่เคยเห็นมาเรียนสักคน ไปดูได้ทุกตำบล ถ้ามาเรียนตามรายชื่อจริง สอนมีคุณภาพจริง ตามทีรายงาน ป่านนี้คนไทยน่าจะอ่านออกเขียนได้ 100% อ่านรัฐธรรมนูญเข้าใจได้ทุกมาตราทุกคน มีนิสัยชอบการอ่านกันทุกคน100% เปล่าเลยเหมือนเดิม คนไทยอ่านหนังสือน้อยที่สุดในโลก ผู้บังคับบัญชาอย่าเชื่อรายงานของหน่วยราชการตนเองเด็ดขาด รายงานปรุงแต่งให้ดูดีทั้งนั้น ขนาดการประเมินจากองค์กรภายนอก ก็มีการสร้างข้อมูลเทียมขึ้นทั้งสิ้น อยากรู้ผลการปฏิบัติหน่วยงานของตนให้จ้างหน่วยงานภายนอกมาค้นหา
.......20 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร วันนี้ก็เหมือนเดิม ...20 ปีที่ผ่านมาการศึกษานอกโรงเรียนใช้เงินงบประมาณไปเท่าไร
......เด็กนักเรียน เรียน ม.ต้น หรือม.ปลาย หรือ ปวช. ในระบบไม่สำเร็จ หนีไปเรียนการศึกษานอกโรงเรียน เอาชื่อไปฝาก ถึงเวลาประเมินผล ผ่านจบสำเร็จตามหลักสูตร แต่ออกมาอ่านเขียนไม่ได้คำนวณไม่เป็น เมื่อได้วุฒิจาก กศน. มีเงินกลับเข้าไปเรียนระดับที่สูงขึ้นในระบบสถานศึกษาเอกชนจบทุกราย แต่ยังอ่านไม่ออก ไม่ชอบค้นคว้าไม่ชอบอ่านหนังสือเหมือนเดิม คุณภาพอย่าพูดถึง เป็นตัวถ่วงคุณภาพการศึกษาภาพรวมของไทยที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง
......ควรยุบเลิกการศึกษานอกโรงเรียน เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ และซ้ำซ้อนโดยใช่เหตุ ไม่เชื่อว่าการศึกษานอกโรงเรียน จะมีระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพขนาดปั้นหรือซ่อมเสริมนักเรียนที่ ที่ตกมาตรฐานจากสถานศึกษาในระบบปรกติ ให้กลับเข้าสู่มาตรฐานตามเกณฑ์ปรกติได้ แต่เป็นการทำลายมาตรฐานการศึกษาไทยให้ต่ำลงมากกว่า การศึกษานอกโรงเรียนมีทุกตำบล หาผลงานด้วยการหาผู้เรียนเข้ามาลงชื่อเรียน จึงมีรายชื่อผู้เรียนทุกปีแต่ไม่เคยเห็นมาเรียนสักคน ไปดูได้ทุกตำบล ถ้ามาเรียนตามรายชื่อจริง สอนมีคุณภาพจริง ตามทีรายงาน ป่านนี้คนไทยน่าจะอ่านออกเขียนได้ 100% อ่านรัฐธรรมนูญเข้าใจได้ทุกมาตราทุกคน มีนิสัยชอบการอ่านกันทุกคน100% เปล่าเลยเหมือนเดิม คนไทยอ่านหนังสือน้อยที่สุดในโลก ผู้บังคับบัญชาอย่าเชื่อรายงานของหน่วยราชการตนเองเด็ดขาด รายงานปรุงแต่งให้ดูดีทั้งนั้น ขนาดการประเมินจากองค์กรภายนอก ก็มีการสร้างข้อมูลเทียมขึ้นทั้งสิ้น อยากรู้ผลการปฏิบัติหน่วยงานของตนให้จ้างหน่วยงานภายนอกมาค้นหา
.......20 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร วันนี้ก็เหมือนเดิม ...20 ปีที่ผ่านมาการศึกษานอกโรงเรียนใช้เงินงบประมาณไปเท่าไร
......อาชีวศึกษามีนโยบายอยากเรียนต้องได้เรียนรับไม่อั้น...ผลปรากฎเด็กอาชีวะ...ออกกลางคันรุ่นละ 50% ทุกรุ่น (เข้า ปวช.1 จำนวน 100 คน สำเร็จการศึกษา ปวช.3 เพียง 50 คน ทุกวิทยาลัยตรวจสอบได้)เข้าทำนองเข้าเรียนง่ายจบยาก เพราะอะไร เพราะ 50 คน ที่ออกไปนั้น 60%(ของ50คนที่ออก) พื้นฐาน อ่าน/เขียน/คำนวณ ไม่ได้ ที่เหลือ 40%(ของ50คนที่ออก) ปัญหาสังคมเช่น ชู้สาว ครอบครัวแตกแยก ครอบครัวไม่มีทุนส่งเรียน เด็กที่เข้าเรียนเรียนอาชีวศึกษา 80-90% เป็นลูกของครอบครัวเกษตรกรและลูกจ้างในโรงงาน ส่วนใหญ่พ่อแม่ทิ้งให้ลูกอยู่กับปู่ย่าตายาย พ่อแม่ไปรับจ้างในจังหวัดอุตสาหกรรม
......ดังนั้นปัญหาความยากจนสำคัญมาก ปัญหาพื้นฐานการศึกษาระดับ ม.ต้น ม.ปลาย สำคัญมาก แต่ไทยเน้นให้งบประมาณให้ความสำคัญแก่อุดมศึกษามากมหาศาล ควรเน้นทุ่ม..องคาพยพ,งบประมาณ,สรรพกำลัง,ให้ การศึกษาพื้นฐานให้รายหัวใกล้เคียงกับอุดมศึกษา และให้มีตกซ้ำชั้น หรือตกวิชาใดเรียนใหม่ซ้ำวิชานั้น อย่าหวังแก่คะแนนประเมินมาตรฐาน สมศ.จอมปลอม ให้หวังแก่คุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
......ปัจจุบันอุดมศึกษาเรียนจบแล้วไม่มีงานทำ 50% ควรเน้นเปิดสาขาที่ขาดแคลน ปิด ปิด และปิดสาขาที่ล้นตลาด เนื่องจากมหาวิทยาลัยขาดแคลนผู้เรียน ควรอนุญาตให้มหาลัยเปิดสอนอาชีวศึกษาได้ อันนี้สำคัญ แต่ปัจจุบัน สกอ.ไม่มีอำนาจ ปล่อยให้มหาวิทยาลัยยึดอำนาจแย่งกันเปิดสาขาที่ตลาดไม่ต้องการปล่อยให้มหาลัยจัดการแย่งผู้เรียนกันเอง ปล่อยฝูงเสือ(มหาลัย)เข้าป่าไปแย่งอาหารกัน สัตว์น้อยใหญ่ในป่า(ผู้เรียน)ตายไม่เหลือซาก ต่อไปคงกินกันเอง
.......ตามกฎหมายการศึกษา กำหนดให้นักศึกษาสามารถโอนผลการเรียน ระหว่างสถานศึกษาได้ แต่ทางปฏิบัติสถานศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับกัน เช่นนักศึกษาจบ ปวส. จากอาชีวศึกษา (เทียบเท่าปี 2 อุดมศึกษา) จะเรียนต่อปริญญาตรีสายเดียวกันในมหาวิทยาลัย ควรเรียนต่ออีก 2 ปี ได้ปริญญา มหาวิทยาลัยไทยไม่ยอมครับ ให้เรียน 4 ปี เสียเวลาผู้เรียน แล้วจะไปเรียนอาชีวะทำไม นี่มันสถานศึกษาประเทศเดียวกันหรือเปล่าครับ อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันหรือเปล่า อุดมศึกษาแย้งว่าอาชีวศึกษาไม่ได้เรื่อง อาชีวศึกษา ติ อุดมศึกษาว่าสอนเด็กทำงานไม่เป็น ตกงาน 50% ของผู้สำเร็จ ป.ตรี อาชีวศึกษาโดนคุมไม่ให้เปิด ปริญญาตรีอาชีวะสายปฏิบัติการมาหลายสิบปีตั้งแต่กำเนิดอาชีวศึกษา เด็กจบ ปวส. อยากได้ปรฺญญาตรี ต้องเปลี่ยนไปเรียนสาขาอื่น ต้องเรียนใหม่ 4 ปี เสียงบประมาณการศึกษามหาศาลโดยไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า
.......ทราบปัญหาแล้ว คงทราบนะครับว่า จะมีข้อเสนอแนะอย่างไร จะแก้อย่างไร มันมีหลายวิธี หากกล้าทำ หากเอาจริง ........ยุค คสช. ทำไม่ได้ อย่าหวังจากยุคอื่นเลยครับ
.......เราจะรวมการศึกษาเป็นหนึ่งเดียวกับ ASIAN เทียบโอนแลกเปลี่ยนกันได้ใน ASIAN อย่าเลย ของเรายังรวมกันไม่ได้ เทียบโอนกันไม่ได้ พูดภาษาไทยกันเองยังไม่รู้เรื่องครับ
......ปัจจุบันอุดมศึกษาเรียนจบแล้วไม่มีงานทำ 50% ควรเน้นเปิดสาขาที่ขาดแคลน ปิด ปิด และปิดสาขาที่ล้นตลาด เนื่องจากมหาวิทยาลัยขาดแคลนผู้เรียน ควรอนุญาตให้มหาลัยเปิดสอนอาชีวศึกษาได้ อันนี้สำคัญ แต่ปัจจุบัน สกอ.ไม่มีอำนาจ ปล่อยให้มหาวิทยาลัยยึดอำนาจแย่งกันเปิดสาขาที่ตลาดไม่ต้องการปล่อยให้มหาลัยจัดการแย่งผู้เรียนกันเอง ปล่อยฝูงเสือ(มหาลัย)เข้าป่าไปแย่งอาหารกัน สัตว์น้อยใหญ่ในป่า(ผู้เรียน)ตายไม่เหลือซาก ต่อไปคงกินกันเอง
.......ตามกฎหมายการศึกษา กำหนดให้นักศึกษาสามารถโอนผลการเรียน ระหว่างสถานศึกษาได้ แต่ทางปฏิบัติสถานศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับกัน เช่นนักศึกษาจบ ปวส. จากอาชีวศึกษา (เทียบเท่าปี 2 อุดมศึกษา) จะเรียนต่อปริญญาตรีสายเดียวกันในมหาวิทยาลัย ควรเรียนต่ออีก 2 ปี ได้ปริญญา มหาวิทยาลัยไทยไม่ยอมครับ ให้เรียน 4 ปี เสียเวลาผู้เรียน แล้วจะไปเรียนอาชีวะทำไม นี่มันสถานศึกษาประเทศเดียวกันหรือเปล่าครับ อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันหรือเปล่า อุดมศึกษาแย้งว่าอาชีวศึกษาไม่ได้เรื่อง อาชีวศึกษา ติ อุดมศึกษาว่าสอนเด็กทำงานไม่เป็น ตกงาน 50% ของผู้สำเร็จ ป.ตรี อาชีวศึกษาโดนคุมไม่ให้เปิด ปริญญาตรีอาชีวะสายปฏิบัติการมาหลายสิบปีตั้งแต่กำเนิดอาชีวศึกษา เด็กจบ ปวส. อยากได้ปรฺญญาตรี ต้องเปลี่ยนไปเรียนสาขาอื่น ต้องเรียนใหม่ 4 ปี เสียงบประมาณการศึกษามหาศาลโดยไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า
.......ทราบปัญหาแล้ว คงทราบนะครับว่า จะมีข้อเสนอแนะอย่างไร จะแก้อย่างไร มันมีหลายวิธี หากกล้าทำ หากเอาจริง ........ยุค คสช. ทำไม่ได้ อย่าหวังจากยุคอื่นเลยครับ
.......เราจะรวมการศึกษาเป็นหนึ่งเดียวกับ ASIAN เทียบโอนแลกเปลี่ยนกันได้ใน ASIAN อย่าเลย ของเรายังรวมกันไม่ได้ เทียบโอนกันไม่ได้ พูดภาษาไทยกันเองยังไม่รู้เรื่องครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)